ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:45:59 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดเจ็ดลิน : วัดเก่าแก่แง่ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดเจ็ดลิน : วัดเก่าแก่แง่ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่  (อ่าน 3247 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:04:15 PM »


เคยบอกมิตรสหายจากแดนไกลว่าเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีวัดเก่าแก่ให้เที่ยวเยอะ เอาแค่ในคูเมืองเที่ยว 3 วันก็ยังไม่หมด

อันที่จริงแค่ถนนพระปกเกล้าเส้นเดียว วันเดียวก็ไม่รู้ว่าจะพอมั้ย เพราะเท่าที่นับนิ้วดูก็มีราวๆ 8-9 วัด ด้วยกันครับ

จาก 8-9 วัดที่ว่า เวลาใกล้สงกรานต์แบบนี้ จะนึกออกทุกทีว่า วัดเจ็ดลินมีบรรยากาศที่น่าท่องเที่ยวกัน ส่วนจะดึงดูดแบบไหน เดี๋ยวมาว่ากันไปต่อในบรรทัดด้านล่าง

วัดเจ็ดลิน เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนปีพุทธศักราช 2060 จากเอกสารการค้นคว้าของคุณวัลลภ นามวงศ์พรหม คณะกรรมการประสานงานพัฒนาวัดเจ็ดลิน และโคลงนิราศหริภุญไชย


* DSCF5695.JPG (389.39 KB, 800x533 - ดู 887 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:05:23 PM »


ตามประวัติกล่าวว่า กษัตริย์ราชวงศ์มังรายก่อนจะขึ้นเสวยราชย์ทุกพระองค์ จะทรงผ้าชุดขาว (นุ่งขาวห่มขาว) ณ วัดผ้าขาว จากนั้นจะเสด็จ ไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และจะเสด็จมาประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก ณ หนองน้ำวัดเจ็ดลิน ซึ่งจะมีรางน้ำ เรียกว่า "ลิน" ทำด้วยทองคำ หลั่งน้ำพุทธาภิเษกจากสุวรรณหอยสังข์ หล่อลงรางลินทำด้วยคำทั้ง 7 เพื่อสรงพระวรกาย แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไป

(พิธีพุทธาภิเษก มีเจตนารมณ์ คือการประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธีให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่ง ขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลือมใสของคนที่ยอมรับถือสมมุติสัจจะเหล่านั้น ทำนองเดียวกับเงื่อนไขต่างๆ เช่น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ประธานาธิบดีเป็นต้น ตำแหน่งของท่านเหล่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมือ ได้ผ่านกรรมวิธี ขั้นตอนตามหลักการที่กำหนดไว้ โดยจะเป็นอะไรมาก่อนไม่สำคัญ แต่เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดขึ้นกันโดยถูกต้องแล้ว ทุกคนจะต้องยอมรับนับถือ ฐานะที่สมมุติแต่งตั้ง)


* DSCF5682.JPG (381.47 KB, 800x533 - ดู 617 ครั้ง.)

* DSCF5690.JPG (382.6 KB, 800x533 - ดู 460 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:06:18 PM »


ในสมัย เจ้าแม่ฟ้ากุ ก่อนขึ้นเสวยราชย์ได้ทำพิธีราชาภิเษก โดยเสด็จ ไปสรงน้ำพระที่ วัดเจ็ดลิน "คำเชิญกษัตริย์เจ้า ไปลอยเคราะห์นอนหั้นแล 3 วัน แล้วไปอุสสาราช หล่อน้ำพุทธาภิเษกสุคนธาด้วยสุวรรณหอยสังข์ที่วัด 7 ลินคำ หั้นแล….."

ในอดีตวัดเจ็ดลินเคยรุ่งเรืองมาก ทราบได้จากหลักฐานโฉนดที่ดินในปี พ.ศ. 2482 ว่ามีเนื้อที่ 7 ไร่เศษ แต่ต่อมากลายเป็นวัดร้าง ก่อนจะได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2545 โดยพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ภายในวัดมีหนองน้ำขนาดใหญ่สภาพสมบูรณ์อยู่กลางวัด



* DSCF5689.JPG (369.22 KB, 800x533 - ดู 637 ครั้ง.)

* DSCF5691.JPG (476.01 KB, 800x533 - ดู 452 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:07:09 PM »


จากนั้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2546 พระญาณสมโพธิ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นประธานพัฒนาฟื้นฟูวัดเจ็ดลิน และขอยกเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ72 พรรษา และพัฒนาหนองน้ำที่กว้างให้คงเป็น หนองน้ำที่ใสสะอาดสวยงาม ให้คงเป็นหนองน้ำแห่งประวัติศาสตร์คู่เมืองเชียงใหม่



* DSCF5683.JPG (440.38 KB, 800x533 - ดู 447 ครั้ง.)

* DSCF5684.JPG (411.91 KB, 800x533 - ดู 493 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:07:45 PM »


ด้วยความที่วัดนี้เป็นวัดอายุเก่าแก่เกือบ 500 ปี เลยมีอะไรให้ดูน่าสนใจเยอะแยะไปหมด เริ่มที่องค์พระเจดีย์ เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ประกอบด้วยฐานหน้ากระดาน 3 ชั้น รองรับฐานบัวย่อเก็จแบบพิเศษ ที่ประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้ว 2 ฐานซ้อนอยู่ในฐานเดียวกัน ลักษณะฐานเช่นนี้ เป็นแบบแผนที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา เหนือขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานย่อเก็จ 3 ชั้น รองรับเรือนธาตุ ที่ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ (พระพุทธรูปในซุ้ม 4 องค์นั้นไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เก็บรักษาไว้ เหลือแต่ซุ้มเปล่า)

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2547 อาจารย์พรศิลป์ รัตนชูเดช อาจารย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก พร้อมคณะ ได้เป็นเจ้าภาพพระพุทธรูปหินผสมทรายนำมาจากจังหวัดพะเยา นำขึ้นไปบรรจุไว้ที่ซุ้มพระเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน เหนือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นมาลัยเถาขนาดใหญ่ชำรุด รองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก ยอดชำรุด สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้ควรมีอายุ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา

ส่วนลวดลายที่ตกแต่งองค์เจดีย์ มีลักษณะเหมือนลวดลายที่ตกแต่งซุ้มประตูและเจดีย์องค์ใหญ่ที่ใช้เป็นที่บรรจุพระอัฐิของพญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด สันนิษฐานว่าจะได้รับอิทธิพลจากวัดเจ็ดยอด และวัดโลกโมฬี


* DSCF5681.JPG (364.53 KB, 800x533 - ดู 541 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:08:25 PM »


พระวิหาร ก่ออิฐถือปูนทรงล้านนา สร้างขึ้นในยุคฟื้นฟูวัด ด้านข้างมีมุข ประตูประดับด้วยไม้แกะสลักที่งดงาม ส่วนของหลังคาประดับด้วย ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ปูนปั้นที่ประณีต สันหลังคาประดับด้วยบราลีรูปหงส์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน


* DSCF5686.JPG (286.2 KB, 800x533 - ดู 430 ครั้ง.)

* DSCF5687.JPG (245.13 KB, 800x533 - ดู 463 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:08:57 PM »


เศียรพระพุทธรูปโบราณ เดิมปรากฏอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นเศียรพระพุทธรูปที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่หาชมยาก


* DSCF5678.JPG (857.68 KB, 800x1200 - ดู 348 ครั้ง.)

* DSCF5679.JPG (918.96 KB, 800x1200 - ดู 435 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:09:57 PM »


นอกจากนี้ ในช่วงสงกรานต์ ที่วัดเจ็ดลินจะมี  "เจดีย์ทรายสุดส้าว" เจดีย์ก่อจากทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

เจดีย์นี้จะถูกตกแต่งประดับด้วยตุงล้านนาชนิดต่างๆ โดยทรายทั้งหมดที่นำมาก่อสร้างประชาชนและคณะศรัทราได้ช่วยนำมาถวาย เพื่อให้พุทธสาสนิกชน นักท่องเที่ยว ปักตุงเป็นสิริมงคลตามประเพณีปี๋ใหม่เมืองชาวล้านนา การก่อเจดีย์ทรายขนาดใหญ่รับเทศกาลสงกรานต์ได้ทำกันมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 ปีแล้ว โดยรูปแบบเจดีย์ทรายเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยม จะประดับประดาด้วยตุงชัยมงคล ตุง 12 ราศี ซึ่งมีรูปแบบตระการตา  และใช้ชื่อว่า เจดีย์สุดส้าว ซึ่งหมายถึงเจดีย์ที่มีความสูงจนสุดจนสุดปลายยอดไม้

ประเพณีการก่อเจดีย์ทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือที่เรียกว่า " เจดีย์ทรายสุดส้าว " นั้น มีความหมายหรือประวัติของการก่อเจดีย์ทราย เล่ามาว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้


* DSCF5694.JPG (505.79 KB, 800x533 - ดู 503 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:10:26 PM »


ส่วนในอีกตำนานหนึ่งซึ่งอยู่ในคำภีร์ใบลานชื่อ " ธรรมอานิสงส์เจดีย์ทราย "ได้กล่าวไว้ว่า  ในครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายเข็ญใจชื่อว่า "ติสสะ" มีอาชีพตัดฟืนขาย วันหนึ่งติสสะได้พบลำธารที่มีหาดทรายสะอาดงดงามนัก จึงได้ทำการก่อทรายเป็นรูปเจดีย์และเพื่อให้เจดีย์นั้นสวยงามจึงฉีกเสื้อผูกกับเรียวไม้แล้วปักไว้บนยอดกองทรายเป็นรูปธงสัญลักษณ์ แล้วตั้งสัตย์อธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เมื่อเขาเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารได้บำเพ็ญบารมีเต็มที่แล้ว ก็ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าชื่อสมณะโคดมองค์ปัจจุบัน

ส่วนภาพของธงที่ทำจากเสื้อของติสสะ ทำให้ชาวล้านนานิยมนำตุงไปปักเจดีย์ทราย ซึ่งตุงที่พบเห็นมักเป็นตุงที่มีลักษณะเป็นพู่ระย้าที่เรียก "ตุงไส้หมู" หรือตุงที่มีรูปสัตว์นักษัตรที่เรียกว่า "ตุงตั๋วเปิ้ง" ตุงดังกล่าวมักแขวนติดกิ่งไม้ไผ่หรือก้านเขือง (เต่าร้าง)


* DSCF5688.JPG (472.19 KB, 800x533 - ดู 628 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: เมษายน 13, 2017, 10:10:50 PM »


ในเช้าของวันพระญาวันคือวันเถลิงศกชาวบ้านจะนำตุงไปปักที่เจดีย์ทราย พอถึงตอนสายจะมีการถวายองค์พระเจดีย์ทรายแด่พระสงฆ์ ซึ่งชาวบ้านจะมาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียง ด้วยหวังอานิสงส์เป็นหลักซึ่งนอกเหนือจากคัมภีร์ที่กล่าวมา ยังมีคัมภีร์แสดงอานิสงส์โดยตรงที่ชื่อ "ธรรมอานิสงส์ก่อเจดีย์ทราย" อีกฉบับหนึ่ง โดยเนื้อหาจะกล่าวถึงผลบุญมากมาย เช่น จะได้เกิดในตระกูลอันประเสริฐ เลอเลิศด้วยรูปสมบัติ เรืองจรัสในชีวิต ไม่ตกติดในนรก ยกระดับไปเกิดบนสวรรค์ จนถึงขั้นได้เกิดเป็นพระอินทร์

วัดเจ็ดลิน ตั้งอยู่บน ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ไม่ไกลนักจากประตูเชียงใหม่ สามารถมาเที่ยวชมกันได้ทุกวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น นอกจากนี้ใกล้ๆ เคียงนั้นยังมีวัดอีกหลายแห่งให้ได้เที่ยวชมกันอีกด้วยครับ


* DSCF5693.JPG (803.75 KB, 800x1200 - ดู 410 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดเจ็ดลิน : วัดเก่าแก่แง่ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 21 คำสั่ง