ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 30, 2024, 01:22:30 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


  แสดงกระทู้
หน้า: 1
1  ข้อมูล เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก / เทศกาลท่องเที่ยวทั่วไทย / เทศกาลร่มบ่อสร้าง เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 09:34:40 AM
     ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะทำร่มกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้นสะดุดตาผู้พบเห็น มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำอย่างเดียวกัน ปัจจุบันถ้าหากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิต ไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม ไปตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายมือเข้าไป
ประวัติความเป็นมา ร่มบ่อสร้าง

        ในสมัยโบราณ มีพระธุดงค์รุปหนึ่งมาปักกลดที่ตำบลบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ปรากฎว่ามีลมแรงพัดกลดเสียหายใช้การไม่ได้ ชายชราชื่อนายเผือก เป็นชาวบ้านบ่อสร้างได้ซ่อมให้ แล้วก็เกิดความคิดว่า ถ้ากลดมีคันยาวก็้จะใช้ถือไปไหนมาไหนได้สะดวกจึงคิดดัดแปลงจากกลดโดยใส่คันร่มเข้าไปจนกลายเป็นร่ม ในสมัยแรก ๆ ก็ใช้สีของเปลือกไม้ทาเป็นลักษณะสีพื้นสีเดียวคือสีแดง ครั้นต่อมาได้วิวัฒนาการเขียนลวดเป็นดอกไม้ โดยทาพื้นเป็นสีต่างๆตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันหมู่บ้านตำบลบ่อสร้างก็ยังคงทำร่มกันทุกครัวเรือนและเป็นหมู่บ้านเดียวใน ประเทศไทยที่ยังรักษาเอกลักษณ์ในการทำร่มนี้ไว้

        ในการจัดนิทรรศการทางการท่องเที่ยวที่ ลอส แองเจลิส อเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 ได้มีประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยจัดร้านเข้าประกวดรวม 372 ร้าน สำหรับร้านของไทยนั้น อ.ส.ท. สำนักงาน อลส แองเจลิส ได้จัดให้มีการเผยแพร่เอกสารการท่องเที่ยว และได้มีการวาดร่มพื้นเมืองทางเหนือเป็นศิลปพื้นบ้านของไทย โดย น.ส. จิตรา สุวรรณ์ จาก ร้านบ้านสุวรรณ์ บ่อสร้าง อ. สันกำแพง เชียงใหม่ ซึ่งเป็นของเป็นของแปลกสำหรับคนต่างประเทศ ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ ไปชมงานอย่างกว้างขวาง และปรากฎว่าร้านนิทรรศการของประเทศไทยที่ อ.ส.ท. จัดขึ้นได้รับรางวัลชนะเลิศทุกประเภท
ลักษณะของร่มกระดาษที่มีคุณภาพดี

        1. มีรูปทรงสวยงาม

        2. โครงร่มและส่วนประกอบของร่มจะต้องมีความเรียบร้อยแข็งแรง

        3. กระดาษที่ใช้ปิดร่มมีความหนาพอสมควร

        4. สีและน้ำมันที่ใช้ทาไม่ตกและหลุดลอกได้ง่าย

        5. เวลาใช้สามารถกางขึ้นลงได้สะดวก
การทำร่มเพื่อให้มีคุณภาพดี

        1. คัดเลือกวัตถุดิบเอาแต่ชนิดที่มีคุณภาพดี

        2. กรรมวิธีในการผลิต นับว่ามีความมีสำคัญมากเพราะร่มจะมีคุณภาพดีมีความสวยงามนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตทั้งสิ้นการประกอบร่มทุกขั้นตอนจะต้องทำ

ด้วยความประณีตเสมอ

        3. การเก็บรักษาร่ม และส่วนประกอบของร่มจะต้องมีการป้องกันตัวแมลงต่างๆ มิให้มาทำลายร่มได้ ส่วนประกอบของร่มที่เป็นไม้ไผ่ควรจะได้รับการแช่น้ำยาเพื่อ

ป้องกันแมลงเสียก่อน

        ขนาดของร่มกระดาษสาแบ่งออกได้เป็น 5 ขนาด

        1. ร่มขนาด 44 นิ้ว

        2. ร่มขนาด 20 นิ้ว

        3. ร่มขนาด 17 นิ้ว

        4. ร่มขนาด 14 นิ้ว

        5. ร่มขนาด 10 นิ้ว
วัตถุดิบและส่วนประกอบของร่ม
ภาพ:Um5.jpg

        วัตถุดิบและส่วนประกอบของร่ม ร่มกระดาษใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบ คือ

1. หัวร่ม ตุ้มร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน เช่นไม้โมกมัน ไม้สมเห็ด ไม้ซ้อ ไม้ตะแบก และไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ เมื่อไม้แห้งแล้วไม่หดตัวมาก การที่เลือกเอาไม้เนื้ออ่อนเป็นหัวร่ม ตุ้มร่มนั้นเพราะว่าไม้เนื้ออ่อน สะดวกแก่การกลึงและผ่าร่องซี่

2. ซี่ร่ม ทำด้วยไม่ไผ่ ไม้ไผ่ที่จะนำมาทำเป็นซี่ร่มต้องมีลักษณะปล้องของไม้ไผ่จะต้องยาวถึง 1 ฟุตขึ้นไป เนื้อไม้ไม่หนาน้อยกว่า 1 นิ้ว และเป็นไม้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ไม้อ่อนใช้ไม่ได้ เพราะไม้อ่อนเวลาแห้งแล้วไม้ะหดตัวมาก และตัวมอดยังชอบกินอีกด้วย

3. กระดาษปิดร่ม ใช้กระดาษที่มีเนื้อนิ่มไม่แข็งกระด้าง และมีความหนาพอสมควร แต่เท่านี้นิยมกันมากได้แก่กระดาษสา และกระดาษห่อของสีน้ำตาล

4. น้ำมันทาร่ม ใช้ทาด้วยนำมันมะมื่อ หรือนำมันทัง

5. สีทาร่ม ใช้ทาด้วยสีน้ำมัน

6. น้ำยางปิดร่ม ใช้ปิดด้วนน้ำยางตะโก หรือ น้ำยางมะค่า

7. ด้าย ที่ใช้ในการร้อยประกอบส่วนต่างๆ ของร่มใช้ด้ายดิบหรือด้ายมันนำมากรอเป็นเส้นและตีควบเป็นเกลียวตามขนาดที่ต้องการ

8. คันร่ม ใช้ไม้เนื้ออ่อนกลึงหรือทำด้วยไม้ไผ่ถ้าเป็นไม้ไผ่ต้องใช้ปลายไม้ขนาดเล็กหรือต้นไผ่ขนาดเล็กก็ได้ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่เกิน 7/8 นิ้ว และต้องมีรูข้างในด้วยเพื่อสะดวกในการติดสปริงดันร่ม

9. หวายสำหรับพันด้ามร่ม ถ้าคันร่มทำด้วยไม้ไผ่ตรงส่วนที่เป็นด้ามถือ จะต้องพันด้วยเส้นหวายผ่าซีกขนาดเล็ก ( หวายเลียด ) หรือจะใช้ เส้นพลาสติกพันแทนก็ได้

10. ปลอกสวมหัวร่ม ใช้ใบลาน ใบตาล หรือกระดาษหนา ที่มีความหนาใกล้เคียงกันก็ได้

11. น้ำมันสำหรับผสมกับสี ใช้น้ำมันก๊าด

12. ห่วงร่ม ทำจากเส้นตอกไม้ไผ่ ขดเป็นวงกลมและพันด้วยกระดาษสาให้รอบชุบน้ำยางตะโกและตากแดดให้แห้ง 13. โลหะครอบหัวร่ม ทำด้วยแผ่นปั๊มหรือพลาสติกปั๊มก็ได้
วิธีทำร่มกระดาษ
ภาพ:Um2.jpg

        1. การทำหัวร่ม ตุ้มร่ม นำไม้สำหรับทำหัวร่ม และ ตุ้มร่ม ขนาดโตวัดเส้นผ่า ศูนย์กลางขนาด 2-2.5 นิ้วนำเอามาตัดท่อนๆความเท่ากับขนาดของหัวร่มและตุ่มร่มที่ต้องการแล้วเจาะรูตรงกลางขนาดพอที่จะใส่คันร่มชนิดนั้นๆ ได้แล้วจึงเอาไปกลึงเป็นหัวร่มรือตุ่มร่มตามแบบที่ได้กำหนดไว้

        2. การทำซี่ร่ม หลังจากได้ไม้ไผ่มาแล้งก็นำเอามาตัดออกเป็นท่อนๆถ้าเป็นไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวก็ตัดระหว่างข้อ แต่ถ้าเป็นไม้ปล้องสั้นก็ตัดให้ข้อไม้อยู่ตรงกลางความยาวของท่อนไม้ที่ตัดเท่าับขนาดของร่มที่จะทำ เช่น ทำร่มขนาด 20นิ้วก็ตัดไม้ไผ่ยาว 20นิ้วเป็นต้นเมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวแล้วก็ใช้มีดขูดผิวไม้ออกให้หมดแล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรูไว้

โดยการใช้ตะปูตอกบนไม้ ขอให้ปลายตะปูโผล่ออกมานิดหนึ่งแล้วใช้ไม้ขอขีดรอบปล้องไม้ตรงกับระยะที่ต้องการเจาะรูแล้วจึงผ่าไม้ออกเป็น 4 ชิ้น แต่ละชิ้นขนาดเท่ากันใช้มีดตรงท้องตามระยะที่ได้กะไว้ให้เสมอกันทุกชิ้น ให้ทางปลายซี่เรียว และใช้มีดจักเป็นซี่ๆตรงหัวไม้ ความหนาแต่ละซี่ประมาณ 1/8 นิ้ว แล้วใช้มือฉีกออกเป็นซี่ๆ ถ้าฉีกไม่ออกก็ใช้มีดผ่าออกไปตรงๆ แล้วเหลาทั้งสองข้างให้ เรียบและปาดตรงหัวซี่ทั้ง 2 ให้บางพอดีที่จะใส่เข้าร่องหัวร่มได้แล้วซี่ตรงท้องนิดนึงเพื่อให้มุมมนแล้วเหลาตรงท้องซึ่งให้ ้ปลายซี่ร่มเรียวเท่ากันทุกๆซี่ ใช้มีดปลายแหลมแทงลงไปตรงรอยปาดท้องซี่ ให้ปลายมีดทะลุออกด้านหลังซึ่งตรงกลางแล้ว ผ่าตรงออกไปตามยาวประมาณ 2 นิ้ว เพือให้ปลายซี่สั้นสอดเข้าไปเวลาร้อยคือ ประติดกับซี่สั้น

        ส่วนการทำซี่ร่มสั้นนั้น ตัดไม้ยาวตามขนาดที่ต้องการแล้วเกลาเอาผิวไม้ออก แล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรู แล้ว จักเป็นซี่ๆ เหลาสองข้างให้เรียบร้อย ปลายซึ่งข้างหนึ่งปาดท้องซี่ให้เป็นมุมแล้วเหลา 2 ข้าง ให้บางที่จะสอดเข้ารองตุ่มร่มได้ ส่วนอีกข้างหนึ่งเหลาปลายให้มน และเหลาตรงปลาย 2 ข้างให้บางพอสมควร

        3. การเจาะรูซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว ใช้เหล็กแหลมชนิดปลายเป็นสามเหลี่ยมเจาะโดยการหมุนไปหมุนมาหรือ จะใช้เหล็กแหลมเผาไฟให้ร้อนแล้วเจาะรูก็ได้(ถ้าไม่มีเครื่องเจาะ) แต่ถ้ามีเครื่องเจาะซี่ร่มโดยเฉพาะ ก็ใช้เครื่องเจาะเพราะจะได้เร็ว

        4. การมัดหัวร่มและตุ่มร่มนำเอาซี่ร่มยาวและซี่ร่มสั้นที่เจาะรูแล้วร้อยติดกันเรียงเป็นตับโดยร้อยเอาทางหลัง ซี่ขึ้นข้างบนทุกซี่ แล้วเอาหัวร่มที่ผ่าร่องซี่แล้วมาปาดซี่ออกเศีย 1 ช่อง เพื่อสำหรับจะได้ไว้ผูกปมเชือก เอาซี่ร่มที่ร้อยแล้วใส่ลงไป ในหัวร่มช่องละซี่ แล้วดึงเชือกให้ตึงแล้วใส่ต่อไปอีกจนครบทุกช่อง แล้วดึงปลายเชือกทั้ง 2 ข้างให้ตึง เอาปลายเชือกผูกให้แน่น แล้วตัดเชือกที่ผูกออกให้เหลือปลายเชือกไว้ประมาณข้างละ 1 นิ้ว การมัดหัวร่มและตุ้มร่มทำด้วยวิธีเดียวกัน
[แก้ไข] ราคาเเละขนาดของร่ม

        ร่มที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราคาจะแตกต่างกันตามขนาดของร่ม เช่น

        ร่มขนาด 20 นิ้ว ขายส่งราคา 100-120 บาท

        ร่มขนาด 17 นิ้ว ขายส่งราคา 80-100บาท

        ร่มขนาด 14 นิ้ว ขายส่งราคา 70-90บาท

        ร่มขนาด 10 - 12 นิ้ว ขายส่งราคา 60- 70บาท

        ร่มขนาด 5 นิ้ว ขายส่งราคา 35- 50 บาท

        ส่วนร่มขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งจะทำตามที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น คือ ขนาด 40 นิ้ว แต่ถ้าเป็นโครงร่ม ชาวบ้านสันต้นแหน จะทำส่งให้กับศูนย์ร่มและสหกรณ์ทำร่ม ทางบ่อสร้างจะนำไปหุ้มกระดาษสา หรือผ้า และเขียนลายเอง ช่างที่ไปหุ้ม บางคนถูกจ้างให้ไปสาธิตการประกอบร่ม เฉพาะนั่งสาธิตการประกอบร่มได้ค่าตอบแทนเดือนละ 1,500 บาท หรือคิดเป็นรายวันๆ ละ 60-70 บาทต่อคน

        สำหรับราคาร่มที่บ้านสันต้นแหนทำส่งให้กับร้านค้าและศูนย์ร่มบ่อสร้าง มีราคาต่างกันตามขนาดของร่ม เช่นร่มขนาด 20 นิ้ว คันละ บาท ขนาด 17 นิ้ว คันละ บาท ขนาด 10-12 นิ้ว คันละ บาท ขนาด 7 นิ้ว คันละ บาท และขนาด 3-5 นิ้ว ราคาคันละ บาท ซึ่งส่วนมากทางศูนย์ฯร่มบ่อสร้างจะไปซื้อถึงบ้าน ส่วนขนาดของร่มไม่จำเป็นต้องทำ
[แก้ไข] การเดินทางไปบ้านบ่อสร้าง

        ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาว ไทยและชาวต่างชาติ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ สามารถไปจากตัวเมืองเชียงใหม่ตามถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านบ่อสร้าง ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.onchiangmai.com โทร.081 9986000 ใครที่มีโอกาสได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ก็น่าจะลองแวะไปที่บ่อสร้างเพื่อ ชมขั้นตอนการผลิตร่ม และความสวยงามของร่มบ่อสร้างที่ได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาจนมีอายุเป็นร้อยปี

 งานร่มบ่อสร้าง

        ว่ากันถึงความเป็นมาในอดีตของ"เทศกาลร่มบ่อสร้าง"ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกันในนามของหมู่บ้านที่มีงานผลิตร่ม หัตถกรรมพื้นบ้านของบ่อสร้างนั้น การจัดงานติดต่อกันมาครั้งที่จะถึงนี้ถือเป็นครั้งที่ 24 ครั้งนี้ผู้บริหารเทศบาลตำบลต้นเปา ตั้งใจกันไว้ว่าจะให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆครั้งที่ผ่านมา จัด 16 กิจกรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 19-21 ม.ค.2550

        แรกเริ่มเดิมที เทศกาลร่มบ่อสร้างหรืองานร่มบ้านบ่อสร้างนั้น ในอดีตหมู่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ท่ามกลางธรรมชาติแบบชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนาทำสวน ยามว่างเว้นจากการทำการเกษตรมักจะผลิตร่มออกจำหน่าย ซึ่งเป็นร่มกระดาษสา ต่อมาเติมแต่งลวดลายกลายเป็นร่มที่สวยงาม น่าซื้อไว้ใช้และเป็นของฝากของที่ระลึก

        เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา"ท่านอินศวร ไชยซาววงศ์ ลูกพ่อขุนเปา ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้า และเป็นคนพื้นที่ ได้เล็งเห็นว่าหมู่บ้านบ่อสร้าง เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีฝีมือ สามารถผลิตร่มออกขายได้เงินได้ทอง กันจำนวนมาก จึงชักชวนกับชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นในสมัยนั้น ริเริ่มจัดงานขึ้นครั้งแรก ปีแรก มีผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามาเที่ยวชมงานกันอย่างล้นหลาม ด้วยกิจกรรมนานาชนิดและการละเล่นพื้นบ้าน

        ต่อมามนต์ขลังของงานร่มบ่อสร้าง ได้จางหายไปจัดกันขึ้นมาต่อเนื่องเช่นกัน ประสบความสำเร็จบ้างไม่ประสบความสำเร็จบ้านแต่ทำกันมาตลอดโดยจะจัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากกระดาษสา โดยเฉพาะร่มบ่อสร้าง มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆที่น่าสนใจ ซึ่งจัดมาจนถึงปีนี้เป็นครั้งที่ 24 เเล้ว
[แก้ไข] จุดเริ่มต้นของงานร่มบ่อสร้าง
ภาพ:Um4.jpg

        มูลเหตุที่ทำให้เกิดมีงานเทศกาลร่มบ่อสร้างขึ้นมานั้น เกิดจากในช่วงเวลาหนึ่งที่ชาวบ้านบ่อสร้างซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน กำลังจะละทิ้งอาชัพการทำร่มแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นที่ให้ผลกำไรมากกว่า ได้แก่ การแกะสลักไม้ เป็นเครื่องเรือนชนิดต่างๆ จนเป็นที่น่าวิตกว่า ในอนาคตอันใกล้แหล่งผลิตงานศิลปหัตถกรรมพื้นเมือง อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวเชียงใหม่นั้นจะต้องสูญสลายไป ในที่สุดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เพ่งเล็งเห็นความสำคัญในการสูญเสียสิ่งอันมีค่านี้ได้เข้ามามีบทบาทส่งเสริมงานอนุรักษ์และฟื้นฟูการทำร่มของชาวบ่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ มาตรฐานการผลิต เงินทุน และการตลาด ฯลฯ เมื่อชาวบ้านบ่อสร้างได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานดังกล่าว จึงมีกำลังใจที่จะหันกลับมาทำร่มผลิตภัณฑ์พื้นบ้านอันมีค่าของตนดังเดิม การจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้างจึงเกิดขึ้นตาม แผนงานรณรงค์การประชาสัมพันธ์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูการทำร่มบ่อสร้างอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งในขั้นนี้เป็นขั้นสำคัญ อันจะสอดคล้องกับแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ โครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านประจำภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในระยะแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
[แก้ไข] วัตถุประสงค์ในการจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้าง

        1. อนุรักษ์ให้ร่มบ่อสร้าง มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยให้คงอยู่ตลอดไป

        2. ส่งเสริมให้หมู่บ้านทำร่มคงอยู่ในแผนท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ตลอดไป

        3. สนับสนุนให้บ้านบ่อสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นจุดดึงให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เดินทางไปยังท้องถิ่นที่ผลิตอันเป็นผลให้มีการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน

        4. ยกระดับมาตรฐานการผลิต ตลอดจนการพัฒนารูปแบบให้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งมีผลสืบเนื่องต่อการขยายตลาดให้กว้างออกไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นและในปี 2526 ได้มีการจัดงานเทศกาลร่มบ่อสร้างเป็นปีแรก ปรากฎว่างานนี้ได้รับความชื่นชมจากผู้ไปเที่ยวงานมาก เนื่องจากเป็นลักษณะการจัดงานที่แตกต่างจากงานเทศกาลอื่นๆ โดยลักษณะงานเป็นแบบ “Street Fair” กล่าวคือ ใช้พื้นที่ของหมู่บ้านบ่อสร้าง ซึ่งขนานกันตลอดแนวถนน ตั้งแต่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้านระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดงาน โดยตกแต่งบ้าน และร้านค้าต่างๆ เป็นแบบล้านนาไทย ใช้ร่มสัญลักษณ์ของหมู่บ้านเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตกแต่งพร้อมทั้งประดับประทีปโคมไฟแบบพื้นเมือง มีกิจกรรมประกวดการแข่งขัน นิทรรศการ การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน มหรสพนานาชนิด ตลอดทั้งวันทั้งคืน http://www.xn--72c1buhc5bu6bxnco.com/ http://lannaapple.com/ http://sankamphaeng.olxthailand.com/item_page.php?Id=239880265&ts=1313510741
หน้า: 1




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.025 วินาที กับ 16 คำสั่ง