เสริมสิริมงคลที่ ตำหนักพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนมีความเป็นมายาวนานมาหลายร้อยปี ชาวจีนจำนวนมากอพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นอิทธิพลความเป็นจีนฝังรากลึกลงในสังคมไทย แทบจะเรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปแล้ว ศาสนาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่คอยผสานคนทั้งสองเชื้อชาติเอาไว้ แม้ว่าเป็นพุทธเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย ความเชื่อที่สะท้อนออกมาในรูปของงานศิลปะจึงต่างกัน เชียงใหม่เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีชาวจีนเข้าตั้งถิ่นฐาน ชาวจีนเหล่านั้นสร้างศาสนาสถานขึ้นมาตามความเชื่อของตน เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ตำหนักพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ คือหนึ่งในศาสนาสถานเหล่านั้นวิวตำหนักพระแม่กวนอิมจากมุมสูง
ตำหนักแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นสาขาหนึ่งของตำหนักพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ โชคชัย ๔ เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร สร้างโดยพระอาจารย์ใหญ่เสกกวงเซง พระเถรีผู้มีความรู้ ความสามารถ อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยประสงค์ให้พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในเชียงใหม่ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม และสักการะศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจีน ตำหนักแห่งนี้มีเก๋งจีน สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และเทพเจ้าต่างๆ ทั้งสิ้น 6 หลังเก๋งจีนหลังที่ 1 อยู่บริเวณทางเข้า เป็นอาคารทรงกลมหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น สถาปัตยกรรมจีน แต่ละชั้นมีรูปปั้นมังกรประดับอยู่เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เหลือคือรูปปั้นเป็นหงส์ เสาทั้ง 4 ต้นมีมังกรพันรอบ ภายในประดิษฐานพระศิวะองค์สีดำ เทพเจ้าแห่งฟ้าดิน ประทับนั่งอยู่บนหนังเสือ ด้านขวาคือพระพิฆเนศ ด้านซ้ายคือพระขันทกุมารประทับบนนกยูง ทั้งสองพระองค์เป็นพระโอรสของพระศิวะรูปเคารพพระศิวะในเก๋งหลังที่ ๑
เก๋งจีนหลังที่ 2 อยู่ติดรั้วด้านทิศเหนือ เป็นอาคารทรงกลมหลังคายกสูง สถาปัตยกรรมจีนเรียบๆ ภายในประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมปางต่างๆ และพระพุทธรูปประจำวันเกิดเก๋งจีนหลังที่ 3 อยู่ข้างเก๋งหลังแรก เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม หลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น ประดับด้วยรูปปั้นกิเลส เสือ และมังกร ภายในประดิษฐานพระสังกัจจายน์ ประทับบนปลามังกร เทพเจ้าแห่งโชคลาภเก๋งที่ ๓ ประดิษฐานพระสังกัจจายน์
เก๋งจีนหลังที่ 4 อยู่ทางทิศใต้ของตำหนัก เป็นอาคารขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมพันมือ เหนือขึ้นไปเป็นพระพุทธรูปศิลปะพม่า รายล้อมด้วยระฆังกว่าร้อยใบ ตีเพื่อความเป็นมงคลเจ้าแม่กวนอิมพันมือ
เก๋งจีนหลังที่ 5 อยู่ติดกับเก๋งหลังที่ 2 เป็นอาคารเล็กๆ ประดิษฐานเทพเจ้า 9 องค์ เจ้าปู่มังกร
เจ้าพ่อเสือ
เก๋งจีนหลังที่ 6 เป็นส่วนสำคัญที่สุดของตำหนักนี้ ตั้งอยู่ใจกลางตำหนัก ประกอบไปด้วย เจ้าปู่มังกร และ เจ้าพ่อเสือ เป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ รอต้อนรับผู้มาแสวงบุญ ให้มาลอดปากเจ้าปู่มังกร และปากเจ้าพ่อเสือ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเข้าให้ไปบูชาธูปมหามงคล เดินลอดปากเจ้าปู่มังกร ตลอดทางภายในตัวมังกรมีภาพจิตกรรมทั้งของไทยและจีน เล่าเรื่องพุทธประวัติ และเทพเจ้าของจีน เมื่อเข้าไปเรื่อยๆ จะพบทางขึ้นไปบนอาคารของ พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ประทับยืนบนเซี้ยมซู้ คางคก 3 ขา ให้เวียนรอบพระแม่กวนอิม 3 รอบ แล้วเดินกลับลงมาออกทางปากเจ้าพ่อเสือ นำธูปไปเผาที่เตาบริเวณปากทางเข้าตำหนักการเดินทางมาสู่ตำหนักแห่งนี้ จากแยกเซ็นทรัลแอร์พอร์ต มุ่งหน้าไปทางตะวันออกใช้ถนนมหิดล จากนั้นกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำปิง ย้อนกลับมาทางทิศตะวันตก ประมาณ 500 เมตร จะพบกับปางทางเข้าซอยบ้านทัศนาจร เลี้ยวเข้าซอยมาประมาณ 200 เมตรเรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา