ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:32:11 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: รวมประเพณีเชียงใหม่ที่สำคัญในรอบปี 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมประเพณีเชียงใหม่ที่สำคัญในรอบปี  (อ่าน 1374 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 12:57:01 PM »


เชียงใหม่ อย่างที่ทราบกัน นี่คือเมืองที่อุดมไปด้วยทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันหลากหลาย ไหนจะทั้งเรื่องของศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ชนิดที่ว่าในรอบปี มีตารางให้เที่ยวไม่มีหยุดหย่อน  โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาตินั้น จัดได้ว่าเยอะ ทั้งหน้าร้อน หน้าฝน หน้าหนาว ยิ่งห้นาหนาวแล้วนั้น เที่ยวตามอุทยานกันไม่หวาดไม่ไหว

ในส่วนของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาล อันนี้ก็ถือว่าเยอะไม่แพ้กันในรอบ 1 ปี และหากมีการจัดเรียงเป็นในเชิงของการท่องเที่ยวในแง่ของประเพณีที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ก็มีหน้าตากันประมาณนี้ครับ

งานร่มบ่อสร้าง
“นวลนางน้องกางจ้อง พี่นี่แอบมองนานสองนาน เสื้อทรงรัดเอวสั้น ยืนเฝ้าหน้าร้านดูเข้าที พูดจาอ่อนหูดูดีดี บ่อสร้างเจ้ามีแม่ศรีลานนา” เพลงบ่อสร้างกางจ้อง คงคุ้นหูกันดี เช่นกันกับงานร่มบ่อสร้างที่นี้ ที่มีขึ้นจนสร้างชื่อเสียงไปไกล ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง โดยมีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากกระดาษสา โดยเฉพาะร่มบ่อสร้าง มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆ

งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ
งานเอาใจคนรักดอกไม้เมืองหนาว และสาวๆ เชียงใหม่ ที่จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์  ในงานจัดให้มีการประกวดสวนหย่อมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ การประกวดนางงามบุปผาชาติและขบวนแห่บุปผาชาติ  นิทรรศการทางการเกษตร การประกวดไม้ดอกไม้ประดับประเภทต่างๆ การประกวดจัดสวน การออกร้านของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นต้น

งานประเพณีสงกรานต์
เทศกาลสาดน้ำของชาติไทย ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ 13-18  เมษายน  โดยในวันที่ 13 จะเป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และขบวนแห่นางสงกรานต์ โดยเริ่มจากวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่ แล้วมีพิธีสรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกันรอบคูเมือง ในแต่ละจุดอย่างสนุกสนาน ทั้งนี้ชาวล้านนาถือว่าวันที่ 15 เม.ย. เป็นวันเปลี่ยนศักราชใหม่ ต่างจากภาคกลาง และในระยะเวลา 6 วันนี้จะประกอบพิธีหลายอย่าง ดังนี้

วันที่ 13 เม.ย. ถือเป็นวันสังขารล่อง (วันสิ้นสุดปีเก่า) ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะยิงปืน จุดประทัด ก่อนสว่าง เพื่อขับไล่ เสนียดจัญไร แล้วเก็บกวาดบ้านเรือน หิ้งพระ

วันที่ 14 เม.ย. เป็นวันที่เรียกกันว่า "วันเนา" หรือ "วันเน่า" วันนี้ชาวเชียงใหม่จะทำแต่สิ่งที่เป็นสิริมงคล พร้อมทั้งตระเตรียมอาหาร คาวหวาน เครื่องไทยทาน เพื่อทำงานบุญในวันสงกรานต์ และไปขนทรายเข้าวัด

วันที่ 15 เรียกว่า "วันพญาวัน" ถือเป็นวันเริ่มศักราชใหม่ ชาวเชียงใหม่จะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และถวายอาหารพระที่เรียกว่า "ทานขันข้าว" เพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ และสรงน้ำพระ หลังจากนั้นจึงนำขันข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำขมิ้น ส้มป่อย หมากพลู เมี่ยง หรืออาจมีเครื่องนุ่งห่ม ไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

ส่วนวันที่ 16-18 เม.ย. เรียกว่า "วันปากปี ปากเดือน ปากวัน" จะเป็นวันประกอบพิธีกรรมสักการะต่อวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป


* 5555575_1.jpg (419.15 KB, 800x533 - ดู 173 ครั้ง.)

