ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 01:11:28 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดเทพมณเฑียร : วัดฮินดูอีกแง่มุมของเมืองเชียงใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดเทพมณเฑียร : วัดฮินดูอีกแง่มุมของเมืองเชียงใหม่  (อ่าน 14310 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:32:36 AM »


ความพิเศษของเชียงใหม่ อยู่ตรงที่ในระยะที่ห่างกันแค่ 1 กิโลเมตร เราสามารถสัมผัสได้ถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ อย่างเรื่องของวัดวาอาราม หลังจากที่ผมไปเดินเที่ยวที่วัดกู่เต้า แล้วลัดเลาะออกมาหน้าสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่ ฝั่งตรงข้าม เยื้องๆ ไม่ไกลกันนัก เป็นที่ตั้งของ วัดเทพมณเฑียร

วัดเทพมณเทียร ถือเป็นเทวสถานของอินเดียฝ่ายเหนือ ที่แตกสาขาออกมาจากวัดเทพมณเฑียรที่กรุงเทพครับ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของศาสนิกชนฮินดู-พราหมณ์ ของคนที่นี่ ตรงประตูทางเข้าจะเห็นมีป้ายบอกชัดเจนว่า หากใครสนใจจะมากราบไหว้บูชาองค์เทพ หรือเยี่ยมชมเทวรูป มากัน 2 ช่วง เวลา คือ 06.30 -12.00 น. และ 15.00 – 19.30 น.


* DSCF5758.JPG (378.17 KB, 800x533 - ดู 12826 ครั้ง.)

* DSCF5761.JPG (463.29 KB, 800x533 - ดู 10767 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:34:12 AM »


จากประตูทางเข้าจะนำพาเราขึ้นไปยังชั้นบนของวัดทั้งสองฝั่ง (ขึ้นฝั่งไหนก็ได้ซ้ายหรือขวา) โดยก่อนขึ้นไปจะเจอป้ายข้อปฏิบัติตัวเวลามาที่วัด

อย่างเช่น แต่งกายให้สุภาพ ห้ามทะเลาะ พูดจาหยาบคาย ห้ามรบกวนศรัทธาที่มานมัสการองค์เทพ ห้ามนำเนื้อสัตว์ เครื่องคาว หรือเสพสุรา บุหรี่ ในวัด ฯลฯ

นอกจากนี้ก็ยังมีข้อปฏิบัติในการนมัสการองค์เทพครับ รายละเอียด ก็คร่าวๆ ดังนี้
1. ถาดถวายบูชาควรเป็นโลหะ เช่นทองเหลือง สแตนเลส
2. หากของถวายหล่นไปที่พื้น ควรทิ้งไปหรือเก็บไว้รับประทานเอง
3. อย่าเอื้อมมือหยิบของข้ามของถวายโดยเด็ดขาด
4. ของถวายหากเป็นผลไม้ควรจะชำระล้างให้สะอาดจัดวางให้เรียบร้อย
5. หากไม่สะดวกถวายทุกวันควรถวายทุกวันเพ็ญขึ้น 8 ค่ำ 15 ค่ำ หรือวันคล้ายวันเกิดตนเช่น เกิดวันจันทร์ก็บูชาวันจันทร์ หรือ บูชาในวันประจำองค์มหาเทพที่ตนกราบไหว้ เช่น วันจันทร์เป็นวันขององค์พระศิวะเจ้า วันอังคารเป็นวันขององค์พระพิฆเนศและหนุมาน วันพฤหัสบดีเป็นวันขององค์พระนารายณ์ วันศุกร์เป็นวันของพระแม่อุมาเทวี
6. สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการบูชาคือประทีปไฟและเครื่องหอมเช่นธูปและกำยานควรจุดถวายประจำแม้ จะไม่มีโภชนาอาหารถวายก็ตาม
7. เมื่อจำเป็นต้องชี้องค์เทพให้ใช้มือผายไปที่องค์เทพแทนการใช้นิ้วชี้
8. เมื่อถวายของแล้วควรทำการบูชาไฟ โดยใช้ไฟวนไปที่องค์ที่เราบูชา ถึงจะเสร็จสมบูรณ์
9. การจุดธูปบูชาเทพใช้ธูป 8 ดอกหรือ 9 ดอก ดอกไม้ควรใช้ดอกดาวเรือง,ดอกมะลิ,ดอกบัว,ดอกที่มีกลิ่นหอม และห้ามถวายของคาวโดยเด็ดขาด ของถวายที่ทรงโปรดคือ ผลไม้,นม,น้ำ,น้ำหวานและกำยาน


* DSCF575868787454_4.JPG (301.9 KB, 800x533 - ดู 10660 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_3.JPG (746.95 KB, 800x1200 - ดู 439 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:35:09 AM »


จากนั้นเมื่อเข้ามาภายใน จะเห็นเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ปูพรมสีแดง มีเทวรูปแกะสลักจากหินอ่อน ประดิษฐานอยู่หลายองค์ มีลักษณะความงดงามตามแบบศิลปะอินเดียเหนือ เช่น พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี พระพรหม พระศิวะ พระแม่ทุรกา พระพุทธเจ้า พระกฤษณะ พระราม ศิวลึงก์ หลุมศพพระนางสตี ส่วนบริเวณฝาผนังยังมีศิลปะภาพนูนต่ำ แสดงภาพมหาเทพในศาสนาฮินดู ทั้งพระนารายณ์ปางเปิดโลก พระตรีมูรติ พระแม่คายตรี พระกฤษณะ ฯลฯ เรียงรายตามฝาผนังเป็นแนวยาว


* DSCF575868787454_15.JPG (334.43 KB, 800x533 - ดู 10453 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_11.JPG (410.98 KB, 800x533 - ดู 9564 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_13.JPG (397.6 KB, 800x533 - ดู 10369 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:36:08 AM »


ตรงมุมห้องโถงใกล้บันได มีศิวลึงก์ ซึ่งตัวแทนแห่งพระศิวะเทพให้ได้บูชา เป็นเหมือนดั่งเครื่องหมายที่เป็นองค์แทนของพระศิวะ โดยชาวไศวะนิกายใช้รูปของ ศิวลึงค์ หรือเครื่องเพศของชาย เป็นสัญลักษณ์สำคัญโดยให้เหตุผลว่า นี่คือสัญลักษณ์แห่งพระผู้สร้าง สัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิด คติการนับถือนี้นับว่ามีมานานมากที่สุด มีมานานนับพันๆ ปีมาแล้วและแพร่เขาสู่สยามประเทศผ่านทางวัฒนธรรมขอม และหัวเมืองฝ่ายใต้ด้านมลายู

ในการนับถือพระศิวะนั้น มักมีการทำรูปสมมุติของพระองค์ด้วยการทำเป็นศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์แห่งเพศชาย ด้วยเชื่อว่า พระศิวะ คือเทพเจ้าแห่งการรังสรรค์การกำเนิด (คติของไศวะนิกายนั้น การสร้างโลกของพระพรหมเป็นคำบัญชาของพระศิวะ)ดังนั้น สัญลักษณ์สากลที่เป็นตัวแทนของพระองค์ที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็น แท่งศิวลึงค์ นั่นเอง ดังจะพบศิวลึงค์นี้ตามเทวสถานทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน และเชื่อถือกันว่าศิวลึงค์นี้เป็นตัวแทนพระองค์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถบันดาลปาฏิหาริย์อำนวยอวยพรให้แก่ผู้ศรัทธา

คติการนับถือศิวลึงค์ หรือ ลิงคัม หรือ ลิงคะ นี้ถ้าเป็นชาวฮินดูโดยแท้ จะมีหัวใจในการนับถือมุ่งเน้นไปที่พระศิวะมากกว่าอย่างอื่น แต่อย่างในไทยเรานั้นแม้จะมีการนับถือปลัดขิก ซึ่งมีรากฐานมาจากศิวลึงค์อันเป็นตัวแทนของพระศิวะ แต่การนับถือปลัดขิกนั้นก็มิได้มุ่งความใส่ใจไปที่องค์พระศิวะ กลับมุ่งเน้นไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์ผู้ปลุกเสกมากกว่า แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างกันมาก เพราะในไทยเราศาสนาฮินดูกลมกลืนอยู่ในศาสนาพุทธ ดังนั้นเครื่องรางจากฮินดูแทนที่จะสื่อไปถึงองค์พระเป็นเจ้าต้นสังกัดแท้ๆ กลับถูกโอนไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์แทน

ในวัฒนธรรมฮินดู การนับถือศิวลึงก์หรือลิงคัมนี้ เป็นเรื่องปกติที่มีมานานหลายพันปีมาแล้ว ศิวลึงก์มีทั้งที่เกิดจากการสร้าง ขึ้น และที่เกิดเองตามธรรมชาติ


* DSCF575868787454_5.JPG (368.05 KB, 800x533 - ดู 10121 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:36:46 AM »


กำเนิดของศิวลึงค์นั้น ปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยก แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่างๆ ทางคติพราหมณ์ ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่า องค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะประทานรูปศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ให้กับสาวกทั้งหลายทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์ ซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชา ตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 ซึ่งประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตา

พระพรหมก็ปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้น ทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรง แต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพนั่นเอง

ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวกก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี 4 พักตร์ 4 กร และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร และสำหรับพระศิวะนั้น สาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ตามที่พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง


* DSCF575868787454_6.JPG (331.01 KB, 800x533 - ดู 10104 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:37:56 AM »


องค์เทพอื่นๆ ก็มี พระพรหม ผู้สร้างโลก ดูงดงามอ่อนช้อยในศิลปะแบบอินเดียเหนือ พระแม่ทุรคา สัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็งและความมีอำนาจ พระพุทธเจ้า ชาวพราหมณ์ฮินดูถือว่าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งความไม่เบียดเบียน (อหิงสา) พระราม และ ภควดีสีดา (พระแม่สีดา) พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุ พระกฤษณะและชายา อีกอวตารหนึ่งของพระวิษณุนารายณ์ พระหนุมาน อวตารของพระศิวะ เพื่อคุ้มครองดูแลพระราม พระแม่ลักษมี มหาเทวีผู้ยิ่งใหญ่ สัญลักษณ์แห่งความงามการรักษาความดี  และพระพิฆเนศวร (พระคเณศ) โอรสของพระอิศวรและพระแม่อุมา และยังมีอีกหลายองค์ที่ชาวฮินดูและชาวไทยให้ความเคารพนับถือ


* DSCF575868787454_10.JPG (442.27 KB, 800x533 - ดู 9479 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_12.JPG (392.27 KB, 800x533 - ดู 9912 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_14.JPG (400.56 KB, 800x533 - ดู 9989 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 31, 2017, 01:38:50 AM »


ภายในห้องโถงนี้ ยังมีองค์เทพไว้ให้บูชา เป็นองค์ขนาดเล็ก รวมทั้งผ้าสาหรี่ เอาไว้เปลี่ยนชุดให้องค์เทพต่างๆ เวลามีวันงานสำคัญ มีพิธีกรรม ซึ่งการจะเปลี่ยนชุดนี้ ต้องมีคนเปลี่ยนโดยเฉพาะด้าน คุณลุงยามบอกเอาไว้แบบนั้น

วัดเทพมณเฑียร มารถส่วนตัว หรือรถโดยสารสองแถวได้ครับ หากคนขับไม่รู้จัก บอกไปว่าอยู่แถวๆ หน้าสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่ เดี๋ยวเขาก็พามาถูกเอง

แล้วไว้โอกาสหน้า มาเจอกันใหม่ครับ


* DSCF575868787454_9.JPG (278.55 KB, 800x533 - ดู 9381 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_7.JPG (426.19 KB, 800x533 - ดู 9947 ครั้ง.)

* DSCF575868787454_8.JPG (584.37 KB, 800x533 - ดู 9848 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดเทพมณเฑียร : วัดฮินดูอีกแง่มุมของเมืองเชียงใหม่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง