วัดนันทาราม นมัสการพระเกศาธาตุ กราบหลวงพ่อเพชรวัดนันทาราม ตั้งอยู่บนถนนนันทาราม ซอย ๕ ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่ ใกล้กับถนนวัวลาย ถนนคนเดินวันเสาร์ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพุทธกาล หลังจากออกพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จเทศนาธรรมแก่ชาวบ้าน และเหล่าเทวดาทั้งหลาย จนกระทั่งมาถึงเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงมอบพระเกศา ๑ พระองค์ (ผม ๑ เส้น) ให้กับแต่ละวัดที่เสด็จไปเยือน เมื่อเสด็จไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ทรงผ่านกระท่อมหลังหนึ่งในสวนป่าไผ่ของนายธะมิระ นายธะมิระจึงอารธนาพระพุทธองค์ให้พักค้างแรมในกระท่อมของตน และถวายภัตตาหารเช้า หลังจากฉันท์ภัตตาหารเสร็จ พระพุทธองค์ทำนายว่า ฐานะที่นี้จะเป็นอารามอันหนึ่งในภายภาคหน้า ได้ชื่อว่านันทาราม หรือนันตาราม แล้วพระองค์จึงทรงปลงพระเกศามอบให้นายธะมิระ ๑ เส้น นายธะมิระจึงสร้างเจดีย์ขึ้นบริเวณป่าไผ่แห่งนี้ และกลายเป็นวัดนันทารามในปัจจุบันวัดนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมืองฯ จ.เชียงใหม่
วัดนันทารามเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต และได้รับสถาปนาเป็นหนึ่งในพระอารามสำคัญทั้ง ๘ แห่งของเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วยวัดสังฆาราม (วัดเชียงมั่นใน) วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) วัดโชติการาม (วัดเจดีย์หลวง) วัดตโปทาราม (วัดร่ำเปิง) วัดบุพผาราม (วัดสวนดอก) วัดฑีฆาวะวัสสาราม (วัดเชียงยืน) วัดบุพพาราม และวัดนันทาราม ชาวนครเชียงใหม่ยกย่องให้วัดทั้ง ๘ แห่งข้างต้นเป็นวัดสำคัญประจำเมืองสืบต่อกันมา แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสำคัญในอย่างไร สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่เก็บพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าวิหารหลวงวัดนันทาราม
บานประตูพระวิหารลวดลายสวยงาม
พระวิหารของวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนศิลปกรรมล้านนาบริสุทธิ์ หน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมโดดเด่น แตกต่างจากวิหารแห่งอื่นๆ กล่าวคือบริเวณราวบันไดซ้ายขวาจะมีพญาครุฑ บิดแขนโอบรอบอกพญานาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงพระยศในฐานะเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระบรมธาตุเจ้า วัดนันทาราม บรรจุพระเกศาธาตุ
พระบรมธาตุเจ้าเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าเจดีย์ศิลปะล้านนาอิทธิพลสุโขทัย ตามประวัติของวัดบันทึกไว้ว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๒ พระเจ้าปนัดดาธิราชฯ ทรงดำริสร้างพระเจดีย์สูง 15 เมตร กว้าง 10 เมตร ครอบพระเจดีย์องค์เดิมที่สูงเพียง 1.5 เมตร ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มีการปิดทองพระธาตุใหม่ และหล่อฉัตรจัตุรมุขทั้งสี่ด้าน ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้หุ้มแผ่นทองเหลือง จำนวน 1,304 แผ่นรอบองค์พระเจดีย์ ล่าสุดคือการบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๔๒วิหารหลวงพ่อเพชร
หลวงพ่อเพชรภายในวิหาร
วิหารหลวงพ่อเพชร อยู่ทางทิศใต้ของพระบรมธาตุเจ้าเจดีย์ เป็นอาคารปูนศิลปะล้านนา ประดับด้วยลายปูนปั้นพรรณพฤกษา ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด อายุมากกว่า ๕๐๐ ปีหอธรรมหรือหอพระไตรปิฎก ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารทางด้านทิศเหนือข้างๆ กับพระบรมธาตุเจดีย์เจ้า เป็นอาคารปูนสองชั้นศิลปะล้านนาประยุกต์ สีขาว โดดเด่น สวยงาม แต่ละด้านมีซุ้มประตู แต่ละมุมประดับด้วยปูนปั้นรูปนางอัปสรสามตนหอธรรม หรือ หอพระไตรปิฎก
พระพุทธไสยาสน์โบราณองค์ใหญ่ ไม่พบหลักฐานการสร้าง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ทอดพระเนตรองค์พระเจดีย์ วัดนันทารามเป็นวัดสำคัญตั้งแต่อดีต เคยเป็นสถานที่ถวายเพลิงพระบรมศพพระเจ้ายอดเชียงราย และเคยเป็นที่พำนักของพระราชาคณะชั้นสมเด็จ คือ สมเด็จพระธรรมกิตติ เป็นศูนย์ศึกษาศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ บริเวณวัดกว้างขวาง รมรื่น มีต้นไม้สูงใหญ่มาก เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนรอบๆ วัด ตอนเย็นมีกิจกรรมออกกำลังกายมากมาย เช่น การเต้นแอโรบิก วิ่งจ๊อกกิ้ง ฟุตบอล เป็นต้นเรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา