ตอนที่ 3 (ส่วนจัดแสดง)หลังจากที่เกริ่นๆ ไปถึงส่วนของการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ เราก็จะมาเจาะลึกกันครับว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไรบ้าง จากพื้นที่การจัดแสดงที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการงานคัวตอง และพื้นที่การปฏิบัติงานคัวตองของกลุ่มช่างแต่เดิม
ส่วนที่ 1 จุดทางเข้าพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นจุดแรกของตัวอาคาร โดยด้านทางเข้าบนจะเป็นป้ายพิพิธภัณฑ์ ที่ทำขึ้นจากการตอกแผ่นทองเหลือง ซึ่งเป็นเทคนิค เดียวกันกับงานคัวตอง โดยใช้ชื่อว่า พวกแต้ม คัวตอง นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาและ ความสำคัญของโครงการ โดยนำเสนอผ่านบอร์ดข้อมูลที่ว่าด้วยแนวคิดการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พวกแต้ม คัวตอง เป็นหัวข้อที่นำเสนอถึงโครงการทดลองจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อบ่งบอกถึง ความสำคัญ และคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมประเภทนี้
ส่วนที่ 2 ผนังด้านในประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ โดยนำเสนอ ผ่านบอร์ดข้อมูลที่ว่าด้วยประวัติความเป็นมาของชุมชนวัดพวกแต้ม เพื่อให้ทราบความเป็นมาของ งานคัวตองในชุมชนวัดพวกแต้มจากอดีต จนมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนกระทั้งปัจจุบัน โดยมีเนื้อหา ที่บ่งบอกถึงบุคคลผู้คิดริเริ่มการผลิตงานคัวตองขึ้นมา
ส่วนที่ 3 ผนังด้านในประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์ในส่วนถัดมา โดยนำเสนอผ่านบอร์ดข้อมูลที่ว่าด้วยประวัติความเป็นมาของงานคัวตอง และจัดแสดงงานคัวตอง ประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นชิ้นงานดั้งเดิมของวัดพวกแต้ม โดยที่มีการวางตัวชิ้นงานบนหลังตู้ที่ได้รับการ ปรับปรุงแล้ว ซึ่งชิ้นงานอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดแสดงได้เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดได้ถูกเก็บรักษาไว้ ภายในตู้นี้
ส่วนที่ 4 จัดแสดงภาพถ่าย และชิ้นงานคัวตองที่เป็นลวดลาย ประดับส่วนต่างๆ ของงานพุทธศิลป์ โดยได้มีการจัดแสดงลวดลายที่ทำจากงานคัวตอง ซึ่งเป็น ส่วนประกอบของฉัตร และสัปทน และงานพุทธศิลป์อื่นๆ โดยที่นำมาขึงไว้กับกรอบเฟรมผ้าใบ เพื่อให้สามารถคงรูปร่างของแผ่นทองเหลืองไว้ได้ยาวนานขึ้น อีกทั้งยังเป็นการใช้แนวคิดทางศิลปะ ร่วมสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานคัวตอง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในงานคัวตอง
ส่วนที่ 5 รูปแบบและวิธีการผลิตคัวตอง โดยนำเสนอผ่าน บอร์ดข้อมูลนิทรรศการที่มีเนื้อหาของลำดับวิธีการผลิตงานคัวตอง อีกทั้งยังจัดแสดงชิ้นงานคัวตอง ที่เป็นลวดลายประดับส่วนต่างๆ ของงานพุทธศิลป์ โดยได้มีการจัดแสดงลวดลายที่ทำจากงานคัวตอง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของฉัตร และสัปทน และงานพุทธศิลป์อื่นๆ โดยที่นำมาขึงไว้กับกรอบ เฟรมผ้าใบ เพื่อให้สามารถคงรูปร่างของแผ่นทองเหลืองไว้ได้ยาวนานขึ้น อีกทั้งยังเป็นการใช้ แนวคิดทางศิลปะร่วมสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานคัวตอง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในงานคัวตอง
ส่วนที่ 6 คัวตองกับการนำไปใช้ โดยนำเสนอผ่านบอร์ด ข้อมูลนิทรรศการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำงานคัวตองไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ส่วนที่ 7 เป็นส่วนสุดท้ายของการนำเสนอข้อมูลภายใน พิพิธภัณฑ์ ซึ่งส่วนนี่ได้ใช้พื้นที่เป็นส่วนการทำงานของช่างในแผนกตัด ตอก ฉลุลวดลายของงาน คัวตอง ซึ่งยังคงดำเนินการอยู่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อสามารถถ่ายทอดวิธีการในการทำคัวตอง แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ได้อย่างดียิ่งขึ้น
นอกเหนือจากจากการจัดแสดงนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์คัวตองวัดพวกแต้มแล้ว ยังมี พื้นที่อื่นๆ ภายในวัดที่ได้ถูกทำให้เป็นโรงเรือนในการผลิตงานคัวตอง โดยมีการแบ่งแยกแผนก พื้นที่การใช้สอยตามการทำงานนั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของการทำงานคัวตองของวัดพวกแต้ม เป็นเสมือนการเน้นย้ำให้วัดพวกแต้มเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่สนใจอยากจะไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์คัวตองวัดพวกแต้มเพื่อสัมผัสกับภูมิปัญญาการทำฉัตรแบบดั้งเดิม ก็สามารถแวะเข้าไปชมได้ทุกวันที่วัดพวกแต้มกันครับ