ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 05:31:35 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่  (อ่าน 6062 ครั้ง)
animaturk
Jr. Member
**
กระทู้: 64


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:22:50 PM »


Wat Prathat Doi Suthep Temple in Chiang Mai Thailand

วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมากเสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่ บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล
          กล่าวถึงราชวงศ์มังราย เป็นวงศ์ของกษัตริย์ที่ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่มาตามลำดับ ซึ่งพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ต่อมาได้มีกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาตามลำดับ ดังนี้
      1. พญาเม็งรายมหาราช พ.ศ.1804 ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่
      2. พญามังคราม พ.ศ.1854 3. พญาแสนพู พ.ศ.1868
      4. พญาคำฟู พ.ศ.1877
      5. พญาผายู พ.ศ.1879
      6. พญากือนา พ.ศ.1898 ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
      7. พญาแสนเมืองมา พ.ศ.1928
      8. พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.1945
      9. พญาติโลกราช พ.ศ.1984 ผู้ทำนุบำรุงวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
      10. พญายอดเชียงราย พ.ศ.2030
      11 . พญาเมืองแก้ว พ.ศ.2038
      12. พญาเมืองเกษกล้า พ.ศ.2068 ผู้ซ่อมแซมวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหารครั้งใหญ่
      13. ท้าวชายคำ พ.ศ.2081 ผู้ก่อ สร้างเพิ่มเติมในวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหาร
      14. พญาเมืองเกษกล้า พ.ศ.2086
      15. พระนางจิรประภา พ.ศ.2088
      16. พญูาอุปเยาว์ พ.ศ.2089
      17. ท้าวแม่กุ พ.ศ.2094
      18. พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ.2107-2121
หมายเหตุ
      พญาเมืองเกษเกล้า ปกครอง 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2121 พม่าได้เลิกแต่งตั้งกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย เพราะต้องไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ

พระบรมธาตุ
 พระบรมธาตุ หมายถึง พระอัฐิที่ผุกร่อนหรือเถ้าถ่านของพระพุทธเจ้า ซึ่งมารวมตัวอัดแน่นเป็นก้อนแข็งราวกับแร่ธาตุชนิดหนึ่งแล้วก็ตกผลึกมีแสง แวววาวระยิบระยับ ประหนึ่งก้อนหยกที่ถูกเจียรไนแล้ว ขนาดสัณฐานของพระบรมธาตุมีลักษณะกลมเล็กสะท้อนแสง ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว พระบรมธาตุที่แท้จริงจะสำแดงนิมิตปาฏิหารย์ได้ โดยทั่วไปจะมีสีแสงโชติช่วงในเวลากลางคืนและมีพลังอำนาจในตัวของมันเอง จะมีทั้งแยกธาตุ - รวมธาตุและสลายธาตุหายไป ได้โดยพลังอำนาจฉับพลันราวกับปาฏิหารย์ ชาวพุทธนิยมเก็บพระบรมธาตุไว้ในเจดีย์ หรือไม่ก็ขุดฝังไว้ภายใต้องค์พระเจดีย์ เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมทั้งยังเป็นการสร้างสถานที่สำคัญไว้เคารพบูชาของ คนและเทวดาทั้งหลาย และยังเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่พระบรมธาตุมีพลานุ ภาพอย่างมาก หากใครได้ยินได้ฟังแล้วก็อยากจะมาเยี่ยมชมและกราบไหว้นมัสการองค์พระเจดีย์ อยู่มิได้ขาด

ตำนานพระบรมธาตุดอยสุเทพ

 ในพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีพระภิกษุชาวลังการูปหนึ่ง ชื่อว่าพระสุมนเถระ เป็นพระที่มีความรู้แตกฉานในเรื่องพระธรรมวินัยและรอบรู้ในพระไตรปิฏกเป็น อย่างดี และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป พระสุมนเถระรูปนี้เข้ามาสุโขทัยเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนานิกายเถราวาทแบบ ลังกา โดยเฉพาะที่อำเภอศรีสัชชนาลัยและสวรรคโลก นับได้ว่าพระพุทธศาสนานิกายเถราวาทได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในสุโขทัย ยุคนั้นภายในช่วงเวลาไม่นานนัก
                 ตามตำนานเล่าว่าคืน หนึ่งขณะพระสุมนเถระกำลังนอนหลับ มีเทวดาองค์หนึ่งมาบอกว่า ในสมัยพระเจ้าธรรมมาโศกราช พระองค์ได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งบรรจจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ ขณะนี้เจดีย์องค์นั้นได้ชำรุดทลายพังลงมาหมดแล้ว ไม่มีใครทราบชัดเจนว่าเจดีย์นั้นตั้งอยู่ตรงไหน เทวดายังบอกต่อไปอีกว่า ให้ท่านไปเมืองปางจาอยู่บนถนนสายสุโขทัย-ศรีสัชชนาลัย (หมายถึงสวรรคโลกในปัจจุบัน) ภายในซากโบราณสถานเหล่านั้น คือฐานที่ตั้งขององค์พระเจดีย์ โดยจะมีพุ่มดอกเข็มกอหนึ่งมีรูปลักษณะเหมือนม้านั่งขึ้นอยู่แทนที่ภายใต้ พุ่มดอกเข็มนั้นจะมีผอบบรรจุพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าอยู่ ขอให้ท่านไปขุดเอาไว้สักการะบูชาและเก็บไว้ในที่อันสมควรด้วย

 
        วันรุ่งขึ้นหลังจากให้คนงานสมาทานศีล 5 ทั่วกันแล้ว ท่านจึงสั่งให้ลงมือขุดดินตรงบริเวณพุ่มดอกเข็ม พอขุดลงไปสักครู่หนึ่งก็พบอิฐปูลาดอยู่ เมื่อยกอิฐออกหมดก็พบแผ่นศิลา เมื่องัดแผ่นศิลาขึ้นมาก็ได้พบผอบทองเหลือง เปิดผอบทองเหลืองออกพบผอบเงิน เปิดผอบเงินพบผอบทองคำ เปิดผอบทองคำพบผอบแก้วประพาฬ
             
 
        เมื่อ เปิดผอบแก้วประพาฬออกจึงพบพระบรมธาตุขนาดเท่าผลทับทิม เนื่องจากพระบรมธาตุขนาดใหญ่เกินไป พระสุมนเถระจึงเกิดความสงสัยว่าจะไม่ใช่พระธาตุหลังจากพยายามอยู่ครู่หนึ่ง ก็พบว่าสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นพระธาตุนั้นที่แท้เป็นผอบอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเปิดผอบนั้นออกมาจึงพบพระบรมธาตุที่แท้จริง 1 องค์มีขนาดสัณฐานเท่าเม็ดถั่วเขียว มีสีสวยงามดังสีทอง
พระสุมนเถระได้นำพระบรมธาตุไปให้พระ เจ้าฤไททอดพระเนตรที่ศรีสัชชนาลัย พระองค์ทรงปลื้มปิติอย่างยิ่งและได้จัดสร้างพลับพลาพิเศษสำหรับเก็บรักษาพระ บรมธาตุโดยตรง พระองค์ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าประดิษฐาน ณ พลับพลาพิเศษดังกล่าวพร้อมกับก้มกราบลงตรงหน้าพระบรมธาตุนั้นด้วยความเคารพ และบูชาอย่างยิ่ง ทันใดนั้นก็เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมีแสงโชติช่วงไปทั่วพลับพลาแห่งนั้นอย่าง งดงามตระการตา ย้ายพระบรมธาตุไปสุโขทัย ข่าวการค้นพบพระบรมธาตุตลอดถึงปรากฏการณ์ปาฏิหารย์ของพระบรมธาตุได้แผ่ กระจายไปยังหัวเมืองต่างๆ
        พระเจ้าธรรมราชา แห่งกรุงสุโขทัยได้เกิดสนพระทัยใคร่อยากจะทอดพระเนตรจึงส่งผู้แทนเดินทางไป เมืองศรีสัชชนาลัย เพื่อนิมนต์พระสุมนเถระพร้อมกับพระบรมธาตุให้ย้ายไปอยู่กรุงสุโขทัย ก่อนที่พระสุมนเถระจะนำพระบรมธาตุมาถึง ทางพระเจ้าธรรมราชาจึงทรงปิติยินดีและได้ตระเตรียมสถานที่พร้อมทั้งสิ่งของ สำหรับสักการะบูชาพระบรมธาตุไว้พร้อม เมื่อสุมนเถระนำพระธาตุมาถึงพระเจ้าธรรมราชาก็ประกอบพิธีสักการะบูชาพระ บรมธาตุอย่างถูกต้องตามสมควรแล้ว แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกประหลาดที่ไม่มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้พระองค์ทรงผดหวังมาก และเกิดความสงสัยในตัวจริงของพระบรมธาตุพระองค์ถึงกับทรงรับสั่งให้พระสุมน เถระให้เก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ด้วยตนเอง










ในปี พ.ศ. 1910 (ค.ศ.1367) กษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์เม็งรายแห่งนครลานนาไทยชื่อ พระจ้าอนาพระองค์ทรงประสงค์ที่จะพัฒนาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลานนาไทยให้เจริญ รุ่งเรือง จึงได้ส่งผู้แทนจำนวน 3 คน คือ หมื่นเงินกอง ผ้าขาวยอด ผ้าขาวสาย เดินทางไปยังนครสุโขทัย เพื่อนิมนต์พระสุมนเถระขึ้นไปอยู่เชียงใหม่ (หมื่น เป็นยศชั้นปกครองสมัยก่อน ผ้าขาว ผู้นุ่งขาว ถือศีล 8)
          เนื่อง จากมีข่าวแพร่สะพัดไปถึงเชียงใหม่ว่าพระพุทธศาสนาในสุโขทัยได้เจริญ รุ่งเรืองมากมาเป็นอย่างดี ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระสุมนเถระ พระองค์จึงต้องการตัวพระสุมนเถระขึ้นไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลานนาไทยโดย เฉพาะที่เชียงใหม่ ด้วยความเห็นชอบของพระเจ้าธรรมราชาแห่งนครสุโขทัย พระสุมนเถระจึงรับนิมนต์ และได้เดินทางขึ้นไปเชียงใหม่พร้อมกับพระบรมธาตุที่ได้มาจากเมืองปางจาในปี พ.ศ. 1912 (ค.ศ 1369) พระสุมนเถระ ได้เดินทางมาถึงเมืองลำพูนพระเจ้ากือนา พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย จึงได้เดินทางไปต้อนรับพระสุมนเถระ ที่ตำบลแสนข้าวห่อ เชียงเรือ จังหวัดลำพูน เมื่อมาถึงวัดพระยืน ห่างจากตัวเมืองลำพูน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กม. พระสุมนเถระจึงชอบบรรยากาศที่วัดพระยืนนี้มาก จึงขอพระราชานุญาติจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ก่อน ซึ่งขณะนั้นพระสุมนเถระมีอายุได้ 60 ปีพอดี

   พระสุมนเถระ อยู่ที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ 2 ปี ต่อมาปี 1914 (ค.ศ. 1371) พระเจ้ากือนา จึงได้ยกสวนหลวง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ สร้างวัดใหม่ขึ้นสำหรับพระสุมนเถระ โดยตั้งชื่อว่า วัดบุพพารามต่อมาวัดบุพพาราม ก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสวนดอก ตราบเท่าทุกวันนี้ เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
          พระเจ้า กือนา จึงไปนิมนต์พระสุมนเถระขึ้นมาอยู่ประจำวัดนี้พระสุมนเถระได้ขึ้นมาตามคำ นิมนต์พร้อมกับนำเอาพระบรมธาตุติดตัวมาด้วยพระเจ้ากือนาได้เลื่อมใสและ ศรัทธาในพระสุมนเถระมาก จึงได้สถาปนาสมณศักดิ์ให้พระสุมนเถระเป็น พระสุมนบุพพารัตนมหาสวามี

หลังจากพระมหาสวามีมาอยู่ที่วัดสวนดอกตามคำนิมนต์ของพระเจ้ากือนา พระมหาสวามีได้ปรึกษากับพระเจ้ากือนาถึงการสร้างพระเจดีย์ให่ในวัดสวนดอก เมื่อพระเจ้ากือนาทรงเห็นชอบแล้ว จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้นก่อนที่จะขุดหลุมเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ลงไปนั้น พระมหาสวามี ได้นำเอาพระบรมธาตุนั้นออกมาวางไว้ในถาดทองคำ เพื่อให้พระองค์และประชาชนได้ทำกรสักการะบูชาเสียก่อน เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหาสวามีจึงได้นำเอาพระบรมธาตุออกมาจากถาดเพื่อเตรียมจะบรรจุลงในพระ เจดีย์พระมหาสวามีจึง เกิดความประหลาดใจขึ้นเมื่อพระบรมธาตุที่อยู่ในถาดทองคำนั้นได้แยกออกเป็น 2 องค์ ขนาดเท่าเดิมองค์หนึ่งและอีกองค์หนึ่งเล็กกว่าเล็กน้อย










