ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:18:31 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: Retrospective/ Paint It Black : นิทรรศการรวมผลงานย้อนหลังของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Retrospective/ Paint It Black : นิทรรศการรวมผลงานย้อนหลังของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ  (อ่าน 2975 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 08:09:21 PM »


การเดินเข้าออกหอศิลป์ มช. บ่อยๆ นอกจากความเพลิดเพลินที่ได้รับจากการชมนิทรรศการประเภทต่างๆ แล้ว ยังทำให้เราได้เรียนรู้ถึงงานศิลปะแขนงอื่นๆ อีกด้วย

อย่างล่าสุดที่ไปชมมาเป็นนิทรรศการรวมผลงานย้อนหลังของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ชื่อ Retrospective/ Paint It Black  ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2559 ที่ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการเปิดนิทรรศการไปตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2559 เวลา 18:00 น.

อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ จัดได้ว่าเป็น ศิลปินไทยที่โด่งดังไกลไปในระดับโลก  อันมีแนวความคิดอันโดดเด่น ตรงที่มีความร่วมสมัยและมีเอกลักษณ์เฉพาะ แฝงไว้ซึ่งขนบประเพณีและความเป็นไปได้ใหม่ๆ จนหนังสือพิมพ์ New York Times ยกย่องว่าเขาคือ แฟรงค์ สเตลล่า* แห่งยุคปัจจุบัน

 (*แฟรงก์ สเตลลา เป็นทั้งจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวอเมริกัน อยู่ในกระแสศิลปะแบบมินิมอล และกระแสภาพหลังนามธรรมที่โด่งดังในยุค 60 งานหลายชิ้นของเขาอยู่จีดแสดงในนิทรรศการตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในอเมริกา)

อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ทำงานภายใต้สังกัดของ Gavin Brown Enterprise (แกลเลอรี่ดังในกรุงนิวยอร์ค) หลังจบการศึกษาจากคณะครุศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุดมศักดิ์ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา และเริ่มทำงานศิลปะอย่างจริงจังในช่วงปี 1990 การทำงานของเขาคือการผสมผสานระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก, ศิลปะและงานฝีมือ, ความเป็นจริงและนามธรรม, โอกาสและการวางแผน โดยผลงานที่ทำให้อุดมศักดิ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ก็คือภาพจิตรกรรม Abstract สีขาว - ดำ ชุด “The O's and Zeroes”

ในส่วนของผลงานของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ นั้น เป็นงานแนว abstract expressionism  ที่แสดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม ที่เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นจากเหตุการณ์ระส่ำระสายก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้นำไปสู่การอพยพลี้ภัยของศิลปินหนุ่มสาวจากยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกา ในไม่ช้าศิลปินกลุ่มนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานศิลปะในสหรัฐอเมริกาให้เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว ศิลปินที่ก่อกระแสงานศิลปะที่เรียกกันว่าลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมด้วยความที่กระแสศิลปะนี้เกิดในนิวยอร์ก ศิลปินกลุ่มดังกล่าวจึงได้รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "สกุลนิวยอร์ก" (New York School)

ทั้งนี้ วลี "abstract expressionism" นำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1919 ในนิตยสาร Der Sturm ซึ่งเป็นนิตยสารภาพแนวสำแดงพลังอารมณ์ (expressionism) ส่วนในสหรัฐอเมริกา อัลเฟรด บาร์ (Alfred Barr) เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้ในปี ค.ศ. 1929 เพื่ออธิบายงานของวาซีลี คันดินสกี และต่อมาในปี ค.ศ. 1946 นักวิจารณ์ศิลปะชื่อ รอเบิร์ต โคตส์ (Robert Coates) ก็ได้นำมาใช้เรียกผลงานของฮันส์ ฮอฟมันน์ ลงในนิตยสารนิวยอร์กเกอร์


* 2016-07-05_04.37.06_1.jpg (797.05 KB, 800x1067 - ดู 408 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.37.37_1.jpg (518.88 KB, 800x600 - ดู 960 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.38.17_1.jpg (490.03 KB, 800x600 - ดู 898 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.38.36_1.jpg (541.85 KB, 800x600 - ดู 943 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.39.03_1.jpg (704.04 KB, 800x1067 - ดู 310 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 08:11:11 PM »


โดยศิลปินในกระแสนี้ได้พัฒนารูปแบบจิตรกรรมแบบอเมริกันจากอิทธิพลบางประการของลัทธิบาศกนิยม (cubism) และลัทธิเหนือจริง (surrealism) มาสู่การใช้กรรมวิธีในการวาดภาพตามทรรศนะส่วนตัว สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดร่วมสำคัญของงานจิตรกรรมที่ศิลปินอเมริกันได้จุดกระแสความเคลื่อนไหวขึ้นในนครนิวยอร์กระหว่างทศวรรษที่ 1940-1950 ก็คือการรวมเอาการแสดงออกทางอารมณ์อันเข้มข้นเข้ากับลักษณะงานนามธรรมเฉพาะตน

ความเคลื่อนไหวทางศิลปะแบบลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเรียกว่า "กัมมันตจิตรกรรม" (action painting) เช่น งานของแจ็กสัน พอลล็อก, วิลเลิม เดอ โกนิง ที่มุ่งแสดงออกทางอากัปกิริยาขณะที่วาดภาพ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า "จิตรกรรมสนามสี" (colour-field painting) เช่น งานของมาร์ก รอทโก, บาร์เนตต์ นิวแมน และคลิฟฟอร์ด สติลล์ ที่มุ่งถ่ายทอดด้วยอารมณ์ความรู้สึก

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่จะให้คำจำกัดความของ abstract expressionism  เป็นเรื่องยาก เพราะการแบ่งประเภทของผลงานว่ามาจากลัทธิหรือกระแสใด เกิดขึ้นโดยการจัดการของนักวิจารณ์และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ซึ่งต่างจากศิลปินที่ไม่ต้องการถูกกำหนดกรอบว่าผลงานของเขาจะต้องเป็นไปในแนวทางไหน ศิลปินที่ถูกเรียกว่าเป็นลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม แต่ละคนต่างก็ได้รับอิทธิพลและเทคนิคมาจากลัทธิก่อนหน้านี้แตกต่างกันไป เช่น เทคนิคการเขียนภาพของศิลปินในลัทธิเหนือจริงที่เรียกว่า "การเขียนภาพแบบกระแสสำนึก" (écriture automatique) ซึ่งหมายถึงการปล่อยให้ภาพวาดหรือตัวอักษรแล่นไหลไปตามกระแสสำนึกโดยไม่มีการตัดทอนหรือลบแก้ใด ๆ ทั้งสิ้น ก็นำไปสู่เทคนิคการหยดสีอย่างฉับพลันลงบนผ้าใบที่วางบนพื้นของแจ็กสัน พอลล็อก ซึ่งเป็นศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมที่มีชื่อเสียงที่สุด

และลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม จะถูกนำมาใช้กับผลงานที่มีลักษณะแตกต่างกันของศิลปินหลายคนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในนิวยอร์ก แม้แต่งานที่อาจไม่เป็นงานนามธรรมและไม่เป็นงานสำแดงพลังอารมณ์ ก็อาจถูกเรียกว่าลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมได้ด้วยเช่นกัน จึงอาจกล่าวโดยรวมว่าศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมเป็นงานนามธรรมที่เสนอการแสดงออกทางความคิดเรื่องจิตวิญญาณ จิตใต้สำนึก และจิตใจ ซึ่งตั้งคำถามต่อระบบคุณค่าแบบเดิม ๆ สิ่งที่พอจะบ่งบอกว่าเป็นลักษณะของงานสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรมมีเพียงความนิยมในการใช้ผืนผ้าใบขนาดใหญ่เขียนภาพ ซึ่งเป็นภาพนามธรรมที่มีการแสดงอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรงเท่านั้น

สำหรับตอนหน้าจะพาไปทำความรู้จักกับการแยกประเภทของงาน abstract expressionism และชมผลงานที่เหลือของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ กันครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง และน่าสนใจมากน้อยขนาดไหน สำหรับคนที่อยากจะไปเข้าชม


* 2016-07-05_04.42.02_1.jpg (908.13 KB, 800x1067 - ดู 420 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.42.32_1.jpg (915.59 KB, 800x1067 - ดู 321 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.43.44_1.jpg (829.02 KB, 800x1067 - ดู 426 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.44.19_1.jpg (989.45 KB, 800x1067 - ดู 344 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.44.41_1.jpg (662.8 KB, 800x1067 - ดู 302 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 08:13:10 PM »


abstract expressionism ประเภทแรกนั้น คือ "กัมมันตจิตรกรรม" (action painting) ที่เกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1947 โดย แจ็กสัน พอลล็อก ได้พัฒนาเทคนิคการวาดภาพขึ้นใหม่ที่เรียกว่า "กัมมันตจิตรกรรม" (action painting) โดยได้รับการช่วยเหลือจากลี แครสเนอร์ ภรรยาของเขา เทคนิคที่ว่านี้ใช้วิธีการหยดสีลงบนผืนผ้าใบที่วางอยู่บนพื้นหรืออาจใช้สีจากกระป๋องโดยตรง พอลล็อกสร้างงานอย่างเป็นตัวของตัวเองสูงและมีลักษณะด้นสด (improvise) วิธีหนึ่งของเขาที่มีชื่อเสียงมากคือ การเต้นรำไปรอบ ๆ ผืนผ้าใบแล้วหยดสีลงไป โดยการทำเช่นนี้เขาอ้างว่าเป็นการกระตุ้นสิ่งที่อยู่ภายในของเขา (inner) ลงไปสู่ผืนผ้าใบด้วยตรง ซึ่งเป็นรูปแบบของภาพวาดอัตโนมัติหรือจิตใต้สำนึก พอลล็อกได้ทำลายขนบของศิลปะอเมริกันลง เขามุ่งประเด็นทั้งหมดไปที่สิ่งที่เป็นนามธรรมด้วยงานที่มีสเกลขนาดใหญ่และการกลวิธีในการสร้างรูปลักษณ์ได้กลายมาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

อีกอันคือ เทคนิค "จิตรกรรมสนามสี" (colour-field painting) ได้รับการพัฒนาภายหลังจากเทคนิคกัมมันตจิตรกรรม และเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม จิตรกรรมสนามสีปรากฏในคริสต์ทศวรรษที่ 1940-1950 โดยหลากหลายศิลปิน เช่น มาร์ก รอทโก, คลิฟฟอร์ด สติลล์, บาร์เนตต์ นิวแมน เทคนิคจิตรกรรมสนามสีมีวิธีการที่นุ่มนวลกว่า โดยแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังนั้นคือภาพสะท้อนและการใช้สมองในการสร้างลักษณะของภาพอย่างเรียบง่ายด้วยจินตนาการและสร้างผลสะเทือนทางอารมณ์ รอทโก, นิวแมน รวมไปถึงคนอื่น ๆ อธิบายว่า ความปรารถนาของพวกเขาคือ "ความสูงสุด" (sublime) มากกว่าความสวยงาม (beautiful) ด้วยรูปแบบของการใช้สีที่มีลักษณะจุลนิยม (minimalism) ของของพวกเขา ที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะปลดปล่อยศิลปินจากข้อจำกัดจากความทรงจำทั้งหมด รวมไปถึงการโหยหาอดีต ตำนาน และปกรณัมต่าง ๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก

ปิดท้ายด้วยงานของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ที่จัดแสดงในแบบ abstract expressionism ที่เล่าถึงแต่ละช่วงเวลาชีวิตตอนที่ตัวเองได้พบเจอถึงสภาพแวดล้อม ความรู้สึกต่างๆ ในช่วงเวลานั้น โดยงานแต่ละชิ้นก็จะมีช่วงเวลาที่บอกกำกับไว้ รวมทั้งคำบรรยายให้อ่านประกอบเพิ่มเติม

สำหรับใครที่อยากดูงาน Abstract ให้เข้าใจ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ได้หล่นความเห็นเอาไว้ว่า “ไม่ต้องไปยึดติดหรอกว่ามันจะเป็น Abstract หรือไม่ เพราะหากคุณชอบงานศิลปะแล้ว สิ่งที่คุณควรทำมากที่สุดคือการศึกษาและดูภาพเพนต์ติ้งทุกอย่างทุกชนิด อะไรก็ได้ที่คุณรู้สึกว่ามันดีและน่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องเน้นสไตล์ใดสไตล์หนึ่งหรอกครับ”

ก็ว่ากันไปตามนั้นครับ งานมีจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ที่ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใครว่าง อย่าลืมแวะไปดูกัน


* 2016-07-05_04.45.09_1.jpg (737.32 KB, 800x1067 - ดู 310 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.47.12_1.jpg (419.15 KB, 800x600 - ดู 752 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.46.53_1.jpg (398.89 KB, 800x600 - ดู 807 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.46.29_1.jpg (373.64 KB, 800x600 - ดู 829 ครั้ง.)

* 2016-07-05_04.46.13_1.jpg (355.73 KB, 800x600 - ดู 771 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: Retrospective/ Paint It Black : นิทรรศการรวมผลงานย้อนหลังของ อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง