ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:33:21 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  แนะนำสถานที่น่าเที่ยวในภาคเหนือ  |  แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ  |  หัวข้อ: ท่องเที่ยว ชมเมือง เพชบุระ ศึกษาศิลปะวัฒนธรรมขอมโบราณ เมืองเพชรบูรณ์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่องเที่ยว ชมเมือง เพชบุระ ศึกษาศิลปะวัฒนธรรมขอมโบราณ เมืองเพชรบูรณ์  (อ่าน 2437 ครั้ง)
Good things
Newbie
*
กระทู้: 3


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2015, 09:47:04 PM »


สวัสดีค่ะ ...เมื่อหลายวันก่อนมีโอกาสได้ไปศึกษา ศิลปะวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน
เมืองเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เรียกได้ว่าแทบจะทุก อำเภอเลยก็ว่า แต่ที่ลืมไม่ได้เลยหากได้แวะเวียนไป จ.เพชรบูรณ์ นั่นก็คือ การเข้าไปกราบนมัสการ หลวงพ่อเพชรมีชัย ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

หลวงพ่อเพชรมีชัย เป็นพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์ ตามหลักฐานที่ลานทองจารึกที่ขุดพบในกรุเจดีย์องค์ใหญ่หลังพระอุโบสถว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๖ พร้อมกับการสร้างวัด มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๑๘ และมีความสำคัญอย่างมากต่อ ประวัติศาสตร์ชาติไทยเราค่ะ

เพราะมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า เจ้าพระยาจักรี ในสมัยนั้นเป็นแม่ทัพนำศึก รบกับทัพของ อะเซหวุ่นกี้นายทัพของพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก ในขณะที่นำทัพผ่าน วัดมหาธาตุนั้น เสบียงอาหารเริ่มจะขากแคลนเจ้าพระยาจักรีจึงได้ทำพิธีบูชานมัสการพระพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวิหาร และได้ตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้พระพุทธรูปคุ้มครองและให้ชนะข้าศึก หลังจากนั้น เจ้าพระยาจักรีได้ลุกขึ้นชูมือขวาไปข้างหน้า เปล่งเสียงดังขึ้นว่า มีชัย ๓ ครั้ง หลวงพ่อเพชรจึงได้ว่ามีชัย ตั้งแต่นั้นมา

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ปรากฏว่า เจ้าพระยาจักรี ชนะศึกและได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และในเวลาต่อมาจึงได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมบรมวงศ์จักรี
มีความเชื่อกันว่า หากใครที่มานมัสการขอพร จากหลวงพ่อเพชรมีชัย ก็จะสมหวังค่ะ

ส่วนประวัติของ จ.เพชรบูรณ์ นั้น จากบันทึกที่จารึกลานทองคำ จากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบัณฑ์ ที่วัดมหาธาตุ มีความเชื่อว่า เดิมทีเมืองเพชรบูรณ์ น่าจะมีชื่อเดิมว่า " เพชบุระ " ค่ะ

ส่วนศิลปะวัฒนธรรมของเมืองเพชรบูรณ์นั้น น่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก อาณาจักรขอม ในช่วงประมาณ ๘๐๐ – ๙๐๐ ปีมาแล้ว และปรากฏได้จากโบราณสถานที่เมืองศรีเทพ ที่มีรูปเคารพรวมทั้งปราสาทที่เป็นศิลปะเขมร เกี่ยวกับศาสนา ฮินดู ที่เมืองศรีเทพ ปัจจุบัน คือ อ. ศรีเทพค่ะ เป็นอำเภอสุดท้ายของ จ. เพชรบูรณ์ติดกับ จ.ลพบุรีค่ะ และปัจจุบันยังคงหลงเหลือโบราณสถานที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยเมืองศรีเทพรุ่งเรือง คือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โบราณสถานเขาคลังนอก  โบราณสถานปรางค์ฤาษี เป็นศาสนสถานรูปแบบปราสาทก่อสร้างด้วยอิฐ สันนิษฐานว่า มีอายุร่วมสมัยกับปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้อง คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗

นอกจากโบราณสถานเขาคลังนอกแล้ว เราได้มีโอกาสกราบสักการะขอพร เจ้าพ่อศรีเทพ ที่ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ที่เป็นที่เคารพบูชาและสักการะคู่เมืองศรีเทพมาอย่างยาวนาน และจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีอีกด้วยค่ะ.

นอกจากศิลปะวัฒนธรรมขอมโบราณที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในเมืองเพชรบูรณ์แล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์ ยังมีประเพณีที่สำคัญ คู่บ้านคู่เมืองและเป็นอีกหนึ่งการท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจ.เพชรบูณณ์ และได้การยอมรับว่าเป็นประเพณีเดียวในโลก นั่นก็คือ
ประเพณี อุ้มพระดำน้ำ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปี สืบสอดกันยาวนานกว่า 400 ปีเลยค่ะ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาค่ะว่า เมื่อครั้งนานมาแล้ว มีชาวบ้านอยู่กลุ่มหนึ่งออกไปหาปลาเป็นประจำที่ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก และอยู่มาวันหนึ่งเมื่อลงมือหาปลามาถึง วังมะขามแฟบ ( ปัจจุบันคือท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารค่ะ ) ในเวลานั้นเองค่ะ สายน้ำที่ไหลเชี่ยวก็หยุดแน่นิ่งจากนั้นก็มีพรายน้ำผุดขึ้นมา จนกลายเป็นวังน้ำวน และสิ่งที่ปรากฏบนเหนือผิวน้ำนั่นก็คือ พระพุทธรูปองค์หนึ่ง ลักษระคล้ายดำผุดดำว่ายอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านจึงอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ วัดไตรภูมิ.

แต่ในปีถัดมา แรม15 ค่ำเดือนสิบ พระพุทธรูปดังกล่าวหายไป ชาวบ้านพากันออกตามหา และได้พบว่าพระพุทธรูปกลับไป ดำผุดดำว่ายอยู่กลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณวังมะขามแฟบเหมือนเมื่อครั้งแรกที่ได้พบ จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิเป็นครั้งที่สอง พร้อมร่วมกันถวายนามว่า “ พระพุทธมหาธรรมราชา ”

ปัจจุบัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดสร้าง "พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช"  เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์  ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์.

และ “ พระพุทธมหาธรรมราชา ” นั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรีค่ะ

และนอกจากอิทธิพลของศิลปะขอมแล้ว ปัจจุบัน จ.เพชรบูรณ์ยังมีสถานที่ที่เป็นศิลปะร่วมสมัย และศิลปะในแต่ละยุคให้เห็นกันอีกด้วย นับว่าเป็นการรวมศิลปะวัฒนธรรม จากการเริ่มสร้างเมือง มาจนถึงในยุคปัจจุบันกันเลยค่ะ.

การท่องเที่ยวจ.เพชรบูรณ์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยงเชิญประติศาสตร์ อย่าง อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า การท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ภูทับเบิก เขาค้อ ทุ่งสแลงหลวง ไร่กำนันจุล และสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย รอการไปเยี่ยมเยือนนะคะ


เรื่อง / ภาพ
Good Things
ขอขอบคุณ คุณ จิรชัย จุ้ยหนองเมือง
พี่ใหญ่ใจดี ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองศรีเทพ
พร้อมยังพาเที่ยวชม โบราณสถานเขาคลังนอก
พากราบขอพรจาก เจ้าพ่อศรีเทพให้เป็นสิริมงคลกับชีวิตอีกด้วยค่ะ



* petchaboon7.JPG (227.28 KB, 520x770 - ดู 463 ครั้ง.)

* petchaboon29.JPG (278.76 KB, 500x750 - ดู 443 ครั้ง.)

* petchaboon28.JPG (116.08 KB, 500x333 - ดู 537 ครั้ง.)

* petchaboon31.JPG (137.5 KB, 500x750 - ดู 444 ครั้ง.)

* petchaboon26.JPG (108.34 KB, 500x333 - ดู 427 ครั้ง.)

* petchaboon27.JPG (143.92 KB, 500x333 - ดู 454 ครั้ง.)

* petchaboon30.JPG (237.41 KB, 500x750 - ดู 419 ครั้ง.)

* petchaboon14.jpg (76.31 KB, 500x302 - ดู 420 ครั้ง.)

* petchaboon17.jpg (109.36 KB, 500x333 - ดู 431 ครั้ง.)

* petchaboon13.jpg (101.24 KB, 500x403 - ดู 427 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2015, 09:58:08 PM โดย Good things » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  แนะนำสถานที่น่าเที่ยวในภาคเหนือ  |  แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ  |  หัวข้อ: ท่องเที่ยว ชมเมือง เพชบุระ ศึกษาศิลปะวัฒนธรรมขอมโบราณ เมืองเพชรบูรณ์ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง