แสดงกระทู้
|
หน้า: 1
|
1
|
ข้อมูล เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก / เที่ยวทั่วไทย / จิตรกรรมปูนเปียกที่ วัดราชาธิวาสวิหาร - กรุงเทพมหานคร
|
เมื่อ: มิถุนายน 07, 2010, 04:28:42 PM
|
จิตรกรรมปูนเปียกที่ วัดราชาธิวาสวิหาร - กรุงเทพมหานคร
วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต เดิมชื่อ “ วัดสมอราย ” รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชวิจารณ์ว่า คำว่า ” สมอ ” มาจากคำเขมร “ ฌมอ ” แปลว่า “ หิน ” จึงทรงแปลว่า “ ศิลาราย ”
มีการสันนิษฐานว่าสร้างกันมาแต่สมัยกรุงละโว้ หรือก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง แต่หลักฐานจากกองพุทธสถานระบุว่า วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๑๘๒๐ และผูกพันธสีมาเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐
เมื่อรัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงปรารภว่า วัดสมอรายเป็นที่ประทับระหว่างทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถของพระองค์พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “ วัดราชาธิวาสวิหาร ” เมื่อพ.ศ.๒๓๙๔ ซึ่งแปลว่า “ วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา”
วัดนี้เป็นวัดอรัญวาสี(พระป่า)วัดแรกที่ก่อกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระประธานในพระอุโบสถมีพระนามว่า “ พระสัมพุทธพรรณี ”
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดก ใช้วิธีการเขียนด้วยปูนเปียก ฝีมือจิตรกรอิตาลีชื่อนายริโกลี และมีศาลาการเปรียญเป็นแบบทรงไทยสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังและมีขนาดใหญ่ที่ สุดในประเทศไทย ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
สถาปัตยกรรมภายในวัด
๑. พระอุโบสถ ทรงแบบขอม สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงออกแบบสร้างในรัชกาลที่ ๕ พระประธานองค์ข้างหน้า นามว่า พระสัมพุทธพรรณี หล่อที่ วัดราชาธิวาส เมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๔๘๑ พระประธานห้องหลัง นามว่าพระสัมพุทธวัฒโนภาส เป็นพระปูนปั้นฝีมือเก่า ภาพฝาผนัง เรื่องเวสสันดรชาดก ออกแบบโดยสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เขียนโดยศาสตราจารย์ชาวอิตาเลียน ฝีมือเดียวกับพระที่นั่งอนันตสมาคม และเขียนในเวลาใกล้เคียงกัน
๒. พระเจดีย์ ทรงชวาในสมัยศรีวิชัย สร้างในรัชกาลที่ ๕ มีพระพุทธรูปหินสมัยศรีวิชัย ซึ่งนำมาจากประเทศชวาประดิษฐานบนซุ้มพระเจดีย์ ทั้ง ๔ ทิศ
๓. พระวิหาร ซึ่งอยู่ติดกับพระเจดีย์สร้างในรัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งคิดแบบอย่างขึ้นใหม่ในรัชกาลนี้ เรียกว่า พระพุทธรูปแบบกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๖
๔. ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง นับถือกันว่า เป็นอาคารไม้ที่สวยงามและขนาดโตที่สุดในตะวันออกไกล ออกแบบโดยสมเด็จ ฯ กรมพระยานริศร์ ฯ เหมือนกัน
๕. พระตำหนักพระจอมเกล้า ฯ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ครั้งยังทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดราชาธิวาสวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในวัดนี้ ได้ย้ายที่และปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง
๖. แท่นพระร่วงจำลอง อยู่ข้างต้นโพธิ หน้าพระตำหนักสี่ฤดู
๗.หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประวัติอยู่ที่ศาลาวีระสุนทร คณะเหนือ เรียกกันทั่วไปว่า ศาลาหลวงพ่อนาค
ที่ตั้ง วัดราชาธิวาส วรวิหาร ถ.สามเสน เขตดุสิติ กรุงเทพมหานคร
|
|
|
2
|
ข้อมูล เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก / เที่ยวทั่วไทย / เที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานงานพระราชพิธีที่ พระตำหนักสวนหงส์
|
เมื่อ: มิถุนายน 07, 2010, 04:26:34 PM
|
เที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานงานพระราชพิธีที่ พระตำหนักสวนหงส์ พระตำหนักสวนหงส์ เป็นพระตำหนักเรือนไม้สองชั้น ตามเชิงชาย ระเบียง และคอสองประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี) ซึ่งเสด็จฯ มาประทับที่พระตำหนักนี้เมื่อปี พุทธศักราช 2445 ถึงพุทธศักราช 2453
ปัจจุบันภายในพระตำหนักสวนหงส์จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ภาพงานพระราชพิธีโบราณต่าง ๆ เช่น พระราชพิธี สมโภชเดือนขึ้นพระอู่ พระราชพิธีเสด็จสถลมารค และชลมารค พระราชพิธีตรียัมปวาย
นอกจากนี้ยังจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร ฯลฯ ภาพงานพระราชพิธีเหล่านี้ ถือเป็นภาพที่มีค่าทางประวัติศาสตร์
|
|
|
3
|
ข้อมูล เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก / เที่ยวทั่วไทย / “พิพิธภัณฑ์ศพ” วัดป่ามัชฌิมาวาส
|
เมื่อ: มิถุนายน 07, 2010, 04:22:47 PM
|
“พิพิธภัณฑ์ศพ” วัดป่ามัชฌิมาวาส "พิพิธภัณฑ์ศพ" วัดป่ามัชฌิมาวาส ดู "อาจารย์ใหญ่" ให้ข้อคิดวัฏสงสาร
"พิพิธภัณฑ์ศพ" ศาลาอัศวินวิจิตร วัดป่ามัชฌิมาวาส ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดงเมือง หมู่ที่ 10-13 ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพุทธสถานอีกแห่งหนึ่งอันเลื่องชื่อในด้านเป็นสถานปลีกวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานอย่างดีเยี่ยม นอกจากจะมีพื้นที่กว้างขวาง อุดมด้วยแมกไม้ที่ร่มครึ้มทั่วบริเวณวัดแล้ว ยังมี "อาจารย์ใหญ่" หรือซากศพมนุษย์ ภายในศาลาอัศวินวิจิตร หรือพิพิธภัณฑ์ศพ ไว้ให้ศึกษาสัจธรรมชีวิตอีกด้วย
ประวัติ วัดป่ามัชฌิมาวาสแห่งนี้ สร้างขึ้นราวปี 2474 มีพระเณรจำพรรษอยู่ร่วม 30 รูป ปัจจุบัน มีหลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ พระเกจิสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นเจ้าอาวาส เสนาสนะที่สำคัญอันเป็นเครื่องหมายของวัด นอกจากพิพิธภัณฑ์ศพดังกล่าวแล้ว ยังมีพระพุทธรูปหลวงปู่ขาว และหลวงปู่ผ้าขาว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานภายในวัด ให้สาธุชนสักการบูชาอีกด้วย
หลวง ปู่ขาว เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนสีขาว ประดิษฐานบนแท่นดอกบัว มีศาลาครอบองค์พระไว้อย่างเป็นสัดส่วน ส่วนหลวงปู่ผ้าขาว กล่าวกันว่าน่าจะเป็นสัญลักษณ์แทนหมอชีวกโกมารภัจจ์ (หมอประจำองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยพุทธกาล) ประทับบนก้อนหิน โดยมีพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่ด้านหลัง รวมทั้งศิวลึงค์ ก็มีให้เห็นเป็นหลักฐานของการกราบไหว้บูชามาตั้งแต่คราบรรพกาล !
ดัง ที่ทราบกันดีแล้วว่า ก่อนที่พุทธศาสนาจะแผ่มามีอิทธิพลยังภูมิภาคนี้ นอกจากผู้คนจะนับถือภูตผีที่เชื่อว่าสถิตอยู่ตามที่ต่างๆ แล้ว ยังมีการนับถือพระเจ้าตามลัทธิความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอีกด้วย พระเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่รู้จักกันดีก็คือ พระอิศวรหรือพระศิวะ และเครื่องหมายที่ใช้แทนพระศิวะที่พบเห็นโดยทั่วไป โดยเฉพาะตามแหล่งศาสนสถาน คือ ศิวลึงค์ ที่ทำจากแท่งหิน ดังที่ปรากฏ ณ ด้านหลังหลวงปู่ผ้าขาว เพราะความที่สถานที่แห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่บรรพกาล เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้คนในชุมชนมาหลายยุคหลายสมัย เมื่อได้มีการสร้างวัดป่ามัชฌิมวาสเป็นศูนย์รวมจิตใจของสาธุชน จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปหรือหลวงปู่ขาว เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า และจัดให้มีการสร้างรูปหมอชีวกโกมารภัจจ์ "หมอประจำพระองค์" ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสถานที่เดียวกัน
วัดป่ามัชฌิมาวาส นอกจากจะมาทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือไถ่ชีวิตสัตว์แล้ว ยังนุ่งขาวห่มขาว ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เจริญจิตภาวนา หรือเก็บกวาดบริเวณวัด จะเป็น 5 วัน 7 วัน หรือ 30 วัน ก็ได้
"แนว ทางของวัดป่า ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นพุทธสถานที่ต้องการความสันโดษ พระเณรอยู่กันอย่างสงบ สันติ สมถะ ไม่ต้องการความพลุกพล่าน ไม่ต้องการคำยกยอปอปั้นหรือชื่อเสียงใดๆ สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตในวัด อาทิ พระพุทธรูปหลวงปู่ขาว และหลวงปู่ผ้าขาวนี้มิใช่ตัวล่อ ที่จะโน้มน้าวจิตใจหรือเรียกศรัทธาให้ผู้คนหันหน้าเข้าวัด ขอให้เข้าใจ...ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่จะเชิดชูชีวิตจิตใจให้สูงส่ง และดีเด่นเทียบเท่าพระธรรม สำหรับพระพุทธรูปหลวงปู่ขาวและหลวงปู่ผ้าขาว เป็นสิ่งที่ชาวบ้านดงเมืองและละแวกนี้ ให้การยอมรับนับถือและศรัทธามาช้านาน"
"ส่วนด้านของความศักดิ์สิทธิ์ ใครคิดจะมาบนบานกราบไหว้ ขอให้คิดดี ทำดี และที่สำคัญอย่าลืมหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากละเลยเสีย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ก็ช่วยไม่ได้ สิ่งที่ฝากไว้ให้ระลึกอยู่เสมอคือ จงช่วยตัวเองก่อน ก่อนที่จะให้คนอื่นช่วย หรือแสวงหาสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย" หลวงพ่อเมือง พลวฑฺโฒ เจ้าอาวาสวัดป่ามัชฌิมาวาส กล่าวให้ข้อคิด
สำหรับ "อาจารย์ใหญ่" ที่วัดนำมาแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศพหรือศาลาอัศวินวิจิตร เพื่อให้เป็นข้อคิดในวัฏสงสาร การไม่เที่ยงแท้แน่นอน ชี้ให้เห็นสัจธรรมอันแท้จริงของชีวิต เห็นแล้วจะได้ไม่หลงรูป หลงเงา หลงเขา หลงเรา จนหลงลืมคำตอบสุดท้าย เมื่อวาระสุดท้ายและความตายมาเยือน !
ข้อมูล ที่สืบค้นมาเกี่ยวกับสาเหตุความเป็นมา ที่ทางวัดป่ามัชฌิมาวาสนำซากศพคนตายมาบรรจุไว้ในโลงแก้ว ภายในศาลาอัศวินวิจิตรนี่ก็คือ...มีการนำศพมาไว้ในลักษณะนี้ประมาณ 15 ปีได้ โดยศพเหล่านี้ได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ที่ผู้ตายหรือญาติผู้ตาย ได้บริจาคให้เป็น "อาจารย์ใหญ่" แก่นิสิตแพทย์ เพื่อการศึกษาค้นคว้า ซึ่งทางวัดได้ทำเรื่องขอยืมมาเป็นอาจารย์ใหญ่ ให้ผู้มาศึกษาธรรมหรือผู้สนใจได้มองเห็นสัจธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...
อาจารย์ ใหญ่ดังกล่าว จะถูกนำมาเที่ยวละ 10-15 ศพ และทุกๆ 6 เดือน จะนำกลับไปรับพระราชทานเพลิงศพที่ จ.ขอนแก่น แล้วจะนำศพชุดใหม่มาไว้แทนที่ชุดเก่า สับเปลี่ยนเช่นนี้ร่ำเรื่อยมา
หลวง พ่อเมือง กล่าวว่า ชีวิตหรือสังขารคนเราเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวร ตอนยังอยู่ก็ดูดีมีคุณค่า ถึงคราตายก็เหมือนหมดความหมาย ในสายตาของทางโลกอาจคิดกันอย่างนี้ แต่หากมองดีๆ คิดให้ลึกซึ้ง คิดโดยนัยธรรมะ จะเห็นคุณค่าเหลือคณานับ พินิจดูศพแล้วกลับมามองสรีระของตัวเองแล้วเป็นยังไง ในบั้นปลายก็ไม่ต่างกันเลย "ตอนที่ยังมีชีวิต ถูกกรรมลิขิตให้โลดแล่นบนกองกิเลสตัณหาสารพัดสารพัน ครั้นตายไปแล้วได้อะไรติดตัวไปบ้างไม่มีเลย แม้แต่เงินปากผี ยังถูกสัปเหร่อหยิบเอา เหลือแต่ตัวเปล่าๆ กลับไปไม่ต่างกับตอนแรกเกิดเลย"
ใคร ที่ลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันเป็นตัวพอกพูนกิเลสตัณหาในใจ หากได้มาศึกษาจากซากศพเหล่านี้ อาจจะได้สิ่งดีๆ กลับไป หรือใครที่มัวแต่หลงเงาตัวเอง เอาแต่ชื่นชม "เปลือกนอก" ของตัวเองจนเกินงาม เมื่อใดก็ตามที่ได้มาเห็นเงาแห่งอนาคตอย่างซากศพคนตาย ก็จะเข้าใจอะไรได้ดีกว่าเดิม...
ผลของการมาดู "อาจารย์ใหญ่" หรือซากศพมนุษย์ ที่เป็นเหมือนกระจกเงาสะท้อนชีวิตของผองผู้คน ไม่มีใครหนีพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงน่าจะทำให้ผู้มาดูเก็บไปเป็นข้อคิดเตือนใจ และดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า เรารู้ว่าอนาคตจะต้องตาย มีสภาพไม่ต่างจากซากศพที่นอนอยู่เบื้องหน้า ที่รอวันเปื่อยเน่า เราจึงควรจะหมั่นสรรค์สร้างคุณงามความดีไว้เป็นหลักฐานให้ลูกหลานได้เห็นคุณ ค่าในตัวเรา เมื่อเราเห็นปลายทางของเราอย่างนี้ เราก็จะไม่อยู่ในความประมาท ไม่ขาดสติในการกระทำใดๆ ทั้งปวง แล้วกิจการงานที่ทำก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีแก่นสาร มีประโยชน์ต่อสาธารณชนและตนเอง เมื่อ คิดได้ดังนี้ ทำได้ดังนี้ ถือว่าประเสริฐแล้วสำหรับปุถุชนทั่วไป เพียงขอให้ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทา ไม่วาดหวังในสิ่งที่สูงเกินไป ไม่หน้ามืดตามัวทำตัวตกต่ำ ก็จะทำให้ครองชีวิตอย่างราบรื่นตลอดไป
หลวงพ่อเมือง กล่าวในตอนท้ายว่า หาก ยามใดที่อยากจะพักผ่อนทางใจ แบบไม่ต้องสิ้นเปลืองใดๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายบริการสถานที่ เหมือนอย่างที่ทางโลกเขาโปรโมตโฆษณาเชิญชวนกัน ก็ลองหันมาพักผ่อนทางธรรม ที่พิพิธภัณฑ์ศพ ศาลาอัศวินวิจิตร วัดป่ามัชฌิมาวาส โดยให้ซากศพเป็นครูดูบ้างเป็นไร อาจจะรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมของชีวิตได้เป็นอย่างดี
|
|
|
|
|