ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 09:38:47 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: "พระพุทธรูปสิงห์หยก" วัดอู่ทรายคำ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: "พระพุทธรูปสิงห์หยก" วัดอู่ทรายคำ  (อ่าน 9831 ครั้ง)
max
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2007, 02:07:10 PM »




          พระสิงห์หยก วัดอู่ทรายคำ เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสน รุ่นสิงห์หนึ่ง แกะสลักโดยนายนริศ รัตนวิมล ช่างชาวเชียงราย โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินวาดภาพระดับแถวหน้า สล่าล้านนาออกแบบพระพุทธรูปและควบคุมในการแกะ ใช้เวลาในการแกะสลักภายในวัดอู่ทรายเป็นเวลา 6 เดือน นับเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากหยกธรรมชาติของพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

          พระพุทธรูปสิงห์หยก วัดอู่ทรายคำ เมืองเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเนื้อหยกสีเทาอมฟ้า ซึ่งมาจากบ่อหยกเมืองผากั้น ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ลักษณะของพระพุทธรูปสิงห์หยก หรือ พระสิงห์หยก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนาเชียงแสนแบบสิงห์ 1 หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว สูง 41 นิ้ว น้ำหนัก 900 กิโลกรัม นับเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากหยกธรรมชาติของพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

          สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบทองคำไว้ในพระเศียร และทรงตั้งพระนามพระสิงห์หยกองค์นี้ว่า "พระพุทธมณีศรีบุญนิวิฐ ภูมิพลมหาราชูทิศ รังสฤษเทโวปกรณ์สหศรัทธา อธิสตายุกาลสุวรรณวาลุการามประดิษฐ์ สถิตย์นพบุรีศรีนครพิงค์"

          พระครูพิศาลบุญนิวิฐ เจ้าอาวาสวัดอู่ทรายคำ กล่าวถึงการสร้างพระสิงห์หยกองค์นี้ว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ท่านได้เดินทางไปนมัสการพระพุทธสถานในประเทศอินเดียและเนปาล ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนาและสถานที่ปรินิพพาน ในการไปครั้งนี้ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ผนวกกับได้ไปนมัสการพระพุทธรูปสมัยคุปตะในพิพิธภัณฑ์สารนาถเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก ยิ่งเกิดรงศรัทธา จนเป็นแรงบันดาลใจทำให้ท่านคิดจะสร้างพระพุทธรูปหยกที่มีลักษณะงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปะล้านนาไว้ในพระพุทธศาสนา

          ด้วยเหตุนี้ หลังจากนั้นอีก 1 ปีเต็ม พระสิงห์หยกจึงถือกำเนิดขึ้น จากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่ โดยทำพิธีล้านนามหาพุทธาภิเษกในวันที่ 24 กรกฏาคม 2547 อาราธนาพระสงฆ์จำนวน 109 รูป มีพระพุทธพจน์วราภรณ์ รองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงเป็นประธาน และจัดพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเศียรพระหยก เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม 2547 ณ ลานประตูท่าแพ จากนั้นจึงเคลื่อนขบวนพระสิงห์หยก กลับวัดอู่ทรายคำขึ้นประดิษฐานในพระวิหารหลวง

          พระสิงห์หยก วัดอู่ทรายคำ เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสน รุ่นสิงห์หนึ่ง แกะสลักโดยนายนริศ รัตนวิมล ช่างชาวเชียงราย โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินวาดภาพระดับแถวหน้า สล่าล้านนาออกแบบพระพุทธรูปและควบคุมในการแกะ ใช้เวลาในการแกะสลักภายในวัดอู่ทรายเป็นเวลา 6 เดือน

          หากจะกล่าวถึงความสำคัญของวัดอู่ทรายคำ สถานที่ประดิษฐานพระสิงห์หยก ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า วัดอู่ทรายคำ เดิมเรียกกันว่า "วัดอูบคำ" บ้าง "วัดอุกคำ" บ้าง แต่ในตำนานเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงสมัยพระบรมเชษฐาธิราช ยกทัพไปเมืองเชียงแสน มีความว่า "ศักราชได้ 1166 ปีกาบไจ้ เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำวันอาทิตย์ ยกกองทัพเข้าไปตั้งทัพทำข้าวเปลือก ทิศตะวันตกเมืองเชียงแสน ชาวเมืองเชียงแสนทั้งมวล มีท้าวพระยาเสนาอามาตย์ เป็นต้น ก็พากันเข้ามากราบแทบไต้พื้นสุวรรณบาทจักร์คำ พระเป็นเจ้านับเลี้ยง"

          พระบรมเชษฐาธิราช ได้อพยพชาวเชียงแสนลงมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ อันมี ช่างทำเครื่องเขิน เครื่องเงิน เครื่องทอง สถาปนิก ช่างตีเหล็ก เมื่อมาถึงเมืองเชียงใหม่แล้วก็ให้กระจายไพร่พลเหล่านั้นไปอยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น บ้านฮ่อม บ้านเมืองสาท บ้านเจียงแสน เป็นต้น ช่างฝีมือเหล่านั้น ต่างก็มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ซึ่งได้นำพระพุทธรูปและใบลานที่เป็นธรรมเทศนาจากเชียงแสน แล้วนำมาไว้ในหอไตรวัดพระสิงห์เป็นจำนวนมาก จากนั้นจึงพากันสร้างวัดวาอารามตามชุมชนที่ตนอาศัย เช่น ช่างเงิน ก็สร้างวัดชื่อ วัดช่างดอกเงิน ช่างคำ ก็สร้างวัดชื่อ วัดช่างดอกคำ วัดอูบคำ หรือ วัดอู่ทรายคำ ก็เป็นนามของอุบาสิกาท่านหนึ่งที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสน ได้เป็นประธานสร้างวัดแห่งนี้ ซึ่งเป็นวัดเล็ก ๆ อยู่นอกคูเมืองหลวง

          จนกระทั่งถึงสมัยของเจ้าหลวงพุทธวงศ์ หรือ เจ้าแผ่นดินเย็น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4 (พ.ศ.2367 - 2389) ได้มีการบูรณะสร้างวัดจากที่เคยรกร้างมาก่อน เมื่อปี พ.ศ.2384 จากนั้นครูบาหลวงจันทะ ได้เข้ามาบูรณะต่อ เมื่อปี พ.ศ.2414 เรียกชื่อว่า วัดอู่ซายคำ หรือ วัดอุปลายคำ หลักฐานจดหมายเหตุ ฉบับสมุดข่อยเขียนด้วยอักษรล้านนา ซึ่งได้มาจากนายหนานแก้ว บ้านพวกแต้ม เมื่อปี พ.ศ.2516 มีบางตอนกล่าวถึงวัดอู่ทรายคำว่า

          "ศักราช 1233 ปีร้วงเม็ด เดือน 7 แรม 10 ค่ำ วัน 6 (พ.ศ.2414 ปีมะแมตรีศก เดือน เมษายน - พฤษภาคม) เป็นพญาวัน ถึงเดือน 10 ปถมแรม 8 ค่ำ พัฒนาเผี้ยวถางวัดอู่ทรายคำ (หมายถึง เป็นบริเวณวัดร้างที่ได้สร้างมาก่อนหน้านี้เป็นเวลานานแล้ว) บูรณะวัดอู่ทรายคำวันนั้นแล"

          สำหรับผู้สนใจ ต้องการไปนมัสการพระสิงห์หยก ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถเข้าไปกราบไหว้ได้ที่ วิหารวัดอู่ทรายคำ ถ.ช้างม่อยเก่า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 0 - 5323 - 2410 เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00 - 18.00 น.

ขอขอบคุณ
พระครูพิศาลบุญนิวิฐ (เจริญ ฐิตปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดอู่ทรายคำ

จักรพงษ์ คำบุญเรือง
[email protected].
3/3/50


* 10120-2.jpg (48.38 KB, 199x300 - ดู 4319 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
ngaidai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2011, 07:28:57 PM »


งามมากครับ
บันทึกการเข้า
hmu111
Newbie
*
กระทู้: 21


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 02:08:39 PM »


ขอบคุณมากครับ ถือว่าเป็นวัดที่น่าไปเที่ยวอีกวัดหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
Goodoza
Newbie
*
กระทู้: 4


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 07:17:44 PM »


งามแตร้ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: "พระพุทธรูปสิงห์หยก" วัดอู่ทรายคำ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 21 คำสั่ง