ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 01:20:55 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว ในตัวเมืองเชียงใหม่  |  หัวข้อ: เที่ยวเพลิน เดินเล่นกลางเวียง ฉบับเต็ม 0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวเพลิน เดินเล่นกลางเวียง ฉบับเต็ม  (อ่าน 11711 ครั้ง)
konhuleg
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 12:00:59 PM »


เกิดความคิดว่าอยากลองเดินเที่ยวเล่นในเวียงกันซักหน โดยเน้นเอาระยะทางสั้นๆ เดินกันซัก 2 – 3 ชั่วโมง มองดูนั้นนี้ไปเรื่อย พร้อมสะพายกล้อง 1 ตัว เอาบันทึกภาพ โดยกะว่าจะเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ ในสถานที่เก่า จากแต่เดิมเคยแต่ขี่รถแล้วจอดแวะเอาเป็นบ้างที่ กับมีเดินเล่นที่ถนนคนเดินวันอาทิตย์ ตรงประตูท่าแพ

โปรแกรมนี้ผมใช้เวลาคิดไม่นานกันครับ 5 นาที นึกออกก็ไปเลย จุดสตาร์ทอยู่ตรงที่ประตูเชียงใหม่ เอารถไปจอดไว้ตรงนั้น จากนั้นก็ค่อยๆ เดินเที่ยวไปเรื่อย ซึ่งปลายทางที่คิดไว้ก็คือ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เดินเที่ยวเล่นราวสี่โมงเย็นนิดๆ  แดดกำลังดี มีเวลาสองชั่วโมงกว่าก่อนจะมืด เอาเป็นนว่าโอเคกันเลย

สถานที่แรกที่อยากจะเล่าถึง คือ ประตูเชียงใหม่ จุดสตาร์ทนี่แหละ เดิมมีชื่อว่า ประตูท้ายเวียง เป็นประตูชั้นในด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นกำแพงแต่เดิมสมัยสร้างเวียง พูดง่ายๆ ก็คือ สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพญามังราย เพื่อเป็นเมืองหลวงของล้านนา โดยขั้นแรกได้ขุดคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละประมาณ 1.63 กิโลเมตร และนำดินที่ได้จากการขุดคูเมืองนั้นขึ้นไปถมเป็นแนวกำแพงเมือง โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้งสี่แห่ง โดยกำแพงด้านทิศเหนือ มีความยาวมากที่สุด วัดได้ประมาณ 1.67 กิโลเมตร รองลงมาเป็นกำแพงด้านทิศใต้ วัดได้ 1.63 กิโลเมตร ส่วนกำแพงด้านทิศตะวันออกมีความยาวเท่ากับทิศตะวันตก คือ 1.62 กิโลเมตร

ให้หลังจากที่เชียงใหม่ได้รับอิสรภาพจากพม่า เจ้ากาวิละ ได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 โปรดให้บูรณะกำแพงเมืองเป็นครั้งใหญ่ เป็นกำแพงอิฐที่มีความมั่นคงทนทาน และบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2361 ในรัชสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 และในปี พ.ศ. 2491 เนื่องจากกำแพงเมืองเชียงใหม่มีสภาพทรุดโทรมลงอย่างมาก และบางแห่งก็พังเป็นซากปรักหักพัง ทั้งยังมีวัชพืชขึ้นจนรก แถวยังบดบังทัศนียภาพของคนที่อยู่นอกกำแพงเมือง ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้เริ่มรื้อกำแพงออก เพื่อสร้างถนนและเส้นทางคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่

จากประตูเชียงใหม่เดินเข้ามายังถนนพระปกเกล้าซ้ายมือ จะเห็นได้ว่าเป็นที่ตั้งของ ตลาดประตูเชียงใหม่ ตอนเช้าจะเป็นตลาดสด มีผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยกันเยอะ ส่วนตกเย็นมาจะเป็นตลาดค่ำ มีร้านอาหารรถเข็นมาจอดเรียงรายตรงประตูเชียงใหม่เยอะแยะ กับหน้าตลาด วันไหนมีถนนคนเดินวัวลายก็เพิ่มอัตราความคึกคักเป็นสองเท่า

เดินเข้ามาตามถนน พระปกเกล้าช่วงต้น มีร้านอาหารแนะนำอยู่ด้วยกันสองร้าน สำหรับมือเช้า ร้านแรก โจ๊กประตูเชียงใหม่ (ขวามือเมื่อเดินเข้ามายังถนนพระปกเกล้า) มีของอร่อยเป็นโจ๊ก ข้าวต้ม เกาเหลาเลือดหมู เวลาเปิดน่าจะ  4 โมงเย็นถึง  4 โมงเช้าอีกวัน ส่วนอีกร้านเดินไปอีกซัก 100 เมตร ซ้ายมือ ชื่อร้าน ไข่กระทะเลิศรส เชียงใหม่ ขายไข่กระทะสุดอร่อย ที่ตอนเช้าๆ มีลูกค้ามาอุดหนุนแน่นทุกวันยันไปจนถึงบ่ายก็เป็นอันหมด

ตอนหน้าจะพาเริ่มเดินไปชมวัดกันครับ


* kang1_5.JPG (196.65 KB, 800x533 - ดู 3420 ครั้ง.)

* kang1_6.JPG (174.09 KB, 800x533 - ดู 3204 ครั้ง.)

* kang1_4.JPG (181.07 KB, 800x533 - ดู 3322 ครั้ง.)

* kang1_3.JPG (154.37 KB, 800x533 - ดู 3291 ครั้ง.)

* kang1_2.JPG (200.21 KB, 800x533 - ดู 3115 ครั้ง.)

* kang1_1.JPG (162.82 KB, 800x533 - ดู 3110 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2016, 09:44:43 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
DDjung
Sr. Member
****
กระทู้: 374



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2015, 09:34:26 AM »


น่าสนใจ
บันทึกการเข้า
konhuleg
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 10:04:44 AM »


ในย่านกลางเวียง จริงๆ อาจจะเรียกว่าทั้งหมดในเวียงนั้นแหละ เป้ฯที่น่าสังเกตว่ามีวัดกันเยอะมาก และแต่ละวัดก็เป็นวัดเก่าแก่กันมานานหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งถ้าใครมาเที่ยวเชียงใหม่ในเวียงแบบนี้ พอดีเป็นคนชอบเที่ยววัด รับรองว่ามีให้เที่ยวกันอย่างหนำใจแน่นอน แต่ถ้าใครไม่ชอบก็นั่นแหละ พกวเขาอาจเบือนหน้าหนี

วัดแรกให้การเดินเที่ยวครั้งนี้เริ่มที่ วัดเจ็ดลิน ครับ  วัดนี้มีความสำคัญในอดีตคือ เป็นวัดที่มีการทำพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษกพระมหากษัตริย์ ในสมัยราชวงศ์มังราย ก่อนขึ้นครองราชย์ โดย พระเมกุฏิวิสุทธิ์วงศ์ กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ซึ่งครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2094 ได้ทรงชุดขาว ณ วัดผ้าขาว จากนั้นเสด็จไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และเสด็จมาประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษกจากสุวรรณสังข์ ณ วัดเจ็ดลิน โดยมีรางน้ำทองคำ ที่เรียกว่า "ลิน" ซึ่งมีด้วยกัน เจ็ดราง อันเป็นที่มาของนามวัด โดยหลังเสร็จพิธีจึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไป และในวันสงกรานต์ วัดเจ็ดลิน ได้มีพิธีก่อเจดีย์ทรายถวายวัด ที่เรียกว่า  เจดีย์ทรายสุดส้าว ซึ่งถือเป็นเจดีย์ทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีการนำตุงไปปักที่เจดีย์ทราย เพื่อเป็นการบูชาแด่พระพุทธองค์

จากวัดเจ็ดลินเดินมาซักหน่อย ซ้ายมือเป็น วัดหมื่นตูม วัดนี้เกี่ยวพันกันกับวัดเจ็ดลินตรงที่ เป็น 1 ใน 3 วัด ที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก ซึ่งในอดีตกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายพระองค์ใด ก่อนจะขึ้นเสวยราชย์ จะต้องเสด็จไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม

เดินเที่ยวมาได้สองวัด ระหว่างทางเดินมาจะสังเกตเห็นว่าในถนนพระปกเกล้านี้ ส่วนใหญ่จะเห็นแต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเดินเที่ยวกันครับ ซึ่งก็มีทั้งจีน และชาวตะวันตก หลักๆ ในการเที่ยวของพวกเขาก็เหมือนผม คือ เดินเที่ยวชมเมืองในวัดในย่านดังกล่าว

วัดที่ 3 เดินมากันเกือบครึ่งทางไม่เมื่อยมาก เป็น วัดช่างแต้ม วัดที่มีปูชนียวัตถุเป็นพระพุทธรูปฝนแสนห่า ประดิษฐานอยู่บนกุฏิ 700 ปี ศรีเมืองเชียงใหม่ โดยพระพุทธรูปฝนแสนห่านี้ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย เชียงแสนลังกา มีขนาดหน้าตักกว้าง 25 นิ้ว สูง 35 นิ้ว หนา 15 นิ้ว อายุประมาณ 1,000 กว่าปี พุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสำคัญ เพราะ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านเมืองมาแต่ในอดีต ซึ่งในวันสงกรานต์ของจังหวัดเชียงใหม่ทุกปี จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปฝนแสนห่า จากวัดช่างแต้มเข้าขบวนแห่พระสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชากัน และอีกงานเป็นพิธีบูชาเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ งานนี้ก็จะอัญเชิญพระพุทธรูปฝนแสนห่า จากวัดช่างแต้มขึ้นบนบุษบกราชรถ เข้าขบวนแห่รอบเมืองเชียงใหม่เช่นกัน และจะนำมาประดิษฐานชั่วคราว ณ วิหารจัตุรมุขเสาอินทขิล เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทอง สรงน้ำและบูชาเสาอินทขิล เพื่อความเป็นสิริมงคล นำความร่มเย็นเป็นสุข ความอุดมสมบูรณ์ มาสู่ชาวเชียงใหม่ และชาวจังหวัดใกล้เคียงสืบไป

แล้วมาต่อกันในตอนที่ 3


* ddn_01.jpg (193.24 KB, 800x533 - ดู 2987 ครั้ง.)

* ddn_02.jpg (112.19 KB, 800x533 - ดู 2963 ครั้ง.)

* ddn_03.jpg (119.58 KB, 533x800 - ดู 2940 ครั้ง.)

* ddn_04.jpg (212.92 KB, 800x533 - ดู 2882 ครั้ง.)

* ddn_05.jpg (179.57 KB, 800x533 - ดู 2873 ครั้ง.)

* ddn_06.jpg (143.3 KB, 533x800 - ดู 2924 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2016, 10:59:43 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
konhuleg
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 10:06:38 AM »


เดินมาถึงครึ่งทางกันแล้ว จากวัดช่างแต้มไปก็จะผ่าน สี่แยกตรงโรงเรียนพุทธิโศภนกันครับ ตอนเช้าหรือตอนเย็นแถวนี้ ค่อนข้างที่จะพลุกพล่านพอสมควร เพราะมีเด็กๆ เยอะ ซึ่งถ้าในช่วงเวลาปกติไม่ใช่เวลาเข้าเรียนหรือเลิกเรียน ถนนเส้นนี้ก็โล่งสะดวก

มาต่อกันวัดที่ 4 วัดนี้ถือว่าเป็นวัดใหญ่โต ใครไปใครมาก็ต้องแวะมาเที่ยวกันครับ คือใครมาแล้วก็มาอีก อย่างผมเนี่ยก็ไม่รู้รอบที่เท่าไหร่แล้ว ทั้งมาคนเดียว และพาชาวบ้านมาเที่ยว

วัดเจดีย์หลวง ถ้าพูดถึงความสำคัญนั้น ต้องบอกว่าเป็นวัดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ ลำดับ ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928-พ.ศ. 1945 เป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมี ขนาด ความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่  นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นเสาหลักที่สร้างความมั่นคง การอยู่ดีมีสุขให้คนเชียงใหม่ โดยทุกๆ ปีระหว่างเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน จะต้องมีพิธีสักการะบูชาเสาอินทขิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ให้แก่ชาวบ้านชาวเมืองรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับเกษตรโดยการเพาะปลูก

ใกล้กันกับวัดเจดีย์หลวง วัดนี้ห้ามพลาดครับ ชื่อ วัดพันเตา ที่เดิมเป็นเขตสังฆาวาสและพื้นที่หล่อพระอัฎฐารสของวัดเจดีย์หลวง ต่อมาได้สร้างเป็นวัดพันเตา ซึ่งแต่เดิมนั้นคนเชียงใหม่เรียกที่นี่ว่าวัด “ปันเต้า” (พันเท่า) อันหมายถึงการที่มาทำบุญเพียงหนึ่งจะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า  ภายหลังเพี้ยนเป็น “พันเตา” อีกที่มาหนึ่ง น่าจะมาจากการใช้วัดนี้เป็นแหล่งสร้างเตาหล่อพระนับร้อยนับพันเตา จึงได้ชื่อว่า “วัดพันเตา”

ในวัดมีพระวิหารที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ตัวอาคารเป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ตามศิลปะแบบเชียงแสน เดิมเป็นหอคำหรือคุ้มหลวง  ที่ประทับของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5

หมดจากวัดมาได้ครึ่งทาง อีกสถานที่ที่คนพากันเมินเฉย แต่น่าสนใจที่สุด ตรงข้ามเยี่ยงๆ กับวัดพันเตา เป็น คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ที่ใช้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค โดยมีสิ่งที่น่าสนใจเป็น อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

แล้วตอนหน้ามาว่ากันต่อครับ


* ddn_21.jpg (104.94 KB, 533x800 - ดู 2834 ครั้ง.)

* ddn_22.jpg (169.9 KB, 533x800 - ดู 2834 ครั้ง.)

* ddn_23.jpg (280.22 KB, 800x533 - ดู 2885 ครั้ง.)

* ddn_24.jpg (156.74 KB, 800x533 - ดู 2864 ครั้ง.)

* ddn_25.jpg (263.7 KB, 800x533 - ดู 2793 ครั้ง.)

* ddn_26.jpg (228.82 KB, 800x533 - ดู 2794 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2016, 11:00:38 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
konhuleg
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 10:08:33 AM »


ตรงพื้นที่กลางเวียง นอกจากคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ นอกจากจะไม่ค่อยได้รับความน่าสนใจแล้ว ก็ยังมีอีกที่ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกันครับ เป็นหอพญามัง ที่ชาวเชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ พญามังรายผู้ตั้งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต้อง อสนีบาต เสด็จสวรรคต ณ บริเวณกลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1854  ซึ่งหอพญามังรายแห่งนี้ สร้างขึ้นใหม่ เพราะหอพญามังรายเดิม ไม่สะดวกต่อการสักการะบูชา ส่วนที่เดิมนั้นอยู่ในซอยข้างๆ ศูนย์ยามาฮ่าก่อนถึงวัดดวงดี

ไหนๆ มาถึงย่านนี้กันแล้วเลยมีเรื่องจะเล่าว่าหากใครอยากได้ของที่ระลึกเป็นพวกงานจิตรกรรมแถวนี้มีร้านแกลลอรี่ให้เลือกซื้อผลงานกันครับ ที่เป็นเอกลักษณ์และทำขายกันเยอะหน่อยก็รูปวาดช้าง (อันนี้เดาว่าคงจะทำขายเน้นนักท่องเที่ยวต่างชาติ) ถ้าเป็นวันอาทิตย์มีถนนคนเดิน ร้านเหล่านี้ รวมทั้งศิลปินท่านอื่นๆ ก็จะมาวางผลงานขายกันที่ถนนคนเดินในโซนนี้กันแหละ และนอกจากงานศิลป์แล้ว เสื้อผ้า ของที่ระลึก ที่ดูมีระดับหน่อยอยู่ในย่านนี้กัน

มาแวะเดินต่อกันอีกซักวัด วัดดวงดี วัดนี้ว่ากันว่าหาใครมาไหว้พระทำบุญ ชีวิตก็จะมีแต่เรื่องดีๆ เข้ามา ตามดังชื่อนามของวัด อันเป็นความเชื่อของคนในสมัยก่อน ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นชื่อวัดดวงดีนั้น เดิมมีหลายชื่อ ได้แก่ พันธนุนมดี, วัดอุดมดี, วัดพนมดี, วันต้นหมากเหนือ  ส่วนหลักฐานการสร้าง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า วัดดวงดีถูกสร้างโดยมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่ผู้หนึ่ง หลังจากที่ พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว

จากวัดดวงดีก็เริ่มจะมากันที่ปลายทางตรง อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จุดนี้ขอเล่าเรื่องอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ก่อน ในฐานะที่เป็นจุดแลนมาร์คสำคัญ

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ หรือพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ ผู้สร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ คือ พญามังราย, พญางำเมือง และ พ่อขุนรามคำแหง ตัวอนุสาวรีย์ หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง โดยมีความสูง 2.70 เมตร ใช้เวลา 10 เดือนในการออกแบบและทำการปั้นหล่อโดยอาจารย์ ไข่มุกด์ ชูโต โดยได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2526 เวลา 11.49 น. พระบรมรูปประกอบด้วย พญามังรายประทับกลางเป็นประธาน พญาร่วงประทับอยู่เบื้องซ้าย พญางำเมืองประทับอยู่เบื้องขวา

ส่วนตอนหน้าจะมาปิดท้ายปลายทางในการเดินเที่ยวของเราครับ ซึ่งยังเหลืออีก 2 – 3 แห่งด้วยกัน บอกใบ้เอาไว้ก่อนว่าเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ และวัดอินทขีลสะดือเมือง ครับ


* dm_001.jpg (172.14 KB, 800x533 - ดู 2769 ครั้ง.)

* dm_002.jpg (180.28 KB, 800x533 - ดู 2753 ครั้ง.)

* dm_003.jpg (136.59 KB, 800x533 - ดู 2766 ครั้ง.)

* dm_004.jpg (275.89 KB, 800x533 - ดู 2782 ครั้ง.)

* dm_005.jpg (252.55 KB, 800x533 - ดู 2709 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2016, 11:01:27 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
konhuleg
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 12, 2016, 10:10:31 AM »


และแล้วก็มาถึงจุดหมายปลายทางกันครับในช่วงเย็นพอดี ที่ท้องฟ้ากำลังสวยในวันที่ไม่มีครึ้มฟ้าครึ้มฝน

หลังจากที่ได้ทิ้งท้ายไว้ว่าจะเล่าเรื่อง พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ และวัดอินทขีลสะดือเมือง เรามาดูกันต่อครับว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

กล่าวถึง พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา และ หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ตัวพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนานั้น เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะทางศิลปะที่ปรากฏในงานต่างๆ อย่างการนำเสนอข่วงแก้วล้านนาที่เป็นต้นความคิดของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องการปกป้องคุ้มครองโดยผี เทวดาอารักษ์ต่างๆ ผสมผสานกับพิธีกรรมที่เกิดขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงศิลปะของชาวล้านนาที่เกิดภายใต้ความศรัทธาทางพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมของวิหารล้านนา การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันมีที่มาจากความศรัทธาของชาวล้านนาต่อพุทธศาสนา รวมถึงรูปแบบการตกแต่งเครื่องสักการะอันงดงามแอบแฝงความหมายทางพุทธิปัญญาของชาวล้านนาอยู่ด้วย

ส่วนหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ จะจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ และวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่น นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มา และที่อาคารส่วนหลังจัดแบ่งเป็นห้องแสดงนิทรรศการหมุนเวียน

ทั้งนี้ นิทรรศการ ถาวร 15 ห้อง จัดแบ่งตามเนื้อหาสาระ นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านสร้างเมือง ล่วงเลยผ่านวันเวลาอันรุ่งเรืองและเสื่อมถอย เปลี่ยนแปลงจวบจนเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ระบบการปกครอง วิถีชีวิตภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของชาวเชียงใหม่ นำเสนอด้วยแบบจำลองผสานสื่ออันทันสมัย ทั้งสไลด์ วีดีทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟิก และภาพประกอบคำบรรยาย ส่วนทางด้านของนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมอาคาร ส่วนหลัง จัดแบ่งเป็นห้องนิทรรศการหมุนเวียนและลานกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งมีหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ด้วย

สำหรับเวลาทำการ หยุดกันทุกวันจันทร์ครับ ส่วนวันปกติช่วงกลางวันสามารถควักตังค์ 20 บาท ไปเดินชมได้แบบสะดวก

สุดท้ายสถานีปลายทางในการเดินเที่ยวครั้งนี้ เป็น วัดอินทขีลสะดือเมือง  วัดโบราณที่ตั้งอยู่ใกล้กับ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ที่ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย พญามังราย เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเสาอินทขิล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ซึ่งตามตำนานพื้นเมืองเหนือกล่าวถึงพระอินทร์ได้ประทานเสาอินทขิลให้แก่ชาว ลัวะเพื่อบูชา เมื่อครั้งก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้รกร้างลงสมัยพม่าเข้าปกครองเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2343 พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ร่วมกับกองทัพพระเจ้าตาก ขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาสำเร็จ และได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยย้ายเสาอินทขิล มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดเจดีย์หลวง และได้สร้างพระวิหารวัดอินทขีลสะดือเมืองขึ้นใหม่บนฐานเดิม โดยอัญเชิญพระเจ้าอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว) มาประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร


* dm_2001.jpg (177.68 KB, 800x533 - ดู 2693 ครั้ง.)

* dm_2002.jpg (130.94 KB, 800x533 - ดู 2715 ครั้ง.)

* dm_2003.jpg (104.03 KB, 800x533 - ดู 2718 ครั้ง.)

* dm_2004.jpg (187 KB, 800x533 - ดู 2694 ครั้ง.)

* dm_2005.jpg (181.08 KB, 800x533 - ดู 2669 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2016, 11:02:26 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
chiangmai food
Full Member
***
กระทู้: 138


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2016, 10:02:42 AM »


ขอบคุณข้อมูล
บันทึกการเข้า
auto
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 5733


**Chiang Mai, I love you**


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 19, 2018, 10:46:58 AM »


:1001:
บันทึกการเข้า

parsuk
Hero Member
*****
กระทู้: 1447


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2020, 09:19:00 AM »


 909
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว ในตัวเมืองเชียงใหม่  |  หัวข้อ: เที่ยวเพลิน เดินเล่นกลางเวียง ฉบับเต็ม « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.029 วินาที กับ 20 คำสั่ง