ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
กุมภาพันธ์ 18, 2025, 11:09:22 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


  แสดงกระทู้
หน้า: 1 2 »
1  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / ภาพเล่าเรื่องโดย Gunnertee / Re: อีกมุมมอง เมืองเชียงใหม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2010, 11:30:39 PM
 :11: งามหลายๆครับ
2  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำแหล่งท่องเที่ยว เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม - สะเมิง / Re: เที่ยว...สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ อ.แม่ริม เมื่อ: ตุลาคม 15, 2009, 09:04:23 AM
สวนพฤกษศาสตร์ เชียงใหม่  ช่วงเดือนสิงหาคม จะเข้าฟรีครับสงสัยเนื่องจากเป็นวันแม่รึป่าวก็ไม่รู้ครับสวนพฤกษศาสตร์ เชียงใหม่  ตอนนี้เห็นเค้ากำลังพัฒนาให้สวยงามยิ่งขึ้นครับ ก่อนถึงก็มีน้ำตกแม่สาแล้วก็มีหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวก่อนถึงสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ด้วยครับ
3  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เมื่อ: ตุลาคม 14, 2009, 09:01:24 PM
วัดพระสิงห์เป็นอีกวัดที่มีประัวัติอันยาวนาน ชาวต่างชาติเดินทางไปเที่ยวกันเยอะเลยครับ อยู่คูเมืองด้านใน พระพุทธรูปของวัดพระสิงหมีความสวยงามมากเลยครับเชิญชวนไปเที่ยวทำบุญกันครับ
4  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดพันอ้นและบรรยากาศในเชียงใหม่ เมื่อ: ตุลาคม 14, 2009, 08:51:22 PM
 901 ชอบภาพขาวดำครับ ขอบคุณที่เอารูปวัดพันอ้นสวยๆมาฝาก ไปถนนคนเดินผ่านบ่อยครับ วัดพันอ้นด้านในวัดพันอ้นยังมีพิพิธภัณท์สวยๆครับวัดพันอ้นด้านในอุโสถก็สวยครับ
5  แนะนำสถานที่น่าเที่ยวในภาคเหนือ / แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ / Re: วัสวนตาล จังหวัดน่าน เมื่อ: กันยายน 30, 2009, 05:23:05 PM
 :26: ไม่เป็นไรครับ เด๋วจะเอาโพสอีก ช่วงนี้ตกงาน ว่างจัด
6  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / ภาพเล่าเรื่องโดย Gunnertee / Re: พาไปดู วัดสวนดอกดีกว่าครับ เมื่อ: กันยายน 30, 2009, 10:57:05 AM
วัดสวนดอก สวยเลยครับ ด้านในยังมี ร้านอาหารเจ อร่อยๆครับชื่อร้านพันพรรณ ราคาย่อมเยาว์ครับ
7  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำแหล่งท่องเที่ยว เส้นทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริม - สะเมิง / Re: เที่ยว...สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ อ.แม่ริม เมื่อ: กันยายน 30, 2009, 10:24:59 AM
 สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พึ่งไปเที่ยวมาเหมือนกันครับ มีพรรณไม้ดอกไม้ นานาชนิดให้ชม คนชอบถ่ายรูปดอกไม้น่าไปนะครับ
8  แนะนำสถานที่น่าเที่ยวในภาคเหนือ / แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ / วัสวนตาล จังหวัดน่าน เมื่อ: กันยายน 30, 2009, 10:22:43 AM
วัดสวนตาลครับ เป็นวัดเก่าแก่และมีประวัติยาวนานทีเดียวครับ


ประวัติ วัดสวนตาล คร่าวๆ

            ภายในวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าทรงทิพย์ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง  10  ฟุต  สูง 14  ฟุต  4 นิ้ว  พระเจ้าติโลกราช แห่งนครเชียงใหม่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.1993 เพื่อแสดงถึงชัยชนะ ที่พระองค์สามารถยึดเมืองน่าน ไว้ในพระราชอำนาจ พระ เจ้าทองทิพย์ หรือ พระพุทธรูปทองทิพย์ สถานที่ประดิษฐาน พระวิหาร วัดสวนตาล อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ลักษณะศิลปะ ศิลปะล้านนา – สุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุ ทองเหลืองปิดทอง ขนาด หน้าตักกว้าง 120 นิ้ว สูง 178 นิ้ว (ตำนานว่าหน้าตักกว้าง 6 ศอก) ประวัติ พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ ยกทัพมาตีเมืองน่าน เมื่อ จ.ศ. 812 (พ.ศ. 1993) โดยตั้งทัพที่วัดสวนตาล ปรากฏว่า พญาอินต๊ะแก่นท้าวเจ้านครน่านเกรงบารมีอพยพครัวหนี พระเจ้าติโลกราชสามารถเข้าเมืองได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ จึงมีพระราชดำริว่า สมควรสร้างสิ่งอนุสรณ์ในชัยชนะ บรรดาขุนนางเสนอว่าควรหล่อพระพุทธรูปเป็นการสร้างกุศลและบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วย แต่การสร้างพระพุทธรูปต้องใช้ทองคำจำนวนมาก พระเจ้าติโลกราชจึงตั้งสัจจะอธิษฐานเสี่ยงบารมีว่า หากพระองค์มีบุญบารมีที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไปขอให้ประชาชนพลเมืองนำ ทองมารวมกับพระองค์เพื่อสร้างพระพุทธรูปได้ใน 7 วัน จากนั้นก็ป่าวประกาศให้ผู้มีจิตศรัทธานำทองมารวมกับพระองค์เพื่อสร้างพระ พุทธรูปได้ใน 7 วัน จากนั้นก็ป่าวประกาศให้ผู้มีจิตศรัทธานำทองมาร่วมหล่อพระพุทธรูป ณ วัดสวนตาล ครั้นครบกำหนดก็รวมทองได้หนักประมาณ 12 ตื้อ (12000 กก.) ในการหล่อพระพุทธรูป ปรากฏว่าช่างฝีมือทั้งหลาย เช่น ชาวพม่า ชาวเงี้ยว และชาวเมืองเชียงใหม่ได้ช่วยกัน แต่เททองหลายครั้งหลายหนพิมพ์ก็แตกทุกครั้งในที่สุดมีชายชรานุ่งขาวห่มขาวมา ช่วย งานจึงสำเร็จลงได้และเมื่อมีงานสมโภชชายชรานั้นก็หายไปปราศจากร่องรอย จึงเชื่อกันว่า เทพยดาแปลงกายลงมาช่วย ดังนั้นจึงขนานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธรูปทองทิพย์” หรือ “พระเจ้าทองทิพย์” และเมื่อ พ.ศ. 2534 ได้มีการบูรณะลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์ ประเพณี มีประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์ ในวันที่ 13 เมษายน ในเทศกาลสงกรานต์ เป็นประจำทุกปี การขึ้นทะเบียน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 61 ตอนที่ 65 วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487

วัดนี้สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดีชายาของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อราว พ.ศ.1955 เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองน่านด้านพิศเหนือ ในบริเวณที่เป็นสวนตาลหลวง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด ตัวเจดีย์หลังวิหารนั้น เดิมเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ผู้ครองนครน่านโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้แก้ไขรูปทรงเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ ดังปัจจุบัน

            ทุกปีใหม่ช่วงเทศกาลมหาสงกรานต์ ชาวน่าน จัดงานนมัสการ และสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ฯ ประทานน้ำสรงเป็นประจำทุกปี ชาวน่านเคารพนับถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

ตำแหน่ง ที่ตั้ง เส้นทาง การเดินทาง มา วัดสวนตาล

http://maps.google.com/maps/ms?hl=en&client=firefox-a&ie=UTF8&msa=0&msid=108731746739764096750.00047428ed86e7683ed44&t=h&z=19

















9  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: ต้องการทราบว่า "มีวัดอยู่บริเวณทางไปด เมื่อ: กันยายน 06, 2009, 04:23:21 PM
    
วัดศรีนวรัฐ(วัดทุ่งเสี้ยว) ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่   ระหว่างทาไปดอยอินทนนท์ ป้ายทางเข้าครับ

---> รูปภาพและเส้นทาง ไปวัดศรีนวรัฐ <---



    
วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่

-->รูปภาพและเส้นทางไป วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่ <--

10  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ: กันยายน 06, 2009, 04:16:51 PM
 :29: เจดีย์หลวง สวยๆหลายรูปเลยครับ เป็นอีกวัดที่ยิ่งใหญ่และขึ้นชื่อในเชียงใหม่เลยทีเดียว
11  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดสวนดอก เมื่อ: กันยายน 04, 2009, 09:15:46 AM
วัดสวนดอก เป็นอีกวัดหนึ่งครับที่มีเจดีย์สวย น่าไปเที่ยวครับ ด้านในยังมีพระพุทธรูป พระเจ้าเก้าตื้อ ป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง
12  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / Re: เที่ยว เขื่อนแม่งัด เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 12:55:37 AM
 :onio: เขื่อนแม่งัดถือว่าเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งเลยทีเดียวครับ น่าไปมากครับ ปลาก็อร่อย ของรับประกัน
13  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / Re: ร้อนนี้ แวะมาเที่ยวเรือนแพน้องมายด์ ที่เขื่อนแม่งัด เชียงใหม่กันนะครับ เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 12:53:11 AM
น่าไปนะครับ เขื่อนแม่งัด ไปพักผ่อนหย่อนใจเล่นน้ำครับ
14  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 08:40:15 PM
ขอโพสลิ้ง รูปพาโนราม่า วัดอุโมงค์หน่อยนะครับ เนื่องจากว่าลองโพสแล้ว หน้าเว้บมีปัญหา ไฟล์ใหญ่ไปนิสครับ

รูปพาโนราม่า วัดอุโมงค์ 1

รูปพาโนราม่า วัดอุโมงค์ 2


15  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 08:39:48 PM


































16  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 08:39:29 PM

























17  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 08:35:28 PM
วัดดอุโมงค์ และ สวนพุทธธรรม  สองชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของพุทธนิคม เชียงใหม่แห่งเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน

วัดดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย

วัดดอุโมงค์นี้หมายเอาเฉพาะบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีกำแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่ ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กำแพงอิฐพอดี ยาวประมาณ 100 วา ด้านเหนือจากแนวกำแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก จนถึงขอบสระหลังวัดดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกำแพงด้านเหนือ ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านใต้จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตกออกจรดกำแพงทิศตะวันออกหน้า พระอุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ำ) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง ตั้งอยู่ตลอดแนววัดด้านตะวันตก และมีศาลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่

สวนพุทธธรรม เป็นชื่อใหม่ที่ ภิกขุ ปัญญานันทะ ประธานวัดดอุโมงค์ ในสมัยนั้น (2492-2509) ตั้งขึ้นเรียกสถานที่ป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 150 ไร่ ที่พุทธนิคมเชียงใหม่จัดขึ้นเป็นที่อยู่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้แสวงหาความสงบ พื้นที่ซึ่งเรียกว่า สวนพุทธธรรมนี้กว้างมาก รวมเอาวัดไผ่11กอ (เวฬุกัฏฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายมหาราชทรงสร้างไว้ถวายเป็นที่พำนักของพระมหากัสสปะเถระ ชาวลังกา ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในสมัยนั้น) วัดดอุโมงค์เถรจันทร์ และวัดอื่นๆ (ที่อยู่ใกล้วัดดอุโมงค์ทั้ง 4 ด้าน) อีก 4 วัดเอาไว้ด้วยทั้งหมด

ประวัติวัดดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) มีหลักฐานทางตำนานไม่สู้จะละเอียดนัก ต้องอาศัยหลักการทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่เข้าช่วยจึงได้ความชัดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สู้จะมั่นใจว่าประวัติที่นำมาเสนอท่านนี้จะถูกต้องร้อย เปอร์เซ็นต์ เพราะบริเวณที่ถูกเรียกว่า สวนพุทธธรรม นี้มีวัดอยู่หลายวัด สร้างเก่าบ้างใหม่บ้างสับสน ซับซ้อนยิ่งวัดเหล่านี้เป็นวัดกษัตริย์ราชวงศ์มังราย(นับจากพระเจ้ามังราย เป็นต้นมา) ทรงสร้างสืบๆ ต่อกันมาเป็นระยะเวลาเกือบ 700 ปีด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้สันนิษฐานยากขึ้นไปอีก แต่ถึงแม้การศึกษายากเพียงไร หลักฐานที่ค้นได้ และนำมาประกอบการเขียนเรื่องนี้ ทำให้มั่นใจว่าจะทำให้ท่านเข้าใจประวัติวัดดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

ก่อนการศึกษาประวัติวัดดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ความทราบธรรมเนียบการสร้างวัดของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยโบราณไว้ด้วยว่า เมื่อทรงสร้างพระราชวัง และเมืองหลวงเสร็จแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับสองก็คือ วัดสำคัญประจำเมืองทั้งสี่ทิศ หรือสองทิศ(เหนือ ใต้) และวัดพิเศษภายในราชวัง สำหรับเป็นที่สักการะบูชาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์อีก 1 วัดเสมอ ความจริงเรื่องนี้หาดูได้ตามเมืองหลวงของไทยสมัยโบราณ เช่นเชียงแสน, สุโขทัย, อยุธยา, ลพบุรี, นครศรีธรรมราช, ฯลฯ และกรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวงปัจจุบันการที่พระมหากษัตริย์ไทยสมัยก่อน ถือว่าการสร้างวัดเป็นสิ่งสำคัญอันดับสองรองจากการสร้างวังนั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า บรรพบุรุษของพวกเรามั่นคงในศีลธรรมมีน้ำใจสูงมาก เห้นความสำคัญของพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งยึดเอาพุทธศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ต้น จนกลายเป็นความรู้สึกฝังใจว่า ชาติไทยกับพุทธศาสนาแยกจากกันไม่ได้มาจนทุกวันนี้

ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า เมื่อ พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ตกลงพระทัยที่จะสร้างเมืองใหม่ที่ป่าเลาคา (ต้นเลาคา และต้นหญ้าคา)ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพแล้ว ได้แต่งตั้งราชบุรุษถือพระราชสาส์นไปทูลเชิญพระสหายร่วมน้ำสาบานทั้งสองคือ พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เจ้าผู้ครองนครสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง เจ้าผู้ครองนครพะเยา มาปรึกษาการสร้างเมืองที่ เวียงเหล็ก (ที่ตั้งวัดเชียงมั่นทุกวันนี้) หลังจากที่สามกษัตริย์ได้ตกลงกันว่า ควรสร้างราชธานีใหม่ กว้าง 800 วา ยาว 1000 วา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกแล้วก็ทำพิธีฝังเสาหลักเมืองใน วันพฤหัสบดี เดือนแปดเหนือ (เดือนหกใต้) ปีวอก พ.ศ. 1839 ฝังหลักเมืองแล้วใช้พลเมือง 5 หมื่นคน ช่วยกันก่อสร้างพระราชเวศน์มณเฑียรสถาน อีก 4 หมื่นคนช่วยกันขุดคูเมือง และกำแพงเมือง ก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 4 เดือนก็แล้วเสร็จหลังจากฉลองเมืองใหม่เป็นการใหญ่ 7 วัน 7 คืนแล้ว กษัตริย์ทั้งสามก็พร้อมใจกันตั้งนามเมืองใหม่ว่า”เมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่”

หลัง จากสร้างราชธานีเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามังรายมหาราชได้ทรงสร้างวัดสำคัญฝ่ายคามวาสี (วัดสำหรับภิกษุที่ชอบอยู่ในเมือง เพื่อเรียนพุทธวจนะ) ประจำเมืองทั้ง 4 ทิศพร้อมทั้งวัดภายในพระราชวังด้วย และทรงสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดสำหรับภิกษุที่เรียนพุทธวัจนะแล้ว ออกไปหาความสงบในป่า บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน) บริเวณชานพระนครขึ้นหลายวัด เช่น วัดเก้าถ้าน เป็นต้น

พระเจ้ามังรายมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา และพระภิกษุสามเณร ทั้งฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสีด้วยปัจจัยสี่ ให้มีกำลังใจศึกษา และปฏิบัติพระธรรมวินัยตามความสามารถแห่งตนอย่างดียิ่งทั้งสองฝ่าย กาลต่อมาพระองค์ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคำแหงมหาราช พระสหายผู้ครองนครสุโขทัย ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา ที่มาอยู่เมืองนครศรีธรรมราช มาสั่งสอนพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายปริยัติ และฝ่ายปฏิบัติแก่ชาวเมืองสุโขทัยปรากฏเกียรติคุณว่า พระสงฆ์ลังกาแตกฉานพระไตรปิฎกเคร่งครัดในพระธรรมวินัยยิ่งกว่าพระไทยที่มี อยู่เดิม เกิดศรัทธาเสื่อมใส ประสงค์จะได้พระลังกามาเป็นหลักพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่บ้าง จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ขอพระสงฆ์ลังกา จากพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมา 5 รูป เมื่อได้พระลังกา 5 รูป อันมีพระมหากัสสปะเถระ เป็นหัวหน้ามาสมพระประสงค์แล้ว เกิดลังเลพระทัยไม่ทราบว่าจะนำพระลังกา 5 รูปนี้ไปอยู่วัดไนดี จะนำไปอยู่กับพระไทยเดิมทั้งฝ่ายคามวาสีก้เกรงว่าพระลังกาจะไม่สบายใจเพราะ ระเบียบประเพณีในการประพฤติอาจจะไม่เหมือนกัน

