ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
กรกฎาคม 04, 2024, 10:51:47 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ “โฮงสาย” อดีตอันรุ่งเรืองของการสื่อสารทางไปรษณีย์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ “โฮงสาย” อดีตอันรุ่งเรืองของการสื่อสารทางไปรษณีย์  (อ่าน 5019 ครั้ง)
lady darika
Full Member
***
กระทู้: 232


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กันยายน 28, 2013, 02:05:09 AM »


พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ “โฮงสาย” อดีตอันรุ่งเรืองของการสื่อสารทางไปรษณีย์

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ ถนนไปรษณีย์ ริมแม่น้ำปิง

อาคารโบราณสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมขนาดย่อม ตั้งตระหง่านอยู่บนถนนไปรษณีย์ เส้นทางเลียบแม่น้ำปิง ใกล้ๆ กับกาดต้นลำไย คือหนึ่งในสถาปัตยกรรมเก่าแก่อันทรงคุณค่าของเมืองเชียงใหม่ที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมของชาติ มองเผินๆ อาคารหลังนี้อาจไม่ได้โดดเด่นนัก หากเปรียบเทียบกับตึกรามบ้านช่องเก่าแก่แห่งอื่นๆ ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดทั่วเมืองเชียงใหม่ บางคนอาจประเมินค่าสถานที่แห่งนี้เป็นเพียงตึกเก่าธรรมดาๆ แต่แท้ที่จริงแล้วที่นี่มีคุณค่ากว่าเพียงแค่การเป็นสถาปัตยกรรมโบราณที่ควรค่าอนุรักษ์

จดหมายติดแสตมป์ Black Penny แสตมป์ดวงแรกของโลก

“พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่” มีคุณค่ามากกว่าตึกเก่าธรรมดาๆ เพราะในยุคสมัยหนึ่งมันเคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการสื่อสารสำคัญของเมืองเชียงใหม่ และดินแดนล้านนา เป็นตัวแทนของการก้าวเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ สังคมแห่งการสื่อสารยุคเริ่มต้นของประเทศ จากวันนั้นในอดีตที่จดหมายเป็นการสื่อสารที่สะดวกและนิยมกันในวงกว้าง จนถึงปัจจุบันยุคสมัยของโซเชียลเน็ตเวิร์ค การสื่อสารแบบวินาทีต่อวินาทีอาคารแห่งนี้เปรียบเสมือนประจักษ์พยานที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ผ่านกาลเวลามานับ ๑๐๐ ปี

โสฬส แสตมป์ชุดแรกของสยาม

สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขเชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ในอดีตชาวเมืองเชียงใหม่เรียกอาคารหลังนี้ว่า “โฮงสาย” อาจเป็นเพราะที่นี่นอกจากเป็นที่ทำการไปรษณีย์แล้ว ยังเป็นสำนักงานโทรเลข (ตะแล็บแก็บ) อีกด้วย บริเวณที่ตั้งของอาคารสองชั้นหลังนี้ในอดีตคือหัวใจสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ในยุคที่ยังต้องพึ่งพาเส้นทางน้ำเพื่อการเดินเรือ ขนส่งสินค้า และติดต่อสื่อสารกับเมืองอื่นๆ ทั่วราชอาณาจักร ที่นี่จึงเหมาะสมที่จะตั้งเป็นสำนักงานไปรษณีย์ฯ ด้วยประการต่างๆ เนื่องจากขนส่งพัสดุและจดหมายได้สะดวก

ตู้ไปรษณีย์เก่า ทำจากเหล็ก

ตู้ไปรษณีย์ไม้ มีอักษรล้านนา และอักษรจีน

แรกเริ่มเดิมทีอาคารสำนักงานแห่งนี้เป็นเพียงเรือนไม้ไผ่ยกพื้นสูง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ไปรษณีย์เจริญรุ่งเรืองขึ้น กลายมาเป็นช่องทางการสื่อสารหลักของประชาชน จึงรื้อถอนอาคารหลังเก่าออก และสร้างอาคารปูนแบบยุโรปอย่างที่เห็นในปัจจุบันทดแทน ในขณะเดียวกันก็มีนโยบายสร้างสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขแห่งอื่นๆ อีกหลายแห่งทั่วเมืองเชียงใหม่ เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในนั้นคือสำนักงานไปรษณีย์ฯ สันป่าข่อย เพื่อตอบรับการคมนาคมทางรถไฟที่ก้าวเข้ามามีบทบาทแทนทางเรือ

หลังจากย้ายที่ทำการไปรษณีย์แม่ปิงมาอยู่ฝั่งตรงข้ามดังที่เห็นในปัจจุบัน อาคารหลังนี้ได้รับการปรับปรุงใหม่ และพลิกฟื้นอดีตที่เคยรุ่งเรืองอีกครั้งโดยจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมสิ่งละอันพันละน้อย ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของกิจการไปรษณีย์ของชาติให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา



ด้านนอกอาคารพิพิธภัณฑ์ มีตู้ไปรษณีย์สีแดงแบบต่างๆ จัดแสดงอยู่โดยรอบ ตู้ไปรษณีย์เหล่านี้มองเผินๆ อาจเป็นเพียงตู้ไปรษณีย์เก่าๆ ที่ปลดประจำการแล้ว แต่หากลองใช้ใจศึกษา มันกลับแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการตู้ไปรษณีย์ในแต่ละยุคสมัย บอกเล่าความคิดของผู้ออกแบบ เกิดการตั้งคำถามได้หลากหลายไม่รู้จบ ไม่ต่างไปจากประติมากรรมร่วมสมัยอื่นๆ เลย

เครื่องชั่งแบบโบราณ

อาคารชั้นล่างแบ่งเป็นสองส่วน ห้องโถงกลาง และห้องด้านขวาเป็นส่วนจัดแสดง รวมรวมเรื่องราวของกิจการไปรษณีย์ในอดีต ภาพถ่ายเมืองเชียงใหม่ยุคก่อนเป็นตัวแทนบอกเล่าการเปลี่ยนผ่านจากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่งให้กับคนรุ่นหลังที่สนใจ ฉันสะดุดใจกับภาพหญิงสาวมอบจดหมายให้กับบุรุษไปรษณีย์ที่กำลังพายเรืออยู่บนถนนยามน้ำท่วม นอกจากภาพนี้จะเล่าเรื่องราวเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่เมืองเชียงใหม่แล้ว ยังแสดงถึงความสำคัญของการสื่อสารผ่านกิจการไปรษณีย์อีกด้วย

เครื่องส่งสัญญาณโทรเลข แบบโบราณ

เครื่องส่งสัญญาณโทรเลข ทันสมัยขึ้นมาหน่อย

ใครอยากทำความรู้จักกับแสตมป์เก่าๆ หรือแสตมป์พิเศษต่างๆ ก็ไม่ผิดหวัง “แบล็คเพนนี” แสตมป์ดวงแรกของโลก เกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรฯ คือสิ่งหนึ่งที่หลายคนอยากเห็น แสตมป์โสฬส พระบรมฉายาลักษณ์ของพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) ผู้ให้กำเนิดการไปรษณีย์  คือแสตมป์ชุดแรกของสยาม ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โทรเลขที่เคยเป็นการสื่อสารทันสมัยสะดวกรวดเร็วในอดีต ปัจจุบันเป็นเพียงเรื่องเล่าเก่าเก็บ หาไม่ได้อีกแล้ว ก็ยังมีให้เราได้ศึกษาที่นี่ ส่วนด้านซ้ายเป็นโซนจำหน่ายของที่ระลึกไปรษณีย์ แสตมป์ และโปสการ์ด

แม่พิมพ์รูปหญิงตะวันตกสวมมงกุฎกุหลาบ ไม่ทราบที่มาที่ไป
คาดว่าเป็นแม่พิมพ์ของปูนปั้นที่เคยใช้ประดับอาคารหลังนี้

ในยุคหนึ่ง “การไปรษณีย์” คือตัวแทนของความก้าวหน้า จวบจนปัจจุบันแม้การสื่อสารรูปแบบอื่นๆ ที่สะดวกกว่าเข้ามาแทนที่ ไปรษณีย์ก็ยังคงทำหน้าที่รับใช้ผู้คนเสมอมา พร้อมกับการปรับตัว และพัฒนารูปแบบการบริการให้ทันยุคสมัย ในอีก ๕๐ ปีข้างหน้ากิจการไปรษณีย์ที่ว่าทันสมัยในวันนี้ อาจจะกลายเป็นเรื่องเล่าเก่าๆ ที่หาดูได้แต่ในพิพิธภัณฑ์ก็ได้เช่นกัน

เรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา  903


บันทึกการเข้า
parsuk
Hero Member
*****
กระทู้: 1447


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 28, 2013, 07:39:33 AM »


 ขอบคุณคนที่เก็บไว้ให้ดู

และขอบคุณที่มาเผยแพร่แนะนำครับ  :onio:
บันทึกการเข้า

auto
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 5733


**Chiang Mai, I love you**


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2013, 09:25:43 AM »


ผ่านบ่อยยังไม่เคยไปเยี่ยมชมเลย
ต้องหาโอกาสไป ซะแล้ว  :111:
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ “โฮงสาย” อดีตอันรุ่งเรืองของการสื่อสารทางไปรษณีย์ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.121 วินาที กับ 20 คำสั่ง