นิทรรศนครเชียงใหม่ อาคารที่ 1 @ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Part 2)สถานที่ตั้ง : ถนนพระปกเกล้า (ตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ : 053 217 793
พิกัด : 18.79022, 98.98801
ห้องที่ 6 จิตรกรรมล้านนา1 เป็นงานตกแต่งสถาปัตยกรรมที่มีจุดประสงค์นอกจากความงามแล้ว ยังเป็นงานเขียนเพื่อให้สอดคล้องกับคติความเชื่อทางศาสนาอีกด้วย จิตรกรรมใน ศิลปะล้านนาพบงานเขียนบนผืนผ้า หรือพระบฎ เพื่อแขวนไว้ในอาคาร
ห้องที่ 7 จิตรกรรมล้านนา2 จิตรกรรมบนผนังอาคารเก่าที่สุดในล้านนาคือภาพในกรุเจดีย์วัดอุโมงค์ เนื่องจากสีที่ใช้ในงานจิตรกรรมเตรียมจากวัตถุธรรมชาติ คือสีฝุ่นผสมกับกาวยางไม้หรือหนังสัตว์ ดังนั้นจึงไม่คงทนเมื่อถูกความชื้น เพราะสีจะหลุดร่อนเสียหาย ยิ่งเป็นงานจิตรกรรมที่เขียนบนฝาผนังของอาคาร เมื่อหลังคามีรอยรั่วน้ำฝนที่ไหลสู่งานจิตรกรรมย่อมทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นงานจิตรกรรมรุ่นเก่าจึงหลงเหลืออยู่น้อยมาก
ห้องที่ 8 เครื่องปั้น เครื่องเขิน งานหัตถกรรมที่ทำขึ้นจากไม้ไผ่สานหรือจากไม้จริงที่ขึ้นรูปเป็นภาชนะ แล้วทาทับด้วยยางรักธรรมชาติทับกันหลายชั้น เมื่อแห้งจนได้ที่ จึงนำมาขูดเป็นลวดลาย ลงสี หรือปิดทองคำเปลว กลายเป็นเครื่องเขินที่มีลวดลายสวยงาม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพชนที่ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน
ห้องที่ 9 จักสาน ทำมาหากิน ด้วยสภาพการประกอบอาชีพของชาวล้านนาเป็นไปด้วยการเกษตรกรรม ทำให้เป็นแหล่งผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จักสานที่สำคัญ นอกจากนี้ชาวล้านนายังมีวัตถุดิบหลายชนิดที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ เช่น กก แหย่ง ใบลาน และไม้ไผ่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งไม้ไผ่ ซึ่งมีหลายชนิด ที่ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี
ห้องที่ 10 ดนตรีกับวิถีชีวิต ที่ชาวล้านนานิยมก็มี สะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ กับ ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง
ห้องที่ 11 ผ้าล้านนา หญิงชาวล้านนาส่วนใหญ่นิยมนุ่งซิ่น ผ้าซิ่น คือ ผ้าที่เย็บเป็นถุงสำหรับผู้หญิงนุ่ง โดยจะมีขนาดสั้นยาว
และกว้างแคบต่างๆกันไปขึ้นอยู่กับรูปร่างของผู้นุ่งและวิธีการนุ่ง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับโอกาส เวลาและสถานที่ ตลอดจนอาจจะเปลี่ยนแปลงตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย ผ้าซิ่นมีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงสถานภาพและแหล่งกำเนิดของกลุ่มชน ซึ่งดูได้จากโครงสร้างลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้า ซึ่งแตกต่างจากผ้าประเภทอื่นๆที่มักจะไม่มีลักษณะบ่งชี้ที่มีรายละเอียดเท่าผ้าซิ่น
ห้องที่ 12 ประวัติอาคาร บอกเล่าเรื่องราวประวัติของอาคารศาลแขวงเชียงใหม่ ก่อนการปรับเปลี่ยนเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาในปัจจุบัน
ห้องที่ 13 มหรรฆภัณฑ์ล้านนา เป็นงานศิลปะตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงด้วยเครื่องของมีค่า งานศิลปะประเภทนี้เป็นงานที่มีคุณค่าในตัวเองสูง เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ล้วนแต่เป็นของมีค่าและหายาก เช่น ทองคำ เงิน ไข่มุก เพชร พลอย แร่หายาก ประดับตกแต่งรวมกันอย่างลงตัว นับเป็นเครื่องประดับตกแต่งที่สวยงามมีค่าและเป็นมงคล ถือเป็นงานศิลปะที่หาชมได้ยากและมีน้อยชิ้น เพราะการสร้างขึ้นมาต้องใช้ความพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานให้ดีมีคุณภาพ
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย ผู้ใหญ่ราคา 20 บาท เด็กราคา 10 บาท หรือบัตรรวมทั้ง 3 แห่ง ราคาเพียง 40 บาท
ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ราคา 90 บาท เด็กราคา 40 บาท หรือบัตรรวมทั้ง 3 แห่ง ราคาเพียง 180 บาท
เวลาเปิด : เปิดทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30-17.00 น. ปิดวันจันทร์และวันหยุดสงกรานต์
by Traveller Freedomพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
Part 1 ,
Part 2หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
Part 1 ,
Part 2หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่