max
บุคคลทั่วไป
|
|
« เมื่อ: เมษายน 01, 2007, 03:31:01 PM »
|
|
คำขวัญของ จ.เชียงใหม่ คือ ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์
|
|
|
|
max
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 01, 2007, 03:31:53 PM »
|
|
ดอยสุเทพเป็นศรี
ดอยสุเทพ ศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บางคนจึงเรียกว่า พระธาตุดอยสุเทพ ดอยสุเทพเป็นศรี หมายถึง ความงามสง่า รุ่งเรือง ที่เกิดขึ้นกับเวียงเชียงใหม่มานานนับศตวรรษ คนรุ่นก่อนเล่าว่า ตั้งแต่เมื่อครั้งพญากือนา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้นำพระบรมสารีริกธาตุที่พระสุมนเถระนำมาจากสุโขทัย ประดิษฐานลงบนดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๖๒ อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่เชียงใหม่จะมีตึกรามบ้านช่องผุดขึ้นมากมายอย่างวันนี้ ในครั้งนั้นพระธาตุบนดอยสุเทพโดดเด่นเห็นเป็นสง่า ใครจะเข้าหรือออกจากเวียงมักต้องยกสองมือวันทาด้วยความเคารพศรัทธา ชีวิตผู้คนชาวเวียงยุคนั้นเสมือนอยู่ในสายตาขององค์พระธาตุฯ ตลอดเวลา
ดอยสุเทพมีความสูง ๑,๖๐๑ เมตร ปกคลุมด้วยผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นเขตร้อนนานาชนิด เช่น เฟินต้น กระโถนฤาษี เอื้องมะลิ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงผู้คนในเวียงมาตั้งแต่โบราณกาล
กษัตริย์ ๓ พระองค์ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง ได้ร่วมกันสถาปนา นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ขึ้นที่บริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำปิง ใกล้ดอยสุเทพ ด้วยเห็นพ้องกันว่า มีลักษณะแห่ง นครคุณ มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมเป็นมงคล คือ ด้านหลังเป็นดอยสุเทพ มีพื้นที่ราบเชิงเขาไปจรดแม่น้ำปิง ทำให้ชาวเวียงได้อาศัยชักน้ำจากดอยสุเทพขึ้นใช้กินอยู่ และเป็นแหล่งภักษาหาร อีกทั้งผืนป่าแห่งนี้ยังเป็นที่อยู่ของชาวลัวะซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบรรพบุรุษคนเมืองอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
max
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 01, 2007, 03:33:32 PM »
|
|
ประเพณีเป็นสง่า เชียงใหม่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันงดงามที่สั่งสมและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ของคนเชียงใหม่ที่ยังมี ชีวิตชีวา ประเพณีบางอย่างยังคงปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างเข้มข้น เช่น ประเพณีเข้าอินทขีล หรือพิธีบูชาเสาหลักเมือง ที่วัดเจดีย์หลวง กลางเมืองเชียงใหม่ ประเพณีลอยโคมหรือประเพณียี่เป็ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณียิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ ชาวเหนือให้ความสำคัญกับประเพณีสงกรานต์มาก เรียกประเพณีนี้ว่า ปาเวณีปีใหม่ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนศักราชใหม่ เป็นโอกาสที่จะได้แสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ไปร่วมทำบุญที่วัด สรงน้ำพระพุทธรูป และตระเวนไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
max
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 01, 2007, 03:36:18 PM »
|
|
บุปผชาติล้วนงามตา พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยทิวเขาสูง ทอดตัวยาวสลับซับซ้อน คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่จังหวัด ทิวเขาซึ่งเป็นที่รู้จักติดอันดับของประเทศ ได้แก่ ดอยอินทนนท์ ดอยหลวงเชียงดาว ดอยปุย เป็นต้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีทิวเขาเป็นจำนวนมากนี้เอง ทำให้เชียงใหม่มีอากาศเย็นสบายเกือบทั้งปี และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทิวเขาเหล่านี้ปกคลุมไปด้วยพืชพรรณไม้ป่านานาชนิด โดยเฉพาะดอกไม้ป่าที่สวยงามและหายาก เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างน้าว ช้างกระ สามปอยดง เข็มแดง กุหลาบพันปี เอื้องสิงโต เด็งช้างเผือก เอื้องมะลิ เป็นต้น
เมื่อมีการจัดตั้งสถานีวิจัยพืชผักเมืองหนาวของโครงการหลวง ยิ่งทำให้จังหวัดเชียงใหม่สามารถพัฒนาพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตในที่สูงซึ่งมีอากาศหนาวเย็น เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ ทิวลิป ลิลลี่ เบญจมาศ ได้ดีขึ้น เมืองเชียงใหม่ในช่วงฤดูหนาว (ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) จึงมีดอกไม้บานสะพรั่งไปทั่วเมือง เป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
max
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: เมษายน 01, 2007, 03:38:52 PM »
|
|
นามล้ำค่านครพิงค์ เมื่อพญามังรายผนวกแคว้นหริภุญไชยเข้ากับแคว้นโยนกได้แล้ว อาณาจักรซึ่งต่อมารู้จักกันทั่วไปว่า อาณาจักรล้านนา จึงถือกำเนิดขึ้น
พญามังราย ได้ร่วมกับพระสหายร่วมสาบาน คือ พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง สถาปนา นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ขึ้นเป็นศูนย์กลางอาณาจักร ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นที่รู้จักกันในชื่อปัจจุบันว่า เชียงใหม่ เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดทางภาคเหนือ
ตามตำนานกล่าวว่า นพบุรี (นพ แปลว่า เก้า หรือ แก้วอัญมณี บุรี แปลว่า เมือง) มาจากชื่อหมู่บ้านของชาวลัวะ ๓ ใน ๙ ตระกูล ที่มีหน้าที่เฝ้ารักษาบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๓ บ่อ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งได้รับพรจากพระอินทร์เป็นการตอบแทนที่พวกเขาเป็นคนดี รักษาศีลห้า ส่วนคำว่า นครพิงค์ (พิงค์ หรือ ระมิง แปลว่า แม่น้ำของชาวรามัญ) มาจากชื่อ แม่น้ำปิง ที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ และ เชียงใหม่ หมายถึง เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ของพญามังราย ในอดีตชาวไทยวนนิยมเรียกชื่อหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ว่า เมืองใหม่ หรือ เชียงใหม่ ซึ่งเรียกกันต่อมาตราบทุกวันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
max
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: เมษายน 01, 2007, 03:41:51 PM »
|
|
:)รูปและข้อมูล จาก นายรอบรู้ดอทคอม ;D
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
max
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2007, 06:45:18 PM »
|
|
|
|
|
|