ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 11:42:36 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดเจ็ดยอด วัดพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดเจ็ดยอด วัดพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง  (อ่าน 1871 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 05:25:12 AM »


เทียบกับวัดอื่นๆ ของเชียงใหม่ในระดับเดียวกันนั้น ต้องบอกว่าวัดเจ็ดยอดไม่ค่อยจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนกันมากนัก อาจจะด้วยไม่ได้อยู่ใจกลางเมืองเหมือนวัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง การเดินทางเลยค่อนข้างที่จะไม่เอื้ออำนวยในการไปเที่ยวต่อในสถานที่อื่นๆ ต่างจากตรงในเมืองที่สามารถเที่ยวรอบๆ แถวนั้นได้อย่างสะดวกโยธิน

กระนั้นก็ตามแต่ แม้จะมีนักท่องเที่ยวไปเยือนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับวัดใหญ่ๆ ใจกลางเมือง แต่วัดเจ็ดยอด ก็มีความสำคัญในระดับต้นๆ อีกทั้งยังมีความน่าสนใจชนิดที่ว่า ต้องไปเที่ยวซักครั้ง

จากถนนห้วยแก้ว ถึงสี่แยกรินคำ แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่ – ลำปาง ไม่ไกลนัก เป้นที่ตั้งของวัดเจ็ดยอด ใน ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดเจ็ดยอด หรือ เดิมชื่อว่า วัดมหาโพธาราม หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร เป็นวัดโบราณที่พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดี องค์ที่ 22 แห่งพระราชวงศ์มังราย โปรดให้สร้างขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1999 และจัดได้ว่าเป็นอารามที่มีความสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา กล่าวคือ ในปีพุทธศักราช 2020 พระเจ้าติโลกราช โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ วัดมหาโพธารามแห่งนี้เอง ซึ่งวงการพระพุทธศาสนาได้ยอมรับว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ 8  นับจากที่ได้ทำมาแล้ว 7 ครั้ง ในประเทศอินเดียและศรีลังกา

มีเรื่องราวปรากฏเป็นตำนานวัดเจ็ดยอดเป็นภาษาพื้นเมือง ซึ่งพระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน แห่งวัดหอธรรม เก็บรวบรวมไว้มีความตอนหนึ่งว่า สมัย “สมเด็จพระเจ้าศิริธรรมจักรวัตติโลกราช” เชียงใหม่มีฐานะเป็นเสมือนศูนย์กลางของดินแดนล้านนาในด้านเกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ลัทธิลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเชียงใหม่ มีพระเถระชาวเชียงใหม่ที่ทรงภูมิความรู้ในพระไตรปิฎกและมีชื่อเสียง เช่น พระมหาญาณคัมภีร์ มหาเมธังกร พระศีลสังวะ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาประดิษฐานเผยแพร่ในเชียงใหม่และเมืองต่างๆ ในดินแดนล้านนา พระเถระเหล่านี้เมื่อกลับมาจากลังกาแล้ว ได้มาจำวัดอยู่ที่วัดพระยืนนอกเมืองหริภุญชัย ทำการบวชให้กับกุลบุตรเป็นจำนวนมาก เมื่อพระเจ้าติโลกราชได้ทรงสดับถึงกิตติคุณสีลาจารวัตรของพระเถระเหล่านั้น ก็ทรงศรัทธาเสื่อมใสเป็นอันมาก ถึงกับทรงพระราชมณเฑียรในเมืองเชียงใหม่ ต่อมา โปรดให้นิมนต์พระเถระเหล่านั้นจากวัดพระยืนมาจำวัดอยู่ที่นี่ และยังสร้างวัดอีกมากมาย อาทิ วัดป่าตาล วัดป่าแดงหลวง พระเจ้าติโลกราชได้ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างสถูป เจดีย์ เสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก

ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกทรงผนวชท่ามกลางคณะสงฆ์เป็นจำนวนมาก มีมหาญาณมงคลเป็นอุปัชฌาย์ พระอดุลสถิตยาทิกรมมหาสามีเฌร เป็นพระกรรมวาจารย์ พระเจ้าติโลกราชได้สดับพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์แห่งการปลูกต้นมหาโพธิ์จากสำนักสงฆ์ลังกาวงศ์ ก็ทรงเสื่อมใสและมีรับสั่งให้พิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมและได้สร้างพระอารามขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.1998 ทรงได้พืชพันธุ์มหาโพธิ์จากคณะสงฆ์ที่ไปลังกาจึงโปรดให้นำมาปลูกไว้ที่อารามแห่งนั้น เป็นสาเหตุให้อารามได้รับขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม"


* DSCF08306666666666666_1.JPG (326.09 KB, 800x533 - ดู 420 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_4.JPG (320.42 KB, 800x533 - ดู 461 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_6.JPG (308.03 KB, 800x533 - ดู 318 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_5.JPG (446.72 KB, 800x533 - ดู 314 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_13.JPG (493.92 KB, 800x533 - ดู 424 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2016, 05:40:04 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 05:26:30 AM »


ปี พ.ศ.2020 ได้มีทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ 8 นับว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาวัดเจ็ดยอดได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุพำนักอาศัย แต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่มีที่ควรสันนิษฐานว่าเมื่อ พ.ศ.2319  หัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา เผชิญกับยุทธภัยทั่วไปหมด ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีกำลังไม่เพียงพอที่จะรักษาเมือง และพม่าก็ยกมารุกรานเนืองๆ พระภิกษุ สามเณรและพลเมือง จึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมืองอื่นหมดสิ้น

ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมราชากาวิละ ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ.2339  เมืองเชียงใหม่ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น อีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดีบรรดาวัดวาอาราม ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง และนอกเมือง ก็ยังมีสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก วัดเจ็ดยอด หรือวัดมหาโพธารามเอง ก็เป็นวัดร้างมาโดยลำดับ เพิ่งมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้

วัดเจ็ดยอด จัดได้ว่ามีปูชนียวัตถุ และโบราณสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ และคุณค่าในทางศิลปกรรมประเภทพุทธศิลป์ในสมัยอาณาจักรล้านนา ที่น่าสนใจหลายแห่ง ชนิดที่ว่าเมื่อหลุดเข้ามาแล้ว เหมือนอยู่อีกเมืองนึง ด้วยลักษณะที่แตกต่างจากหลายๆ วัดในเมือง ซึ่งให้อารมณ์เหมือนไปเดินเที่ยววัดอยุธยา หรือสุโขทัย  โดยมีรายละเอียดสิ่งที่น่าสนใจ ก็มีกันดังต่อไปนี้

ซุ้มประตูโขง วัดเจ็ดยอด เป็นประตูเข้าออกหลักของวัด กว้าง 3.10 เมตร ยาว 3.80 เมตร ก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดับลายปูนปั้น ด้านบนมุงซุ้มหลังคา จากลักษณะโครงสร้างประตูที่กำแพงอิฐ ขนาดกว้าง 1.35 เมตร สูง 1.80 เมตร ต่อเชื่อมออกไปเพื่อแสดงขอบเขตของวัดและล้อมรอบศาสนสถานต่างๆ ไว้

เมื่อเข้ามายังด้านในของวัดแล้วนั้น ศาสนสถานที่โดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างแรก คือ มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด  “โพธิบัลลังก์” คือสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ด้านทิศตะวันออก ทรงตั้งวิริยาธิษฐานปฏิภาณพระองค์ว่า "ตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร้ ก็จะไม่ยอมลุกจากที่ประทับนั้น แม้มังสะและโลหิตจะเหือดแห้งสูญสิ้นไปเหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที" ปัจจุบันคือมหาวิหารเจ็ดยอด

ตามประวัติมหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด ปรากฏเรื่องว่าสาเหตุของการสร้างวัดนี้คือ พระเจ้าติโลกราชนั้น ท่านครองราชย์อยู่ที่เชียงใหม่ ในช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ 2000 ปี พอดี ในปี พ.ศ 2000 พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ช่างฝีมือคนหนึ่งชื่อว่าหมื่นด้ามพร้าคต เดินทางไปยังพุทธคยาอินเดีย เพื่อไปจำลองรูปแบบของมหาวิหารที่พุทธคยาให้มาสร้างไว้ที่เชียงใหม่ที่เห็นคือ วิหารเหมือนด้ามพร้าคต


* DSCF08306666666666666_12.JPG (352.98 KB, 800x533 - ดู 359 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_9.JPG (860.29 KB, 800x1200 - ดู 367 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_3.JPG (421.32 KB, 800x533 - ดู 421 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_2.JPG (464.8 KB, 800x533 - ดู 318 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_8.JPG (428.13 KB, 800x533 - ดู 406 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2016, 05:28:00 AM »


ลักษณะสถาปัตยกรรม ของมหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด ก่อด้วยศิลาแลง กว้าง 17 เมตร ยาว 30 เมตร และสูง 18.65 เมตร โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญได้ 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน เป็นฐานบัว และด้านหน้ากระดานรองรับ ส่วนที่ทำเป็นคูหา ซึ่งส่วนนี้ทำเป็นลักษณะแบบอุโมงค์เพดานโค้งลึกเข้าไป ภายในสุดผนังด้านหลังของคูหา มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูป ผนังด้านข้าง 2 ด้านก่อด้วยอิฐศิลาแลงหนาหลายชั้น เพื่อใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักข้างบน ระหว่างความหนาของผนังนี้ได้ทำเป็นทางเดินแคบๆ มีขั้นบันไดขึ้นสู่ชั้นบน ส่วนบน หรือหลังคาเหนือคูหาขึ้นไปประกอบด้วยยอด 7 ยอดด้วยกัน คือ กลุ่มยอดทรงกรวยเหลี่ยมแบบยอดศีขรจำนวน 5 ยอด มียอดสูงใหญ่อยู่กลางยอดเล็กเป็นบริวารประกอบอยู่ 4 มุม ที่มุขด้านหน้าซึ่งยื่นออกมาทำเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่ด้านละองค์

อนิมิสเจดีย์ เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงเกิดทิพยจักขุญาณ หลังจากออกจากสมาบัติไปประทับยืน ณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ ทรงพิจารณาทศบารมีธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มา เพื่อสำนึกในกตัญญูธรรมทรงลืมพระเนตรเพ่งต้นโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา 7 วัน เป็นสถูปรูปทรงมณฑปตั้งอยู่บนฐานทักษิณ ขนาดกว้าง 10.40 เมตร ยาว 10.60 เมตร ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว มีระเบียงล้อมรอบ เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุทรงแปดเหลี่ยม ประกอบด้วยซุ้มจระนำขนาดใหญ่ 4 ซุ้ม ทำเป็นคูหาลึกเข้าไปสลับกับซุ้มตื้นๆ ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไปชั้นหนึ่งทำเป็นซุ้มโค้งเล็กๆ จำนวน 8 ซุ้ม ซ้อนอยู่เหนือซุ้มที่อยู่รอบๆ เรือนธาตุ สำหรับอนิมิสเจดีย์นี้ เป็นส่วนหนึ่งในสัตตมหาสถานที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. 998

อุโบสถ วัดเจ็ดยอด ในสมัยพญาเมืองแก้ว โปรดให้สร้างอุโบสถขึ้นในปี พ.ศ. 2045 ต่อมา พ.ศ. 2068 โปรดให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทร์จากเมืองพะเยามาประดิษฐานอุโบสถหลังนี้ ปัจจุบันขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 10.55 เมตร ศิลปะล้านนา สร้างขึ้นบนฐานเดิมของอุโบสถเก่า ซึ่งมีลานประทักษิณขนาดกว้าง 16.20 เมตร ยาว 46.65 เมตร ยกพื้นสูงล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ยโดยรอบ มีทางขึ้นอยู่ทางด้านข้างด้านทิศใต้และทางขึ้นหลักที่บันไดด้านหน้าทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าอุโบสถหลังใหม่นี้ น่าจะสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้ากาวิละมาบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงต้นรัตนโกสินทน์ ด้านหลังอุโบสถเป็นมณฑปพระแก่นจันทน์สร้างขึ้นภายหลัง

มณฑปพระแก่นจันทร์แดง วัดเจ็ดยอด ฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 5.70 เมตร ยาว 6 เมตร ประกอบด้วยลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม แต่ละด้านของเรือนธาตุทำเป็นซุ้มโค้งเจาะทะลุถึงกันทั้ง 4 ด้าน เหนือส่วนธาตุชำรุดมาก แต่ก็พอสังเกตได้ว่ามีการทำเป็นยอดทรงมณฑปซ่อนขึ้นไปคล้ายกับมณฑปราสาทหรือกู่ ซึ่งนิยมสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างไว้ภายในวิหาร สำหรับมณฑปพระแก่นจันทร์แดงนี้ก็เช่นเดียวกัน ตำแหน่งที่ตั้งของมณฑปอยู่ภายในวิหาร โดยสังเกตได้จากส่วนฐานของอาคารซึ่งยังเห็นได้ชัดเจน

มหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด มีลักษณะเจดีย์ทรงปราสาท มีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมรูปทรงเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยราชวงศ์มังราย ลักษณะโดยทั่วไปขององค์สถูปประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จประกอบด้วยลวดบัวและคั่นด้วยลูกแก้วแบบฐานทรงบัลลังก์รองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งทำเป็นซุ้มจระนำประกอบอยู่ทั้ง 4  ด้าน ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไป เป็นฐานบัวคว่ำหรือบัวถลารองรับส่วนบนซึ่งทำเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ประกอบด้วยฐานเขียงและลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองรับปล้องไฉน

นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดก็ยังมีเจดีย์พุทธคยา วัดเจ็ดยอด ประดิษฐานด้านหลังมหาวิหาร ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ อชปาลนิโครธ ราชายตนะเจดีย์ รัตนจงกรม รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์กู่แก้ว สระมุจจลินท์ มณฑปมุจลินทร์ วิหาร 700 ปี ให้ได้ชมกัน ถือได้ว่าวัดแห่งนี้เต็มไปด้วยโบราณสถานที่น่าสนใจเพียบ
 



* DSCF08306666666666666_10.JPG (578.36 KB, 800x533 - ดู 417 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_11.JPG (783.47 KB, 800x1200 - ดู 340 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_15.JPG (355.99 KB, 800x533 - ดู 411 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_16.JPG (506.58 KB, 800x533 - ดู 433 ครั้ง.)

* DSCF08306666666666666_7.JPG (579.74 KB, 800x533 - ดู 327 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดเจ็ดยอด วัดพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง