กลุ่มพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ ตอนที่ ๒ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเรื่องราวของเมืองเหนือในมุมมองของคนต่างถิ่น และต่างชาตินั้นช่างแสนอ่อนช้อย เนิบช้า มีความงดงามและสุนทรียะสอดแทรกอยู่ในทุกจังหวะการดำเนินชีวิต สื่อสารออกมาในรูปแบบของศิลปวัตถุ ศาสนสถาน ภาษาและวรรณคดี เครื่องแต่งกาย และประเพณีพิธีกรรม ใครที่หลงใหลชื่นชอบเรื่องราวของล้านนา วันนี้คงไม่ผิดหวัง เพราะวันนี้จะขอพาเพื่อนๆ ไปเยี่ยมเยือนศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ย่านกลางเวียงเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา พิพิธภัณฑ์ใหม่แกะกล่องที่นำเสนอเรื่องราวของศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบล้านนาเอาไว้อย่างครบถ้วน จัดแสดงได้อย่างน่าสนใจ เปลี่ยนความคิดแบบเก่าๆ ที่ว่าเข้าพิพิธภัณฑ์แล้วง่วงหงาวหาวนอนให้กลายเป็นความอยากรู้อยากเห็น อยากทำความรู้จักได้ไม่ยากอาคารศาลแขวงหลังเก่า ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา อาคารแบบตะวันตกโอ่อ่า สง่างามมาก
พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของเทศบาลนครเชียงใหม่ที่จะปรับปรุงย่านกลางเวียงเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นย่านประวัติศาสตร์สำคัญให้กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้อาคารศาลแขวงหลังเก่า ตรงข้ามกับหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ และอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เป็นพื้นที่จัดแสดงเรื่องราว และวัฒนธรรมพื้นบ้านของล้านนาโดยเฉพาะ เน้นให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตและความเป็นท้องถิ่นมากกว่าพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นๆนิทรรศการ และการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์น่าสนใจมาก
อาคารศาลแขวงหลังเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก โอ่อ่าและสง่างามมาก สมกับเป็นสถานที่สำหรับตัดสินคดีความในอดีต ภายในอาคารแบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อต่างๆ ชัดเจน รวมได้ถึง ๑๓ เรื่อง ใครที่เพิ่งเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครั้งแรกอาจจะงงกับเส้นทางการเดินชมเล็กน้อย นั่นก็เพราะห้องต่างๆ ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการจัดแสดงตั้งแต่แรก ดังนั้นขอแนะนำให้เพื่อนๆ สังเกตสัญลักษณ์ลูกศรสีแดงบนพื้น แล้วเดินไปตามลูกศรนั้นเรื่อยๆ ค่ะ รับรองว่าคุณจะได้ชมนิทรรศการครบถ้วยทุกห้อง ไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่ห้องเดียวภายในห้องจัดแสดง "ข่วงแก้วล้านนา"
เรามาเริ่มชมชั้นที่หนึ่งกันเลยนะคะ ห้องแรก ข่วงแก้วล้านนา นำเสนอเรื่องแนวคิดดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นล้านนา ซึ่งสื่อออกมาในรูปของพิธีกรรม ความเชื่อ และศิลปะแบบชาวบ้าน ห้องถัดมาคือ ภายในวิหาร จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของศิลปวัตถุต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาแก่พระศาสนา โดยจำลองบรรยากาศภายในวิหารแบบล้านนาเอาไว้ได้อย่างสมจริงภายในห้องจัดแสดง "ภายในวิหาร" จำลองบรรยากาศวิหารแบบล้านนา
ห้อง เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และ ประติมากรรมในพระพุทธศาสนา เป็นอีกสองห้องที่ไม่ควรพลาดสำหรับผู้หลงใหลศิลปะแบบล้านนา เพราะโดยพื้นฐานแล้วศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาส่วนใหญ่ของผู้คนในแผ่นดินไทยเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของศิลปินท้องถิ่นให้สร้างสรรค์งานศิลป์อันทรงคุณค่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ศิลปวัตถุส่วนใหญ่ในเมืองไทยนั้นเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม และความเชื่อทางศาสนาเป็นสำคัญ ตัวอย่างพระพุทธรูปหล่อสำริดสกุลช่างล้านนา จัดแสดงภายในห้อง "ประติมากรรมในพระพุทธศาสนา"
ภายในห้องจัดแสดง "แห่ครัวทาน"
ห้องจัดแสดงที่ฉันประทับใจที่สุด คือ ห้องจิตรกรรมล้านนา ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานจิตรกรรมชิ้นเอกฝีมือสล่าชาวล้านนาที่น่าประทับใจ อาทิ จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ฯ โดยให้ข้อมูลสั้นๆ ที่ครบถ้วน เข้าใจง่าย ผู้ไม่มีความรู้ก็สามารถทำความเข้าใจได้ภายในห้องจัดแสดง "จิตรกรรมล้านนา"
อักษรธรรมล้านนา จัดเป็นจิตกรรมล้านนาประเภทหนึ่ง
เรื่องราวของงานฝีมือแบบชาวบ้านที่เน้นการประดิษฐ์และสรรสร้างเครื่องใช้ไม่สอยในชีวิตประจำวันให้งดงาม เป็นอีกสิ่งที่น่าสนใจ ภายในห้อง หัตถศิลป์พื้นบ้าน ได้รวบรวมศิลปวัตถุประเภทเครื่องเขิน ซึ่งถือเป็นหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นยิ่งของเมืองเหนือ ผู้สนใจจะได้เห็นตัวอย่างงานเครื่องเขินแต่ละสกุลช่าง และเข้าใจกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจนกว่าการอ่านจากหนังสือเพียงอย่างเดียว เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา
งานฝีมือประดับทองของล้านนาก็อะเอียดอ่อน และประณีตมากเช่นกัน
งานผ้าล้านนา จัดแสดงไว้ใน ห้องผ้าล้านนา เป็นอีกหนึ่งงานหัตถศิลป์ที่แสดงออกถึงความสร้างสรรค์ และสุนทรียภาพของชนเผ่าไททุกหมู่ ซึ่งชาวล้านนาเองก็ให้ความสำคัญในการทอผ้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจกลายผ้า อันเป็นเอกลักษณ์เด่นของผ้าซิ่นเมืองเหนือตัวอย่างงานผ้าแบบล้านนา เอกลักษณ์คือการจกตีนผ้าซิ่น
นอกจากนิทรรศการถาวรแล้ว ยังมีนิทรรศการชั่วคราวที่น่าสนใจหมุนเวียนมาจัดแสดงด้วย อาทิ นิทรรศการหัตถศิลป์เกี่ยวกับงาช้าง และการผ้าปักลาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจทั้งสิ้น ด้านนอกอาคารจัดแสดงปรับปรุงภูมิทัศน์ไว้อย่างร่มรื่น เหมาะแกการพักผ่อน มีร้านกาแฟ Café de Museum จำหน่ายกาแฟ และขนมรสชาติดีสำหรับใครก็ตามที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการตระเวนชมเมือง ในราคาสมเหตุสมผล บรรยากาศภายในร้านหรูหรา แต่เป็นกันเองงานปักผ้าแบบล้านนา
การแกะสลักงาช้าง
หวีและแปรงสำหรับแปรงผม ทำจากงาช้าง
ผู้สนใจสามารถซื้อบัตรเข้าชมราคาเพียง ๒๐ บาทสำหรับคนไทย และ ๘๐ บาทสำหรับชาวต่างชาติ หรือจะซื้อแบบเป็นแพ็คเกจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ ๓ แห่งราคาเพียง ๔๐ บาท (๑๘๐ บาทสำหรับต่างชาติ) บัตรเข้าชมมีอายุ ๗ วัน นับตั้งแต่วันซื้อบัตร
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Museum) เปิดให้เข้าชมวันอังคาร วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ *ยกเว้นเทศกาลสงกรานต์) เวลา 08:30 17:00 น. วันอาทิตย์เปิดเป็น Night Museum ปิดทำการเวลา 20:00 น.
เรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา