เดินเล่นกลางเวียง แวะชมภาพจิตรกรรม วัดทุงยูทุงยู ฟังๆ ไปแล้วก็ดูอินเทรนด์ ดูเหมือนชื่อเกาหลีเก๋ๆ สักชื่อ แต่จริงๆ แล้วเป็นชื่อของพระอารามแห่งหนึ่งในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ อยู่ไม่ห่างจากวัดพระสิงห์ วัดที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเชียงใหม่มักจะไม่พลาดเยี่ยมชม วัดทุงยูเป็นเพียงวัดเล็กๆ จึงไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของนักท่องเที่ยว เราอาจพบเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติบางคนบางกลุ่มที่เดินเที่ยวชมภายในคูเมือง เข้ามาเยี่ยมชมภายในวัดอยู่เป็นระยะๆ แต่มีนักท่องเที่ยวชาวไทยน้อยมาก วัดทุงยู ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตรงข้ามกับวัดศรีเกิด ใครเคยเดินเล่นถนนคนเดินท่าแพยามเย็น เลยไปจนถึงถนนพระสิงห์ อาจเคยเห็นหรือผ่านวัดแห่งนี้กันมาบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเคยแวะเข้าไปเยี่ยมเยือน วิหารหลวงเก่าแก่ของวัดทุงยู
วัดแห่งนี้มีอายุอานามเก่าแก่ย้อนกลับไปกว่า ๗๐๐ ปี สร้างขึ้นในรัชสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ ราวๆ ปี พ.ศ. ๒๐๑๙ เรียกได้ว่าอายุพอๆ กับนครเชียงใหม่เลยทีเดียว คำว่า ทุงยู หมายถึง ร่มที่เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศของเจ้านาย ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม และกฎหมายโบราณของล้านนาวิหารวัดทุงยู มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเก่าแก่อีกแห่งของเชียงใหม่
เสาวิหารประดับตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตร
ภาพจิตรกรรมเหนือกอบประตูวิหาร เล่าเรื่องวันมาฆบูชา
จุดเด่นของวัดที่แขกไปใครมาต้องสังเกตเห็นคือวิหารหลวง ก่ออิฐถือปูนผสมโครงสร้างไม้ สถาปัตยกรรมไทยผสมล้านนาเก่าแก่ หน้าบันแบบม้าต่างไหม ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของงานสถาปัตยกรรมล้านนา ประดับด้วยกระจกอังวะลวดลายวิจิตรเรื่อยมาจนถึงต้นเสา บันไดทางขึ้นขนาบด้วยนาคสองตัว มีคอสั้น สัดส่วนแปลกตามาก บานประตูวิหารแกะไม้สีทองรูปเทวดาปราบสิงห์ เหนือกรอบประตูเป็นภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องราววันมาฆบูชา พระพุทธเจ้าประทับอยู่เหนือฐานดอกบัวในป่าไผ่ วัดเวฬุวัน มีพระสาวก ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งทุกรูปเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือพระสงฆ์ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรงบรรยากาศภายในวิหารหลวง
หมู่พระประธานภายในพระวิหาร
ภาพจิตรกรรมด้านในพระวิหาร
บานหน้าต่างแกะสลักไม้
ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยบนฐานชุกชีลวดลายวิจิตร ทาปากสีแดงแสดงอิทธิพลศิลปะพม่า ด้านหน้ามีพระแก้วมรกตในเครื่องทรงฤดูร้อนจำลอง มีสีตามวันในหนึ่งสัปดาห์ หลังองค์พระประธานเป็นภาพจิตรกรรมซุ้มเรือนแก้ว เทวดาสององค์เหาะอยู่ด้านบน ฝั่งตรงข้ามพระประธานเป็นภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องราวในนรก เหนือขึ้นไปเป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา นักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษพระอุโบสถขนาดเล็กสร้างจากหินอ่อน
สวนหย่อมเล็กๆ ด้านหน้าพระอุโบสถ
ข้างพระวิหารเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ ขนาดเล็ก สร้างจากหินอ่อน สถาปัตยกรรมล้านนา ไม่เปิดให้เข้าชมภายใน ด้านหน้าพระอุโบสถมีสวนเล็กๆ ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องสีขาว และรูปหล่อครูบาศรีวิชัยพระเจดีย์แบบพม่า
พระเจดีย์ประฐาน ศิลปะพม่า ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีสิงห์เฝ้าอยู่ทั้งสี่มุม พระเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ในรัชสมัยของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ และยกฉัตรขึ้น พระเจดีย์องค์นี้มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปีอาคารกระจกด้านหน้าพระวิหาร
ภายในจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของไทย
หน้าพระวิหารมีอาคารกระจกสร้างใหม่ตั้งอยู่ อาคารหลังนี้สถานที่เก็บหุ่นขี้ผึ้งเสมือนจริง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย น่าสนใจมากใครเดินเล่นผ่านไปผ่านมาบนถนนราชดำเนิน หรือเสร็จจากการเยี่ยมชมวัดพระสิงห์แล้ว เดินเลยมาด้านหน้านิดหน่อยก็ถึงวัดทุงยูแล้วค่ะ อย่าลืมแวะมาเยี่ยมชมกันนะคะเรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา