ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 01:19:25 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่  |  หัวข้อ: มารู้จักกันกับ "เครื่องเขิน" 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักกันกับ "เครื่องเขิน"  (อ่าน 2470 ครั้ง)
konhuleg
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2015, 09:25:06 AM »


ยังไม่มีโอกาสไปได้ไปชมงานหัตถกรรมเครื่องเขิน ในเชียงใหม่ แบบเป็นจริงเป็นจังกันซักที ซึ่งที่ผ่านมานี้มีแต่แบบ ดูกันมาผ่านๆ และแน่นอนว่าถ้ามีโอกาสอันเหมาะเจาะ คงจะลองเลียบเลาะเก็บมาเล่าสู่กันฟังแบบเต็มๆ ส่วนตอนนี้เอาแบบน้ำจิ้มกันไปก่อนครับ

พูดถึงเรื่องเครื่องเขินแล้ว ถ้าไม่ใช่คนในพื้นที่ หรือนักท่องเที่ยวต่างถิ่น ก็อาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกันนัก แต่สำหรับคนล้านนานั้น เรียกได้ว่า คงคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดี

เครื่องเขิน จัดเป็นภาชนะเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่สาน แล้วทาด้วยรักสีดำ ตกแต่งลวดลายด้วยเปลือกหอยมุก ทองคำเปลว เงินเปลว ให้เกิดลวดลายที่สวยงามน่าชม เครื่องเขินเป็นภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันทางภาคเหนือ ภาชนะที่นิยมทำ เช่น แจกัน ถาด ตลับ ขันน้ำ โถ ที่เขี่ยบุหรี่ เชี่ยนหมาก ตลับ ตลุ่ม ฯลฯ ในปัจจุบันนอกจากจะใช้ไม้ไผ่สานแล้ว ยังใช้ไม้กลึงด้วย เครื่องจักรและวัสดุอื่นๆ อีก เช่น พลาสติก กระดาษอัด ไม้อัด เหล็ก อลูมิเนียม ดินเผา และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมามีรูปแบบต่างๆมากมายทั้งในรูปวัสดุ เครื่องใช้ในบ้านและเป็นของที่ระลึก เป็นต้น

เขิน เป็นชื่อของชาวไทยซึ่งอยู่ทางเชียงตุง เรียกว่า ไทยเขิน บางกลุ่ม ได้อพยพมาอยู่ที่ หมู่บ้านเขิน ปัจจุบันอยู่ในแถบ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์และได้ทำเครื่องเขินเป็นอาชีพ แม้ในปัจจุบันก็ยังทำอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงสันนิษฐานว่า ชาวไทยเขินคือผู้ที่ทำเครื่องเขินเป็นแห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่าจีนคือต้นกำเนิดมาตั้งแต่อดีตในสมัยสุโขทัย พร้อมเครื่องสังคโลก เพราะในสมัยสุโขทัยได้มีการลงรักปิดทองซึ่งเป็นวิธีกรรมหนึ่งของเครื่องเขิน

วัสดุสำคัญในการทำเครื่องเขินคือยางรัก (รักคือต้นไม้ชนิดหนึ่ง) การที่จะนำยางรักมาจะต้องกรีดจากต้นรัก ยางรักมีสีดำ มีมากทางภาคเหนือและภาคใต้ แต่นิยมนำมาใช้ทำเครื่องเขินทางภาคเหนือเพราะแห้งเร็วกว่าภาคใต้ งานเครื่องเขินเป็นหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทน ประณีต และชำนิชำนาญ ประกอบกับฝีมือทางด้านศิลปะ

สำหรับแหล่งการผลิตเครื่องเขินที่น่าสนใจในเชียงใหม่นั้น คือบ้านนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ครับ โดยเครื่องเขินนันทาราม มีโครงสร้างเป็นโครงสานลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ ที่มีการเหลาให้ได้ขนาดเล็ก เรียบบางคล้ายทางมะพร้าวสานขัดกับตอกเส้นบางแบนเป็นรูปแฉกรัศมีจากก้นของภาชนะ จนได้รูปทรงตามที่ต้องการ มีโครงที่แน่นแข็งแรง เรียบเสมอกันโดยตลอด เมื่อทารักสมุกแล้วขัด ก็จะได้รูปภาชนะที่ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยงบาง และมีความเบา การตกแต่งเครื่องเขินชนิดนี้ มีลักษณะเด่นที่นิยมการขูดลาย หรือภาษาพื้นถิ่นเรียกว่า ฮายดอก หรือ ฮายลาย แล้วนำยางรักที่ผสมกับสีชาดถมลงไปในร่องที่กรีดไว้ เมื่อขัดแล้วจะมองเห็นเส้นลวดลายสีแดงฝังอยู่ในพื้นดำ

เอาเป็นว่าเล่าให้ฟังพอได้รู้กันคร่าวๆ ไว้โอกาสหน้าอย่างที่บอก แบบฉบับบเต็มมีมาฝากกันแน่นอนครับ


* DSCFX0386_4.JPG (157.85 KB, 800x533 - ดู 418 ครั้ง.)

* DSCFX0386_1.JPG (208.22 KB, 800x533 - ดู 494 ครั้ง.)

* DSCFX0386_2.JPG (206.21 KB, 800x533 - ดู 569 ครั้ง.)

* DSCFX0386_3.JPG (105.63 KB, 800x533 - ดู 549 ครั้ง.)

* DSCFX0386_5.JPG (147.25 KB, 800x533 - ดู 550 ครั้ง.)

* DSCFX0386_6.JPG (169.15 KB, 800x533 - ดู 441 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่  |  หัวข้อ: มารู้จักกันกับ "เครื่องเขิน" « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 18 คำสั่ง