ทำความรู้จักธรรมชาติ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อนๆ ชาวเชียงใหม่ หรือเพื่อนๆ อีกหลายๆ คนที่เคยเดินทางมาเที่ยวเชียงใหม่ คงจะรู้จักคุ้นเคยกับสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตภูเขาอุทยานแห่งชาติสุเทพ ปุย อำเภอแม่ริม บนถนนสายแม่ริม สะเมิง เพราะเป็นสถานที่รวบรวมพรรณไม้นานาชนิดเอาไว้ให้ผู้สนใจได้เข้ามาศึกษา และพักผ่อนหย่อนใจ เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับ Must-list ที่ผู้มาเยือนเชียงใหม่ครั้งแรกควรจะหาเวลามาเยี่ยมชมไม้กลายเป็นหิน
แต่คงมีน้อยคนนักที่รู้ว่าภายในสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Science Museum) สถานที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวิวัฒนาการของสาขาพฤกษศาสตร์ในประเทศไทย โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ และยังมีแหล่งเรียนรู้น้อยมากในบ้านเราอาคารรูปทรงทันสมัยตั้งอยู่ท่ามกลางร่มเงาต้นสน ด้านหน้าจัดแสดงไม้กลายเป็นหิน ซึ่งเป็นกระบวนการทางธรณีวิทยาอย่างหนึ่งที่ต้องใช้เวลายาวนานหลายล้านปี จึงจะเปลี่ยนต้นไม้ให้กลายเป็นหินแข็งๆ ได้ ถือเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ภายในอากาศแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๕ ส่วนค่ะ แต่ละส่วนก็มีหัวข้อในการเล่าเรื่องแตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างได้อย่างน่าสนใจมากๆ ลืมภาพพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ ที่เราเคยเจอไปได้เลยค่ะ ผู้เข้ามาเยี่ยมชมนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมและบรรยากาศการจัดแสดง ถือเป็นส่วนช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีมากๆส่วนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ส่วนแรกเป็นนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ว่าด้วยพระราชกรณียกิจของพระองค์ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ นอกจากนี้ยังพาพวกเราไปทำรู้จักกับพรรณไม้ดอกที่พระองค์ทรงพระราชทานชื่อให้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอกไม้ป่าค่ะ อาทิ ทิพเกสร จรัสจันทร ดุสิตา มณีเทวา สร้อยสุวรรณ และนิมมานรดี เป็นต้นเดินเข้ามาภายในส่วนจัดแสดงที่ ๒ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืช แมลงและสัตว์ขนาดเล็กที่มีผลอย่างสำคัญต่อระบบนิเวศ ส่วนนี้นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ผ่านการจัดแสดงแบบสื่อผสม เพื่อสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ ที่บางครั้งอาจจะเบื่อง่าย การเล่าเรื่องก็เข้าใจง่าย เพื่อให้เหนือหาเหมาะกับคนทุกกลุ่มคาร์ล เคิร์ท ฮอสเซอุส นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน
ถัดมาส่วนที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องราวของพัฒนาการงานด้านพฤกษศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งสาขาวิชาพฤกษศาสตร์นั้นในอดีตมีคนรู้จักน้อยมาก และไม่นิยมเรียนกัน เพราะหลายคนอาจเห็นเป็นเรื่องไกลตัว เราจะได้ทำความรู้จักกับนักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของไทย ที่ทำให้วงการพฤกษศาสตร์พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นเรื่องราวของบุคคลสำคัญ ๒ ท่าน คาร์ล เคิร์ท ฮอสเซอุส นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกศึกษาผืนป่าทางภาคเหนือของไทย และศาสตราจารย์ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ ผู้บุกเบิกวิชาพฤกษศาสตร์สมัยใหม่ในประเทศไทยห้องจัดแสดงเกี่ยวกับป่าไม้ในเมืองไทย
โลกของผึ้งและดอกไม้
ส่วนที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องของป่าประเภทต่างๆ ของไทย อาทิ ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า ป่าพรุ ป่าชายเลน และป่าชายหาด โดยภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการได้นำเสนอเรื่องราวของป่าแต่ละชนิดในรูปของสื่อผสม น่าสนใจ และสวยงามมากถ้ำและชุมชนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
ส่วนที่ ๕ ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องราวของผึ้ง แมลงที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ ลงมาด้านล่างยังมีห้องจัดแสดงอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งผู้มาเยี่ยมชมหลายๆ ทันอาจเลยผ่านไป เนื้อหาส่วนนี้ค่อนข้างอัดแน่น เริ่มต้นจากการค้นพบถ้ำ และชุมชนโบราณ วิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ เดินไปจนถึงส่วนสุดท้ายของนิทรรศการ จะมีห้องโล่งๆ มีหน้าต่างกว้างมองเห็นทิวเขา และการทำไร่เลื่อนลอย มีเสียงพากย์ให้แง่คิดดีๆ เพื่อเตือนใจให้เรารักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งถือเป็นสมบัติล้ำค่าของมนุษย์โดยสรุปแล้วพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติน่าสนใจมาก การจัดแสดงก็ทันสมัย แต่อาจมีผู้เข้าชมน้อย เนื่องจากตั้งอยู่ไกลจากแหล่งชุมชน เข้าถึงยาก ไม่ค่อยมีคนรู้จัก หากเราไม่ช่วยกันเผยแพร่ เลดี้ ดาริกาก็หวั่นใจว่าพิพิธภัณฑ์ดีๆ แบบนี้จะหายไปอีก มาเยี่ยมชมกันเยอะๆ นะคะเรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา