ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 01:06:07 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: Metamorphosis of Japan After the War:นิทรรศการภาพถ่ายญี่ปุ่นหลังสงครามโลก 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Metamorphosis of Japan After the War:นิทรรศการภาพถ่ายญี่ปุ่นหลังสงครามโลก  (อ่าน 1570 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2016, 01:03:21 PM »


เมื่อพูดถึงประเทศที่มีคุณภาพ อันหมายถึงคุณภาพทรัพยากรบุคล ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ประเทศชาติมีคุณภาพในด้านต่างๆ จนเจริญรุดหน้าไปไกลยืนอยู่ในแถวหน้าของโลก หลายคนคงนึกถึงประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งวิทยาการต่างๆ แต่ก่อนที่จะมายืนอยู่บนจุดนี้ได้นั้น ญี่ปุ่นก็เคยผ่านเวลาช่วงลำบากมากก่อน แถมไม่ลำบากธรรมดา เพราะว่าพวกเขาต้องผ่านจากความเสียหายย่อยยับหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ข้อมูลหลายๆ อย่าง บ่งบอกถึงความยากลำบากของญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว และหนึ่งในข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งที่สื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือภาพถ่าย

ในช่วงเวลานั้นมีช่างภาพญี่ปุ่นหลายคนได้บันทึกช่วงเวลาเหตุการณ์สำคัญเอาไว้เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และก็เป็นโอกาสอันดีที่ภาพถ่ายในช่วงเวลานั้น ถูกนำมาจัดเป็นนิทรรศการให้คนรุ่นหลังได้ชมกัน

Metamorphosis of Japan After the War  : นิทรรศการภาพถ่ายการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นหลังสงคราม เกิดขึ้นจากการจับมือของ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย "การเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นหลังสงคราม" ที่รวบรวมภาพถ่ายหลังสงครามระหว่างปี พ.ศ.2488 - 2507 โดยช่างภาพชาวญี่ปุ่นจำนวน 11 ท่าน ได้แก่ อิเฮ คิมุระ, ยาสึฮิโระ อิชิโมโตะ, เคน โดมอน, เอโคะ โฮโซเอะ, ฮิโรชิ ฮามายะ, คิคุจิ คาวาดะ, โชเม โทมัตสึ, ทาเคโยชิ ทานูมะ, ชิเจกิ นากาโนะ, อิคโคะ นาราฮาระ และทาดาฮิโคะ ฮายาชิ โดยภาพถ่ายนี้ถูกคัดสรรจาก ซึกุโอะ ทาดะ และมาร์ค ฟอยสเทล ใช้หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่จัดงาน โดยเริ่มจัดแสดงกันมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม ยาวไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2488  ที่ญี่ปุ่นถูกทำลายอย่างเสียหายย่อยยับ ญี่ปุ่นได้ผ่านช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึ่งก็แน่นอนว่าการจะฟื้นตัวของประเทศจากการไม่มีสิ่งใดเลย ให้กลายมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้น มันถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทน พยายาม และความอุตสาหะอย่างสูง แต่กระนั้นญี่ปุ่นก็แสดงให้เห็นจากการเกิดของรถไฟหัวกระสุน "ชินกังเซ็น" และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนดีขึ้นมาก

และจากความเปลี่ยนแปลงที่ว่ามา ก็ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาช่างภาพ 11 คน กับภาพถ่ายที่ถูกคัดสรรมาแล้วทั้งสิ้น 123 ภาพ โดยจัดแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงแรก ผลจากสงคราม ช่วงที่สอง ระหว่างขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นสมัยใหม่ และยุคที่สาม สู่การเป็นญี่ปุ่นยุคใหม่



* DSCF4954654_15.JPG (239.78 KB, 800x533 - ดู 247 ครั้ง.)

* DSCF4954654_2.JPG (372.34 KB, 800x533 - ดู 370 ครั้ง.)

* DSCF4954654_1.JPG (259.37 KB, 800x533 - ดู 316 ครั้ง.)

* DSCF4954654_9.JPG (240.63 KB, 800x533 - ดู 311 ครั้ง.)

* DSCF4954654_8.JPG (235.72 KB, 800x533 - ดู 249 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2016, 01:05:35 PM »


ช่วงที่ 1 ผลที่เกิดขึ้นหลังสงคราม

บ่ายของวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สงครามที่มีระยะเวลาอันยาวนานก็สิ้นสุดลง ภาพถ่ายรูปแรกหลังสงครามได้สิ้นสุด และเป็นจุดเริ่มต้นของนิทรรศการส่วนนี้มาจากมือของ ฮิโรชิ ฮามายะ โดยหลังจากการต่อสู้บนสมรภูมิรบที่ทอดยาวแผ่ไปในหลายส่วนของโลก ที่รวมไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ คาบสมุทรเกาเหลี ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิกทางทิศตะวันตก สงครามเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงและพรากชีวิตผู้คนมากมาย ที่ประเทศญี่ปุ่นเมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากินั้น ถูกทำลายด้วยระเบิดปรมาณู ส่วนเมืองโตเกียว เมืองโอซาก้า เมืองนาโกยาและเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่จะถูกทำลายด้วยระเบิดอย่างราบคาบ จนเหลือแต่ซากปรักหักพังที่ถูกเผาไหม้ ความพ่ายแพ้ทำให้อุดมการณ์และค่านิยมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในระบบจักรวรรดินิยมที่ปกครองประเทศญี่ปุ่นจนถึงเวลานั้น ถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิงในเวลาเพียงแค่หนึ่งวันเท่านั้น ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยกองกำลังพันธมิตร ที่พยายามจะปฏิรูปสังคมของญี่ปุ่นตั้งแต่เบื้องล่างสู่เบื้องบน การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นและทำให้ทุกๆ อย่างสั่นสะเทือนกับยุคใหม่ที่ไม่แน่นอนอันรู้จักกันในนาม “ยุคหลังสงคราม” ทีได้เริ่มขึ้นในความสับสนอลหม่านนี้

อุตสาหกรรมการพิมพ์ เป็นสิ่งแรกที่ฟื้นตัวจากผลกระทบและความวุ่นวายที่เป็นผลติดตามจากความพ่ายแพ้หลังสงครามของประเทศญี่ปุ่น ผู้คนที่เคยได้รับการป้อนข่าวสารจากโฆษณาชวนเชื่อของทหารและถูกเซ็นเซอร์ข่าวในช่วงสงครามกำลังโหยหาความจริงจากข่าว ช่างภาพหลายคนในช่วงนั้น พวกเขาถ่ายรูปสภาพความสิ้นหวัง ในภูมิทัศน์ที่ถูกทำลาย และต่อมาเปลี่ยนไปถ่ายภาพถนนหนทางที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่ยากไร้ในกรุงโตเกียว

ช่วงที่ 2 ระหว่างวัฒนธรรมประเพณีและความเป็นสมัยใหม่

ยุคหลังสงครามมาถึงจุดสิ้นสุดในทางการเมืองประมาณปี ค.ศ. 1952 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโกกับอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร ประมาณปี ค.ศ. 1955 เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ฟื้นตัวกลับมาในระดับที่รายได้ประชาชาติที่แท้จริงสูงกว่าภาวะก่อนสงคราม การฟื้นตัวครั้งนี้ถูกกระตุ้นโดยการเจริญเติบโตของธุรกิจจัดซื้อจัดจ้างพิเศษสำหรับสงครามเกาหลีซึ่งเกิดขึ้นจากการเผชิญหน้าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเติบโตขึ้น ผลกระทบจากความพ่ายแพ้กลายเป็นตัวหน่วงรั้งของประเทศมาเป็นเงินลงทุน อีกทั้งวางกฎที่เคร่งครัดในการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและการเดินทางไปต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงของญี่ปุ่นเช่น วิทยุทรานซิสเตอร์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ หลายอย่าง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสายตาเช่น กล้องถ่ายรูปกลายเป็นที่นิยมของตลาดส่งออกที่มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ


* DSCF4954654_3.JPG (238.61 KB, 800x533 - ดู 290 ครั้ง.)

* DSCF4954654_4.JPG (228.59 KB, 800x533 - ดู 233 ครั้ง.)

* DSCF4954654_5.JPG (241.79 KB, 800x533 - ดู 230 ครั้ง.)

* DSCF4954654_6.JPG (237.51 KB, 800x533 - ดู 260 ครั้ง.)

* DSCF4954654_7.JPG (247.45 KB, 800x533 - ดู 294 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2016, 01:08:05 PM »


ช่วงที่  3 สู่การเป็นญี่ปุ่นยุคใหม่
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1964 นั้นถูกเตรียมความพร้อมก่อนหน้าโดยการก่อสร้างถนน สวนสาธารณะ และโครงการพื้นฐานอื่นๆ ทั่วประเทศ รถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลกในเวลานั้นหรอื “ชินคันเซ็น” ก็”ด้มีการเริ่มให้บริการระหว่างเมืองโตเกียวกับโอซาก้า ปลายปี ค.ศ. 1960 รัฐบาลญีปุ่นก็ประกาศแผนการเพิ่มรายได้ประจำชาติในสิบปี แต่ในความเป็นจริงรายได้นั้นเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 7.2% ของเป้าหมายเฉลี่ยต่อปีที่ตั้งไว้ ทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ในสิบปีเกิดผลสำเร็จได้ภายในไม่กี่ปี ในปี ค.ศ. 1964 ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในแต่ละครัวเรือนมีโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และตู้เย็นเป็นของตัวเอง ซึ่งถือเป็น ”สมบัติอันศักดิ์สิทธิ์สามประการ” ของญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน

ในช่วงเวลานั้นไม่มีใครคิดว่าวันหนึ่งบริษัทญี่ปุ่นจะมี่ความแข็งแกร่งที่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันที่สำคัญในตลาดโลก เนื่องจากการขยายตัวของตลาดภายในประเทศญี่ปุ่นที่ผันตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรมส่งออกเหล็ก เรือ รถยนต์ และคอมพิวเตอร์ ด้วยความต้องการชีวิตที่ดีขึ้น ชาวญี่ปุ่นหลายคนจึงจดจ่ออยู่กับการทำงานของตนเองอย่างเดียว ผู้คนแทบจะไม่มีใครคิดมาก่อนว่าญี่ปุ่นจะกลายเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำด้านเศรษฐกิจของโลก จึงไมได้ใส่ใจมากต่อความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในแง่นี้ พวกเขายังคงมีสภาพจิตใจแบบช่วงหลังสงครามอยู่

สำหรับช่างภาพชาวญี่ปุ่นแล้ว ช่วงหลังสงคราม เป็นปฏิกิริยาตอบโต้แรกของช่างภาพที่มีต่อทัศนคติของการเชื่อฟังแบบดั้งเดิม และได้เปลี่ยนรูปแบบช่างภาพให้เข้าไปยืนยันสิทธิและรักษาปกป้องเสรีภาพของพวกเขาอย่างมาก สิ่งนี้รวมถึงการมีจุดยืนแบบนักสัจนิยมที่พยายามจะแสดงภาพถ่ายความโกลากลของสังคมในขณะที่รักษาความอยากรู้อยากเห็นและการจับตามองแบบวิพากษ์วิจารณ์ จากจุดนี้เอง จึงเกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการแสดงออกที่สร้างสรรค์ผ่านความเข้าใจต่อค่านิยมใหม่และการเปิดรับปรับใช้ความคิดแบบสุนทรียะ

สำหรับนิทรรศการภาพถ่ายผ่านมุมมองศิลปะจาก 11 ช่างภาพ แต่ละคนก็มีบทบาทในช่วงของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอย่าง เคน โดมอน ผู้เป็นนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงอย่างมากสำหรับการถ่ายถ่ายภาพแนวสัจนิยม อิเฮ คิมุระ ซึ่งมีวิธีการถ่ายภาพแนวสัจนิยมที่เป็นเอกลักษณ์ ฮิโรชิ ซึ่งโด่งดังในการถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ทำการเกษตร ทาดาฮิโกะ ฮายาชิ ที่ถ่ายรูปเหมือนได้อย่างงดงามมาก ชิเจกิ นากาโน่ อิคโคะ นาราฮาระ คิคุจิ คาวาดะ โชเม โทมัตสึ และยาสึฮิโระ อิชิโมโตะ ผู้เป็นตัวแทนช่างภาพรุ่นใหม่ และเอคโคะ โฮโซเอะและทาเคโยชิ ทานูมะ ที่ล้วนมีความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพ ซึ่งแม้ว่าช่างภาพทั้งหมดจะมีแนวทางในการถ่ายภาพที่แตกต่าง สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดร่วมของทุกท่านคือการสะท้อนให้เห็นและการแสวงหาความเข้าใจต่อความซับซ้อนทางอัตลักษณ์ของญี่ปุ่นสมัยใหม่

ใครสนใจ Metamorphosis of Japan After the War  : นิทรรศการภาพถ่ายการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นหลังสงคราม ก็สามารถแวะไปชมกันได้ที่ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม ยาวไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559 กันได้ครับ


* DSCF4954654_10.JPG (225.49 KB, 800x533 - ดู 293 ครั้ง.)

* DSCF4954654_11.JPG (228.79 KB, 800x533 - ดู 243 ครั้ง.)

* DSCF4954654_12.JPG (226.76 KB, 800x533 - ดู 308 ครั้ง.)

* DSCF4954654_13.JPG (218.59 KB, 800x533 - ดู 219 ครั้ง.)

* DSCF4954654_14.JPG (206.76 KB, 800x533 - ดู 253 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: Metamorphosis of Japan After the War:นิทรรศการภาพถ่ายญี่ปุ่นหลังสงครามโลก « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง