ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 05:24:04 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว ในตัวเมืองเชียงใหม่  |  หัวข้อ: เที่ยวเพลินที่ถนนราชดำเนิน ตอน 1 (ประตูท่าแพ) 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวเพลินที่ถนนราชดำเนิน ตอน 1 (ประตูท่าแพ)  (อ่าน 2712 ครั้ง)
konhuleg.
Jr. Member
**
กระทู้: 90


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กันยายน 16, 2015, 09:18:34 AM »


เที่ยวเพลินที่ถนนราชดำเนิน ตอน 1 (ประตูท่าแพ) “โอ้ ดำเนิน เธอสวย เหลือเกิน ดำเนิน ของพี่”

สำหรับคนที่อายุซักราว 40 อัพ น่าจะพอคุ้นหูกันกับเพลงนี้ รวมทั้งคนที่มีอายุน้อยกว่านี้ แต่พอดีมีโอกาสได้ฟังแบบผม เพราะคุณพ่อ หรือคุณลุงเปิดผ่านๆ ให้ได้ยิน


โอ้ ดำเนิน สำหรับเพลง คือ ชื่อของผู้หญิงคนหนึ่ง แต่โอ้ ดำเนิน สำหรับผมในที่นี่ คือชื่อของถนนราชดำเนินใน จ. เชียงใหม่ ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักเส้นหนึ่งที่สำคัญในเชิงของการท่องเที่ยวและประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่กันด้วย

ถนนเส้นนี้จะเริ่มจากประตูท่าแพกันครับ ยาวไปจนสุดถึงวัดพระสิงห์ ถ้าใครนึกไม่ออก ถนนเส้นนี้ คือถนนเส้นเดียวกันที่เป็นถนนคนเดินท่าแพวันอาทิตย์นั่นแหละครับ


สำหรับทริปนี้ คือการเดินท่องเที่ยวในช่วงกลางวัน โดยจากจุดเริ่มต้นก็คือ ประตูท่าแพยาวไปจนถึงวัดพระสิงห์ ซึ่งระหว่างรายทางจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ค่อยๆ ตามหลังมาอ่านกันเอาครับ


เริ่มต้นที่จุดสำคัญ คือ ประตูท่าแพ หรือชื่อเดิม ประตูเชียงเรือก เป็นประตูทางทิศตะวันออก และเป็น 1 ใน 5 ประตูเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีบานประตู

สำหรับประตูท่าแพซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ซึ่งถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2422


ประตูท่าแพที่ถูกเรียกกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงมีนามว่า "ประตูเชียงเรือก" เพราะอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพญามังราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ส่วนประตูท่าแพของจริงนั้นเดิมเคยตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวัดแสนฝาง ซึ่งเป็นประตูของแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมาเมื่อมีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกออกจึงเหลือแต่ประตูเชียงเรือกที่เป็นประตูชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกประตูเชียงเรือกนี้ว่าประตูท่าแพแทน


ทั้งนี้ ในสมัยโบราณ คำว่า "เชียง" หมายถึง "เวียง" หรือ "เมือง" ส่วนคำว่า "เรือก" นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เรือ หรือ เฮือ ซึ่งหมายถึง พาหนะที่ใช้เดินทางไปมาทางแม่น้ำ คู ครอง ฝายเหมือง เป็นต้น ดังนี้ คำว่า "เชียงเรือก" หากพูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็อาจแปลออกมาได้เป็นเชียงเรือ หรือเวียงเรือ ซึ่งก็หมายถืงเมืองของเรือ ที่ขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมากก็ว่าได้ เหตุนี้ในสมัยต่อมาจึงถูกเรียกว่าท่าแพ ซึ่งก็มีความหมายเดิม คือที่จอดแพหรือเรือ มีความหมายเดียวกันคือ เมืองของเรือ ที่ขายของทางเรือ หรือสถานที่มีเรือมาก

เอ่ยถึงสถานะของประตูท่าแพในปัจจุบันนั้น จัดว่าเป็นแลนมาร์คสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่กันครับ เวลามีงานกิจกรรมอะไรเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ก็มักจะมาจัดกันตรงนี้ ส่วนถ้าวันไหนว่างๆ ก็จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเดินเล่น ถ่ายรูปกัน แถมโซนแถวนั้นก็มีร้านอาหารให้เลือกบริการกันพอสมควร

ถือว่ามาตรงจุดนี้ อย่างน้อยๆ ถ่ายรูปเล่น คนอื่นก็พอจะรู้แล้วว่าเรามาถึงเชียงใหม่กัน เป็นอันเสร็จสิ้น
บันทึกการเข้า
DDjung
Sr. Member
****
กระทู้: 374



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 25, 2015, 09:39:25 AM »


เป็น ไฮไลท์ อีกแห่ง ของเชียงใหม่ น่าไปเดินเที่ยว  909
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว ในตัวเมืองเชียงใหม่  |  หัวข้อ: เที่ยวเพลินที่ถนนราชดำเนิน ตอน 1 (ประตูท่าแพ) « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง