องค์ประกอบที่เป็นสุดยอดความงดงามของหอคำหลวงสถานที่ตั้ง : อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์: 053 114 110
สำหรับจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนาของหอคำหลวงแห่งนี้ มีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
วิหารซด หรือหลังคา ซึ่งจะซ้อนเกยกันตามลักษณะของการก่อสร้าง หอคำหลวง เช่นในอดีต นอกจากนี้ วิหารซด ยังเป็นสิ่งปลูกสร้างที่บ่งบอกถึงความเป็นที่ประทับของกษัตริย์ผู้ปกครองเมือง ชาวบ้านทั่วไปไม่สามารถปลูกสร้างเรือนเช่นนี้ได้ คือ มีหน้า 3 หลัง 2 โดยที่โครงสร้างของวิหารจะไม่ใช้ตะปูในการยึดติด แต่จะใช้ลิ่มสลักให้ไม้เชื่อมติดกันโดยที่ไม่หลุด เรียกว่าขึ้น ม้าต่างไหม การขึ้นม้าต่างไหมนั้น โดยช่างจะนำท่อนไม้มาเรียงซ้อนต่อตัวกันสามระดับ รูปทรงคล้ายปิรามิด และจัดวางให้สมดุลกัน โดยมีการลดหลั่นของหลังคาจากห้องประธานลงมาทางด้านหน้าและด้านหลัง เป็นชั้นเชิงที่สวยงาม มีเสาไม้ขนาดใหญ่เป็นขารองรับน้ำหนัก ซึ่งเสาไม้นี้ก็มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า เสาหลวง โดยเสาหลวงนั้นมีลักษณะทรงกลม ทาพื้นสีดำ และเขียนลวดลายรดน้ำปิดทองตลอดทั้งต้น
เสาซุ้มประตูทางเข้า เป็นส่วนที่งดงามโดดเด่นที่สุด ซึ่งเป็นผลงานของช่างสิบหมู่พื้นบ้าน จากอำเภอต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือกว่า 60 คน ถือเป็นการรวมตัวกันครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินสกุลช่างชาวล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน ทุกคนต่างวาดลวดลายการแกะสลักและปิดทองกันอย่างสุดฝีมือ ยิ่งเมื่อพิจารณา ชิ้นงานอย่างละเอียด จะพบความงามบนความเหมือนที่แตกต่าง นั่นคือ ในกรอบงานที่เหมือนกัน แต่ลวดลายภายในกรอบนั้นต่างช่างก็ต่างลาย ดูไกล ๆ อาจเหมือนกัน แต่เมื่อพิศดูใกล้ ๆ จะไม่เหมือนกัน เป็นการแสดงออกถึงจินตนาการและความคิดของช่างสิบหมู่ล้านนาแต่ละสกุลนั่นเอง แม้ว่าลายละเอียดที่ปรากฏในผลงานจะบ่งบอกว่าเกิดจากช่างฝีมือคนละสกุลกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากพิจารณาในภาพรวมของผลงานที่ปรากฏต่อสายตา ผลงานทุกชิ้นก็ยังอยู่ในองค์รวมที่เป็นแบบฉบับล้านนาเดียวกัน
ช่อฟ้า ซึ่งอยู่เหนือจั่วของวิหารจะมีรูปแกะสลักนกการเวกประดับอยู่ นกการเวกเป็นสัตว์ในวรรณคดีมีปากเป็นจะงอยสวยงามมาก
นาคทัณฑ์ หรือ คันทวย ซึ่งเป็นไม้ค้ำยัน ช่างแกะสลักเป็นรูปนกหัสดีลิงค์สวยงามและอ่อนช้อยมาก ผู้รักในงานศิลปะต้องไปชมด้วยตาตนเอง
หน้าบัน ของหอคำหลวงนั้นจะมีการตกแต่งที่สวยงามเป็นพิเศษ ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างจาก เรือนไทยภาคกลางคือ บริเวณที่ต่ำลงมาจากหน้าบัน จะเป็นแผงเรียกว่า คอกีด ซึ่งช่างได้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงามประดับประดาไว้ มีทั้งลวดลายดอกไม้ ลายประจำยาม รูปสัตว์ต่าง ๆ สุดแท้แต่จินตนาการของช่างสกุลล้านนา
โก่งคิ้ว คือส่วนที่ต่ำจากคอกีดลงมา เรียกว่ามีลักษณะคล้ายกับสาหร่ายรวงผึ้งของภาคกลาง ส่วนด้านข้างที่เป็นปีกนกก็มีการแกะสลักลวดลายไว้อย่างสวยงามเช่นเดียวกับบริเวณหน้าบันที่กล่าวมาในตอนต้นเป็นเพียงความงามของตัวอาคารหอคำหลวงเท่านั้น ถ้าใครมีโอกาสมาเห็นด้วยตาตนเองจะสังเกตเห็นว่าบริเวณโดยรอบอาคารหอคำหลวงนั้น ยังมีความงดงามตระการตารอให้ชมอยู่อีกมากมาย ผลงานแต่ละชิ้นตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบอาคารหอคำหลวง อันได้แก่ ปราสาทเฟื่องโคมไฟ ผลงานปูนปั้นที่ต้องการสื่อถึงความสว่างไสวโชติช่วง
by Traveller Freedomอาคารสถาปัตยกรรมล้ำค่าในสวนพ่อหลวง @ หอคำหลวงองค์ประกอบที่เป็นสุดยอดความงดงามของหอคำหลวงองค์ประกอบที่งดงามที่สุดของหอคำหลวง ..ต้นโพธิ์ทอง