ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 02:19:15 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดปากทางสามัคคี (ม่อนฤาษี) : วัดแห่งการปฏิบัติธรรม 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดปากทางสามัคคี (ม่อนฤาษี) : วัดแห่งการปฏิบัติธรรม  (อ่าน 2986 ครั้ง)
konhuleg
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 09:24:22 AM »


ช่วงนี้อากาศไม่ค่อยจะแน่นอนกันครับ บางวันก็แดดออกโคตรดี บางวันก็มีฝนตกให้หงุดหงิดน่ารำคาญใจ ซึ่งสำหรับใครคนนี้ที่ต้องออกไปข้างนอกบ่อยๆ เพื่อเก็บภาพ ขอบอกเลยว่าต้องเตรียมพร้อมทุกสถานการณ์

อย่างฝนตกก็ต้องเตรียมร่ม กับเสื้อกันฝนไว้ครับ ซึ่งไอ้ผมก็เตรียมไว้กันประจำ แต่หลังๆ ต้องมีอีกอย่างต้องเตรียมด้วยเวลาแดดออกก็คือ ถุงมือขับรถมอเตอร์ไซค์

กรณีขับแดดไม่แรงเวลาไม่นาน มันไม่เป็นไรหรอก แต่ถ้าซัก 30 นาที ขึ้นไปแดดเปรี้ยงๆ ตอนเที่ยงยาวไปจนถึงบ่ายสาม ขอบอกเลยว่ามือไหม้กันแน่นอนถ้าไม่มีถุงมือใส่

เคยมีครั้งหนึ่งผมขับรถสามวันต่อกันไม่ใส่ถุงมือปรากฏว่ามือตอนนั้นไหม้เกรียม จากนั้นต่อมาอีกประมาณซักสัปดาห์ ผิวหนังก็ค่อยๆ ลอกออก เพราะมันโดนทำลายจากรังสีของพระอาทิตย์ ขอบอกเลยว่าสภาพตอนนั้นทุเรศกันสุดๆ ซึ่งกว่าจะฟื้นฟูสภาพผิวได้ก็ใช้เวลาอยู่นานโข และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เรพาะเลยต้องมีไอ้ถุงมือนี้ติดไว้รถ

มากันที่เรื่องวัดปากทางสามัคคี (ม่อนฤาษี) ใน อ.ดอยหล่อ

วัดนี้จะอยู่เลยจากตัว อ.ดอยหล่อมาไม่ไกลมานัก ตั้งยู่หมู่ที่ 9 ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2525 ในวาระฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพสิทธิาจารย์ (หลวงพ่อทอง  ศิริมังคโล) เป็นองค์อุปถัมภ์สร้าง และมีพระจำเนียร  สุภาธโส แห่งวัดตะโปธาราม เชียงใหม่ มาเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งได้ฝึกอบรมศรัทธาประชาชน ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อปี พ.ศ.2529 ทางวัดได้มีการบรรพชาสามาเณรภาคฤดูร้อนขึ้นในช่วงปิดภาคเรียน เดือนเมษายนของทุกปี  โดยมีเยาวชนสมัครเข้ามาบรรพชาประมาณ 250 ถึง 300 คน โดยดำเนินการมาถึงปี 2533 และช่วงนี้พระจำเนียร  สุภาธโส เจ้าอาวาสวัดได้มรณภาพไป ทางการจึงแต่งตั้งให้พระนิวัฒน์  สุเมธโส  เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา และได้มีการจัดงานปริวาสกรรมขึ้น แทนการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  ซึ่งการจัดงานปริวาสกรรมนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา โดยมีพระสงฆ์ทั่วประเทศ 77 จังหวัด พร้อมด้วยพระสงฆ์ต่างประเทศ เช่น พม่า กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งทางวัดจัดงานปริวาสกรรมนี้มาแล้วเป็นระยะเวลาเกือบ 20  ปี ซึ่งจะมีพระสงฆ์มาปฏิบัติกันในปีหนึ่ง ๆ ประมาณ 400 รูปขึ้นไป

สำหรับเนื้อที่ของวัดนั้นมีประมาณ 45 ไร่ ศาสนสถานมี พระเจ้าทันใจ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ พระเจดีย์ ศาลาเอนกประสงค์ หอระฆัง เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งรายละเอียดยิบย่อยลึกๆ จะมาต่อกันในตอนหน้าครับ




* DSCFX0160_5.JPG (259.88 KB, 800x533 - ดู 486 ครั้ง.)

* DSCFX0160_3.JPG (199.73 KB, 800x533 - ดู 446 ครั้ง.)

* DSCFX0160_1.JPG (128.51 KB, 800x533 - ดู 447 ครั้ง.)

* DSCFX0160_4.JPG (235.17 KB, 800x533 - ดู 366 ครั้ง.)

* DSCFX0160_2.JPG (201.17 KB, 533x800 - ดู 363 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 12, 2016, 02:36:30 PM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
konhuleg
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 01:56:18 PM »


จากทำเลที่ตั้งของวัด แม้จะอยู่ติดกับถนนสานหลักของเชียงใหม่ แต่บรรยากาศภายในจัดว่าเงียบสงบกันเลยทีเดียวครับ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่วัดแห่งนี้จะจัดงานปริวาสกรรมนี้มาแล้วเป็นระยะเวลา 20 ปี เข้าให้แล้ว

อย่างที่ได้ทิ้งท้ายกันไว้ถึงสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจต่างๆ ภายในวัด ผมจะขอเริ่มพาไปสำรวจกันที่แรกเลยครับ เป็นอุโบสถของวัด อาคารที่พระสงฆ์ใช้ประชุมสังฆกรรมร่วมกัน ซึ่งการทำสังฆกรรมที่สำคัญที่สุดได้แก่การทำสังฆกรรมบวช ในวัฒนธรรมล้านนา แบบอย่างของวิหารและโบสถ์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่โบสถ์จะมีใบสีมา เป็นเครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบ อาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีกชั้นหนึ่ง โดยจะกำหนดบริเวณทิศทั้ง 8 และฝังไว้ตรงกลาง รวมทั้งหมด 9 แห่ง

ทั้งนี้การสร้างวิหารจะนิยมมากกว่าโบสถ์ อาจจะ เนื่องมาจากการมีประโยชน์ใช้สอยที่มากกว่า เพราะคติแต่เดิมโบสถ์ใช้ในการประชุมสังฆกรรมเพื่อการอุปสมบทพระสงฆ์ตามที่ บัญญัติไว้ในพระวินัยเป็น สำคัญ นอกจากนี้ก็จะมีการรับกฐิน การสวดปาติโมกข์ประจำทุก ๆ 15 ค่ำ ส่วนพิธีอื่น ๆ ที่เป็นประเพณีประจำปีมักจะกระทำในวิหาร อีกทั้งยังใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสงฆ์ เป็นศาลาการเปรียญเป็นสถานที่ประชุมพุทธบริษัทต่างๆ รวมถึงคติการบวชดังที่เราจะพบอยู่บ่อยครั้งในตำนานทางภาคเหนือ จะนิยมบวชโดยใช้สมมุติสีมาน้ำที่เรียกว่า นทีสีมา หรือ อุทกสีมา ตามประเพณีที่ได้รับมาจากลังกา

สำหรับด้านหน้าของโบสถ์นั้น เป็นบันไดนาค 5 เศียร ที่มีความสวยงามมาก ส่วนบันไดทางด้านหลังเป็นตัวมอม สัตว์ในจินตนาการอย่างหนึ่งรูปร่างคล้ายราชสีห์ผสมมังกร ที่มักปั้นเพื่อใช้ประดับสถานที่ ในทางศิลปะล้านนานั้นช่างปั้นบางครั้งก็ปั้นให้ดูคล้ายตุ๊กแก กิ้งก่า หรือค่าง ลักษณะของศิลปะนั้นได้รับอิทธิพลจากจีน ส่วนในศิลปะลาวและอีสานนั้น เชื่อว่า มอมเป็นสิงห์จำพวกหนึ่ง ช่างนิยมปั้นให้มีลักษณะคล้ายสิงห์ลำตัวยาวประดับราวบันได หรือปั้นคล้ายสุนัขขนาดใหญ่มีแผงคอและแผงหลัง และชาวอีสานถือว่ามอมเป็นสัตว์มงคลที่ปรากฏอยู่ในลายสักร่างกายของคนสมัยโบราณด้วย

ด้านหลังของอุโบสถ เป็นที่ตั้งขององค์เจดีย์วัดครับ เป็นเจดีย์ทรงปราสาท รูปทรงสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น คล้ายรูปทรงปราสาทหรือที่อยู่ของกษัตริย์ เจดีย์รูปทรงนี้เชื่อว่าพัฒนาการมาจากเจดีย์ทรงศิขรของอินเดีย ในช่วงต้นของวัฒนธรรมล้านนา นิยมสร้างเจดีย์ทรงปราสาทที่มีการซ้อนชั้นมีซุ้มประดิษฐานโดยรอบทุกชั้น ต่อมาจึงพัฒนาการเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีเรือนธาตุและมีซุ้มประดิษฐานพระ พุทธรูปภายในชั้นเดียว และมีส่วนยอดทำเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กซ้อนชั้นขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ทรงปราสาทล้านนา

ส่วนตอนหน้าตอนสุดท้าย มีชมสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ที่เหลือกันครับ



* tc_0001.jpg (237.85 KB, 800x533 - ดู 374 ครั้ง.)

* tc_0002.jpg (221.18 KB, 800x533 - ดู 377 ครั้ง.)

* tc_0003.jpg (128.54 KB, 800x533 - ดู 331 ครั้ง.)

* tc_0004.jpg (218.78 KB, 800x533 - ดู 343 ครั้ง.)

* tc_0005.jpg (244.94 KB, 533x800 - ดู 319 ครั้ง.)

* tc_0006.jpg (145.63 KB, 533x800 - ดู 358 ครั้ง.)

* tc_0007.jpg (99.48 KB, 800x533 - ดู 341 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
konhuleg
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 01:58:33 PM »


มาวัดนี้นอกจาจะมีอะไรที่น่าสนใจให้ดูแล้ว ยังให้อารมณ์เงียบสงบเสียจนวังเวง

บริเวณด้านหลังของวัดนั้นถัดจากเจดีย์ลงไปข้างๆ กับศาลาจะเป็นของป่าครับ ซึ่งป่าตรงนี้เข้าใจว่าน่าจะเป็นป่าที่ปลูกไว้ของทางวัด แต่ที่มันไม่ค่อยธรรมดาก็ตรงที่พื้นดินแถวนั้นค่อนข้างที่ชุ่มชื้น เพราะถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้หญ้าที่เอามาทำปุ๋ย เวลาจะเดินแต่ละทีต้องมีระวังเพราะกลัวเท้าจมลง และเมื่อจมลงก็คงคิดมากตามประสาคนฟุ้งซ่านแบบผม ที่ไปคิดว่าตรงนี้ต้องเป็นป่าช้ามาก่อนแน่ๆ ทั้งๆ ที่จริงแล้วมันไม่ใช่เลย ฮ่าๆๆ สงสัยดูหนังผีเยอะ

มาที่เรื่องศาสนสถานและศาสนวัตถุที่เหลือกัน ตรงศาลาของวัดนั้นมีพระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่ เป็นพระเจ้าทันใจองค์ใหญ่พอสมควร ซึ่งพระเจ้าทันใจนั้น เป็นพระพุทธรูปที่สามารถสร้างเสร็จภายใน 1 วัน พุทธศาสนิกชนจึงเชื่อว่ามีพระพุทธานุภาพ ที่จะสามารถบันดาลให้เกิดโชคลาภ และความสมปรารถนาได้ทันอกทันใจเมื่ออธิษฐานขอพร ตรงศาลานี้คาดว่าน่าจะเป็นที่ปริวาสกรรมขิงพระภิกษุกันครับ

ออกมาฝั่งตรงด้านนอกๆ จากหลังวัดกันบ้าง มีพระสังกัจจายน์ เป็นพระอรหันต์ 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร

พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน 80 องค์ พระเอตทัคคะ 41 องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดด

พระสังกัจจายน์ เป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาดมีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่งมีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์ เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้วชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน ลาภอันประเสริฐที่ว่าคือ "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" นั่นเองตามบาลีที่ว่า "อโรคฺยาปรฺมา ลาภา"

ถัดมาอยู่ใกล้ๆ กัน เป็น องค์เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง

สุดท้ายวิหารพระเจ้าทันใจองค์ขนาดเล็ก ที่ตัววิหารสร้างด้วยไม้ทั้งหลังอยู่ข้างๆ ติดกันกับองค์เจดีย์ของวัด


* tz_001.jpg (300.35 KB, 800x533 - ดู 317 ครั้ง.)

* tz_002.jpg (214.56 KB, 800x533 - ดู 342 ครั้ง.)

* tz_003.jpg (200.56 KB, 533x800 - ดู 347 ครั้ง.)

* tz_004.jpg (156.47 KB, 800x533 - ดู 346 ครั้ง.)

* tz_005.jpg (220.8 KB, 533x800 - ดู 335 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดปากทางสามัคคี (ม่อนฤาษี) : วัดแห่งการปฏิบัติธรรม « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 18 คำสั่ง