ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 10:35:58 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: ไห้วพระ 9 วัด ทักษาเมืองเชียงใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ไห้วพระ 9 วัด ทักษาเมืองเชียงใหม่  (อ่าน 8148 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:51:02 PM »


ถ้าจำไม่ผิด เคยเขียนถึง ไหว้พระ 9 วัดในเชียงใหม่เสริมมงคลไปแล้ว (หรือถ้าจำผิดก็ขออภัยกัน ฮ่าๆๆ) คราวนั้นว่ากันถึงเรื่องความเป็นสิริมงคลล้วนๆ เช่น ไปไวห้พระที่วัดดวงดี ชีวิตก็จะดวงดี ไปไหว้พระที่วัดชัยพระเกียรติ ชีวิตก็จะได้มีเกียรติยศชื่อเสียง ไปไหว้พระที่วัดลอยเคราะห์ ชีวิตก็จะลอยเคราะห์ ลอยสิ่งไม่ดีออกไป เป็นต้น

มาคราวนี้ ขอเปลี่ยนจากไหว้พระ 9 วัด เสริมมงคล มาเป็นไหว้พระ 9 วัด 8 ทิศ ตามทักษาของเมืองเชียงใหม่บ้าง


* 2017_0313_174707003698_16.jpg (453.97 KB, 800x533 - ดู 1496 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:52:07 PM »


กล่าวถึงการสร้างเวียงเชียงใหม่นั้น พญามังรายได้ทรงให้เหล่าโหราจารย์ ราชบัณฑิต คิดหาฤกษ์ยามในการสถาปนาเมืองตามแนวคิดและความเชื่อของคนโบราณที่ว่า เมืองนั้นก็มีชีวิตเช่นเดียวกับคน เมื่อมีการสร้างเมืองขึ้นมาก็เหมือนกับการให้ชีวิตเมืองด้วย เมืองนั้นมีส่วนต่างๆ เหมือนคน มีหัว มีสะดือ มีส่วนต่างๆ อยู่ตามทิศต่างๆ และมีดวงเหมือนเหมือนคน เมืองแต่ละเมืองก็จะมีทิศของดวงต่างๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อใดเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นกับเมือง หรือเกิดภัยพิบัติจะต้องมีการสืบชะตาเมืองเหมือนกับคนด้วย โดยความเชื่อเกี่ยวกับทิศของดาวเมืองนี้เป็นสิ่งที่บันทึกไว้ในคัมภีร์มหาทักษา หรือ ภูมิพยากรณ์ ของศาสนาพราหมณ์ โดยทักษา หมายถึง ชื่อเรียกกลุ่มดาวอัฐเคราะห์ หรือดาวทั้งแปด คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ ที่จัดเข้าระเบียบเป็น บริวาร อายุ เดช ศรี มูล อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี เวียนขวา (ทักษิณาวรรต) ไปตามทิศทั้ง 8 คือ บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ และอุดร

ทั้งนี้ ทักษาเวียงเชียงใหม่นั้นกำหนดตามทิศต่างๆ ดังนี้ คือ บริวารเมือง -ประตูสวนดอก มูลเมือง – ประตูท่าแพ เกตุเมือง – วัดสะดือเมือง ศรีเมือง – แจ่งศรีภูมิ กาลกิณีเมือง – แจ่งกู่เฮือง เดชเมือง – ประตูช้างเผือก มนตรีเมือง – ประตูเชียงใหม่ อายุเมือง – แจ่งหัวลิน และ อุตสาหะเมือง – แจ่งขะต้ำ


* 2017_0313_174707003698_1.jpg (506.76 KB, 800x533 - ดู 1451 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:53:16 PM »


สำหรับแนวคิดในเรื่องวัดทักษาเมืองนั้นเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช ด้วยในสมัยนั้นทางอาณาจักรล้านนากับอาณาจักรอยุธยาได้ทำศึกสงคราวเพื่อแย่งชิงเมืองเชลียง ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระเถระมังลุงหลวง ชาวพุกาม มาทำลายล้างเวียงเชียงใหม่ พระเถระมังลุงหลวงได้ออกอุบายลวงพระเจ้าติโลกราชว่า ถ้าหากพระองค์มีพระประสงค์จะมีพระบรมเดชานุภาพปราบไปทั้งชมพูทวีป พระองค์ควรตัดต้นไม้ศรีเมืองและสร้างพระราชฐานบริเวณศรีเมืองนั้น


* 2017_0313_174707003698_14.jpg (494.39 KB, 800x533 - ดู 1478 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:53:45 PM »


เมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทำตามคำยุ ตัดต้นไม้นิโครธ (ต้นไทร) อันเป็นไม้ศรีเมืองทิ้ง ก็เกิดอาเพทเหตุอุบาทว์ต่างๆ นานากับเวียงเชียงใหม่ นอกจากนี้ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพวกผาสี (ชาวจีนอิสลาม) มาทำคุณไสยฝังสิ่งอัปมงคลต่างๆ ภายในทักษาเวียงเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทราบความจริงจึงทำการฆ่าพระเถระมังลุงหลวงและพวกผาสีทิ้ง ด้วยความเชื่อที่ว่าบ้านเมืองถูกกระทำคุณไสย ทำให้เป็นที่สร้างความวิตกกังวลในหมู่ชาวเมืองและพระเจ้าติโลกราช ดังนั้นพรเจ้าติโลกราชได้รับสั่งให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต พระเถระชั้นผู้ใหญ่ กระทำพิธีแก้ขึด โดยการย้ายและสร้างศูนย์กลางเมืองมาที่ใหม่คือ พระธาตุเจดีย์หลวง โดยการเปลี่ยนฐานะจากกู่ (สถูป) บรรจุอัฐิพระเจ้ากือนามาเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมทั้งสถาปนาวัดเจดีย์หลวงเป็นเกตุเมือง และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่องค์พระเจดีย์ อีกทั้งให้หมื่นด้ำพร้าคต (สีหโคตเสนาบดี) เสริมสร้างความใหญ่โตและแข็งแรงให้แก่องค์พระเจดีย์เพื่อให้เป็นมิ่งขวัญเมือง พร้อมทั้งสถาปนาวัด 8 วัด ซ้อนทักษาเมืองเดิมที่ถูกทำลายไป (โดยเฉพาะศรีเมือง) และนี่ก็คือที่มาของวัดทักษาเมืองทั้ง 8 ทิศของเวียงเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย

ศูนย์กลางเมือง หรือเกตุเมือง - วัดเจดีย์หลวง (โชติการาม) มูลเมือง - วัดบุพพาราม (อารามทิศตะวันออก) อุตสาหะเมือง – วัดชัยมงคล มนตรีเมือง – วัดนันทาราม กาลกิณีเมือง - วัดร่ำเปิง (ตโปธาราม) บริวารเมือง - วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) อายุเมือง - วัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร) เดชเมือง - วัดเชียงยืน (ทีฆวัสสาราม) และ ศรีเมือง – วัดชัยศรีภูมิ



* 2017_0313_174707003698_12.JPG (386.64 KB, 800x600 - ดู 1817 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:56:19 PM »


นอกจากนี้ ทักษาเมืองนอกจากจะเกี่ยวข้องกับดวงเมืองแล้ว ยังเป็นเครื่องหมายกำหนดอาณาเขตของการประกอบกิจกรรมหรือการแบ่งเขตที่อยู่ของชนชั้นต่างๆ ภายในกำแพงเวียงเชียงใหม่อีกด้วย แนวคิดเรื่องการตั้งเวียงเชียงใหม่แบ่งออกเป็นเขตต่างๆ อาศัยความเชื่อเรื่องดวงเมืองตามคัมภีร์มหาทักษา ทักษาเวียงเชียงใหม่ตามการคำนวณของดวงเมืองเวียงเชียงใหม่นั้นจะได้แก่

อายุเมือง (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) – พระเจ้าแผ่นดิน เดชเมือง (ทิศเหนือ) – การเมืองการปกครอง ศรีเมือง (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) – พระเจ้าแผ่นดิน มูลเมือง (ทิศตะวันออก) – การพาณิชยกรรม อุตสาหะเมือง (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) – การอุตสาหกรรม มนตรีเมือง (ทิศใต้) – ที่พักอาศัยขุนนางเจ้าหน้าที่ บริวารเมือง (ทิศตะวันตก) – ที่พักอาศัยไพร่พลเมือง


* 2017_0313_174707003698_5.jpg (406.68 KB, 800x533 - ดู 1444 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:56:54 PM »


สำหรับรายละเอียดของการเที่ยวไหว้พระ 9 วัด 8 ทิศ ตามทักษาเมืองเชียงใหม่ ก็มีกันดังต่อไปนี้แบบคร่าวๆ ครับ

1. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

เลขที่ 103 ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ศูนย์กลางเมือง)

สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย อยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา มี “พระธาตุเจดีย์หลวง” โดยมีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก (แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง 8 เชือกเท่านั้น และมีการตั้งชื่อให้เฉพาะ) ในปี พ.ศ. 2088 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา และถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า 400 ปี ก่อน ในช่วงปี พ.ศ. 2471-2481 เจ้าแก้วนวรัฐ จะมีการบูรณะครั้งสำคัญอีกครั้ง


* 2017_0313_174707003698_13.JPG (408.63 KB, 800x533 - ดู 1589 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:47:21 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:57:22 PM »


2. วัดสวนดอก

เลขที่ 139 ถ.สุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศตะวันตก)

อดีตนั้นเป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” โดยสร้างเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ทรงสร้างพระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ส่วนพระประธานในพระวิหารหลวง  หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามถาษาถิ่นล้านนา ว่า พระพุทธรูปปฏิมาค่าคิง หรือ “พระเจ้าค่าคิง”


* 2017_0313_174707003698_18.jpg (414.7 KB, 800x533 - ดู 1432 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:47:10 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:57:58 PM »


3. วัดเจ็ดยอด

ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

เป็นวัดที่มีเจดีย์รูปทรงแปลกที่สุด คือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึงเจ็ดยอด เหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย จัดเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสร้างสถาปัตยกรรมลายปูนปั้น บนผนังด้านนอกองค์เจดีย์เจ็ดยอด อีกทั้งยังมีการก่อสร้างสิ่งต่างๆ พระสถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช, พระสถูปนี้ก่ออิฐถือปูน, สัตตมหาสถาน, อนิมิตเจดีย์, รัตนฆรเจดีย์, มุจจลินทเจดีย์


* 2017_0313_174707003698_26.jpg (352.98 KB, 800x533 - ดู 1435 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_25.jpg (578.36 KB, 800x533 - ดู 1398 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:47:00 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:58:36 PM »


4. วัดเชียงยืน

เลขที่ 160 ถ.มณีนพรัตน์ ต.ศรีภูมิ อ.มือง จ.เชียงใหม่ (ทิศเหนือ)

เป็นที่ประดิษฐานมงคลศักดิ์สิทธิ์ คือพระสัพพัญญูเจ้าเดชเมือง หมายถึง บารมีอำนาจยิ่งใหญ่ ซึ่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ล้านนาในอดีตจะมาทำการสักการบูชาก่อนเข้าเมืองหรือ เมื่อมีพิธีราชาภิเษก หรือทั้งก่อน – หลังออกศึกสงคราม เพื่อให้เกิดสิริมงคล เคยเป็นที่ประทับของปฐมสังฆราช (พระอภัยสารทะ) สังฆนายกองค์แรกของอาณาจักรล้านนา เป็นที่ประดิษฐานพระมหาธาตุเจดีย์/พระบรมธาตุเชียงยืน ลักษณะรูปทรงแปดเหลี่ยม ในพระมหาธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ


* 2017_0313_174707003698_3.jpg (440.21 KB, 800x533 - ดู 1386 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_4.jpg (334.48 KB, 800x533 - ดู 1401 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:46:48 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:59:12 PM »


5. วัดชัยศรีภูมิ

เลขที่ 437 ถ.วิชยานนท์ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)


สร้างเมื่อ พ.ศ.2062 บริเวณที่ตั้งเคยมีต้นนิโครธ อันถือเป็นไม้เสื้อเมือง เป็นที่มาของสิริมงคล ความอุดมสมบูรณ์และเดชานุภาพ กล่าวกันว่าวัดนี้ มีทหารชื่อ “ปันต๋าเกิ๋น” เป็นประธานสร้าง จึงเรียกว่าวัดปันต๋าเกิ๋น ต่อมาคนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดชัยศรีภูมิ เพราะบริเวณที่ตั้งใกล้กับแจ่งศรีภูมิ 


* 2017_0313_174707003698_7.jpg (464.66 KB, 800x600 - ดู 1378 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_6.jpg (792.42 KB, 800x1067 - ดู 331 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:46:34 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:59:56 PM »


6. วัดบุพพาราม

เลขที่ 43 ถ.ท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศวะวันออก)


สร้างขึ้นในสมัยพญาเมืองแก้ว เคยเป็นที่สถิตของพระมหาสังฆราชปุสสเทวะ และนอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ประจำทุกปี  ปูชนียสถานที่สำคัญ มีพระวิหารหลังเล็ก ซึ่งเป็นวิหารเครื่องไม้ศิลปะแบบล้านนา, พระวิหารหลังใหญ่ เป็นวิหารศิลปกรรมล้านนาซึ่งได้รับการประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพม่า, พระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสนซึ่งเป็นพระประธานและพระพุทธรูปปูนปั้นก่อด้วยอิฐอีก 2 องค์ เป็นต้น



* 2017_0313_174707003698_20.jpg (362.48 KB, 800x533 - ดู 1399 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_19.jpg (551.3 KB, 800x533 - ดู 1432 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:46:21 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 11:00:30 PM »


7. วัดชัยมงคล

เลขที่ 133 ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)


 เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง สร้างในสมัยไม่ปรากฏหลักฐานประมาณกันว่ามีอายุราว 600 ปีเดิมเนื้อที่ของวัดเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระราชชายาดารารัศมีขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดชัยมงคล (ริมปิง) เพราะเหตุที่ว่าท่าน้ำเป็นท่าลงเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะล่องไปกรุงเทพฯ ปัจจุบันวัดชัยมงคล เป็นสถานที่ปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่โค – กระบือ อีกทั้งยังมีการเช่าเรือล่องชมวิวน้ำปิง โดยต้นเรือจะอยู่ที่วัดชัยมงคล


* 2017_0313_174707003698_17.jpg (445.75 KB, 800x533 - ดู 1367 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_15.jpg (438.85 KB, 800x533 - ดู 1374 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:46:08 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 11:01:06 PM »


8. วัดนันทาราม

ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศใต้)

วัดนันทารามตั้งอยู่นอกประตูเชียงใหม่ เดิมเรียกว่า “บ้านเขิน” วัดนี้มีกำแพงสองชั้นล้อมรอบเขตวัด แต่เดิมชั้นในเรียกว่า เขตพุทธาวาส หรือ “ข่วงแก้วทั้งสาม” ซึ่ง มีองค์พระเจดีย์ พระวิหาร อุโบสถ ศาลาบำเพ็ญบุญ หอไตร ตั้งอยู่บริเวณด้านใน ส่วนชั้นนอกนั้นเดิมเรียกว่า เขตสังฆาวาส อันมีกุฏิสำหรับพระภิกษุอยู่


* 2017_0313_174707003698_10.JPG (352.54 KB, 800x533 - ดู 1525 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_11.JPG (391.12 KB, 800x533 - ดู 1372 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:45:55 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 11:01:48 PM »


9. วัดตโปทาราม 

เลขที่ 1 หมู่ 5 ถ.คันคลองชลประทาน ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)


สร้างขึ้นในสมับพระยอดเชียงราย แห่งราชวงศ์มังราย ในปี พ.ศ. 2035 มีพระมหาธาตุเจดีย์รูปทรงแปลกตา มีตัวเรือนธาตุทรงกลมซ้อนกันเจ็ดชั้น แต่ละชั้นเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูป เจดีย์ลักษณะพิเศษแบบนี้ในเชียงใหม่ปรากฏเพียงสามแห่งเท่านั้น อีกทั้งยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองตั้งอยู่ในวัด ปัจจุบันวัดร่ำเปิงเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมมาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการจะมาไหว้พระให้ครบทั้ง 9 วัดนั้น ถ้าใช้บริการรถโดยสาร (รถแดง) อาจจะใช้เวลานานหน่อย แต่ในเวลา 1 วัน ตั้งแต่เช้า คิดว่าน่าจะปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จลุล่วงได้ในช่วงบ่ายแก่ๆ ของวัน แบบไม่รีบมาก ส่วนใครที่ขับมอเตอร์ไซค์เก่งๆ แนะนำให้เช่ารถขับเลยครับ นอกจากจะสะดวกแล้ว ยังประหยัดเวลาอีกด้วย เผลอๆ ค่าเช่ามอเตอร์ไซค์ ประหยัดกว่าค่าโดยสารรถแดงเสียอีก

สุดท้ายนี้ ขอให้เดินทางปลอดภัย เที่ยวไหว้พระ 9 วัด กัน ให้สนุกครับผม



* 2017_0313_174707003698_8.jpg (534.77 KB, 800x600 - ดู 1374 ครั้ง.)

* 2017_0313_174707003698_9.jpg (880.48 KB, 800x1067 - ดู 314 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2017, 09:45:43 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: ไห้วพระ 9 วัด ทักษาเมืองเชียงใหม่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง