พอดีได้โอกาสไปออกทริปถ่ายพอตเทรทครั้งแรกเลยถ่ารูป
หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ มาให้ชมกันนิดหน่อยครับ
สนน ราคาการเข้าชม ก็ท่านละ 20 บาท เด็กนักเรียนนักศึกษา 10 บาท ปิดวันจันทร์วันเดียวครับ เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 17.30 น.
ความสำคัญทางประวัติศาสตร์อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิมนี้ เป็นอาคารเก่าที่มีความงดงาม
และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม สร้างเมืองปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เคยเป็นศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ และเป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะย้ายไปตั้งที่ศูนย์ราชการริมถนนโชตนา
อาคารนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่ากลางเวียงในปัจจุบันหรือสะดือเมืองในอดีต ซึ่งมีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์เพราะเคยเป็นที่ตั้งเสาอินทขิลหรือเสาหลังเมือง ก่อนที่จะย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ไม้หมายเมือง บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดสะดือเมือง วัดอินทขิลและส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของและที่ทำการเค้าสนามหลวง
ซึ่งเป็นศูนย์กลาง การปกครองอาณาจักรล้านนา
บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิมนี้เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๓๑) และเจ้าเทพไกรสรพระธิดาซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทนนท์ต่อมาเจ้าอินทนนท์ได้เป็น เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ ๗ ได้ย้ายมาอยู่ที่ หอคำในบริเวณคุ้มกลางเวียง และใช้เป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ ในขณะนั้นซึ่ง เจ้าจอมมารดาดารารัศมี ก็ได้เกิดที่คุ้มนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ เมื่อเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นมรดกของเจ้าจอมมารดาดารารัศมี ต่อมาเมื่อทางกรุงเทพฯส่งข้าหลวงมาจัดการปฏิรูปการปกครอง ตามระบบเทศาภิบาลและหาที่จัดตั้งศาลารัฐบาลเจ้าจอมมารดาดารารัศมี
จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณถนนโชตนา เป็นศูนย์ราชการจังหวัดตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๔ แต่ยังคงมีหน่วยงานบางหน่วย ใช้อาคารศาลากลางเดิมเป็นสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ เช่น สำนักงานสรรพากรจังหวัด เป็นต้น ซึ่งต่อมาได้มีการย้ายทุกหน่วยงานออกหมดในปี พ.ศ.๒๕๓๙ และทิ้งร้างไว้ โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์ จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐
ความเป็นมาของโครงการเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ตระหนักดีถึงคุณค่าความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม แต่ที่ผ่านมา เมืองเชียงใหม่ยังขาดแหล่งศูนย์กลาง ที่จะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ประวัติ ศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่อย่างครบถ้วน
ดัง นั้น จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกับ นักวิชาการ องค์กรภาคเอกชนและประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีความประสงค์ที่จะจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมขึ้น เพื่อให้เป็น สถานที่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ให้ผู้สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และ
ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ของเมืองเชียงใหม่ ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคือ เพื่อให้คนในท้องถิ่น ได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิตของตนเอง รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมือง ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม อันอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึก
เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ขอใช้อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม เพื่อปรับปรุงเป็น
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ การดำเนินการได้เริ่มตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔ โดยเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้พยายามรวบรวมแนวคิด เพื่อจัดทำ โครงการ
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับการสนับสนุน
นอก จากนั้นแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้ง
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และพัฒนากลุ่มโบราณวัดสะดือเมือง ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากหลายหน่วยงานด้วยกัน ทั้งนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา และผู้ทรงคุณวุฒิของเมืองเชียงใหม่ คณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้นำเสนอแนวความคิด เกี่ยวกับการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม เป็นหอศิลปวัฒนธรรมของเมือง และปรับปรุงทั้งบริเวณเป็นอนุสรณ์สถาน ปีของเมืองเรียกว่า ข่วงพญามังรายซึ่งทางเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานนี้ต่อมา
โครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางเดิมเป็น
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้รับการออกแบบโดย บริษัทมรดกโลก จำกัด ออกแบบเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ และเทศบาลนครเชียงใหม่ได้รับการอนุมัติ ให้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ แต่การดำเนินการต้องล่าช้าไปมาก เนื่องจากการประกวดราคาประสบปัญหา และต้องยกเลิกการประกวดราคาครั้งที่ ๑-๓ รวมทั้งยังต้องรอการพิจารณาอนุมัติ ให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่จากกรธนารักษ์และกรมศิลปากรด้วย ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติจากทั้งสองหน่วยงานแล้ว เทศบาลนครเชียงใหม่จึงได้อนุญาตให้ ผู้รับจ้างเข้าดำเนินงานตั้งแต่วันที่๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๐
ขอบคุณข้อมูลจากเว้บ หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ เป็นเว้บแฟลช น่าสนใจมากครับ สวยงามทีเดียว สามารถหมุนชมห้องได้ 360 องศาเลยทีเดียวhttp://www.chiangmaicitymuseum.org/
ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่ เส้นทางการเดินทางhttp://maps.google.co.th/maps/ms?oe=utf-8&client=firefox-a&ie=UTF8&hl=th&msa=0&ll=18.790943,98.988115&spn=0.005759,0.013078&t=h&z=17&msid=108731746739764096750.00046f83aee946c16a0a0