ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 04:03:51 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว ในตัวเมืองเชียงใหม่  |  หัวข้อ: บ้านวัวลาย ที่ไม่ได้มีดีแค่ถนนคนเดินวันเสาร์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านวัวลาย ที่ไม่ได้มีดีแค่ถนนคนเดินวันเสาร์  (อ่าน 3363 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:33:41 AM »


ถนนวัวลาย สำหรับใครหลายคนอาจจะรู้จักกันในนามถนนคนเดินวันเสาร์ของเชียงใหม่ที่คับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวไทยและเทศ ความสำคัญในแง่ของการท่องเที่ยว แน่นอนล่ะว่าเราพยักหน้าเห็นด้วยเต็มที่ และในขณะอีกแง่นึงที่ต้องพยักหน้าเห็นด้วยเช่นกันก็คือ รากเหง้า วิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำเครื่องเงิน

สัญลักษณ์รูปปั้นวัวลายในช่วงกลางถนนวัวลาย บอกถึงที่มาที่ไปของชุมชนคร่าวๆ หลายคนสงสัยว่าเจ้าวัวตัวนั้นมาเกี่ยวอะไรกับชาวบ้าน และเครื่องเงิน ว่าแล้วก็มาตามหาคำตอบกันครับ


* 2017_0210_12360300.jpg (358.11 KB, 800x533 - ดู 415 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:18:09 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:33:59 AM »


เรื่องมันมีอยู่ว่า เดิมชาวบ้านวัวลาย ที่รกรากเดิมอาศัยอยู่ที่เมืองปั่น มีสภาพอยู่ลุ่มสันเขา มีลำห้วยไหลลงมาสู่แม่น้ำคง บนเขาสูงป่าใหญ่ นั้นมีถ้ำใหญ่ในถ้ำนั้นมีวัววิเศษ มีเขาเป็นแก้ว ตัวลายดำ (ทอง) วันดีคืนดีก็จะออกจากถ้ำมาหากิน แล้วก็ถ่ายออกมาเป็นแร่ เงิน คำ ไว้ตามลำห้วย เมื่อชาวบ้านพบเห็นจึงได้ช่วยกันร่อนเอามาทำเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เช่น สลุง ขัน ขันเชี่ยนหมาก เครื่องประดับแต่งกาย บ้านไหนมีมากก้ประดับให้คนในบ้านเป็นที่เชิดหน้าชูตามนกลุ่มหมู่บ้านเดียวกัน และขยายไปยังเมืองอื่นๆ เมื่อถูกกวาดต้อนมายังเชียงใหม่ ที่อุดมไปด้วยช่างเงินฝีมือเยี่ยม ก็เลยใช้ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านวัวลาย ตามเมืองเดิมที่จากมา

ในส่วนของรกรากเดิมก่อนมายังที่นี่ ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีก่อน ในยุคที่พระเจ้ากาวิละทรงริเริ่มสร้างเชียงใหม่ให้มีวิถีชีวิตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเป็นอิสระจากการปกครองของพม่า ได้อพยพชาวเมืองปุ  เมืองงัวลาย และชาวเมืองคง แถบลุ่มแม่น้ำ สาละวิน (พม่าปัจจุบัน) ซึ่งเป็นชุมชนช่างฝีมือเครื่องเงิน อพยพมาในระหว่างปี พ.ศ.2342 –2347 มาอาศัย อยู่รอบกำแพงเมืองเชียงใหม่ มีวัดหมื่นสาร และวัดศรีสุพรรณ เป็นศูนย์กลางของชุมชนย่านวัวลาย จากอดีตจวบถึงปัจจุบัน


* 2017_0210_12381900.jpg (407.47 KB, 800x533 - ดู 401 ครั้ง.)

* 2017_0210_12393000.jpg (951.17 KB, 800x1200 - ดู 269 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:18:54 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:34:16 AM »


หมู่บ้านวัวลายมาจากชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แขวงเมืองปั่น แถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) ฝั่งตะวันตกมีชื่อว่า บ้านวัวลาย เช่นเดียวกัน เมืองปั่น  เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมิงไต (ไทยใหญ่)  ซึ่งมีเขตแดนทางตอนใต้และทางตะวันออกอยู่ติดกับเขตอำเภอเชียงดาว และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่  ทางทิศเหนือติดกับเขตรัฐเชียงตุง การกวาดต้อนทั้งสองครั้งดังกล่าว  พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้ครัวที่นำมาจากบ้านงัวลายตั้งบ้านเรือนในบริเวณวัดหมื่นสารและเรียกชื่อ บ้านงัวลาย ชาวบ้านวัวลายที่ถูกกวาดต้อนมานี้ส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมือที่มีความรู้และทักษะในการทำเครื่องเงิน และได้มีการสืบทอดวิชาชีพช่างเงินมาจากบรรพบุรุษ  โดยช่างฝีมือเครื่องเงินบ้านวัวลาย จัดได้ว่าเป็นช่างเงินที่มีฝีมือดีเป็นที่ยอมรับทั่วไป หลายคนได้เป็นช่างเงินประจำคุ้มหลวง


* 2017_0210_12221200.jpg (537.18 KB, 800x533 - ดู 406 ครั้ง.)

* 2017_0210_12281000.jpg (404.41 KB, 800x533 - ดู 386 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:19:37 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:34:38 AM »


ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2500 ชาวบ้านวัวลายจะประกอบอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็จะเป็นช่างฝีมือประกอบชีพทำเครื่องเงินตามที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัว และเกือบทุกบ้านจะมีโรงงานขนาดเล็กประจำอยู่ที่บ้าน เรียกว่า “เตาเส่า”

สมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำเครื่องเงินเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน และเพื่อการค้า โดยจะไปซื้อแร่เงินจากร้านคนจีนในตัวเมืองเชียงใหม่ จากนั้นจะนำแร่เงินมาตี-ขึ้นรูป ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสลุง ขันล้างหน้า พาย ถาด โดยมากผู้ที่ทำหน้าที่เป็นช่างตีและขึ้นรูป จะใช้แรงงานชายได้แก่ พ่อ สามี ลูกชาย ส่วนผู้หญิงคือแม่ และลูกสาว จะรับหน้าที่เป็นช่างแกะลาย และนำเครื่องเงินไปขาย


* 2017_0210_12303000.jpg (351.05 KB, 800x533 - ดู 405 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:25:06 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:35:01 AM »


สภาพการค้าขายเครื่องเงินของหมู่บ้านวัวลายในอดีต จะมีลักษณะ ป๊กคัวไปขาย คือเมื่อทำเครื่องเงินเสร็จแล้ว ก็จะห่อเครื่องเงินด้วยผ้าดิบสีขาว ผูกเป็นหูหิ้ว หรือใส่กระบุง หิ้วหรือหาบไปขายตามหมู่บ้านต่างๆ ทั้งในตัวเมืองเชียงใหม่  และอำเภอรอบนอก ถ้าเป็นสถานที่ใกล้ก็ใช้วิธีเดินเท้าไปหากเป็นสถานที่ไกลก็จะใช้รถถีบ (รถจักรยาน) โดยจะผูกของติดไว้ท้ายรถ ถีบขายไปเรื่อยๆ หรือบางครั้งก็นั่งเกวียนไปแต่ถ้าไปขายในท้องที่อำเภอห่างไกลเช่น อำเภอ พร้าว ฝาง เชียงดาว ก็จะนั่ง รถคอกหมู ไป การเดินทางค้าขายในสมัยก่อนมีทั้งการเดินทางด้วยเท้า เกวียน รถถีบ หรือรถจักรยาน รถบรรทุกประจำทาง แพ และรถไฟ  นอกจากนี้ ช่างฝีมือบ้านวัวลายหลายคนยังได้เดินทางไปรับจ้างทำเครื่องเงินตามถิ่นที่อยู่ของผู้ที่สั่งทำ โดยมากเป็นการเดินทางไปรับจ้างทำตามจังหวัดต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง พะเยา เชียงราย เป็นต้น ซึ่งการรับจ้างทำแต่ละครั้งก็จะมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเครื่องเงินไปด้วย ระยะเวลาในการทำงานขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ไปรับจ้างทำงาน และความยากง่ายของงานที่รับจ้าง บางครั้งใช้เวลานานแรมเดือน หรือแรมปี


* 2017_0210_12533700.jpg (391.14 KB, 800x533 - ดู 400 ครั้ง.)

* 2017_0210_12434300.jpg (429.42 KB, 800x533 - ดู 370 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:23:32 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:35:18 AM »


ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นไม่นาน  นอกจากมีการขายเครื่องเงินตามบ้านและการเดินทางไปค้าขายตามท้องที่ต่าง ๆ แล้ว ได้เริ่มมีการก่อตั้งร้านจำหน่ายเครื่องเงินรุ่นแรกๆ  ขึ้นบนถนนวัวลาย ร้านค้าเหล่านี้นับเป็นร้านค้าจำหน่ายเครื่องเงินในระยะแรกๆ ของหมู่บ้านวัวลาย  ที่เจ้าของร้านผู้ก่อตั้งเป็นคนในท้องถิ่นมีบรรพบุรุษอยู่อาศัยและเป็นช่างทำเครื่องเงินในหมู่บ้านวัวลายมานานหลายชั่วอายุคน 

ระหว่างปี พ.ศ.2500-2515 อาจกล่าวได้ว่ากิจการเครื่องเงินและร้านค้าเครื่องเงินได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด  ในช่วงนี้ได้มีการก่อตั้งร้านค้าจำหน่ายเครื่องเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในถนนวัวลายทั้งสองฝั่งถนน รวมทั้งจำนวนช่างเงินก็เพิ่มขึ้นด้วยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ.2503 มีช่างทำเครื่องเงินเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวอยู่ในหมู่บ้านวัวลายประมาณ ๒๐๐ หลังคาเรือน  อาจกล่าวได้ว่า การเติบโตของธุรกิจการค้าเครื่องเงินในช่วงหลังพ.ศ. 2500 เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลได้เร่งสร้างปัจจัยพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า


* 2017_0210_12484100.jpg (423.33 KB, 800x533 - ดู 408 ครั้ง.)

* 2017_0210_12452500.jpg (352.99 KB, 800x533 - ดู 371 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:23:56 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:35:52 AM »


ในส่วนของขั้นตอนในการทำเครื่องเงินวัวลาย ชาวบ้านจะนำเงินมาหลอมในเบ้า ซึ่งทำด้วยดินเผามีลักษณะกลม แล้วนำไปเผ่าในเตาเผาที่ เรียกว่า " เตาเผ่า" มีลักษณะแบบสูบลมเข้า เติมดินประสิวและข้าวสารตอกในขณะที่เครื่องเงินค่อยๆละลาย เพื่อให้เนื้อเงินมีลักษณะเนียนเรียบและอ่อน

จากนั้นให้เติมผงถ่านลงไปในเงินที่กำลังละลาย เพื่อไม่ให้เนื้อเงินติดกับเบ้า แล้วนำเงินนั้นเทลงในเบิ้งที่ใส่น้ำมันก๊าดลงไปในเนื้อเบิ้งแล้ว ประมาณ 3-4 ของเบิ้ง จะทำให้เกิดการลุกไหม้ เพื่อให้เนื้อเงินจับตัวกันแน่น ไม่มีฟองอากาศ ลักษณะของเบิ้งนั้นทำจากดินเหนียว มีลักษณะเป็นหลุมไม่ลึก ใช้อุปกรณ์เกลี่ยหน้าเงอนให้เรียบ ทิ้งไว้ 5 นาที แล้วขุดนำผงถ่านออกมา คว่ำเบิ้งลง เพื่อให้แผ่นเงินหลุดออกมา


* 2017_0210_12300700.jpg (693.15 KB, 800x1200 - ดู 273 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:25:34 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:36:09 AM »


นำแผ่นเงินที่หลอมเสร็จแล้วไปชุบกำมะถันผสมน้ำ ในอัตราส่วน 2ขวด:6 ถัง น้ำจะเปลี่ยนสีเป็น สีฟ้าอมเขียว เพื่อให้กรดเข้าไปแทนที่ฟองอากาศที่อยู่ในเนื้อเงิน จากนั้นนำไปแช่ในน้ำมะขามเปียก เพื่อล้างคราบสกปรกและกรดออก โดยใช้แปรงทองเหลืองขัดจะทำให้เนื้อเงินประกายสวยมากขึ้น

ที่เหลือก็นำแผ่นไปขึ้นรูปตามลักษณะที่ต้องการ โดยการทุบหรือตี ขณะนั้นเนื้อเงินก็จะเย็นตัว ทำให้ยากแก่การขึ้นรูป จึงต้องนำไปเผาไฟให้ร้อนอีกรอบ เพื่อให้เนื้อเงินอ่อนตัวลง แล้วนำไปขึ้นรูปต่อ และสุดท้ายนำเงินไปขัดด้วยแปรงทองเหลือง ในน้ำมะขามเปียกผสมผงหินขัด เนื้อเงินจะได้เป็นเงามากขึ้น


* 2017_0210_12233300.jpg (567.39 KB, 800x533 - ดู 396 ครั้ง.)

* 2017_0210_12322800.jpg (481.84 KB, 800x533 - ดู 381 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:26:07 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 10:36:23 AM »


การแกะลายนูนสูง ในสมัยโบราณการทำลายนูนสูง ช่าง หรือที่เรียกว่าสล่า จะทำเป็นลายนูนสูงชั้นเดียว โดยดุนลายด้านในเพียงชั้นเดียว จากนั้นก็ประกอบลายด้านหลัง ต่อมาช่างก็คิดลายสองชั้น โดยการดุนลายด้านในสองชั้น จนถึงสามชั้น ช่างจะทาลายนูนสูงโดยสังเกตจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัวทุกอย่าง โดยช่างพยายามที่จะให้เหมือนจริงทุกอย่าง การทำลายนูนสูงเป็นลานที่มีความสลับซับซ้อนมาก การทำงานของช่างใช้ทั้งสมาธิ ความใจเย็น ความอดทน และใช้เวลานานมากกว่าจะได้ชิ้นงานหนึ่ง

และทั้งหมดนั้น ก็แค่บางส่วนของชุมชนแห่งนี้ สำหรับใครใคร่สนใจอยากไปจะไปสัมผัสอีกแง่มุมของชุมชน ที่ไม่ใช่แต่เรื่องของถนนคนเดินวันเสาร์ แวะไปได้ย่านชุมชนวัวลายกันครับ


* 2017_0210_12194000.jpg (505.84 KB, 800x533 - ดู 387 ครั้ง.)

* 2017_0210_12203600.jpg (512.04 KB, 800x533 - ดู 375 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 11:21:10 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
parsuk
Hero Member
*****
กระทู้: 1447


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2017, 09:58:59 AM »


ขอบคูณข้อมูลดีๆ
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว ในตัวเมืองเชียงใหม่  |  หัวข้อ: บ้านวัวลาย ที่ไม่ได้มีดีแค่ถนนคนเดินวันเสาร์ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง