วัดหม้อคำตวง เยือนศูนย์กลางโหราศาสตร์ภาคเหนือคนไทยแม้จะนับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก แต่เรื่องดวงชะตาโหราศาสตร์ก็อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน เรียกได้ว่าบางบ้านก็ขาดไม่ได้เลยทีเดียว โหราศาสตร์ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระพุทธศาสนา เราดูฤกษ์พานาทีเมื่อจะจัดพิธีมงคล แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการใหม่ ไปจนถึงการทำนายอนาคต และในบ้างครั้งผู้ทำหน้าที่โหราจารย์ที่ดูฤกษ์งามยามดีนี้ก็เป็นพระสงฆ์ นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่และเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับสังคมบ้านเรามาอย่างยาวนานหม้อน้ำสีทองสัญลักษณ์ของวัด
วันนี้เลดี้ดาริกาจะพาเพื่อนไปเยี่ยมชม วัดหม้อคำตวง พระอารามในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ อยู่ริมคลองคูเมืองเลย บนถนนศรีภูมิ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงด้านโหราศาสตร์ของภาคเหนือ และเป็นที่ตั้งของสมาคมโหราศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วยบริเวณวัด
วัดหม้อคำตวง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๑๙ มีอายุเก่าแก่กว่า ๕๓๐ ปี เดิมมีชื่อว่า วัดหมื่นคำตวง และเพี้ยนเสียงมาเป็น หม้อคำตวง ในภายหลัง จุดเด่นของวัดคือกำแพงของวัดที่ประดับด้วยกระจกสีเงินระยิบระยับ มีสัญลักษณ์หม้อทองคำประดับอยู่แต่ละช่องกำแพง เสาประตูทางเข้าวัดประดับด้วยปูนปั้นหม้อทองคำเป็นสัญลักษณ์ของวัด ซึ่งต่างจากวัดทั่วไปในภาคเหนือที่นิยมประดับหัวเสาร์ด้วยรูปสัตว์ โดยเฉพาะสิงห์แบบล้านนาพระวิหารของวัด
วัดหม้อคำตวงเป็นวัดเล็กๆ ไม่ได้มีบริเวณกว้างขวางเหมือนวัดใหญ่ๆ ภายในวัดประกอบด้วยอาคารต่างๆ ที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแตกต่างกันไป เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัดสิ่งหนึ่งที่เราจะสังเกตเห็นเป็นจุดเด่นของวัดคือหม้อปูนปั้นทาสีทองขนาดใหญ่ มีลายปูนปั้นพญานาคราชขดอยู่รอบหม้อ หม้อนี้คือบ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์พระประธานภายในพระวิหาร
พระวิหารของวัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา โครงสร้างค่อนข้างเตี้ย และหลังคาซ้อนชั้นลาดต่ำ หน้าบันประดับด้วยลายพรรณพฤกษาอ่อนช้อยสีทอง บนพื้นสีฟ้าสดใสสะท้อนแสงอาทิตย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมสวยงามภาพจิตรกรรมภายในวิหาร
ด้านหลังพระวิหารเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ประธานของวัดหม้อคำตวง ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมย่อเก็จ รองรับบัวถลาสามชั้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังขนาดเล็ก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเจดีย์ล้านนาในยุคหลัง ถัดจากองค์ระฆังคือบัลลังก์สี่เหลี่ยม ปล่องไฉน ยกยอดฉัตรตามแบบล้านนาพระเจดีย์ประธานของวัด
ด้านข้างพระเจดีย์มีอาคารสถาปัตยกรรมล้านนาสร้างใหม่ ขนาดไม่ใหญ่นัก นี่คือพระอุโบสถของวัด ทางขึ้นไปสู่ทางเข้าพระอุโบสถขนาบด้วยนาคปูนปั้น หน้าบันของพระอุโบสถหลังนี้มีปูพื้นด้วยกระจกสีฟ้าเช่นเดียวกับพระวิหารของวัด ประดับด้วยลวดลายพรรณพฤกษาสีทอง ด้านบนมีลายเทพพนมประดับอยู่ ตามความเชื่อที่ว่ามักมีเทพเทวดาลงมาฟังพระธรรมเทศนา และร่วมงานบุญของมนุษย์ พระอุโบสถ
วัดหม้อคำตวงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเล็กๆ ที่น่าสนใจของเมืองเชียงใหม่ ไม่ใช่แค่เรื่องโหราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สืบทอดพระศาสนาของชาวล้านนา และแหล่งรวมศิลปะวัตถุที่ทรงคุณค่าของยุคสมัยเรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา