ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 27, 2024, 01:39:27 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดป่าเป้า : ศิลปะแบบพม่าจากศรัทธาชาวไทใหญ่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดป่าเป้า : ศิลปะแบบพม่าจากศรัทธาชาวไทใหญ่  (อ่าน 2592 ครั้ง)
konhuleg
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2013, 12:53:49 AM »



ผมเพิ่งมารู้เอาเมื่อไม่นานมานี้ว่า ในจังหวัดเชียงใหม่มีวัดแบบศิลปะพม่าไทยใหญ่แฝงไว้อยู่ด้วย ก็ก่อนหน้านี้คิดเหมาเอาไปเองว่า มันน่าจะมีแค่ศิลปะแบบล้านนาเท่านั้น

เหตุแห่งความรู้จักมาจากการได้มีโอกาสไปตะลุยเที่ยววัดแบบศิลปะพม่าไทยกับก๊วนมัคคุเทศก์สายวัฒนธรรมของภาคเหนือ เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ไม่อยากจะบอกเลยว่า ผมไปมา 5 วัน กับประมาณ 30 วัด ใน 4 จังหวัด แทบจะอ้วกแตกออกมาเป็นบุญครับ

ขึ้นรถ ลงรถ ถ่ายรูป ขึ้นศาลา ไหว้พระ ฟังมัคคุเทศก์เล่าสาธยายไป ลงศาลา แล้วก็ขึ้นรถ วนเวียนกันแบบนี้ 5 วันติด จนผมขอสัญญากับตัวเองว่า จบจากทริปนี้ ตูขอไม่เข้าวันซัก 3 เดือนล่ะกัน ฮ่าๆๆ

เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา ผมจะพามาสตาร์ทที่วัดแรกเปิดซิงกันไปเลยกับ วัดป่าเป้า ในเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงข้ามแจ่งศรีภูมิ ใครเคยผ่านไปผ่านมาแถวนั้น คงจะทราบกันดี


วัดป่าเป้าเป็นวัดศิลปะพม่าไทใหญ่ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อปี พ.ศ.2426 โดยหม่อมบัวไหล พระสนมเชื้อสายไทใหญ่ และชาวไทใหญ่ ที่ได้อพยพมายังเชียงใหม่ เมื่อครั้งมีการกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ โดยมาตั้งถิ่นย่านประตูช้างเผือก ได้มีจิตศรัทธาในการบูรณะวัดใกล้เคียง และขอราชานุญาตสร้างวัดป่าเป้า โดยพระองค์โปรดฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณ หอคำเก่าของพระเจ้ากือนา ที่อยู่นอกกำแพงเมือง ซึ่งรกร้างขาดการดูแลเนื่องจากภาวะความไม่สงบของสงครามกับพม่า โดยมีต้นเป้าขึ้นปกคลุมจนเป็นป่า อันเป็นที่มาของนามวัด


ซึ่งศาสนสถานและปูชนียวัตถุภายในวัดก็จะประกอบด้วยพระอุโบสถทรงพม่าแบบตึกผสมไม้ หลังคาทรงจั่วซ้อนชั้นขึ้นไป ส่วนยอดประดับด้วยไม้แกะสลักฝีมือประณีต ชั้นล่างเป็นผนังก่ออิฐถือปูน โดยทำปูนปั้นเป็นซุ้มโค้ง บริเวณช่องหน้าต่างแบบศิลปะตะวันตก



คันธกุฎี เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ที่มีศิลปะผสมผสานระหว่างพม่าและตะวันตก โดยมีผนังทำปูนปั้นเป็นซุ้มโค้งแบบตะวันตก ส่วนยอดเป็นทรงปราสาทซ้อนชั้นศิลปะพม่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2468 ภายหลังได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ภายในวัดส่วนตุงกระด้าง เป็นตุงที่ทำจากสังกะสีแกะลวดลายอย่างบรรจง เพื่อใช้เป็นครื่องบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

และสุดท้ายพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ศิลปะพม่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีเจดีย์ประจำมุมทั้งสี่ และมีซุ้มจระนำประดิษฐานองค์พระทั้งสี่ทิศ เชิงบันประดับด้วยมกรปูนปั้น ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลาที่รับปากระฆัง โดยมีฉัตรอยู่ส่วนยอด


บรรยายภายในวัดร่มรื่นดี ด้านหน้ามีร้านขายของชำ พวกของขบเคี้ยวขนมแบบเก่าๆ อย่างหมากฝรั่งแมวดำ อันนี้ใครริอยากสูบบุหรี่ตอนเด็กเป็นต้องรู้จัก และของกินของแบบฉบับของคนไทใหญ่อย่างเนื้ออัดกระป๋อง คล้ายๆกับ ปลากระป๋อง (ผมนึกว่ากระป๋องกาวท่อประปา ฮ่าๆๆ)

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ในวัดยังมีโครงการศูนย์การเรียนวัดป่าเป้า "ห้องเรียนสำหรับเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ" ที่จัดขึ้นเพื่อเป็น เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ ให้แก่เด็กไร้สัญชาติและแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษากันอีกด้วย

ถือได้ว่าวัดป่าเป้า นอกจากจะเป็นวัดศิลปะพม่าไทยใหญ่ที่เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจอันสำคัญของคนที่นี้แล้ว วัดป่าเป้าอีกมุมนึงก็เปรียบเสมือนคลังความรู้ แก่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาไปในตัวด้วย
บันทึกการเข้า
traveller
Newbie
*
กระทู้: 14



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2013, 03:16:34 PM »


สงกรานต์ผ่านไปแถวนั้น นึกว่า อยู่พม่า  :111:
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดป่าเป้า : ศิลปะแบบพม่าจากศรัทธาชาวไทใหญ่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 21 คำสั่ง