กราบพระนอนโบราณกลางทุ่งที่ วัดพระนอนป่าเก็ดถี่เบื่อเมืองคิดถึงชนบทกันบ้างไหมคะ? เวลาผู้เขียนเครียดๆ อยากผ่อนคลายจิตใจให้แจ่มใส ก็มักเลือกที่วิ่งเข้าใส่ชนบท ไปหาทุ่งนากว้างๆ ทุ่งหญ้าเขียวๆ บ้านหลังน้อยๆ ที่หลบอยู่ตามสวนป่านาไร่ คลองส่งน้ำ หรือลำห้วยใสๆ ปล่อยเวลาปล่อยใจไปกับมันสักพัก เมื่อจิตใจเราถูกชุ่มโฉลมไปด้วยสีเขียว และเสียงนกร้องแล้ว ก็คงพร้อมและมีเรี่ยวแรงพอที่จะกลับมารับมือกับเรื่องปวดหัวทั้งหลายได้วันนี้เลดี้ ดาริกาขอจัดความสงบเงียบมาให้เพื่อนๆ ที่นี่ เราจะออกไปชมวัดนอกเมืองกันค่ะ เป้าหมายของเราคือ วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ ในชนบทแถบอำเภอสารภี ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไม่ไกล แต่เส้นทางอาจจะซับซ้อนสักหน่อยนะคะเดินทางจากเชียงใหม่ไปตามถนนสายเชียงใหม่ ลำพูนสายเก่า เส้นที่มีต้นยางสูงใหญ่ขึ้นเรียงรายเป็นแนวสวยงาม เลยแยกหนองหอยไปประมาณ ๗ กิโลเมตร จนถึงสี่แยกในตัวอำเภอสารภี (สะพานเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ ๖๐ ปี) เลี้ยวขาวไปทางโรงเรียนสารภีพิทยาคม ขับตรงไปเรื่อยๆ จนถึงหน้าโรงเรียน เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเส้นเล็กๆ ในหมู่บ้าน มีป้ายบอกทางไปวัดพระนอนป่าเก็ดถี่ชัดเจน ถนนจะพาเราผ่านหมู่บ้านในชนบทที่เงียบสงบ จนมาถึงแนวทุ่งนา วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ก็จะปรากฏให้เราเห็นไกลๆ ตรงหน้า ใครชอบบรรยากาศแบบชนบทจะต้องชอบมากๆ ค่ะวัดพระนอนป่าเก็ดถี่ ตั้งอยู่ที่บ้านป่าเก็ดถี่ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๐๙๘ มีอายุกว่า ๕๖๐ ปีแล้ว ถือว่าเป็นวัดในชนบทที่เก่าแก่มากทีเดียว ชื่อของวัดคำว่า ป่าเก็ด ในภาษาล้านนาแปลว่า ป่าไม้พยุง ซึ่งปัจจุบันไม่เหลือป่าดังกล่าวให้เห็นอีกแล้ว เพราะกลายเป็นทุ่งนา และหมู่บ้านไปเสียหมดวิหารพระนอน วัดพระนอนป่าเก็ดถี่
ประวัติการสร้างวัดไม่ทราบแน่ชัด มีตำนานอยู่สองเรื่องที่กล่าวถึงที่มาที่ไปของพระอารามแห่งนี้ เรื่องแรกมีอยู่ว่า พระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย เสด็จประพาสป่าทางทิศเหนือของเมืองลำพูน กลางดึกนั้นพระนางมองเห็นแสงโชติช่วงพุ่งขึ้นมาจากป่าทิศตะวันตก รุ่งขึ้นเมื่อให้ข้าราชบริพารออกตามหาที่มาของลำแสงนั้น ก็ปรากฏพระนอน มีรูปแบบศิลปะงดงามวิจิตรมากตั้งอยู่กลางป่าเขารกชัฏ พระนางจึงโปรดให้บูรณะพระนอนองค์นั้น แล้วสร้างพระอารามขึ้น เรียกว่า วัดพระนอนป่าเก็ดถี่พระนอนแสนสุข พระราชชายาเจ้าดารารัศมีประทานนามให้ตามพระพักต์ที่ยิ้มแย้ม
อีกตำนานหนึ่งเล่าย้อนกลับไปไกลกว่านั้น เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงเสด็จออกโปรดสัตว์ ในป่าราชายตนะ (ป่าไม้เก็ด) มียักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ใกล้หนองน้ำ วันหนึ่งนางอุทุม บุตรสาวของนายแสนแซว่ นายบ้านชาวลั้วะได้ออกไปหาปลา แล้วหลงทางเข้าไปในป่าไม้เก็ด และพบกับยักษ์ตนนั้นเข้า ยักษ์ตนนั้นมุ่งหน้ามาหวังจะทำร้ายนางอุทุม แต่ปรากฏเสียงดังขึ้นปรามว่า หยุดทำบาปเถิด ในตอนแรกยักษ์ไม่ทราบว่านั้นคือพระพุทธเจ้า แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมโปรดยักษ์ร้าย และนางอุทุม ทั้งสองเกิดความซาบซึ้งในรสพระธรรมคำสอน จนฟันของยักษ์หลุดออกมา ต่อมานายแสนแซว่ผู้เป็นพ่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงประทานเส้นพระเกศาให้ภาพจิตรกรรมภายในวิหารพระนอน
เชื่อกันว่าปัจจุบันเส้นพระเกศาของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในเศียรพระนอนที่สร้างขึ้น ส่วนเขี้ยวของยักษ์ตนนั้นบรรจุอยู่ในหมอนของพระนอน พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเคยมาเยือนพระอารามแห่งนี้ และตั้งชื่อพระนอนว่า พระนอนแสนสุข เพราะพระพักตร์อิ่มเอิบ และอมยิ้มดูมีความสุขพระธาตุประดิษฐานในพระวิหารพระนอน
วิหารพระนอน เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมแบบล้านนา หลังคาต่ำ และตัวอาคารค่อนข้างยาวเพื่อปกป้องลมฟ้าให้กับพระพุทธรูปนอน ด้านหน้ามีมุขยื่นออกมา หน้าบันประดับลวดลายพรรณพฤกษาสวยงามมาก ภายในประดิษฐานพระนอนฝีมือช่างชาวบ้าน บ้างว่ามีรูปแบบศิลปะหริภุญชัยยุคพระนางจามเทวี แต่ผู้เขียนไม่เห็นเช่นนั้น ด้านหน้าทางเข้าพระวิหารมีรูปปั้นยักษ์สองตนเป็นทวารบาลเฝ้าอยู่พระเจดีย์ประธานของวัด
หอพระพุทธรูปด้านหน้าพระเจดีย์
ใกล้ๆ กันนั้นมีพระเจดีย์ขนาดไม่ใหญ่โตนัก ศิลปะแบบล้านนาผสมสุโขทัย ฐานเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อเก็จ องค์เจดีย์เป็นห้องสี่เหลี่ยม แต่ละด้านมีซุ้มจระนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปสีทอง ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นทรงระฆัง แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรตามธรรมเนียมล้านนา ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของหอพระพุทธรูปทรงเรียบง่าย แต่ก็แปลกตามากพระอุโบสถ
เบื่อเมืองเมื่อไร หาโอกาสออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในชนบท มาทำบุญเยี่ยมชมวัดเล็กๆ นอกเมือง ก็เป็นเรื่องที่ชวนให้ชีวิตเบิกบานขึ้นได้อีกแบบ นี่เป็นแค่บทความแรกเกี่ยวกับวัดในอำเภอสารภีค่ะ รออ่านบทความต่อๆ ไป ว่าเลดี้ ดาริกาจะพาเพื่อนๆ ไปไหนอีกนะคะเรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา