ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 06:42:28 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ โครงการหลวง Royal Project  |  หัวข้อ: เรียนรู้วิถีชีวิต 5 ชนเผ่า กับโครงการหลวง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนรู้วิถีชีวิต 5 ชนเผ่า กับโครงการหลวง  (อ่าน 3140 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:47:56 AM »


โครงการหลวง โครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง จัดเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เราๆ ท่านๆ สามารถไปท่องเที่ยว และเรียนรู้กันในหลากหลายจังหวัดในภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน

โดยในแต่ละพื้นที่นั้น นอกจากเราจะได้ชมวิวทิวทัศน์ ชมแปลงพืชผักเมืองหนาวแล้ว อีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ การถือโอกาสได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของโครงการหลวงอีกด้วย

ในพื้นที่ของโครงการหลวงทั้งหมด 38 แห่ง ในภาคเหนือ มีชาวเขาเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่ด้วยกันหลายเผ่า และที่คัดมาน่าสนใจให้ได้ลองไปท่องเที่ยวเที่ยว เรียนรู้วีชีวิตแบบชาวเขากัน ก็มีดังต่อไปนี้


* fj102_15.jpg (401.86 KB, 800x533 - ดู 298 ครั้ง.)

* fj102_14.jpg (276.71 KB, 800x533 - ดู 255 ครั้ง.)

* fj102_20.jpg (259.37 KB, 800x533 - ดู 264 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:48:55 AM »


อาข่า

ชาวอาข่า หรือ อีก้อ หรือ ข่าก้อ อาศัยอยู่ในมณฑลยูนาน แคว้นสิบสองปันนาและไกวเจา เมื่อถูกรุกรานจึงทยอย กันอพยพลงใต้ ไปยังแคว้นเชียงตุง พม่า  แคว้นหัวโขง และแคว้นพงสาลี ในลาว  บ้านหินแตกปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตของดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย  เมื่อกว่า 80 ปีมาแล้ว และกระจายไปตาม จังหวัดเชียงราย  เชียงใหม่  ตาก  กำแพงเพชร  แพร่  ลำปาง และเพชรบูรณ์

อาข่า เป็นชนเผ่า ที่สามารถสืบสาวรายนามบรรพบุรุษฝ่ายบิดาขึ้นไปถึงตัว  “ต้นตระกูล” ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีการ ทั้งตำนาน   สุภาษิต ได้เป็นอย่างดี   อาข่า แปลว่า   อา…เป็นคำขึ้นต้นที่อาข่าใช้เรียกบุคคล ข่า.. แปลว่า ไกล-ห่างไกล  มีความหมายว่า กลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนดอยสูง ซึ่งห่างไกลจากความเจริญ และไม่ชอบให้เรียก อีก้อ ด้วยถือเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ซึ่ง คำว่า อีก้อ แปลว่า หนึ่งคน หนึ่งกลุ่ม


* fj102_1.jpg (205.87 KB, 800x600 - ดู 271 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:49:44 AM »


การแต่งกาย อาข่าจะใช้ผ้าฝ้ายทอเนื้อแน่นย้อมเป็นสีน้ำเงินเข้มและสีดำ หญิง สวมเสื้อตัวสั้น กระโปรงพลีทสั้น ผ้าคาดเอวและผ้าพันน่อง ห้อยคอด้วยลูกปัด มีจุดเด่นที่หมวก ประดับด้วยลูกปัดหลากสี ความแตกต่างของหมวก อยู่ที่หญิงวัยเด็ก วัยรุ่น สวมหมวกทรงกลม  หากแต่งงานแล้วจะสวมหมวกทรงสูง ผู้ชาย สวมเสื้อคอกลมแขนยาว กางเกงขาก๊วย สีเดียวกัน มีประเพณีที่น่าสนใจ คือ ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีไข่แดง โล้ชิงช้า ประเพณีไล่ผี

ชาวเขาเผ่าอาข่า ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง ได้แก่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง หนองเขียว อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง หมอกจ๋าม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ห้วยน้ำขุ่น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง แม่ปูนหลวง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง สะโงะ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
โครงการขยายผลโครงการหลวงวาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย


* fj102_2.jpg (403.01 KB, 800x600 - ดู 270 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:50:53 AM »


มูเซอ

ลาหู่ หรือ  มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีนเมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน  เชียงแสน  เชียงของ  เวียงป่าเป้า แม่สรวย จังหวัดเชียงราย และอำเภอฝาง  อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่  มูเซอดำ  มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน

มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน  เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา  มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

การแต่งกาย มูเซอแดง ผู้หญิง สวมเสื้อตัวสั้นสีดำ แขนยาว ผ่าอก ติดแถบผ้าสีแดงที่สาบเสื้อ รอบชายเสื้อและแขน ตกแต่งเสื้อด้วยกระดุมเงิน  ส่วนผ้าซิ่นใช้สีดำเป็นพื้น  มีลายสีต่างๆ สลับกันอยู่ที่เชิงผ้าโดยเน้นสีแดงเป็นหลัก ส่วนผู้ชาย  สวมเสื้อสีดำ ผ่าอกกลาง กระดุมโลหะเงิน หรือกระดุมเปลือกหอย กางเกงจีนสีดำหลวมๆ ยาวลงไปแค่เข่าหรือใต้เข่าเล็กน้อย


* fj102_13.JPG (323.27 KB, 800x600 - ดู 252 ครั้ง.)

* fj102_12.JPG (612.53 KB, 800x533 - ดู 274 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:51:41 AM »


ถ้าเป็นมูเซอดำ ผู้หญิง แต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว  ตัวเสื้อยาวถึงครึ่งน่อง ผ่ากลางตลอดตัวขลิบชายเสื้อและตกแต่งตัวเสื้อด้วยผ้าสีขาว นุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำ  โพกศีรษะด้วยผ้าดำยาว และปล่อยชายผ้าห้อยไปข้างหลังยาวประมาณ 1 ฟุต  ปัจจุบันใช้ผ้าเช็ดตัวโพกศีรษะแทน ใช้ผ้าสีดำพันแข้ง และผู้ชาย สวมกางเกงขาก๊วยสีดำ  เสื้อสีน้ำเงินแขนยาวผ่าหน้าป้ายข้าง สั้นแค่บั้นเอว

เรื่องของวัฒนธรรมประเพณี ชาวมูเซอ มีกลางลานใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นที่สำหรับเต้นจะคึในช่วงงานปีใหม่ หรือมีพิธีทำบุญต่างๆ  เช่นทำบุญขึ้นบ้านใหม่  พิธีกินข้าวใหม่

ชาวมูเซอ อาศัยในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง ได้แก่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม  อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง   อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย


* fj102_11.JPG (493.72 KB, 800x533 - ดู 366 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:52:51 AM »


ม้ง

ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และตอนเหนือของประเทศไทย บริเวณ ประมาณ พ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง

การแต่งกาย ม้งน้ำเงิน ผู้ชาย สวมเสื้อสีดำ หรือน้ำเงิน ตัวสั้น ตัวป้าย ปักลวดลาย แขนยาว ขลิบขอบแขนเสื้อด้วยสีฟ้า ส่วนกางเกงใช้สีเดียวกัน เป้ากางเกงจะกว้างและหย่อนต่ำลงมาถึงหัวเข่า ปลายขาแคบมีผ้าสีแดงคาดเอวเอาไว้ ชายผ้าทั้งสองข้างปักลวดลาย  ห้อยลงมา ส่วนผู้หญิง สวมเสื้อสีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม มีลวดลายที่หน้าอก แขนยาวขลิบที่ปลายแขนด้วยสีฟ้า ปกเสื้อห้อยพับไปด้านหลัง ปักลวดลาย สวมกระโปรงจีบ รอบตัว ลวดลาย จากการเขียนด้วยขี้ผึ้งแล้วนำย้อมสีน้ำเงิน มีผ้าผืนยาวปักลวดลาย หัอยชายปิดกระโปรง ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว จะใช้ผ้าพื้นเรียบ ขลิบชายด้วยผ้าสี มีผ้าแดงปักลวดลายที่ชายทั้งสองข้าง และปล่อยเป็นพู่ห้อยลงมา คาดด้วยเข็มขัดเงินทับ พันแข้งด้วยผ้าสีน้ำเงินหรือดำ มวยผมไว้ที่กลางกระหม่อมมีช้องผมมวย พันเสริมให้ใหญ่ขึ้น แล้วใช้ผ้าโพกทับมวยผม ประดับเครื่องเงิน และเหรียญเงิน



* fj102_7.jpg (424.46 KB, 800x533 - ดู 282 ครั้ง.)

* fj102_6.jpg (334.7 KB, 800x533 - ดู 312 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:53:46 AM »


ม้งขาว ผู้ชาย แต่งกายคล้ายกันกับม้งน้ำเงิน แต่มีการประดับลวดลายน้อยกว่า ที่คอสวมห่วงเงินรอบคอหลายห่วง ผู้หญิง ส่วนใหญ่จะแต่งตัวคล้ายกันกับม้งน้ำเงิน เดิมนิยมสวมกระโปรงสีขาวล้วนไม่มีลวดลายใดๆ มีผ้าผืนยาวที่ปิดทับด้านหน้ากระโปรงปักลวดลาย พร้อมทั้งมีผ้าแถบสีแดงคาดเอว ปล่อยชายเป็นหางไว้ด้านหลัง ปัจจุบันนุ่งกางเกงทรงจีนสีน้ำเงินเข้มแทนกระโปรง พันมวยผม และกันเชิงผมด้านหน้าให้ดูมีหน้าผากกว้างขึ้น

ชาวเขาเผ่าม้งมีประเพณีและวัฒนธรรมตลอดทั้งความเชื่อ เป็นของตนเองสืบมาแต่บรรพบุรุษ เช่น  ประเพณีฉลองปีใหม่ เรียกว่า “ น่อเป๊โจ่วซ์” แปลว่ากินสามสิบ โดยถือเอาวันสุดท้ายคือ 30 ค่ำ ของเดือน 12 ในทุกปีเป็นวันส่งท้ายปีเก่า  อยู่ในราวปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ชาวม้งจะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ ประดับเครื่องเงินสวยงาม เด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นลูกข่าง และร้องรำทำเพลง หนุ่มสาวจะจับคู่กันโยนลูกช่วง พูดคุยกัน

ชนเผ่าม้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน โครงการหลวง ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์  อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยส้มป่อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง  อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อ.หางดง  จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอู๋ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่วาง  จ.เชียงใหม่


* fj102_4.jpg (271.72 KB, 800x533 - ดู 253 ครั้ง.)

* fj102_5.jpg (351.66 KB, 800x533 - ดู 252 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:54:53 AM »


เมี่ยน

ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี จีนเรียกขานว่า เย้า แปลว่า ป่าเถื่อน“เมี่ยน”เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า“อิ้วเมี่ยน” แปลว่ามนุษย์ การอพยพโยกย้าย ของเผ่าเมี่ยน 12 สกุล ลงมาทางใต้ประมาณศตวรรษที่ 15 -16 เข้าสู่เวียดนาม ผ่านลาว และเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีเศษ ที่ผ่านมา


* fj102_19.JPG (349.52 KB, 800x533 - ดู 254 ครั้ง.)

* fj102_16.JPG (282.24 KB, 800x533 - ดู 284 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:55:41 AM »


การแต่งกาย ชาวเมี่ยนหญิง เครื่องแต่งกายประกอบด้วย นุ่งกางเกงขาก๊วยเป็นผ้าสีดำ ปักลวดลายด้านหน้า ผ้าคาดเอว ผ้าโพกศีรษะ เสื้อคลุมแขนยาว ด้านหลังเป็นผ้าตรงชิ้นเดียว ด้านหน้าเป็นผ้า 2 ชิ้น มีไหมพรมสีแดงเป็นพวงที่สอบเสื้อ ชาวเมี่ยนผู้ชาย จะสวมเสื้อตัวสั้นหลวม คอกลม ชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงิน 8 – 10 เม็ด เป็นแถวทางด้านขวา กางเกงขาก๊วย ตัดเย็บผ้าทอมือย้อมครามสีน้ำเงินหรือดำ จะมีลายปักและกระเป๋าติดอยู่ด้านหน้า

มีพิธีกรรมที่สำคัญ จะมีพิธีกรรมการตั้งครรภ์ พิธีกรรมการเกิด การสู่ขวัญ การบวช การแต่งงาน พิธีงานศพ ขึ้นปีใหม่ และวันกรรม วันเจี๋ย เจียบ เฝย (สาร์ทจีน) พิธีซิบตะปูงเมี้ยน

ในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อ.ปง จ.พะเยา โดยที่บ้านปางค่าใต้  ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา มีพาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก


* fj102_18.jpg (447.19 KB, 800x533 - ดู 244 ครั้ง.)

* fj102_17.JPG (436.42 KB, 800x533 - ดู 264 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:57:07 AM »


ลั๊วะ

เป็นกลุ่มชนออสโตรนีเซียน และเรียกตัวเองว่า“ละเวียะ”  ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่เป็นที่เชื่อกันว่าอพยพมาจากทางตอนใต้ของไทย มลายา หรือ เขมร เมื่อประมาณ 2,000  ปีมาแล้ว บางคนเชื่อว่า พวกลั๊วะ เป็นเชื้อสายเดียวกับพวกว้าที่อยู่ทางภาคเหนือของเมียนมาร์และตอนใต้ของมณฑลยูนนานในประเทศจีน เพราะมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษา  ลักษณะรูปร่างและการแต่งกาย

พวกลั๊วะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่  เมื่อประมาณ 900 ปีมาแล้ว  พวกมอญจากลพบุรีซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองลำพูนและลำปาง  ได้รุกรานพวกลั๊วะจนต้องหนีไปอยู่บนภูเขากลายเป็นชาวเขาไป  ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18  ชนชาติไทยได้อพยพเข้าสู่ดินแดนแถบนี้  และตีพวกมอบแตกพ่ายไปและมีสัมพันธไมตรีกับพวกลั๊วะ


* fj102_9.JPG (470.72 KB, 800x533 - ดู 277 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 04:58:33 AM »


พวกลั๊วะเองก็เชื่อว่า บรรพบุรุษของเขาเคยอาศัยอยู่ในเชียงใหม่  และเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ดินแดนแถบนี้  ลั๊วะมีกษัตริย์ของตนเอง และองค์สุดท้ายคือขุนหลวงวิลังก๊ะ  ซึ่งถูกพระนางจามเทวี กษัตริย์มอบแห่งนครหริกุญชัย (ลำพูน) ตีแตกพ่ายไปอยู่บนป่าเขา

ชนเผ่าลั๊วะ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน โครงการหลวง ได้แก่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

แล้วคราวหน้า จะนำมาฝากอีกรอบ กับวิถีชีวิต ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในโครงการหลวงครับ


* fj102_8.JPG (287.76 KB, 800x533 - ดู 322 ครั้ง.)

* fj102_10.JPG (361.94 KB, 800x533 - ดู 250 ครั้ง.)

* 575757575.jpg (283.26 KB, 800x533 - ดู 255 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 05:05:13 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ โครงการหลวง Royal Project  |  หัวข้อ: เรียนรู้วิถีชีวิต 5 ชนเผ่า กับโครงการหลวง « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 21 คำสั่ง