ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 01:13:29 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: “เรื่องราว ความทรงจำ หลังกำแพง” นิทรรศการจดหมายเหตุอดีตเรือนจำหญิงเชียงใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: “เรื่องราว ความทรงจำ หลังกำแพง” นิทรรศการจดหมายเหตุอดีตเรือนจำหญิงเชียงใหม่  (อ่าน 1952 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:13:45 AM »


วันเสาร์ที่ผ่านมานั้น กลางเวียงเชียงใหม่จัดได้ว่ามีความวุ่นวายขายปลาช่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีงานอีเว้นต์หลายอย่างชนกัน โดยมิได้นัดหมาย (หรืออาจจะนัดหมายกันไว้แล้ว) ทำให้การจราจรติดขัดในระดับตังเม 

หนึ่งในความวุ่นวาย ที่ดึงความสนใจกวักมือเรียกให้เข้าไปหานั้น มีนิทรรศการ “เรื่องราว ความทรงจำ หลังกำแพง” ที่จัดขึ้นตรง หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ “ข้อมูลและมุมมองใหม่เกี่ยวกับทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (เดิม) จากงานจดหมายเหตุ เพื่อการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว” มีวิทยากรประกอบด้วย อ.วรชาติ มีชูบท นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อ. จุลพร นันทพานิช อาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางเสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง (ป้าจิ๋ม) ผู้แทนเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ และนางสาวศิริพร ภาณุรัตน์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่

ที่มาที่ไปของนิทรรศการที่จัดแสดงนั้น เริ่มต้นมาจากโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว อันเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เดิมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เกิดขึ้นจากความต้องการให้มีการพัฒนาพื้นที่กลางเมืองเชียงใหม่ โดยการย้ายทัณฑสถานหญิงออกไปจากใจกลางเมือง ซึ่งมีความแออัดมากขึ้น โดยในปี 2559 จะมีแผนงานก่อสร้างโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว และจะดำเนินรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ แต่ก่อนที่จะรื้อถอน และก่อสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมเกียรติ์พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้รับภารกิจจากจังหวัดเชียงใหม่ในโครงการบันทึกข้อมลสำคัญของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (เดิม) ก่อนการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นลานสาธารณะประโยชน์ “ข่วงหลวงเวียงแก้ว” ซึ่งก็คลอดออกมาเป็น นิทรรศการ “เรื่องราว ความทรงจำ หลังกำแพง” ที่นำเสนอภาพอดีตของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (เดิม) และความคืบหน้าของโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว

ทั้งนี้ ในตลอดระยะเวลาการดำเนินงานด้านจดหมายเหตุ (จด+หมายเหตุ) คือการรวบรวมข้อมูลบันทึกภาพอาณาบริเวณ อาคารสถานที่ การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนการบันทึกการสัมภาษณ์บุคคลให้ได้เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสู่การจัดพิมพ์หนังสือจดหมายเหตุ ฐานข้อมูล ชุดภาพนิ่ง วิดีทัศน์ เอกสารการรังวัด แบบและผังอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงในโอกาสหน้า อันได้สัมผัสถึงร่องรอยของวิถีชีวิต ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และบรรยากาศในกำแพงทัณฑสถาน อาทิ ความเคร่งครัด ระเบียบแบบแผน ความสุข ความทุกข์ น้ำใจไมตรี ความห่วงใย ความปรารถนาดี ความหวัง และชีวิตใหม่ ของผู้คนจำนวนมากที่ผ่านเข้ามา ณ สถานที่แห่งนี้ โดยนำเสนองานจดหมายเหตุในมิติใหม่ อย่างเป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหมายถึง การนำเสนอทั้งในแบบสิ่งที่สัมผัสจับต้องได้ รับรู้การมีอยู่ได้ด้วยอายาตนะ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และ กายสัมผัส และนำเสนอแบบสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยใจ รับรู้ด้วยสำนึกว่ามีอยู่


* DSCF8997.JPG (361.4 KB, 800x533 - ดู 222 ครั้ง.)

* DSCF8993.JPG (323.49 KB, 800x533 - ดู 272 ครั้ง.)

* DSCF8998.JPG (340.48 KB, 800x533 - ดู 210 ครั้ง.)

* DSCF8995.JPG (416.07 KB, 800x533 - ดู 216 ครั้ง.)

* DSCF8996.JPG (308.75 KB, 800x533 - ดู 212 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:16:21 AM »


งานที่จัดแสดงส่วนใหญ่นั้น เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาแง่มุมต่างๆ ภายในทัณฑสถาน และภายนอกกันครับ เพื่อให้หลายๆ คนที่ไม่เคยเข้าไปชม ได้เห็นว่าที่ทัณฑสถานนั้นมีบรรยากาศเป็นอย่างไรบ้าง เรียกได้ว่าพาไปเปิดโลกอีกด้านของสังคมอันน่าสนใจ ที่น้อยคนจะได้พบเห็น (และอยากเห็น) ก่อนที่จะแปรเปลี่ยนไปเป็นโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว ที่จะเริ่มต้นก่อสร้างกันเร็วๆ นี้

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ในอดีต พื้นที่ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว โดยในปี พ.ศ. 2529 ชาวเชียงใหม่ได้เรียกร้องให้มีการคืนพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เช่นเดิม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติในปี พ.ศ. 2532 ให้กรมราชทัณฑ์ คืนพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2555 จึงมีการคืนพื้นที่ให้กรมธนารักษ์ และจังหวัดเชียงใหม่ (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย) ขอใช้พื้นที่ดังกล่าวดำเนินโครงการ ข่วงหลวงเวียงแก้ว

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556 ได้มีพิธีทุบทำลายกำแพงคุก โดยนายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีทุบทำลายป้ายทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการสิ้นสุดความเป็นทัณฑสถาน ของสถานที่แห่งนี้ กระทั่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 จึงได้เริ่มต้นการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

สำหรับข่วงหลวงเวียงแก้ว หรือ เวียงแก้ว นั้น เคยเป็นเขตพระราชฐานของเวียงเชียงใหม่ ตั้งอยู่กลางเวียงค่อนไปทางเหนือของเวียงเชียงใหม่กันมาก่อน สันนิษฐานว่า สร้างมาพร้อมกับการสร้างเวียงเชียงใหม่ของพญามังราย ซึ่งภายในเวียงแก้วเดิม มีกำแพงแบ่งอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนเหนือ ส่วนใต้ และส่วนตะวันออก ภายในเวียงแก้วแต่ละส่วนประกอบไปด้วยหมู่อาคารราชมณเฑียร (ส่วนปัจจุบันพื้นที่ของเวียงแก้วเดิมส่วนใหญ่ เป็นที่ดินราชพัสดุ อันเป็นที่ตั้งของ เวียงแก้วส่วนเหนือ ประกอบด้วยสำนักงานโรงงานยาสูบ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ บ้านพักผู้ช่วยคลังจังหวัดจัดให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย เวียงแก้วส่วนใต้ ประกอบด้วยข่วงหลวงเวียงแก้ว (อดีตเป็น ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่) และ เวียงแก้วส่วนตะวันออก บ้านเรือนประชาชน)

ในรัชสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ครองนครเชียงใหม่ ขณะนั้นเชียงใหม่มีฐานะเป็นมณฑลพายัพในกำกับของรัฐบาลสยาม พื้นที่เวียงแก้วเป็นที่รกร้างไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ได้ยกพื้นที่เวียงแก้วส่วนใต้ ทำเป็นเรือนจำ และอีกส่วนทำเป็นสวนสัตว์ และแบ่งให้เจ้านายบุตรหลาน

ทั้งนี้ เวียงแก้ว ไม่เคยถูกกล่าวถึงในเอกสารทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ในยุคก่อนหน้าเลย แต่เวียงแก้ว ถูกกล่าวถึงในแผนที่เมืองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2436 ได้ระบุตำแหน่ง ขอบเขต รูปร่าง และชื่อ "เวียงแก้ว" อย่างชัดเจน โดยมีการสันนิษฐานว่าเวียงแก้ว มาจากการกร่อนคำ จากคำว่า "เวียงหน้าคุ้มแก้ว"


* DSCF8999F_1.JPG (293.93 KB, 800x533 - ดู 294 ครั้ง.)

* DSCF8999F_2.JPG (689.66 KB, 800x1200 - ดู 256 ครั้ง.)

* DSCF8999F_3.JPG (306.29 KB, 800x533 - ดู 222 ครั้ง.)

* DSCF8999F_4.JPG (610.48 KB, 800x1200 - ดู 259 ครั้ง.)

* DSCF8999F_5.JPG (360.23 KB, 800x533 - ดู 316 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2016, 02:18:29 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:16:46 AM »


เวียงแก้ว หรือ คุ้มหลวงหอคำสมัยพระเจ้ากาวิละ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2339 ใช้เป็นคุ้มของพระเจ้าเชียงใหม่ต่อมา ทว่าตามธรรมเนียมล้านนาผู้ที่สามารถประทับฝนหอคำได้ ต้องมีสถานภาพเป็นกษัตริย์ล้านนาเท่านั้น แต่ในฐานะหัวเมืองประเทศราชของสยาม ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงรัตนโกสินทร์เสียก่อน ในประวัติศาสตร์ล้านนาจึงมีพระเจ้าเชียงใหม่เพียง 4 พระองค์ คือ พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงองค์ที่ 1 พระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงองค์ที่ 5 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 6 และพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่ 7

ในสมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 4 จึงให้สร้าง "หอเทียม" ทางทิศใต้ของหอคำของพระเจ้ากาวิละ เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ครั้นในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ จึงได้โปรดให้สร้างหอคำประดับเกียรติยศ แทนหอเทียมของเจ้าพุทธวงศ์

ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้สร้างคุ้มหลวงแห่งใหม่บริเวณข่วงหลวงหน้าศาลาสนาม (โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ทำให้พื้นที่เวียงแก้วที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2339 ถูกลดบทบาทลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 เป็นต้นมา และมีการรื้อหอคำ ในช่วงปี พ.ศ. 2418 - 2420 อย่างไรก็ตามมีการสันนิษฐานว่ายังคงมีการใช้งานอยู่บ้าง อ้างอิงจากแผนที่เมืองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2436 ซึ่งระบุชื่อ "เวียงแก้ว" แต่ไม่มีคำว่า "ร้าง" ต่อท้ายน่าจะหมายถึงว่ายังมีการใช้งานอยู่บ้าง และยังพบว่ามีการจัดงานราชพิธีในปี พ.ศ. 2434 อีกด้วย

ในสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เกิดน้ำท่วมใหญ่ ในปี พ.ศ. 2448 จึงมีการย้ายที่ว่าการมณฑลพายัพมาใช้สถานที่ของ "เค้าสนามหลวง" เดิมทีเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ มีดำริที่จะยกพื้นที่ฝั่งตรงข้ามเค้าสนามหลวงด้านทิศใต้ ให้เป็นศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ แต่ในห้วงเดียวกันเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ได้ขอเวียงแก้วสำหรับสร้าง "คอกหลวง" หรือเรือนจำประจำมณฑลพายัพ แต่ไม่ทราบชัดเจนว่าเรือนจำถูกสร้างขึ้นในปีใด แต่จากการสันนิษฐานจึงประมาณได้ว่าเรือนอาจถูกสร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2459 – 2460  ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเปลี่ยนสถานะมาเป็น "เรือนจำกลางเชียงใหม่" จนในปี พ.ศ. 2544 ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เข้ามาแทนที่จนถึงในปี พ.ศ. 2555 จึงมีการย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าว

สำหรับ นิทรรศการ “เรื่องราว ความทรงจำ หลังกำแพง” จัดแสดงระหว่างวันที่ 27 ส.ค. – 4 ก.ย. 2559 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และบริเวณกำแพงทัณฑสถานด้านทิศตะวันออก ใครมีเวลาว่าง ก็สามารถแวะไปเยี่ยมชมกันได้ เพราะนี้ถือว่าเป็นนิทรรศการที่น่าสนใจในแง่ของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่กันมากๆ ครับ


* DSCF8999F_6.JPG (325.14 KB, 800x533 - ดู 306 ครั้ง.)

* DSCF8999F_7.JPG (338.41 KB, 800x533 - ดู 210 ครั้ง.)

* DSCF8999F_8.JPG (363.6 KB, 800x533 - ดู 204 ครั้ง.)

* DSCF8999F_9.JPG (342.27 KB, 800x533 - ดู 304 ครั้ง.)

* DSCF8999F_10.JPG (472.75 KB, 800x533 - ดู 248 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2016, 02:19:48 AM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: “เรื่องราว ความทรงจำ หลังกำแพง” นิทรรศการจดหมายเหตุอดีตเรือนจำหญิงเชียงใหม่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.015 วินาที กับ 20 คำสั่ง