ข้อมูลมาเพิ่มเติมครับ
ประเพณีสืบชะตา เป็นประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกันของชาวไทยทางภาคเหนือ เพื่อความสวัสดิมงคลมาสู่บ้านเมือง ครอบครัว และตนเอง จึงมีการสืบชะตาเมือง
สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาคน สืบชะตาเมือง เป็นประเพณีสำคัญของทางเชียงใหม่ที่จะต้องถือปฏิบัติกันทุกปี การทำบุญเมืองนั้นเพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขในแก่ชาวบ้านชาวเมือง เป็นการสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนพลเมือง ตลอดจนพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ เจ้าบ้านเมือง เนื่องจากในสมัยโบราณกล่าวกันว่า การสืบชะตาเมืองมักจะจัดขึ้นในสองกรณีคือ
กรณีแรก จัดในยามที่บ้านเมืองเดือดร้อน ข้าวยากหมากแพง หรือเกิดศึกสงครามมีทั้งการ
สืบชะตาเมือง สืบชะตาเจ้าเมือง ทำบุญบูชาเซ่นไหว้ พระวิญญาณของเจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ก่อนๆ ตลอดจน "พระเสื้อบ้าน พระเสื้อเมือง" เทพาอารักษ์ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
กรณีที่สอง จัดในยามที่บ้านเมืองสงบสุข เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่บ้านเมือง
กำหนดงาน จัดวันใดวันหนึ่งของเดือนเก้า(ภาคเหนือ) การจัดเดือนเก้าเพราะชื่อเดือนเป็นมงคล สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่
www.tat.or.thกิจกรรม / พิธี ในสมัยโบราณ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน นิมนต์พระสงฆ์มาทำมังกะละที่กลางเวียงเชียงใหม่ 1 แห่ง ประตูเวียงทั้ง 5 แต่ละประตูมีพระสงฆ์ 9 รูปสวดมนต์ตั้งลำ และฟังธรรมสารากริชานสุตรและให้ตั้งพระพุทธรูปทุกแห่ง ให้มีน้ำขมิ้มส้มป่อย ใส่บาตร ก่อเจดีย์ทรายประดับด้วยจ้อและตุง ไม้ค้ำ ไม้ขัว ฝ้ายล้าง คาเขียว ต๋าแหลง ปันจั๊น ผังผะติ๊บใส่น้ำมัน หน่วยไม้ ให้ข้าราชการชาวบ้านชาวเมืองได้มาทำบุญใส่บาตร บริจาคทานตามอายุเมือง พิธีการเหล่านี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน และต้องจัดทำทุกปี
ส่วนในปัจจุบันได้จัดสถานที่ประกอบพิธีรวม 10 แห่ง คือ
1. กลางเวียงเชียงใหม่
2. ประตูเชียงใหม่
3. ประตูช้างเผือก
4. ประตูท่าแพ
5. ประตูสวนดอก
6. ประตูสวนปรุง
7. แจ่งศรีภูมิ
8. แจ่งขะต๊ำ
9. แจ่งกู่เฮือง
10. แจ่งหัวลิน
สถานที่ทั้ง 10 แห่งก็จะมีพิธีขึ้น "ค้างตั้งสี่" นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ (ตั้งลำ) แสดงพระธรรมเทศนาสารากริชานสุตร เลี้ยงพระถวายไทยทาน และทุกแห่งมีสิ่งประกอบพิธีดังนี้ ตั้งโต๊ะหมู่บูชามีน้ำเข้าขมิ้นส้มป่อย (น้ำที่แช่ด้วย ฝักส้มป่อยแห้งเผาไฟพอหอม กับดอกไม้หอมตากแห้ง เช่น ดอกสารภี เมื่อแช่นานๆ น้ำจะมีสีเหลืองโดยที่ไม่ใส่ขมิ้นเลย) ก่อเจดีย์ทราย ช่อตุง ไม้ค้ำ ไม้ขัว ฝ้ายล้าง (สายสิญจน์) การเจียว ต๋าแหลง และผังผะติ๊บ เริ่มพิธีตั้งแต่ประมาณ 9.00 น เสร็จพิธีแล้วเอาน้ำมนต์จากสถานที่ประกอบพิธีทุกแห่งมารวมที่สถานที่ประกอบ พิธีกลางเวียงเชียงใหม่ เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชน และในตอนเช้าเวลา 05.00 น.มีการนิมนต์พระสงฆ์ สามเณร จำนวนเท่ากับอายุเมืองมารับบิณฑบาตที่กลางเมือง
นอกจาก
พิธีสืบชะตาเมืองของทางเมืองเชียงใหม่แล้ว ทางเหนือทั่วไปก็นิยมจัด
ประเพณีสืบชะตาบ้าน และสืบชะตาคนอีกด้วย รายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเพณีสืบชะตาบ้าน บ้านเรือนนั้นมีความสำคัญสำหรับครอบครัว เพราะมีบ้านมีเรือนจึงจะบันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้กับคนในครอบครัว เพราะฉะนั้นภายในหมู่บ้านจึงมี "หอ" เป็นเรือนไม้เล็กๆ ปลูกอยู่ระหว่างทางแยก สำหรับเป็นที่อยู่ของเสื้อบ้าน การ
สืบชะตาบ้านนั้นมักนิยมทำกันก่อนวันเข้าพรรษา คือ ก่อนจะถึงวันสืบชะตา จะมีการประดับประดา "หอ" ให้สวยงามด้วยต้นกล้วย ใช้เป็นซุ้มประตูมีช่อตุงปักอยู่รอบๆ หอและสายสิญจ์โยง และมีการสังเวยหอด้วยอาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ พิธีสืบชะตาบ้านจะเริ่มจากการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ และจะสวดชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ชาวบ้านที่ไปร่วมพิธีเอาความเป็นสิริมงคล ต่อจากนั้นมักมีการสวดขับไล่เสนียดจัญไรไปจากหมู่บ้าน เพื่อนำความร่มเย็นมาสู่