แม้ครั้งหนึ่งลำพูนจะเคยมีสถานะเป็นเมืองร้าง แต่นับตั้งแต่พระนางจามเทวีมาปกครอง นครหริภุญชัยแห่งนี้ก็ไม่เคยถูกทิ้งร้างอีก ขณะที่พระพุทธศาสนาในลำพูนก็เจริญรุ่งเรืองตลอดมา นอกจากวัดเก่าแก่ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์แล้ว เลยไปที่อำเภอลี้ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งนักบุญล้านนา เพราะที่นี่คือบ้านเกิดและเรือนตายของครูบาศรีวิชัย พระนักพัฒนาผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนด้วย
หลังจากครูบาศรีวิชัยแล้ว ลี้ยังมีครูบานักพัฒนาอย่างครูบาชัยยะวงศาพัฒนาหรือครูบาวงศ์ ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงพุทธแห่ง
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม วัดประจำหมู่บ้านชาวเขาพระบาทห้วยต้มและเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอลี้ อาณาบริเวณอันกว้างขวางของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มนอกจากองค์พระบรมธาตุที่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม รายล้อมด้วยเจดีย์เล็กอีก 17 องค์ ภายในบรรจุพระเครื่อง 84,000 องค์ และไม่ห่างกันเป็นหอเก็บพระไตรปิฎก และยังเป็นสิ่งด่กอสร้างที่ทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลงด้านหลังของวัดด้วย
ศรัทธาของชาวกะเหรี่ยงที่มีต่อครูบาวงศ์ ทำให้หมู่บ้านที่ตั้งอยู่โดยรอบวัดแห่งนี้เป็นเขตมังสวิรัติ ไม่มีการรับประทานเนื้อสัตว์ใดๆ เช่นเดียวกับครูบาวงศ์ซึ่งถือเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้มีการนำสัตว์เข้ามาด้วย
ด้วยศรัทธาของชาวกะเหรี่ยงและศิษยานุศิษย์
พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย พุทธสถานของพระพุทธบาทห้วต้มที่อยู่ห่างออกมากลางหมู่บ้านที่ครูบาวงศ์เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างไว้ หลังจากได้พบมูลโคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงมาใช้ชาติเป็นโคพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้กลายเป็นสภาพเป็นพระบรมธาตุ จึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ธาตุครอบทับสถานที่แห่งนี้ไว้ เพื่อให้เป้นพุทธเจดีย์ของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์อันะเป็นพุทธเจดีย์ของภัทรกัปให้ลูกหลานคนไทยได้กราบไหว้เป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเป็นแห่งที่สองของโลก ได้รับการสานต่อจนเสร็จสมบูรณ์แม้ว่าครูบาวงศ์จะมรภาพไปแล้ว
ไม่เพียงวัดพระพุทธบาทห้วยต้มเท่านั้นที่ครูบาวงศ์ได้สร้างให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ ห่างออกไปไม่ไกลครูบาวงศ์ยังได้ริเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์
วัดพระธาตุห้าดวง เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีการบูรณะองค์พระธาตุทั้งห้าดวง ด้วยการก่อสร้างครอบองค์เดิมและทำการก่อสร้างแบบองค์พระธาตุหริภุญชัย มีการปิดทองจังโก้และปิดด้วยทองคำเปลว
วัดพระธาตุห้าดวงแห่งนี้กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า เป็นบริเวณเวียงเก่า เพราะมีซากกำแพง และคูเมืองตั้งเป็นแถว ตามตำนานกล่าวว่า พระนางจามเทวี กษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญชัย ได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว 5 ดวง ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองเวลากลางคืน จึงได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวง ลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง จึงได้สอบถามความเป็นมาทราบว่า คือพระเมโตธาตุ (น้ำไคลมือ) ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่คือล้างพระหัตถ์ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงพื้นดิน พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้และในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวงสืบต่อกันมานับตั้งแต่นั้น
ใกล้ๆ กันเป็นที่ตั้งของ
วัดพระธาุดวงเดียว ว่ากันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามรี ระหว่างปี พ.ศ. 500-700 พระนางจามรีซึ่งเป็นธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบางถูกอ่อรุกราน จึงพาไพรพลหนีภัยข้าศึกมาตั้งแต่บ้านเมืองใหม่ ปัจจุบันคือ บริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว ขณะที่พระนางได้ทำการสร้างบ้านเมืองก็ได้สร้างพระธาตุเจดีย์พร้อมวิหารไว้ในเวียงวังด้วย ก็คือ วัดพระธาตุดวงเดียว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระธาตุกลางเวียงนั่นเอง
ไม่เพียงแค่อำเภอเมือลำพูนและลี้เท่านั้นที่มีวัดสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานในพระพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์การก่อสร้างเมืองแต่เมืองเงียบสงบและเรียบง่ายแห่งนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย.....................................
ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556