* 5555575_2.jpg (242.03 KB, 800x533 - ดู 166 ครั้ง.)

* 5555575_3.jpg (167.7 KB, 800x533 - ดู 159 ครั้ง.)

* 5555575_6.jpg (155.21 KB, 800x533 - ดู 159 ครั้ง.)

* 5555575_4.jpg (138.59 KB, 800x533 - ดู 163 ครั้ง.)

* 5555575_5.jpg (158.67 KB, 800x533 - ดู 169 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 12:59:47 PM »


งานประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์
งานจัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก

งานประเพณีเข้าอินทขีล
จัดขึ้นในปลายเดือน 8 ต่อต้นเดือน 9 (พฤษภาคม-มิถุนายน) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วันเดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก เดิมประเพณีนี้ เจ้าผู้ครองนครจะจัดขึ้นเพื่อสังเวยเทพยดาอารักษ์ บูชากุมภัณฑ์ และมีพิธีเข้าทรงผีเจ้านาย เพื่อสอบถามว่า ฝนฟ้าจะอุดมสมบูรณ์ และชะตาบ้านเมืองจะดีหรือไม่ หากชะตาของบ้านเมืองไม่ดี ก็จะจัดพิธีสืบชะตาเมืองเพิ่มขึ้นด้วย และปัจจุบันได้เพิ่มการทำพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง โดยการแห่พระพุทธรูปคันธารราษฎร์ (พระเจ้าฝนแสนห่า) รอบเมือง และจะนำมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง เพื่อให้ชาวเมืองสรงน้ำ จากนั้นพระสงฆ์ 9 รูป จะเจริญพระพุทธมนต์บูชาเสาอินทขีล ซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน การประกอบพิธีนี้ เพื่อมุ่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของชาวเมืองก่อนที่จะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก
*หมายเหตุ  อินทขีล เป็นชื่อของเสาหลักเมืองของชาวเชียงใหม่ เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขีล กลางเมืองเชียงใหม่ แต่ปัจจุบันย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ในสมัยของพระยากาวิละ และได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นเสาปูน

งานพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ
เป็นพิธีที่ชาวเชียงใหม่ทำมาแต่ในอดีต เพื่อสังเวยเครื่องเซ่นแก่ผีปู่แสะย่าแสะ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยักษ์ชอบกินเนื้อคน และจะทำพิธีขึ้นในวันขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ที่เชิงป่าดอยคำด้านตะวันออกของตำบลแม่เหียะ เป็นประจำทุกปี และชาวบ้านจะต้องร่วมกันทำพิธีฆ่าควายเซ่นสังเวย หากไม่ทำพิธีนี้จะทำให้บ้านเมืองไม่สงบสุข เกิดภัยพิบัติ และในพิธีเลี้ยง จะมีการเข้าทรงเจ้านาย เพื่อพยากรณ์ถึงความเป็นอยู่และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองด้วย พิธีนี้ได้เลิกไปเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นของพม่า จนถึงสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา จึงได้รื้อฟื้นขึ้นอีก โดยงานพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ จัดเป็นงานประเพณีที่ชาวเชียงใหม่ ชาวต่างจังหวัด และชาวต่างประเทศ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีจะมีผู้เข้าร่วมพิธี รวมทั้งสื่อมวลชนหลายแขนงให้ความสนใจในงานดังกล่าว


* 263252_631944646834016_784793471_n5_5.jpg (352.27 KB, 800x531 - ดู 174 ครั้ง.)

* 263252_631944646834016_784793471_n5_2.jpg (415.69 KB, 800x533 - ดู 157 ครั้ง.)

* 263252_631944646834016_784793471_n5_1.jpg (690.54 KB, 800x1202 - ดู 241 ครั้ง.)

* 263252_631944646834016_784793471_n5_3.jpg (622.96 KB, 800x1067 - ดู 241 ครั้ง.)

* 263252_631944646834016_784793471_n5_4.jpg (691.9 KB, 800x1067 - ดู 252 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 01:03:26 PM »


งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง
จัดขึ้น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ของแต่ละปี จะเป็นวันที่พระบรมสารีริกธาตุเข้าพรรษา พระภิกษุจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกจากพระโกศ 5 ชั้น มาประดิษฐานในพระโกศแก้วใส แล้วแห่ไปทำพิธีที่โบสถ์ ในระหว่างทางชาวบ้านจะโยนข้าวตอกดอกไม้ไปยังพระโกศ เพื่อถวายเป็นสักการะ เมื่อทำพิธีเสร็จก็จะแห่จากโบสถ์ไปยังหอสรงข้างวิหาร หอสรงนี้จะมีรางน้ำเป็นรูปตัวนาคสำหรับใช้สรงน้ำ และเดิมจะใช้น้ำแม่กลาง ผสมด้วยดอกคำฝอย เป็นน้ำสำหรับสรง แต่ปัจจุบันใช้น้ำสะอาดธรรมดา เสร็จแล้วจึงอัญเชิญเข้าจำพรรษาในพระโกศ 5 ชั้น ตามเดิม และกลางคืนพระภิกษุจะสวดเจริญพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณีการเลี้ยงขันโตก
ขันโตก เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารของชาวเหนือ ทำด้วยไม้สัก ทาด้วยหางสีแดง สูง 8-10 นิ้ว มีขาไม้สักกลึงเป็นรูปกลมตั้งบนวงล้อรับอีกอันหนึ่ง ขันโตกจะกว้างประมาณ 10-30 นิ้ว สมัยโบราณคนพื้นเมืองนิยมใช้ขันโตกสำหรับใส่อาหาร รับประทานในครัวเรือน แต่ความนิยมใช้ค่อยเสื่อมลงเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น และคนหันไปนิยมของใช้จากต่างประเทศแทน ขันโตกจึงใช้เฉพาะเป็นธรรมเนียมในการต้อนรับแขกเมือง และบุคคลสำคัญเท่านั้น ในเชียงใหม่มีให้สัมผัสกันหลายที่เช่น คุ้มขันโตก ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นต้น

งานประเพณียี่เป็ง
 จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย งานประเพณีจะมีสามวันคือ วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน และวันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ

ทั้งนี้ ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป(การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีกิจกรรมการลอยกระทง ประกวดกระทง และนางนพมาศ

จากประเพณีที่สำคัญที่ว่ามาทั้งหมดนั้นของเชียงใหม่ ใครใคร่อยากมาจะมาสัมผัส แนะนำขอให้เช็ควันเวลาก่อนมานะครับ ว่าเป็นช่วงเวลาไหน เพราะจะได้ไม่เสียเที่ยวตอนมาถึงแล้ว


* 12744455_1228940727134402_5795786306515053575_n5_1.jpg (687.4 KB, 800x1200 - ดู 239 ครั้ง.)

* 12744455_1228940727134402_5795786306515053575_n5_5.jpg (200.38 KB, 800x533 - ดู 188 ครั้ง.)

* 12744455_1228940727134402_5795786306515053575_n5_4.jpg (239.74 KB, 800x533 - ดู 170 ครั้ง.)

* 12744455_1228940727134402_5795786306515053575_n5_2.jpg (148.75 KB, 600x399 - ดู 174 ครั้ง.)

* 12744455_1228940727134402_5795786306515053575_n5_3.jpg (205.15 KB, 600x399 - ดู 169 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: รวมประเพณีเชียงใหม่ที่สำคัญในรอบปี « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง