สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกคน วันนี้จะพาไปชมจิตรกรรมเช่นเดียวกันค่ะ แต่วันนี้จะพาไปยังอีกที่หนึ่ง อยู่ในเชียงใหม่เช่นเดียวกันค่ะ วัดนี้ก็คือวัดพระสิงวรมหาวิหารค่ะ และภายในวัดก็จะมีวิหารค่ะ วิหารที่มีภาพจิตรกรรมนั้นชื่อว่าวิหารลายคำนั่นเองค่ะ
ก่อนอื่นก็ขอเล่าถึงประวัติของวิหารลายคำนี้กันก่อนนะคะ พระวิหารลายคำ สร้างขึ้นสมัยของพญาธรรมลังกาหรือพระเจ้า ช้างเผือก ระหว่าง พ.ศ.๒๓๕๘-๒๓๖๔ เป็นสถานที่ประดิษฐาน ของพระพุทธสิหิงค์ พระวิหารลายคำสร้างเป็นศิลปะล้านนากว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๐ เมตร มีช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุงกระเบื้องดินเผาที่มีความสวยงามมาก ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น มีลวดลายทองล่องชาดเทคนิคการฉลุลายปรากฏบนฝาผนังหลังพระประธาน และเสากลางวิหารและเสาระเบียงด้านหน้าพระวิหาร ตลอดถึงบางส่วนของโครงไม้ บนฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องสังข์ทองและสุวรรณหงส์ เขียนด้วยสีฝุ่นมีความงดงามมาก (ที่มา
http://www.xn--72cai2bycvaff7a7amd2dk4ct9p7bwf5c.com/about7.php#about7_2)
ประวัติของ จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ งานจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ของเชียงใหม่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ ซึ่งตั้งอยู่ ถนนสามล้าน อำเภอเมืองเชียงใหม่ วัดนี้เป็นพระอารามหลวงชั้น "วรมหาวิหาร" สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าผายู กษัตริย์ล้านนาอันดับที่ ๕ แห่งราชวงศ์มังรายครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๗๙ - ๑๘๙๘ เพื่อบรรจุอัฐิและพระอังคารของพระเจ้าคำฟู ผู้เป็นพระบิดา เรียกชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" เนื่องจากบริเวณนี้เดิมเป็นตลาด
ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ล้านนาอันดับที่ ๗ ครองราชย์ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๒๘ - ๑๙๔๔ โปรดให้อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์มาจากเชียงราย ประชาชนจึงเรียกชื่อวัดพระพุทธสิหิงค์ และเรียกสั้นๆ ว่า วัดพระสิงห์ ตั้งแต่นั้นมา จากการสันนิษฐานของ สน สีมาตรัง กล่าวว่า โครงสร้างสถาปัตยกรรมวิหารลายคำเป็นโครงสร้างเก่าแก่อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๓ แต่งานช่างทั้งอาคารที่เห็นในปัจจุบันอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔ แต่ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือ ช่างเขียนในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งเขียนขึ้นภายหลัง (ที่มา
http://www.oocities.org/thaibucha_chiangmai/vatpatsen.htm)