  ต่อมาพระเจ้ากือนาจึงได้นำเอาพระบรมธาตุองค์ที่เล็กกว่านั้นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดสวนดอกตราบเท่าทุกวันนี้ 
 พระองค์และพระมหาสวามีได้พยายามหา ที่เหมาะสมที่สร้างพระเจดีย์อีกองค์หนึ่ง เพื่อจะบรรจุพระบรมธาตุองค์เดิมที่นำมาจากเมืองปางจา สุโขทัย พระองค์ได้นำเอาพระบรมธาตุนั้นขึ้นไว้บนหลังช้างเผือกมงคลและอธิษฐานเสี่ยง ทายว่า " เมื่อช้างได้นำพระบรมธาตุไปถึงที่ ๆ เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาพระบรมธาตุนี้แล้วไซร้ ขอพระบรมธาตุได้แสดงอภินิหารบังคับให้ช้างหยุดอยู่ตรงนั้นเถิด " พออธิษฐานเสร็จแล้วพระองค์ก็ทรงปล่อยช้างให้ออกไปจากประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือกปัจจุบัน)   เมื่อช้างออกจากประตูไปแล้วก็เปล่งเสียงร้องขึ้น 3 ครั้งแล้วหันหน้าไปทางทิศตะวันตกและเดินมุ่งหน้าไปทางภูเขา พระองค์และพระมหาสวามี ตลอดถึงประชาชนผู้สนใจในพิธีได้เดินตามช้างไปเป็นเวลายาวนาน เมื่อช้างไปถึงยอดเขาแห่งหนึ่ง จึงชลอพักเอาแรงสักครู่หนึ่งและก็เดินทางต่อไป ภูเขาลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า " ดอยช้างนอน " ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาช้างมงคลได้มุ่งหน้าเดินทางต่อไปจนถึงยอดเขาอีกลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นลานกว้างและเหมาะสมดีที่จะสร้างพระเจดีย์ไว้ทุกคนก็คาดหวังว่าช้าง จะต้องหยุดตรงนี้ ไม่ยอมหยุด คงมุ่งหน้าเดินทางต่อไปอีก ดอยลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า "สนามดอยงาม" จนถึงทุกวันนี้
          ใน ที่สุดช้างก็ไปถึงเชิงเขาสุเทพ เดินปีนเขาขึ้นไปจนถึงยอดเขา จากนั้นช้างก็เดินวนซ้ายอยู่ 3 รอบ และหยุดคุกเข่าหมอบลงพร้อมกับเปล่งเสียงร้อง 3 ครั้งอีกรอบหนึ่ง พระองค์และพระมหาสวามี ต่างก็ปีติยินดีที่ได้พบสถานที่ๆ จะเก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ภายในพระเจดีย์ที่จะสร้างขึ้นใหม่ จึงได้ช่วยกันนำเอาพระบรมธาตุลงจากหลังช้างด้วยความเคารพ
  พระเจ้ากือนา ทรงให้พระมหาสวามี เก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ ช่วงที่พำนักอยู่วัดสวนดอกเป็นเวลาเกือบ 2 ปี พระองค์และพระมหาสวามีได้พยายามเสาะแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับประดิษฐาน พระบรมธาตุองค์นี้ไว้ แต่ก็ไม่พบ พระองค์เสียเวลาไปมากกับการแสวงหาที่ดังกล่าว ดังนั้นวันหนึ่งพระองค์และพระมหาสวามี จึงได้นำเอาพระบรมธาตุเข้าใส่ในกูบ และประดิษฐานไว้บนหลังช้างมงคลและปล่อยช้างออกไปจากเมืองเพื่อเสี่ยงทาย หาสถานที่ดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ และได้พบสถานอันพึงปรารถนา นั่นก็คือยอดดอยสุเทพ
           พระเจ้ากือนา ทรงสั่งให้คนงานทั้งหมดปรับพื้นที่ราบดอยสุเทพให้เรียบร้อย และขุดหลุมขนาดลึก 8 ศอก กว้าง 1 วา 3 ศอก และให้เอาแผ่นหินขนาด 7 ศอก มาทำเป็นหีบ เอาผอบพระบรมธาตุ พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชา จำนวนมากใส่ลงไปในหีบนั้น เมื่อปิดหีบและฝังไว้ตรงนั้นแล้ว พระองค์จึงสั่งให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งมีขนาดสูง 5 วา ครอบเหนือหีบพระบรมธาตุนั้น เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาแก่คนทั้งปวง และพอจะอนุมานสรุปได้ว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างโดยพระเจ้ากือนา เมื่อ พ.ศ.1916

ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่ เส้นทางการเดินทาง

http://maps.google.co.th/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=108731746739764096750.00046f0857bb15a8b0ece&ll=18.805129,98.920756&spn=0.003433,0.007381&t=h&z=18

















« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2009, 08:52:53 PM โดย animaturk » บันทึกการเข้า
animaturk
Jr. Member
**
กระทู้: 64


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:29:03 PM »




















บันทึกการเข้า
animaturk
Jr. Member
**
กระทู้: 64


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:29:47 PM »


























บันทึกการเข้า
animaturk
Jr. Member
**
กระทู้: 64


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:30:16 PM »




























บันทึกการเข้า
auto
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 5733


**Chiang Mai, I love you**


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 11:36:06 PM »


ขอบคุณข้อมูล และ ภาพสวยๆ ครับ
บันทึกการเข้า

nantiya2007
Newbie
*
กระทู้: 28



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2009, 10:11:03 PM »


ว้าวววว เก็บรายละเอียดมาได้เยอะจริงๆ ทุกซอก ทุกมุมเลยนะคะ
ขอบคุณค่ะ  :onio:
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.104 วินาที กับ 20 คำสั่ง