ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:30:47 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่  |  หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : ครูช่างที่โดดเด่น 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : ครูช่างที่โดดเด่น  (อ่าน 2284 ครั้ง)
konhuleg
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2015, 09:46:24 AM »


กว่าที่ผลงานจะคลอดออกมาได้ขนาดนี้ แน่นอนว่าต้องมีครูช่างที่โดดเด่น เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้งานหัตถกรรมเครื่องเงินออกมาดีกันครับ ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณได้ดำเนินกิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาโดยมีผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชมและครูช่างที่มีทักษะโดดเด่นจำนวนมากมายคอยช่วยเหลือ ซึ่งแต่ละคนจะมีใครกันบ้างนั้น ก็ลองเลื่อนไปอ่านกันได้ตรงบรรทัดด้านล่างครับ

ท่านพระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าโอวาสวัดศรีสุพรรณ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและสืบสานมรดกทางภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรมเครื่องเงิน เป็นศูนย์รวมน้ำใจของคนในชุมชน และเป็นผู้นำในการสร้างอุโบสถเงิน ท่านเจ้าอาวาสเป็นผู้รอบรู้ในด้านทางธรรมและคติที่แฝงอยู่ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในวัดศรีสุพรรณ เปิดกว้างให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวชมวัดศรีสุพรรณได้ และเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนวัดศรีสุพรรณเป็นที่โดดเด่นและสามารถดำรงศิลปะเชิงช่างหัตถกรรมเครื่องเงินให้คงอยู่สืบไป

อาจารย์บุญทอง พุทธิศรี เป็นปราชญ์ชุมชน มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้งทั้งทางโลกและทางธรรม ทำหน้าที่เป็นไวยาวจกรณ์ของวัดศรีสุพรรณ ทำหน้าที่ควบคุมกิจการของฆราวาสทั้งหมดของวัด และช่วยบรรยายประวัติความเป็นมาของวัด รวมทั้งให้ความรู้เรื่องหัตถกรรมเครื่องเงินแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมวัด
 
ครูเสนีย์ ไชยรังษี เดิมเป็นชาวอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วมาแต่งงานและตั้งถิ่นฐานที่ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ครูเสนีย์เป็นผู้ที่มีฝีมือในการทำหัตถกรรมเครื่องเงินเป็นที่เลื่องชื่อ มีผลงานในการทำเครื่องเงินขนาดใหญ่ เช่น สลุงหลวง เป็นต้น
 
ครูช่างสมชาย ใจคำบุญเรือง เป็นผู้เชี่ยวชาญการขึ้นรูปภาชนะเครื่องเงิน เป็นผู้ที่ทำงานเสมือนปิดทองหลังพระ เนื่องจากความงามของภาชนะเครื่องเงินที่เกิดจากการขึ้นรูปไม่ค่อยมีผู้มองเห็น เพราะ ส่วนใหญ่ผู้คนจะชื่นชมความงามของลวดลายบนผิวภาชนะมากกว่า แต่กระนั้นครูช่างสมชายก็มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเงิน ผลงานชิ้นที่ภูมิใจที่สุดคือสลุงหลวงหนัก 1,100 บาท ปากกว้าง 32 นิ้ว ลึก 18 นิ้ว ใช้เวลาทำถึง 20 วันกับช่างอีกคนหนึ่งคือคุณสุพีระ จากนั้นได้นำไปทำลวดลายต่อที่หมู่บ้านแม่ย่อยจนกลายเป็นลายแม่ย่อย ผลงานที่เสร็จแล้วในปัจจุบันอยู่ที่วัดครูบาเทืองที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ความรู้สึกของครูช่างที่ได้ทำงานหัตถกรรมเครื่องเงินมาเป็นเวลาเกือบชั่วชีวิตของตนเองที่มีต่อความงดงาม คุณค่า และความภาคภูมิใจในผลงานสามารถเรียงร้อยออกมาได้ดังนี้

ครูช่างจันทร์สม เที่ยงจันตา กล่าวว่าตนเองมีความภูมิใจมากที่ได้มีส่วนร่วมสร้างอุโบสถเงินให้แก่เด็กรุ่นหลังได้เห็นความงดงาม ทุกแผ่นภาพที่ทำมามีความน่าประทับใจมากและถือว่ามีคุณค่าทุกชิ้นงาน ในการทำงานได้มุ่งให้ความสำคัญกับผลงานทุกชิ้นจนทำให้ผลงานออกมาดีงดงามดั่งใจ
 
ครูช่างมณฑกานต์ ตันทรัตน์ บรรยายว่าตนเองมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดศิลปะที่ชื่นชอบลงบนแผ่นโลหะให้เป็นรูปธรรม แล้วถ้ามีบุคคลอื่นมาร่วมเห็นความงดงามที่ถ่ายทอดมาก็ยิ่งรู้สึกเป็นสุขและมีกำลังใจที่อยากจะสร้างสรรค์งานชิ้นอื่น ๆ ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่วนค่าตอบแทนในแต่ละชิ้นงานนั้นถือว่าเมื่อมี ผู้ต้องการซื้อผลงานแต่ละชิ้นที่ผลิตออกก็จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ แต่ยังให้ความสุขทางใจน้อยกว่าการที่ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาแล้วมีผู้ร่วมชื่นชมในงานชิ้นนั้น ๆ
 
ครูช่างสุพร ทองคำ กล่าวว่าครั้งแรกที่ได้เห็นความงดงามของอุโบสถเงิน ทำให้ตนเองเล็งเห็น ภูมิปัญญาล้านนาและความงดงามอ่อนช้อยเมื่อครั้งที่ตนเองยังเป็นเด็ก ในอดีตตนเองได้เคยเรียนรู้จากแม่ซึ่งเป็นช่างเครื่องเงินมาส่วนหนึ่งแลได้มาหาความรู้เพิ่มเติมจากศูนย์สล่า โดยตนเองให้ความสำคัญกับชิ้นงานแต่ละชิ้นที่ต้องทำด้วยใจ
 
ครูช่างสิทธิเดช สุทธิ เล่าว่าตนเองมีความภูมิใจและประทับใจกับงานศิลปะทุกครั้งที่ได้นำผลงานมาแสดงให้กับผู้มาชม เพราะสิ่งเหล่านี้ได้สร้างชื่อและความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ชุมชนวัดศรีสุพรรณ โดยได้ให้ความสำคัญในเรื่องการเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาและการอนุรักษ์ศิลปะล้านนา
 
ครูช่างอำภาพร ฟรังเค้ กล่าวว่างานศิลปะทุกแขนงมีความงดงามในตัวเอง ในฐานะสล่าจึงมีความภูมิใจในอาชีพของตนเองและมีความสุขที่ได้ทำ และยังได้กล่าวอีกว่างานหัตถกรรมในปัจจุบันหาได้น้อยลงกว่าในอดีตจึงควรจะมีการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของช่างให้กับคนรุ่นต่อไป


* DSCFX0397_1.JPG (201.89 KB, 800x533 - ดู 420 ครั้ง.)

* DSCFX0397_2.JPG (188.59 KB, 800x533 - ดู 445 ครั้ง.)

* DSCFX0397_4.JPG (256.22 KB, 800x533 - ดู 451 ครั้ง.)

* DSCFX0397_6.JPG (158.25 KB, 800x533 - ดู 406 ครั้ง.)

* DSCFX0397_5.JPG (280.66 KB, 800x533 - ดู 398 ครั้ง.)

* DSCFX0397_3.JPG (120.46 KB, 533x800 - ดู 346 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่  |  หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : ครูช่างที่โดดเด่น « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 18 คำสั่ง