ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 07:32:48 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดพวกหงส์ และวัดเชียงโฉม แกะรอยเจดีย์ปล่อง เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนา 0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพวกหงส์ และวัดเชียงโฉม แกะรอยเจดีย์ปล่อง เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนา  (อ่าน 7658 ครั้ง)
lady darika
Full Member
***
กระทู้: 232


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: ตุลาคม 15, 2013, 10:59:14 PM »


วัดพวกหงส์ และวัดเชียงโฉม แกะรอยเจดีย์ปล่อง เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนา

หลังจากที่มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวของวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) และพระบรมธาตุเจดีย์รูปทรงพิเศษที่มีอยู่เพียงสามแห่งในเมืองเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “เจดีย์ปล่อง” ครั้งนี้จึงขอติดตามเรื่องราวของเจดีย์ปล่องอีกสามองค์ที่เหลือมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อใครเกิดสนใจที่มาที่ไปของเจดีย์ลักษณะนี้บ้างจะได้ตามไปชมกันถูกค่ะ

นอกจากวัดร่ำเปิง นอกเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังปรากฏเจดีย์ทรงกลมมีองค์เจดีย์ซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นประดับด้วยซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอีก ๒ แห่ง คือที่วัดพวกหงษ์ และวัดเชียงโฉม



วัดพวกหงษ์ ตั้งอยู่บนถนนสามล้าน ต.พระสิงห์ ทางเข้าวัดเป็นซอยลึกประมาณ ๕๐ เมตร ตรงข้ามกับซอยสามล้าน ๗ วันนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย ชื่อของวัดขึ้นต้นด้วยคำว่า “พวก” มาจากตำแหน่งของขุนนางระดับล่าง ซึ่งเป็นหัวหน้าช่างในกลุ่ม “พวกหงษ์” ต่อมาวัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา ในปี พ.ศ. ๒๓๖๔

เจดีย์ศรีพวกหงษ์ วัดพวกหงษ์

“เจดีย์ศรีพวกหงษ์” คือชื่อของเจดีย์ประธานของวัด หนึ่งในเจดีย์รูปทรงพิเศษสามแห่ง ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๐ ในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานชั้นล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยม เหนือขึ้นไปเป็นฐานทรงกลมซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น ส่วนองค์เจดีย์เป็นทรงกลมซ้อนขึ้นไป ๗ ชั้น แต่ละชั้นจะมีซุ้มพระพุทธรูปอยู่รอบองค์เจดีย์ รวมทั้งสิ้น ๕๒ ซุ้ม

พระวิหารวัดพวกหงษ์


แม้ว่าเจดีย์ศรีพวกหงส์จะมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับเจดีย์ปล่องที่วัดร่ำเปิง และวัดเชียงโฉม แต่ลักษณะพิเศษของเจดีย์องค์นี้ที่มีฐานกว้าง และสัดส่วนป้อมกว่าอีกสองแห่ง ในขณะที่เจดีย์วัดร่ำเปิงมีลักษณะสูงชะลูดกว่า บริเวณฐานกลมชั้นสองของเจดีย์มีช่องเจาะไว้โดยรอบ บรรจุประติมากรรมทรงกลมคล้ายหม้อน้ำปูรณฆฏะตามความเชื่อของชาวล้านนา

นอกจากพระเจดีย์ที่โดดเด่นแล้ว ภายในวัดยังมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ อาทิ พระวิหารทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารปูน บันไดทางขึ้นมีสิงห์สองตน หน้าบันลายพรรณพฤกษาสีทองตัดกับพื้นสีแดง ด้านในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สร้างขึ้นในปี 2036 โดยพ่อครูเป็นเจ้าและพ่อหมื่นหมอจันทร์ ในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไว้ให้ผู้มาเยือนศักการะด้วย

เจดีย์ปล่อง วัดเชียงโฉม

อีกวัดหนึ่งคือ “วัดเชียงโฉม” ตั้งอยู่ที่ซอยเจดีย์ปล่อง เยื้องประตูฝั่งตะวันตกของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่  สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช  ในอดีตบริเวณดังกล่าวคือ “เวียงเชียงโฉม” เป็นเมืองหน้าด่านของเชียงใหม่ ชาวบ้านในละแวกนี้เรียกว่า “วัดเจดีย์ปล่อง” ตามลักษณะขององค์เจดีย์

ในสมัยพระเจ้ากาวิละ พระองค์ทรงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ โดยการกวาดต้อนชาวบ้านจากเมืองสิบสองปันนามาสร้างฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ แต่วัดเชียงโฉมไม่ได้รับการฟื้นฟู เนื่องจากเน้นฟื้นฟูวัดที่ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นในเป็นสำคัญ วัดเชียงโฉมจึงกลายเป็นวัดร้าง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ชาวบ้านในชุมชนเชียงโฉมได้ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะวัดขึ้นใหม่อีกครั้ง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่


เจดีย์ปล่องวัดเชียงโฉม อยู่บริเวณทางเข้าวัดด้านทิศเหนือ สถาปัตยกรรมศิลปะล้านนาระยะที่ ๓ ลักษณะโดยรวมส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากเจดีย์ที่วัดอีกสองแห่งดังกล่าวมาข้างต้น คือมีฐานสี่เหลี่ยม ๒ ชั้นเหนือขึ้นมาเป็นฐานทรงกลมอีก ๓ ชั้น องค์เจดีย์เป็นทรงกลมซ้อนกัน ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ เจดีย์ปล่ององค์นี้มีลักษณะสูงชะลูดใกล้เคียงกับเจดีย์วัดร่ำเปิง แต่อ้วนป้อมกว่าเล็กน้อย ยังคงสภาพเดิมไว้ได้ดีพอสมควร

พระวิหาร วัดเชียงโฉม

พระวิหาร เป็นอาคารที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของวัด เป็นอาคารปูนสองชั้นแบบล้านนาร่วมสมัย บันไดมีมกรคายนาค หน้าบันเป็นลายปูนปั้นพระพุทธรูป เทวดา ธรรมจักร และสัตว์ในวรรณคดี ภายในพระวิหารประดิษฐานพระเจ้าแข้งคมจำลอง หล่อด้วยโลหะปิดทองหนัก ๘๐๐ กิโลกรัม หน้าตักกว้าง ๗๒ นิ้ว ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตฯ ทรงมีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา ผนังมีประติมากรรมพระเกจิอาจารย์ที่สำคัญๆ ในภาคเหนือ


คติสำคัญในการสร้างเจดีย์ที่มีซุ้มพระโดยรอบนี้ คาดว่าสืบทอดมาจากการสร้างเจดีย์สมัยพระนางจามเทวีแห่งหริภุญชัย ซึ่งดั้งเดิมนั้นเป็นทรงสี่เหลี่ยมอย่างวัดเจดีย์เหลี่ยมที่เวียงกุมกาม และเมืองลำพูน ส่วนเจดีย์ทรงกลมนั้นได้อิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัยนั่นเอง

เรื่องราวของคติการสร้างเจดีย์ยังมีอีกมากใครที่สนใจก็ลองศึกษากันเพิ่มเติม จริงๆ แล้วในแว่นแคว้นล้านนา โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่นี้น่าจะมีเจดีย์ลักษณะนี้อีกมาก แต่กาลเวลาก็ทำให้อีกหลายๆ แห่งพังทลายและสูญหายไป เหลือเพียงสามแห่งนี้ที่ยังคงอยู่ และควรค่าอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา


เรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา  904




บันทึกการเข้า
art57110
Administrator
Full Member
*****
กระทู้: 189


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2013, 03:00:35 PM »


ความงามทางโบราณสถานของไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกค้าบบบ ความงามอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมล้านนาโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
tourismlocation
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2013, 01:42:47 PM »


ศิลปะงดงามมาก ไปเที่ยวเชียงใหม่รอบหน้าต้องหาโอกาสแวะไปชมแล้ว

 :1001:
บันทึกการเข้า
TripChiangmai
Administrator
Full Member
*****
กระทู้: 117


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2017, 05:47:59 PM »


ขอบคุณที่แนะนำ วัดเชียงใหม่ สถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของล้านนา มาครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดพวกหงส์ และวัดเชียงโฉม แกะรอยเจดีย์ปล่อง เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนา « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 21 คำสั่ง