+
..
"อำเภอแม่แจ่มถือได้ว่าเป็นชุมชนหนึ่งที่มีการทอผ้าซิ่นตีนจกกันมากที่สุด ผ้าทอของแม่แจ่มมีลักษณะในการทอหรือจกในลักษณะการคว่ำลาย ทำให้ลวดลายที่ได้สวยงาม ปราณีตเฉพาะแบบไม่เหมือนใคร ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มยังถือเป็นศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นล้านนาที่สืบทอดเป็นมรดกทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม" ในชุใชนทางภาคเหนือ ผ้าทอยังคงมีบทบาทสำคัญทางสังคมและวัฒนธรรม นอกเหนือจากบทบาททางการค้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ การใช้เป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มในหลายชุมชน ในพิธีขึ้นเฮือนใหม่ พิธีสืบชะตาหรือพิธีที่มีการใช้ขันหลวงยังคงมีการใช้ผ้าขาว - ผ้าแดงเป็นเครื่องประกอบพิธีกันอยู่ โดยเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของผีบรรพบุรุษ ในอำเภอแม่แจ่มและในหลายชุมชนยังคงมีการใช้ผ้าขาวที่ทอด้วยมือเป็นผ้าหลองคาบ ใช้รองหรือห่อร่างของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และยังใช้ทำตุงสามหางและถุงขาวที่ใช้ในพิธีศพเช่นกัน มีการทอตุงเพื่อใช้ในวันขึ้นปีใหม่หรือใช้ในงานปอยหลวง ผ้าหลายอย่างทอขึ้นเพื่อใช้เป็นผ้าดำหัวในพิธีรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์หรือปีใหม่เมือง ผ้าห่อคัมภีร์ก็ยังคงมีการทำขึ้นทุกครั้งของงานปอยเข้าสังข์เพื่ออุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นตีนจกที่เป็นผ้าไว้สวมใส่ในงานพิธีสำคัญ บ้างใช้ใส่ในพิธีฮ้องขวัญ หรือ เรียกขวัญ สตรีชาวแม่แจ่มยังมีการเตรียมซิ่นตีนจกไว้นุ่งหลังจากตายเพื่อให้ดวงวิญญาณได้ไปสักการะพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์
การสืบทอดการทอผ้าของคนในอดีตมักจะเกิดจากแรงบันดาลใจในการทอผ้าเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน การแสดงออกซึ่งวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับการดูแลตนเองและครอบครัว รวมถึงการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อบุพการีผู้มีพระคุณ แม้ว่าปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะหันไปหาวัตถุนิยมจากสังคมภายนอกที่หลั่งไหลเข้ามากลืนกินวิถีชีวิตของคนในชนบท แทบจะเรียกได้ว่า วํฒนธรรมประเพณีเก่าแก่เช่นนี้กำลังจะหายไปจากวิถีชีวิตของพวกเขา
อำเภอแม่แจ่มถือได้ว่าเป็นชุมชนหนึ่งที่มีการทอผ้าซิ่นตีนจกกันมากที่สุด ผ้าทอของแม่แจ่มมีเอกลัษณ์ในการทอหรือจกในลักษณะคว่ำลาย ทำให้ลวดลายที่ได้สวยวาม ปราณีตเฉพาะแบบไม่เหมือนใคร ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มยังถือเป็นศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นล้านนาที่สืบทอดเป็นมรดกทางวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นอย่างชัดเจนที่สุด นับตั้งแต่งที่ผู้หญิงแม่แจ่มเริ่มเรียนรู้วิธีการทอผ้าอยู่เสมอที่เห็นได้ชัดเมื่อเวลามีงานบุญสำคัญต่าง ๆชาวแม่แจ่มก็จะนำผ้าตีนจกที่ทอเก็บไว้ออกมานุ่งกัน ผ้าตีนจกถือได้ว่าเป็นของสำคัญที่ลูกสะไภ้นำไปไหว้แม่สามีตอนแต่งงาน นอกจากนั้นผ้าตีนจกยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้หญิงชาวแม่แจ่มตั้งแต่งเกิดจนตาย
ปัจจุบันเรายังสามารถพบเห็นสตรีชาวแม่แจ่มนิยมนุ่งซิ่นตีนจกในงานบุญประเพณีต่าง ๆ อยู่เสมอ กล่าวกันว่า สตรีชาวแม่แจ่มจะต้องทอผ้าตีนจกอย่างน้อยคนละ 1 ผืนเป็นการคงเอกลักษณ์บ่งบอกถึงวิถีชีวิตและเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป
ปัจจุบันผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มได้รับการประกาศจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ผ้าทอตีนจกที่ทอจากแหล่งอื่นจะอ้างว่าเป็นผ้าทอตีนจกจากแม่แจ่มไม่ได้ การขึ้นทะเบียนดังกล่าวเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ใช้ให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและรู้แหล่งผลิตอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังเป็นการคุ้มครองผู้ผลิต โดยผู้ผลิตที่มิได้อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นจะแอบอ้างหรือแสวงหาผลประโยชน์จากชื่อเสียงของสินค้าไม่ได้
การทอผ้าซิ่นตีนจกของชาวแม่แจ่ม ยังคงมีการสืบทอดกันมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เราจะพบเห็นการทอผ้าตีนจกมากมายในหลายหมู่บ้าน ผ้าตีนจกโบราณที่ในอำเภอแม่แจ่มบางผืนมีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทอด้วยไหม ปัจจุบันยังมีเหลือให้ชมและศึกษาอยู่ในเขตตำบลท่าผา , ตำบลช่างเคิ่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าตีนจก
สำหรับท่านที่เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่มนอกจากจะพบเห็นวิถีชีวิตการทอผ้าของชาวบ้านแล้ว ที่อำเภอแม่แจ่มยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่า เช่น ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดด โบสถ์กลางวัดที่วัดพุทธเอ้น พระพุทธรูปโบราณพระเจ้าตนหลวง ตลอดจนถึงการศึกษาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชนเผ่า โดยเฉพาะชาวลัวะ ซึ่งถือเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของที่นี่ มีการดำรงชีวิตสืบทอดลูกหลานมาหลายร้อยปี
...
ขอขอบคุณ : คุณจักรพงษ์ คำบุญเรือง
หนังสือพิมพ์ : เชียงใหม่นิวส์ (รายวัน) ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556