ในที่สุดได้ตกลงพระทัยสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกา ขึ้นวัดหนึ่งต่างหากที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ (สถานที่ซึ่งเรียกว่าวัดดอุโมงค์ สวนพระพุทธธรรมทุกวันนี้) การสร้างวัดไผ่ 11 กอครั้งนั้นพระองค์ประสงค์จะสร้างเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ มาประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้วางแผนผังวัดให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธจริงๆ เมื่อพระมหากัสสปะเถระวางแผนผังวัดออกเป็นเขตพุทธาวาส(สถานที่เกี่ยวกับพระ พุทธเจ้า เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ) และสังฆาวาส (สถานที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น สาลาแสดงธรรม กุฏิพระโรงฉัน) เรียบร้อยแล้วพระเจ้ามังรายมหาราชได้เป้นผู้อำนวยการสร้างวัดใหม่ตามแผนผัง นั้น โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัดของเมืองลังกาเป็นแบบฉบับ แม้พระเจดีย์ใหญ่อันเป็นหลักชัยของวัด ก็สร้างทรวดทรงแบบพระเจดีย์ในเมืองลังกาทั้งหมด (พระเจดีย์ที่พระเจ้ามังรายสร้างอันเดียวกับพระเจดีย์ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในวัด อุโมงค์สวนพุทธธรรมทุกวันนี้ แต่ของเดิมย่อมกว่าที่ใหญ่ขึ้นยังไม่เก่านัก และมองเห็นลวดลายสวยงามชัดเจน เป็นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชรัชกาลที่ 9 แงราชวงศ์มังรายทรงบูรณะขึ้นใหม่ด้วยการพอกปูนทับของเก่า พร้อมกับการสร้างอุโมงค์ให้พระมหาเถรจันทร์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1910-1930) สร้างวัดเสร็จเรียบร้อย และทำการฉลองแล้ว ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) จากนั้น ก็นิมนต์คณะสงฆ์จากลังกาเข้าอยู่จำพรรษาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

หลังจากทรงสร้างวัดถวายคณะสงฆ์ลังกาวงศ์แล้วทรงสนพระทัยในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้ความอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์ลังกาด้วยปัจจัยสี่และหมั่นมาฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์เสมอ การใดที่ทำให้พุทธศาสนาเจริญแล้ว จะทรงกระทำการนั้นทันที

นอกจากจะสนพระทัยพระพุทธศาสนาเป็นการส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงแนะนำชักชวนพระบรมวงศานานุวงศ์และประชาชนให้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา โดยพากันมาวัดในวันพระเพื่อให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เทศนาจากพระสงฆ์และเจริญภาวนาหาความสงบใจอีกด้วย

วัดที่พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนศรัทธาเลื่อมใส สนใจไปให้ทาน รักษาศีลฟังธรรมเทศนา และเจริญภาวนามากที่สุดในสมัยนั้น คือ วัดเวฬุกัฏฐาราม(วัดไผ่ 11 กอ) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระลังกาที่มาจำพรรษาอยู่มีความรู้ในธรรมวินัยดี มีความสามารถในการแสดงธรรมมาก มีความประพฤติเรียบร้อย และเคร่งครัดในระเบียบวินัยมากกว่าพระอื่นๆ ความดีงามของพระลังกาในครั้งนั้นเป้นเหตุให้กุลบุตรสมัครเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นภิกษุสามเณรมากมาย ยิ่งนับวันเกียรติคุณของพระลังกาวงศ์ขจรขจายไปทั่วทิศ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว และตั้งหลักได้มั่นคงในลานนาไทยเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์

หลังจากพระเจ้ามังรายมการาชทรงสวรรคต เพราะถูกฟ้าผ่า ที่สี่แยกเมืองเชียงใหม่ เมือพระชนมายุได้ 80 พรรษา (พ.ศ. 1860) แล้ว กิจการพระศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงทันที เพราะพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นรัชทายาทครองเมืองเชียงใหม่สมัยต่อมา เช่น พระเจ้าชัยสงคราม (พ.ศ. 1860-1861) พระเจ้าแสนกู่ (พ.ศ.1865-1871) พระเจ้าคำฟู (พ.ศ.1871-1877) ไปประทับอยู่เมืองเชียงราย และเชียงแสนเสียหมดคงตั้งพระโอรสที่เป็นรัชทายาทครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะมหาอุปราชเท่านั้นประการหนึ่ง และเพราะมัวแต่รบพุ่งพุ่งชิงชัยแย่งราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าพี่ เจ้าน้อง เจ้าลุง เจ้าอา อีกประการหนึ่ง

ครั้นถึงสมัยนั้น พระเจ้าผายู (ประสูติที่เชียงใหม่ เป็นมหาอุปราชแล้วประทับอยู่เชียงใหม่ตลอดเวลา) เป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1877 การพระศาสนาจึงค่อยกลับเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมสัมมาปฏิบัติ ยึดหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทำคือ โปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาอภัยจุฬาเถระ กับพระสงฆ์ 10 รูปจากเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) มาเป็นสังฆราชครองวัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ซึ่งทรงสร้างขึ้น การที่พระเจ้าผายูต้องแต่งตั้งพระมหาเถระในจังหวัดลำพูนเป็นพระสงฆ์ในลานนาไทยไม่ได้แต่งตั้งพระมหาเถระในเชียงใหม่นัน แสดงว่าพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ในเชียงใหม่ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทั้งสยามวงศ์และลังกาวงศ์ เมื่อ 40 ปีก่อนโน้น เสื่อมลงอย่างน่าใจหาย พระเจ้าผายูทำนุบำรุงประเทศชาติและพระพุทธศาสนาได้ประมาณ 33 ปี ก็สวรรคตในปี พ.ศ. 1910

หลังจากพระเจ้าผายูสวรรคตแล้ว เสนามาตย์ทั้งหลายได้ไปอันเชิญ เจ้าท้าวกือนา จากเมืองเชียงแสน (ที่ต้องไปอยู่เมืองเชียงแสน เพราะพระราชบิดาให้ไปครองเมืองตามธรรมเนียมรัชทายาท) มาราชาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 (ของราชวงศ์มังราย) ครองเมืองเชียงใหม่ต่อไปตามประเพณีในปี พ.ศ. 1910 (เสวยราชย์เมื่อพระชนม์มายุได้ 40 พรรษา) เนื่องจากพระเจ้านากือนาทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาวิชาการต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ประการหนึ่ง ทรงฝึกหัดวิชาการรบต่างๆ ไว้อย่างชำชิชำนาญประการหนึ่ง ทรงเชี่ยวชาญในการปกครองบ้านเมืองสมัยครองเมืองเชียงแสนประการหนึ่ง ทรงมีน้ำพระทัยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมเหมือนพระราชบิดาประการหนึ่ง ทรงสนพระทัยในเรื่องพระพุทธศาสนา ตามพระราชบิดาเป็นอย่างมากประการหนึ่ง และทรงมีพระชนม์มายุในขั้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวที่ประการหนึ่ง เมื่อเสวยราชย์แล้วจึงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้ อย่างรวดเร็ว

ระยะเวลา 21 ปี (1910-1931) ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ครองราชสมบัติ ได้ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองอย่างดีเยี่ยมข้าราชการผู้ใหญ่และประชาชนเคารพรักและนับถือพระองค์มาก เจ้าเมืองอื่นไม่กล้ายกกองทัพมารุกรานเพราะรู้ดีว่าพระองค์เป็นนักรบที่เก่งกล้า เมื่อบ้านเมืองปรกติสุขความยุ่งยากไม่มีเช่นนี้ พระองค์ก็ใช้เวลาส่วนมากทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จนปรากฏว่าพระพุทธศาสนาในวานนาไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคของพระองค์

งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทำเมื่อเสวยราชย์ คือ ส่งราชบัรฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพรบุบผา พระมหาเถระชาวรามัญ เชื้อสายลังกาวงศ์ ผู้แตกฉานพระธรรมวินัยที่เมืองเมาะตะมะ (ที่ทรงเจาะจงเลือกพระชาวลังกาวงศ์คงจะเป้นเพราะทรงทราบประวัติความดีงามของพระลัง ที่พระเจ้ามังรายนำมาประดิษฐานพุทธศาสนาในลานนาไทย ระหว่าง พ.ศ. 1839-1860 เป็นแน่) แต่พระมหาสวามีเจ้าไม่ยอมคงมอบศิษย์ 10 รูป มี พระอานนท์ (พระอานนทเถระ) เป็นประธานมาแทน เมื่อพระรามัญเชื้อสายลังกาวงศ์มาถึงแล้วได้ทรงอาราธนาพักที่ วัดโลก (ปัจจุบันเป็นที่ทำการสัตวแพทย์เชียงใหม่) แล้วขอให้ทำพินัยกรรมสมมติสีมาและอุปสมบทกุลบุตร พระรามัญทั้ง 10 รูปไม่อาจปฏิบัติ เพราะการบรรพ๙าอุปสมบทกุลบุตรในประเทศไทยแบบลังกาวงศ์นั้นพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา มอบอำนาจให้พระมหาสุมูนเถระและพระอโนมทัสสีเถระ เป็นผู้กระทำเพียงสองรูปเท่านั้น (พระเถระสุโขทัยสองรูปนี้ ไปเรียนพระไตรปิฎกที่อยุธยาก่อนแล้วกลับไปเรียนต่อที่เมาะตะมะกับมหาสวามีอุทุมพรบุปผาเป็นเวลา 4 ปี จากนั้น ได้กลับมาที่สุโขทัย นำพระที่ฉลาดอีก 10 รูปกลับไปสวดญัติเป็นภิกษุแบบลังกาวงศ์แล้วพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา ได้มอบอำนาจให้พระมาเถระทั้งสองเป้นหัวหน้านำลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในเมืองไทย)

เมื่อ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงทราบเช่นนั้นแล้วได้ตั้งให้ หมื่นเงินกอง 1 ปะขาวยอด 1 ปะขาวสาย 1 รวม 3 นาย เชิญราชสาส์นและเครื่องบรรณาการการไปถวาย พระมหาธรรมราชาไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย (ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1890-1919) เพื่ออาราธนาพระมหาสุมนเถระ วัดอัมพวัน (ภายหลังเรียกว่าวัดป่าแก้ว) ไปสืบศาสนาในนครพิงค์ เชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาลิไท ทราบแล้วได้ทรงอนุญาตให้พระมาสุมนเถระ ไปสืบสาสนาที่พระนครพิงค์เชียงใหม่ด้วยความยินดี ขณะที่พระมหาสุมนเถระเดินทางจากสุโขทัยมาเชียงใหม่นั้น พระเจ้ากือนาธรรมิกราชได้เสด็จไปคอยรับที่ วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ขอให้พระมหาสุมนเถระอุปสมบทกุลบุตรเป็นภิกษุที่นั่นก่อน แล้วจึงอาราธนามาพักที่ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) เชียงใหม่ เนื่องจากพระมหาสุมนเถระแตกฉานพระไตรปิฏก เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีศีลวัตรน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าภิกษุอื่น พระองค์จึงแต่งตั้งให้เป็น มหาสามีบุพรัตนะ เป้นพระประธานสงฆ์ลังกาวงศ์ในลานนาไทยต่อไป ลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่งสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช และได้เสื่อมทรามไปเกือบ 70 ปีนั้น ได้กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช

หลังจากทรงจัดการนำพระมหาสุมนเถระชาวสุโขทัย เชื้อสายลังกาวงศ์มาเป็นหลักศาสนาในลานนาไทยแล้ว พระองค์ได้หันไปบูรณะถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษได้ทรงสร้างไว้โดยทั่วถึง อันใดควรซ่อมก็ซ่อมแซมให้ดีขึ้น อันใดความสร้างใหม่ก็ทรงสร้างด้วยช่างฝีมือชั้นเยี่ยม ถาวรวัตถุที่ทรงบูรณะสร้างไว้ การบูรณะวัดเวฬุกัฎฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายทรงสร้างไว้ การบูรณะ วัดเวฬุกัฎฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ทรงสร้างด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การพอกปูนซ่อมแซมใหม่ทับของเก่า (ถ้าท่านไปดูรอยแตกของพระเจดีย์วัดดอุโมงค์สวนพุทธธรรมในขณะนี้ จะเห็นชัดเจนว่าเปลือกเจดีย์มี 2 ชั้น)ได้ทรงรักษาทรวดทรงเดิมไว้ทั้งหมด ส่วนรูปภาพสีน้ำที่เขียนไว้ในอุโมงค์เจดีย์ที่พระเจ้ากือนาทรงสร้างใหม่ เหลือเกิน

เมื่อทรงบูรณะเจดีย์ใหม่เสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้นหนึ่งอุโมงค์ อุโมงค์ที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้ทั้งใหญ่และสวยงามมากมีทางเข้าออก 4 ช่อง แต่ละช่องเดินติดต่อกันได้ทั่วถึงข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์เจาะช่องสำหรับจุดประทีปให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน เพดานอุโมงค์เขียนภาพต่างๆ ด้วยสีน้ำมันไว้ตลอดทั้ง 2 ช่อง ฝีมือที่เขียนดูจะเป็นช่างจีนผสมช่างไทยเมื่อสร้างอุโมงค์เสร็จและทำการฉลองแล้ว ได้ทรงขนานนามว่า วัดดอุโมงค์ ชื่อวัดดอุโมงค์จึงปรากฏมาตั้งแต่ครั้งนั้น

 เหตุที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์ใหญ่โตสวยงาม ละเอียดประณีตเป็นพิเศษ เกิดมาจากพระองค์ทรงศรัทธาเป็นพิเศษในพระมหาเถระชาวลานนา ผู้แตกฉานพระไตรปิฏก มีปฏิภาณโต้ตอบปัญหาอยู่เป็นเยี่ยมรูปหนึ่ง พระมหาเถระรูปนั้นมีชื่อว่าพระมหาเถระจันทร์ ตำนานพิสดารเกี่ยวกับพระมหาเถระรูปนี้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนานั้น มีพระเถระรูปหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก และมคธภาษา อย่างหาตัวจับยากในยุคนั้น พระเถระชาวล้านนารูปนี้ มีนามว่า พระมหาเถระจันทร์ ในตำนานกล่าวต่อไปว่าพระมหาเถระจันทร์นี้ แต่เดิมเป็นเด็กอยู่บ้านเมืองวัว เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้ไปขอบรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอ ต่อมาได้ออกมาอยู่จำพรรษาที่ วัดโพธิ์น้อย ในเวียงเชียงใม่ 3 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์น้อยอีก 3 พรรษา ในขณะนั้นครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ได้ล้มป่วย มีอาการหนัก พระภิกษุจันทร์ได้ไปเยี่ยมและเฝ้าพยาบาลอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงได้มอบคัมภีร์ศาสตร์ประเภทชื่อ มหาโยคีมันตระประเภท ให้ และแนะนำให้เอาไปทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด บอกว่าเมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม สามารถเล่าเรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว

เมื่อได้มอบคัมภีร์นั้นให้แก่ภิกษุจันทร์แล้ว ครูบาผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงมรณภาพ หลังจากที่ได้จัดการฌาปนกิจศพพระอาจารย์แล้ว พระภิกษุจันทร์ก็ได้เที่ยวแสวงหาสถานที่ที่สงัด เพื่อจะทำพิธีศึกษาเวทมนตร์จากพระคัมภีร์ที่ท่านอาจารย์มอบให้ พระภิกษุจันทร์ได้ถามชาวบ้านและวานชาวบ้านให้ส่งไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ ซึ่งชาวบ้านก็ได้ไปส่ง ณ ศาลาฤาษีสุเทพ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไผ่ 11 กอ ประมาณ 2,000 วา (4 ก.ม.) ครั้นถึงที่นั่นแล้ว พระภิกษุจันทร์ก็บอกชาวบ้านให้กลับ ส่วนตัวท่านเองก็เริ่มทำพิธีท่องมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ สมจิตตสูตร ห้าร้อยคาบ มหาสมัยสูตรห้าร้อยคาบ ธรรมจักรสูตรห้าร้อยคาบ พอถึงราตรีที่สาม ท่านก็สวดมนต์มหาสมัยสูตรอีกห้าร้อยคาบ พอสวดถึงตอนที่ว่า เขมิยาตุสิตายามา ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมาข้างหน้าแสงนั้นเคลื่อนใกล้เข้ามาๆ จนแลเห็นชัด ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์และสวยงามอย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้าท่านแล้วถามว่า

ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ? พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด”

ผู้ประหลาดนั้นจึงถามอีกว่า ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือ ? หรือว่ายังจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนศาสตรเภทจบแล้ว

พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา” ผู้ประหลาดนั้นจึงพูดว่า “เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ” แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ (ในตำนานกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยวคือหมากที่ทำเป็นคำๆ) แก่พระภิกษุจันทร์ๆ แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวลก็จับเอาทั้งมือทั้งหมากรูปประหลาดนั้น (เทวดาแปลง) ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า อสติกโรติ “ท่านจงหาสติมิได้เถิด” แล้วก็หายวับไปทันที แต่นั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ เป็นไปด้วยเดชคำสาปของเทวดาแปลงนั้น เมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไปเช่นนี้ พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อยตามเดิม (วัดนี้ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก เรียนพระวินัยจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระสูตรจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระอภิธรรมจบภายในเวลา 1 เดือนกับ 15 วัน เมื่อเวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติท่านจะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง

ในสมัยนั้น มีพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิและรอบรู้ในพระไตรปิฎกอยู่ 6 องค์ด้วยกันคือ พระธัมมะเทโวเถระ พระติกขปัญโญเถระ สององค์นี้จำพรรษาอยู่ ณ วัดสวนดอก พระอาเมทะเถระ พระจักปัญโญคุฑะเถระ เป็นพระเถระชาวพุกาม จำพรรษาอยู่ ณ วัดเสขาน (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระพุทธติสโสริยะเถระ พระโสมาติสโสริยะเถระ สององค์นี้เป็นพระชาวใต้ (ไทยกลาง) จำพรรษาอยู่ ณ วัดปุยันโต (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระเถระทั้ง 6 รูปนี้ แม้จะรอบรู้ในพระไตรปิฎกก็จริง แต่ก็สู้ท่านมหาจันทร์ไม่ได้

ใน ครั้งนั้นมักจะมีพระเถระจากต่างเมืองมาถามปัญหาธรรมอยู่เสมอ และทุกครั้งที่มีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลยปัญหานั้นให้ด้วยความเชี่ยวชาญ และรอบรู้ของท่านมหาเถระจัทร์นี้เองทำให้พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงโปรดปราน เป็นอันมาก แต่พระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ ไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน เวลาต้องการตัวโต้ตอบปัญหาหรือศึกษาข้อธรรม มักจะตามไม่ค่อยพบ หรือพบได้ยากมาก พระเจ้ากือนาธรรมิกราชประสงค์จะให้พระมหาจันทร์อยู่เป็นที่ สะดวกต่อการติดต่อและพบปะง่าย จึงโปรดให้สรางอุโมงค์ใหญ่ขึ้นที่ด้านเหนือฐานพระเจดีย์ใหญ่ในวัดเวฬุกัฏฐา ราม สร้างเสร็จแล้วให้เป็นที่อยู่ของพระมหาจันทร์ มหาชนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า “วัดดอุโมงค์เถรจันทร์” ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระมหาจันทร์อยู่จำพรรษาเจริญศรัทธาพระมหากษัตริย์ บรมวงศานุวงศ์ และประชาชน อยู่ที่วัดดอุโมงค์หลายสิบปี ในที่สุดก็มรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77 ปีนอกจากทรงส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสนา

แหล่งที่มาของข้อมูล

โค๊ด:
http://www.watumong.org/

แผนที่ ตำแหน่ง ที่ตั้ง


http://maps.google.co.th/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&ll=18.783589,98.951347&spn=0.003433,0.00743&t=h&z=18&msid=108731746739764096750.00046ed679de2df8c96e8
18  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / Re: แอ่วเวียงพิงค์ ชม"หอศิลป์ฯ"เชียงใหม่ เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 06:34:51 PM
เอาข้อมูลมาร่วมนิดหน่อยครับเคยโพสไปแล้ว เหมือนกันครับ เกียวกับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

ขอบคุณข้อมูลจากเว้บ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่ เป็นเว้บแฟลช น่าสนใจมากครับ สวยงามทีเดียว สามารถหมุนชมห้องได้ 360 องศาเลยทีเดียว
โค๊ด:
http://www.chiangmaicitymuseum.org/

ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่ เส้นทางการเดินทาง หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

http://maps.google.co.th/maps/ms?oe=utf-8&client=firefox-a&ie=UTF8&hl=th&msa=0&ll=18.790943,98.988115&spn=0.005759,0.013078&t=h&z=17&msid=108731746739764096750.00046f83aee946c16a0a0































19  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / งานลานนาพฤกษาชาติ ครั้งที่ 28 ณ สวนบวกหาด เมื่อ: สิงหาคม 15, 2009, 01:25:06 PM
ไปถ่ายมาเมื่อวานบ่ายสามนึกว่าแสงจะมี เสียดายเจงๆครับเอามาให้ดูนิดหน่อย ดอกไม้งามๆทั้งนั้นเลยครับ

ดอกไม้สวยงามทั้งนั้น งานลานนาพฤกษาชาติ จัดช่วงนี้เป็นประจำ ไม่พลาดวันช่วงวันแม่แน่นอนครับ ผมไปถ่ายมาตอนวันแม่ครับ

12 สิงหาคม งานนี้ตากล้องเพี้ยบ ไปแบบว่าไม่ค่อกล้าถ่ายอายเค้า เลนส์เด็กน้อย (ขนาดแกอายนะเนี่ย  read_shock )

ตำแหน่ง ที่ตั้ง เส้นทาง การเดินทาง ไป สวนบวกหาด
http://maps.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=en&msa=0&msid=108731746739764096750.000471263a3d115eb2f8f&ll=18.783762,98.98128&spn=0.004205,0.009645&t=h&z=17

ข้อูลครับ

เทศบาลนครเชียงใหม่จัดงาน
ลานนาพฤกษาชาติ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2552


เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกับสมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ในพระราชินูปถัมภ์
กลุ่มเกษตรทำสวนป่าตัน ชมรมบอนไซเชียงใหม่ ร่วมกันจัดงานลานนาพฤกษาชาติ
ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 10 - 12 สิงหาคม 2552 ณ
บริเวณสวนสาธารณะหนองบวกหาด ภายใต้ชื่องาน “ งานลานนาพฤกษาชาติ 12
สิงหามหาราชินี ”














นายเคน สันติธรรม
ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า
การจัดงานงานลานนาพฤกษาชาติ 12 สิงหามหาราชินี
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม
ราชินีนาถ รวมถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่กล้วยไม้ไทย ไม้ดอก – ไม้ประดับ
ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการขยายการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้
กับประชาชนเป็นการส่งเสริมอาชีพการเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่
การจัด “ งานลานนาพฤกษาชาติ 12 สิงหามหาราชินี ” ครั้งที่ 28
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 สิงหาคม 2552 ณ บริเวณสวนสาธารณะหนองบวกหาด
ซึ่งภายในงานมี การประกวดจัดสวนกล้วยไม้ การประกวดกล้วยไม้ ประกวดไม้ดอก –
ไม้ประดับ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
การแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
การจำหน่ายผลิตผลของเกษตรกร ผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าราคาถูก มหกรรมอาหาร
ซึ่งผู้ที่สนใจในการจะจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น
สามารถติดต่อจองสถานที่ในการจำหน่ายได้
ที่สำนักงานเทศกิจเทศบาลนครเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-232175 -6








ปลัด
เทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการจัดงานครั้งนี้
จะน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนว
คิดในการจัดงาน ให้มีความพอดี พอพียง
และเชิญชวนประชาชนชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย


































20  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / เชียงใหม่ ร้านอาหาร - แนะนำร้านอาหาร อร่อย ในเชียงใหม่ / ร้าน น้าวัน ข้าวอบชิส+ไก่ชีส เมื่อ: สิงหาคม 12, 2009, 11:45:43 AM
วันนี้น้องที่ออฟฟิสคนหนึ่งเค้าแนะเมนู ข้าวไก่อบชิส  ร้านอยู่หน้ามงฟอร์ด เล็ก





 ร้าป้า เอ้ย น้าวัน (เด๋วแกเคือง แกบอกให้เรียกน้า) เปิดมานาน พอผมถามว่าเปิดมากกี่ปีแล้วครับ แกก็ถามน้องสาวคนที่มาซื้อไกอบชีสแก ว่ากี่ปีน้าแล้วก็เริ่มนับมือ ป.3 ป.4 ปี 1 ปี 2 สิบเอ็ดปีแล้วมั้ง  read_shock แกว่างั้น นานเหมือนกันนะเนี่ยครับ น้าวันแกบอกว่าถ่ายรูปตู้ไมโครเวฟไปด้วยดิเป็นเอกลัษณ์ของร้าน


มีตู้ไมโครเวฟที่วางเรียงรายอยู่ มีถึงสามตู้เลยครับ ไปลิ้มรสความอร่อยกันได้ ครับ ข้าวไก่อบชีส

แผนที่ ที่ตั้ง ตำแหน่ง เส้นทาง การเดินทาง

http://maps.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=en&msa=0&ll=18.774797,99.000431&spn=0.00288,0.006539&t=h&z=18&msid=108731746739764096750.0004708a12ba59c7b6295






















21  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / Re: น้ำพุร้อน โป่งเดือด เชียงใหม่ เมื่อ: สิงหาคม 11, 2009, 05:51:00 PM
เมื่อออกมาจากน้ำตกหมอกฟ้าเลี้ยวซ้ายครับ เดินทางอีกประมาณครึ่งชั่วโมง  ระวังๆกันกน่อย  สังเกตทางด้านขวามือให้ดีครับ
จะมีป้ายบอกเป็นทางเข้าน้ำพุร้อน โป่งเดือด แคบเหมือนเดิม ครับขับช้าๆระวังรถสวน(แถวนี้สวนผลไม้ก็ไม่มีแต่ทำไมมีรถสวน  sad ช่วยฮาให้หน่อย)



โย่ เรามาถึงกันแล้วน้ำพุร้อน โป่งเดือด มาถึงก็เข้าไปติดต่อขอตั้งเต้นท์ท่านละสามสิบบาทครับ เป็นค่าดูแลสถานที่ เสร็จแล้วก็เข้าไปจับจองกางเต้นท์กันโลด
ขอแนะให้เอาเตาไปด้วย แต่ถ้าไม่มีเค้ามีให้เช่าครับเพราะห้ามก่อกองไฟ ยกเว้นในที่ที่เค้าจัดใว้ โชคดีครับ มาจองที่กางเต้นใกล้ที่ก่อกองไฟได้









อืมพอกางเต้นท์เสร็จแล้วเราก็เดินทางไปชม[urlชhttp://www.thaitravelcommunity.com/travelcommunity/index.php?topic=14.0] น้ำพุร้อน โป่งเดือด[/url] กันครับ อ้อที่นี่เค้าห้ามต้มไข่คิดว่าเค้าคงจะเอาน้ำส่วนนี้ไป ใช้ในสระและห้องอาบน้ำแร่ครับ เดินตามเส้นทางไป
ระยะทางทั้งหมดประมาณเกือบสองกิโลเมตรครับ



จากน้ำพุร้อนเดินตามเส้นทางไปจะพบกับที่นั่งเอาเท้าแช่น้ำพุร้อนโอ้มันช่างแสนสบาย จอร์จ
ที่นี่มีบริการสระว่ายน้ำ และห้องอาบน้ำวนเจ๋งจริงๆ มีสระว่ายน้ำด้วย



ทั้งนี้ยังสามารถชม ดอยม่อนเลี่ยมใน วิวที่สวยที่เดียว  พร้อมกับบรรยากาศรอบกองไฟเล็กน้อย ครั้งนี้เราก็ได้พบกับพี่ชายจาก นครปฐม
พี่เชนครับ ก็แบ่งปัน อาหารกัน นั่งคุยกันรอบกองไฟสนุกสนานเลยทีเดียว แถมด้วยรูปรถพี่เชนครับ ไปไหนก็อย่าลืมแบ่งปันความสุขกันนะครับ
คนไทยด้วยกัน  ใช่มั้ยครับพี่น้อง ทริปนี้ก็สนุกสนานกันไปทีเดียว ใว้เจอกันทริปหน้า



























22  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / น้ำพุร้อน โป่งเดือด เชียงใหม่ เมื่อ: สิงหาคม 11, 2009, 05:48:32 PM
สวัสดีครับ ทริปนี้เราจะไปน้ำพุร้อนกัน โดยทริปนี้ เราจะไปนอนที่โป่งเดือดครับ เป็นทริปที่ผมไปมาตอนต้นปียังหนาวๆ อยู่เลยครับ เอ้าออกเดินทางกันเลย เดินทางจากสี่แยกข่วงสิงห์นะครับ ไปตามถนนเส้น เชียงใหม่แม่ริม
แวะรับประทานก๋วยเตี๋ยวกันนิดหน่อย ที่ร้านช้างม่อยกาแฟ(เอ้ยชื่อมันบอกว่าร้านกาแฟแต่มีก๋วยเตี๋ยวขาย hyperhidrosis ) มื้อเช้าครับ   อิ่มกันแล้วก็ออกเดินทางกันต่อเลย

ตรงมาเรื่อยครับจะเห็นป้ายทางเลี้ยวไปปาย เลี้ยวเข้าไปเลยครับ เราจะไปต่อกับเส้นทาง ไปปาย แต่ว่าเราไปไม่ถึงปายครับ(ถ่ายไกลไปหน่อย  eiei )

เดินทางตามเส้นทางไปเรื่อยๆครับ ขับอย่างระมัดระวังนะครับ เส้นทางมันแคบแล้วก็โค้งอันตรายทุกโค้งเลย แต่ว่าเราจะแวะเที่ยวน้ำตกกันก่อนนะครับก่อนถึง โป่งเดือด
มองทางด้านซ้ายมือนะครับด้านหน้าจะมีร้านกาแฟอยู่ครับรสชาติดีทีเดียว ตกแต่งสวยงามใช้ได้เลย ต้องเก็บค่าโฆษณานะเนี่ย  head_bud4

เดินทางเข้าไปอีกสองกิโลเมตรเส้นทางแคบมาก ขับระวังๆหน่อยนะพี่ shake_friend ข้างในน้ำตกสวยงามมากเลยทีเดียว มีห้องน้ำ บริการ
โปรดช่วยกันรักษาความสะอาดของที่เราไปท่องเที่ยวด้วยนะครับ ขยะเก็บทิ้งลงถังให้เรียบร้อย ผมถ่ายภาพที่ไม่รักษความสะอาดมาด้วยเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเลย
บรรยากาศร่มรื่นดีมากเลย



















23  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / ร้านก๋วยเตี๋ยวเชียงใหม่ / Re: เย็นตาโฟศรีพิงค์...หน้าคณะเภสัช ม.ช เมื่อ: สิงหาคม 05, 2009, 11:27:25 PM
ลำแต้ๆครับร้านนี้ รู้สึกว่าจะมีอีกสาขาแถว ราชภัฎ รู้สึกจะเป็นพี่น้องกันนะครับแต่งตัว คล้ายๆกันเลย หรือว่าฝาแฝด  :onion (11):
24  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม) พระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อ: สิงหาคม 04, 2009, 03:54:09 PM










































25  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / Re: วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม) พระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อ: สิงหาคม 04, 2009, 03:53:19 PM










































26  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม) พระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อ: สิงหาคม 04, 2009, 03:51:27 PM
พึ่งไปถ่ายรูปมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาครับ เอารูปมาให้ชมกัน
































ที่ตั้งและอาณาเขต

วัดสวนดอกตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ทิศเหนือยาว 183 เมตร ทิศใต้ยาว 193 เมตร ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร และทิศตะวันตกยาว 176 เมตร

ประวัติ

วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น "พระอารามหลวง" เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน" ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1 ใน 2 องค์ ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

ในสมัย ราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัย พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด

วัดสวนดอก ต่อได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

ปูชนียสถาน-วัตถุ

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา
พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโก

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระอารามหลวง" โดยโปรดเกล้าให้สร้าง "พระเจดีย์ทรงลังกา" ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระเจ้าเก้าตื้อ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ("ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 "พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระพุทธปฏิมาค่าคิง

พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ
กู่บรรจุพระอัฐิพระราชชายา เจ้าดารารัศมี


กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ หลังจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร) ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

ธรรมาสน์เทศนา

ธรรมาสน์เทศนาแบบล้านนา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2474 และซุ้มประตูวัด จำนวน 3 ซุ้ม เป็นซุ้มประสาทแบบล้านนาขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดสวนดอกเมื่อ พ.ศ. 2474

อาคารเสนาสนะในวัดสวนดอก         
๑ .    พระวิหารหลวง      พระวิหารหลวงมีขนาดกว้าง  12 วา 2 ศอก   ยาว   33  วาสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2474  สร้างขึ้นโดยครูบาศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐ   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ  เป็นวิหารโล่ง ไม่มีผนังแต่มีระเบียงโดยรอบ  หน้าบันทั้ง 2  ด้านมีลายปูนปั้นเครือเถาศิลปะแบบล้านนาที่สวยงาม      พระวิหารหลวงนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา    เล่มที่  52  ตอนที่  75  ลงวันที่8  มีนาคม  พ.ศ.2478         
๒ .     พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ     เป็นพระอุโบสถกว้าง  12   เมตรยาว  27   เมตร   สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2047  เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูน ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาโดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุด เมื่อพ.ศ. 2505   ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรรุ่นใหม่เกี่ยวกับพุทธประวัติและเวสสันดรชาดก         
๓ .   หอฉัน   เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตรภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับ เรื่องพระเจ้าสิบชาติ   หอฉันนี้สร้างใน ปีพ.ศ.  2519                 
๔.    ศาลาการเปรียญ       เป็นอาคารทรงไทยแบบก่ออิฐถือปูน  สร้างขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ.2532   เป็นศาลากว้าง  7  เมตร   ยาว  27  เมตร    สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระครูสุคันธศีล  (คำแสน อินทจกโก )           
๕.    อาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่ (อาคาร1)    เป็นอาคาร3ชั้นกว้าง20เมตรยาว40เมตร สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ.2536         
๖.    อาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ อาคาร ช้อย  นันทาภิวัฒน์  (อาคาร2)      เป็นอาคาร 4 ชั้น กว้าง 10 เมตร  ยาว 40 เมตรสร้างเสร็จเมื่อพ.ศ.2538           
๗.   อาคารสถาบันวิทยาบริการ( อาคาร ธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร)  เป็นอาคารแบบ 3 หลัง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2539         
๘.    ศาลาอเนกประสงค์สมโภชนครเชียงใหม่ 700 ปี   เป็นอาคาร  2  ชั้น ขนาดกว้าง 8  เมตร ยาว  30  เมตร    สร้างเมื่อพ.ศ. 2538             
๙.   กุฏิสงฆ์      สร้างขึ้นในบริเวณวัดเพื่อเป็นที่พักของพระสงฆ์มีจำนวนทั้งสิ้น 21 หลังกุฏิสงฆ์  มีลักษณะพิเศษคือ ศาลาฝาไหลซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โค๊ด:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81_(%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87)




ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่ เส้นทางการเดินทาง

http://maps.google.co.th/maps/ms?hl=th&ie=UTF8&msa=0&ll=18.79046,98.96898&spn=0.002798,0.006416&t=h&z=18&msid=108731746739764096750.00046fc248c86339d8a2a
27  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / Re: วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:30:16 PM


























28  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / Re: วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:29:47 PM
























29  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / Re: วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:29:03 PM


















30  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เชียงใหม่ เที่ยว - โพสรูปประทับใจ ที่เที่ยวในเชียงใหม่ / วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 04:22:50 PM
Wat Prathat Doi Suthep Temple in Chiang Mai Thailand

วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมากเสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่ บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล
          กล่าวถึงราชวงศ์มังราย เป็นวงศ์ของกษัตริย์ที่ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่มาตามลำดับ ซึ่งพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 ต่อมาได้มีกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาตามลำดับ ดังนี้
      1. พญาเม็งรายมหาราช พ.ศ.1804 ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่
      2. พญามังคราม พ.ศ.1854 3. พญาแสนพู พ.ศ.1868
      4. พญาคำฟู พ.ศ.1877
      5. พญาผายู พ.ศ.1879
      6. พญากือนา พ.ศ.1898 ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
      7. พญาแสนเมืองมา พ.ศ.1928
      8. พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.1945
      9. พญาติโลกราช พ.ศ.1984 ผู้ทำนุบำรุงวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
      10. พญายอดเชียงราย พ.ศ.2030
      11 . พญาเมืองแก้ว พ.ศ.2038
      12. พญาเมืองเกษกล้า พ.ศ.2068 ผู้ซ่อมแซมวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหารครั้งใหญ่
      13. ท้าวชายคำ พ.ศ.2081 ผู้ก่อ สร้างเพิ่มเติมในวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหาร
      14. พญาเมืองเกษกล้า พ.ศ.2086
      15. พระนางจิรประภา พ.ศ.2088
      16. พญูาอุปเยาว์ พ.ศ.2089
      17. ท้าวแม่กุ พ.ศ.2094
      18. พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ.2107-2121
หมายเหตุ
      พญาเมืองเกษเกล้า ปกครอง 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2121 พม่าได้เลิกแต่งตั้งกษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย เพราะต้องไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ

พระบรมธาตุ
 พระบรมธาตุ หมายถึง พระอัฐิที่ผุกร่อนหรือเถ้าถ่านของพระพุทธเจ้า ซึ่งมารวมตัวอัดแน่นเป็นก้อนแข็งราวกับแร่ธาตุชนิดหนึ่งแล้วก็ตกผลึกมีแสง แวววาวระยิบระยับ ประหนึ่งก้อนหยกที่ถูกเจียรไนแล้ว ขนาดสัณฐานของพระบรมธาตุมีลักษณะกลมเล็กสะท้อนแสง ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว พระบรมธาตุที่แท้จริงจะสำแดงนิมิตปาฏิหารย์ได้ โดยทั่วไปจะมีสีแสงโชติช่วงในเวลากลางคืนและมีพลังอำนาจในตัวของมันเอง จะมีทั้งแยกธาตุ - รวมธาตุและสลายธาตุหายไป ได้โดยพลังอำนาจฉับพลันราวกับปาฏิหารย์ ชาวพุทธนิยมเก็บพระบรมธาตุไว้ในเจดีย์ หรือไม่ก็ขุดฝังไว้ภายใต้องค์พระเจดีย์ เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมทั้งยังเป็นการสร้างสถานที่สำคัญไว้เคารพบูชาของ คนและเทวดาทั้งหลาย และยังเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่พระบรมธาตุมีพลานุ ภาพอย่างมาก หากใครได้ยินได้ฟังแล้วก็อยากจะมาเยี่ยมชมและกราบไหว้นมัสการองค์พระเจดีย์ อยู่มิได้ขาด

ตำนานพระบรมธาตุดอยสุเทพ

 ในพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีพระภิกษุชาวลังการูปหนึ่ง ชื่อว่าพระสุมนเถระ เป็นพระที่มีความรู้แตกฉานในเรื่องพระธรรมวินัยและรอบรู้ในพระไตรปิฏกเป็น อย่างดี และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป พระสุมนเถระรูปนี้เข้ามาสุโขทัยเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนานิกายเถราวาทแบบ ลังกา โดยเฉพาะที่อำเภอศรีสัชชนาลัยและสวรรคโลก นับได้ว่าพระพุทธศาสนานิกายเถราวาทได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในสุโขทัย ยุคนั้นภายในช่วงเวลาไม่นานนัก
                 ตามตำนานเล่าว่าคืน หนึ่งขณะพระสุมนเถระกำลังนอนหลับ มีเทวดาองค์หนึ่งมาบอกว่า ในสมัยพระเจ้าธรรมมาโศกราช พระองค์ได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งบรรจจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ ขณะนี้เจดีย์องค์นั้นได้ชำรุดทลายพังลงมาหมดแล้ว ไม่มีใครทราบชัดเจนว่าเจดีย์นั้นตั้งอยู่ตรงไหน เทวดายังบอกต่อไปอีกว่า ให้ท่านไปเมืองปางจาอยู่บนถนนสายสุโขทัย-ศรีสัชชนาลัย (หมายถึงสวรรคโลกในปัจจุบัน) ภายในซากโบราณสถานเหล่านั้น คือฐานที่ตั้งขององค์พระเจดีย์ โดยจะมีพุ่มดอกเข็มกอหนึ่งมีรูปลักษณะเหมือนม้านั่งขึ้นอยู่แทนที่ภายใต้ พุ่มดอกเข็มนั้นจะมีผอบบรรจุพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าอยู่ ขอให้ท่านไปขุดเอาไว้สักการะบูชาและเก็บไว้ในที่อันสมควรด้วย

 
        วันรุ่งขึ้นหลังจากให้คนงานสมาทานศีล 5 ทั่วกันแล้ว ท่านจึงสั่งให้ลงมือขุดดินตรงบริเวณพุ่มดอกเข็ม พอขุดลงไปสักครู่หนึ่งก็พบอิฐปูลาดอยู่ เมื่อยกอิฐออกหมดก็พบแผ่นศิลา เมื่องัดแผ่นศิลาขึ้นมาก็ได้พบผอบทองเหลือง เปิดผอบทองเหลืองออกพบผอบเงิน เปิดผอบเงินพบผอบทองคำ เปิดผอบทองคำพบผอบแก้วประพาฬ
             
 
        เมื่อ เปิดผอบแก้วประพาฬออกจึงพบพระบรมธาตุขนาดเท่าผลทับทิม เนื่องจากพระบรมธาตุขนาดใหญ่เกินไป พระสุมนเถระจึงเกิดความสงสัยว่าจะไม่ใช่พระธาตุหลังจากพยายามอยู่ครู่หนึ่ง ก็พบว่าสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นพระธาตุนั้นที่แท้เป็นผอบอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเปิดผอบนั้นออกมาจึงพบพระบรมธาตุที่แท้จริง 1 องค์มีขนาดสัณฐานเท่าเม็ดถั่วเขียว มีสีสวยงามดังสีทอง
พระสุมนเถระได้นำพระบรมธาตุไปให้พระ เจ้าฤไททอดพระเนตรที่ศรีสัชชนาลัย พระองค์ทรงปลื้มปิติอย่างยิ่งและได้จัดสร้างพลับพลาพิเศษสำหรับเก็บรักษาพระ บรมธาตุโดยตรง พระองค์ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าประดิษฐาน ณ พลับพลาพิเศษดังกล่าวพร้อมกับก้มกราบลงตรงหน้าพระบรมธาตุนั้นด้วยความเคารพ และบูชาอย่างยิ่ง ทันใดนั้นก็เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมีแสงโชติช่วงไปทั่วพลับพลาแห่งนั้นอย่าง งดงามตระการตา ย้ายพระบรมธาตุไปสุโขทัย ข่าวการค้นพบพระบรมธาตุตลอดถึงปรากฏการณ์ปาฏิหารย์ของพระบรมธาตุได้แผ่ กระจายไปยังหัวเมืองต่างๆ
        พระเจ้าธรรมราชา แห่งกรุงสุโขทัยได้เกิดสนพระทัยใคร่อยากจะทอดพระเนตรจึงส่งผู้แทนเดินทางไป เมืองศรีสัชชนาลัย เพื่อนิมนต์พระสุมนเถระพร้อมกับพระบรมธาตุให้ย้ายไปอยู่กรุงสุโขทัย ก่อนที่พระสุมนเถระจะนำพระบรมธาตุมาถึง ทางพระเจ้าธรรมราชาจึงทรงปิติยินดีและได้ตระเตรียมสถานที่พร้อมทั้งสิ่งของ สำหรับสักการะบูชาพระบรมธาตุไว้พร้อม เมื่อสุมนเถระนำพระธาตุมาถึงพระเจ้าธรรมราชาก็ประกอบพิธีสักการะบูชาพระ บรมธาตุอย่างถูกต้องตามสมควรแล้ว แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกประหลาดที่ไม่มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้พระองค์ทรงผดหวังมาก และเกิดความสงสัยในตัวจริงของพระบรมธาตุพระองค์ถึงกับทรงรับสั่งให้พระสุมน เถระให้เก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ด้วยตนเอง










ในปี พ.ศ. 1910 (ค.ศ.1367) กษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์เม็งรายแห่งนครลานนาไทยชื่อ พระจ้าอนาพระองค์ทรงประสงค์ที่จะพัฒนาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลานนาไทยให้เจริญ รุ่งเรือง จึงได้ส่งผู้แทนจำนวน 3 คน คือ หมื่นเงินกอง ผ้าขาวยอด ผ้าขาวสาย เดินทางไปยังนครสุโขทัย เพื่อนิมนต์พระสุมนเถระขึ้นไปอยู่เชียงใหม่ (หมื่น เป็นยศชั้นปกครองสมัยก่อน ผ้าขาว ผู้นุ่งขาว ถือศีล 8)
          เนื่อง จากมีข่าวแพร่สะพัดไปถึงเชียงใหม่ว่าพระพุทธศาสนาในสุโขทัยได้เจริญ รุ่งเรืองมากมาเป็นอย่างดี ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระสุมนเถระ พระองค์จึงต้องการตัวพระสุมนเถระขึ้นไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลานนาไทยโดย เฉพาะที่เชียงใหม่ ด้วยความเห็นชอบของพระเจ้าธรรมราชาแห่งนครสุโขทัย พระสุมนเถระจึงรับนิมนต์ และได้เดินทางขึ้นไปเชียงใหม่พร้อมกับพระบรมธาตุที่ได้มาจากเมืองปางจาในปี พ.ศ. 1912 (ค.ศ 1369) พระสุมนเถระ ได้เดินทางมาถึงเมืองลำพูนพระเจ้ากือนา พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย จึงได้เดินทางไปต้อนรับพระสุมนเถระ ที่ตำบลแสนข้าวห่อ เชียงเรือ จังหวัดลำพูน เมื่อมาถึงวัดพระยืน ห่างจากตัวเมืองลำพูน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กม. พระสุมนเถระจึงชอบบรรยากาศที่วัดพระยืนนี้มาก จึงขอพระราชานุญาติจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ก่อน ซึ่งขณะนั้นพระสุมนเถระมีอายุได้ 60 ปีพอดี

   พระสุมนเถระ อยู่ที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ 2 ปี ต่อมาปี 1914 (ค.ศ. 1371) พระเจ้ากือนา จึงได้ยกสวนหลวง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ สร้างวัดใหม่ขึ้นสำหรับพระสุมนเถระ โดยตั้งชื่อว่า วัดบุพพารามต่อมาวัดบุพพาราม ก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสวนดอก ตราบเท่าทุกวันนี้ เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
          พระเจ้า กือนา จึงไปนิมนต์พระสุมนเถระขึ้นมาอยู่ประจำวัดนี้พระสุมนเถระได้ขึ้นมาตามคำ นิมนต์พร้อมกับนำเอาพระบรมธาตุติดตัวมาด้วยพระเจ้ากือนาได้เลื่อมใสและ ศรัทธาในพระสุมนเถระมาก จึงได้สถาปนาสมณศักดิ์ให้พระสุมนเถระเป็น พระสุมนบุพพารัตนมหาสวามี

หลังจากพระมหาสวามีมาอยู่ที่วัดสวนดอกตามคำนิมนต์ของพระเจ้ากือนา พระมหาสวามีได้ปรึกษากับพระเจ้ากือนาถึงการสร้างพระเจดีย์ให่ในวัดสวนดอก เมื่อพระเจ้ากือนาทรงเห็นชอบแล้ว จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้นก่อนที่จะขุดหลุมเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ลงไปนั้น พระมหาสวามี ได้นำเอาพระบรมธาตุนั้นออกมาวางไว้ในถาดทองคำ เพื่อให้พระองค์และประชาชนได้ทำกรสักการะบูชาเสียก่อน เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหาสวามีจึงได้นำเอาพระบรมธาตุออกมาจากถาดเพื่อเตรียมจะบรรจุลงในพระ เจดีย์พระมหาสวามีจึง เกิดความประหลาดใจขึ้นเมื่อพระบรมธาตุที่อยู่ในถาดทองคำนั้นได้แยกออกเป็น 2 องค์ ขนาดเท่าเดิมองค์หนึ่งและอีกองค์หนึ่งเล็กกว่าเล็กน้อย










  ต่อมาพระเจ้ากือนาจึงได้นำเอาพระบรมธาตุองค์ที่เล็กกว่านั้นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดสวนดอกตราบเท่าทุกวันนี้ 
 พระองค์และพระมหาสวามีได้พยายามหา ที่เหมาะสมที่สร้างพระเจดีย์อีกองค์หนึ่ง เพื่อจะบรรจุพระบรมธาตุองค์เดิมที่นำมาจากเมืองปางจา สุโขทัย พระองค์ได้นำเอาพระบรมธาตุนั้นขึ้นไว้บนหลังช้างเผือกมงคลและอธิษฐานเสี่ยง ทายว่า " เมื่อช้างได้นำพระบรมธาตุไปถึงที่ ๆ เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาพระบรมธาตุนี้แล้วไซร้ ขอพระบรมธาตุได้แสดงอภินิหารบังคับให้ช้างหยุดอยู่ตรงนั้นเถิด " พออธิษฐานเสร็จแล้วพระองค์ก็ทรงปล่อยช้างให้ออกไปจากประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือกปัจจุบัน)   เมื่อช้างออกจากประตูไปแล้วก็เปล่งเสียงร้องขึ้น 3 ครั้งแล้วหันหน้าไปทางทิศตะวันตกและเดินมุ่งหน้าไปทางภูเขา พระองค์และพระมหาสวามี ตลอดถึงประชาชนผู้สนใจในพิธีได้เดินตามช้างไปเป็นเวลายาวนาน เมื่อช้างไปถึงยอดเขาแห่งหนึ่ง จึงชลอพักเอาแรงสักครู่หนึ่งและก็เดินทางต่อไป ภูเขาลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า " ดอยช้างนอน " ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาช้างมงคลได้มุ่งหน้าเดินทางต่อไปจนถึงยอดเขาอีกลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นลานกว้างและเหมาะสมดีที่จะสร้างพระเจดีย์ไว้ทุกคนก็คาดหวังว่าช้าง จะต้องหยุดตรงนี้ ไม่ยอมหยุด คงมุ่งหน้าเดินทางต่อไปอีก ดอยลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า "สนามดอยงาม" จนถึงทุกวันนี้
          ใน ที่สุดช้างก็ไปถึงเชิงเขาสุเทพ เดินปีนเขาขึ้นไปจนถึงยอดเขา จากนั้นช้างก็เดินวนซ้ายอยู่ 3 รอบ และหยุดคุกเข่าหมอบลงพร้อมกับเปล่งเสียงร้อง 3 ครั้งอีกรอบหนึ่ง พระองค์และพระมหาสวามี ต่างก็ปีติยินดีที่ได้พบสถานที่ๆ จะเก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ภายในพระเจดีย์ที่จะสร้างขึ้นใหม่ จึงได้ช่วยกันนำเอาพระบรมธาตุลงจากหลังช้างด้วยความเคารพ
  พระเจ้ากือนา ทรงให้พระมหาสวามี เก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ ช่วงที่พำนักอยู่วัดสวนดอกเป็นเวลาเกือบ 2 ปี พระองค์และพระมหาสวามีได้พยายามเสาะแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับประดิษฐาน พระบรมธาตุองค์นี้ไว้ แต่ก็ไม่พบ พระองค์เสียเวลาไปมากกับการแสวงหาที่ดังกล่าว ดังนั้นวันหนึ่งพระองค์และพระมหาสวามี จึงได้นำเอาพระบรมธาตุเข้าใส่ในกูบ และประดิษฐานไว้บนหลังช้างมงคลและปล่อยช้างออกไปจากเมืองเพื่อเสี่ยงทาย หาสถานที่ดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ และได้พบสถานอันพึงปรารถนา นั่นก็คือยอดดอยสุเทพ
           พระเจ้ากือนา ทรงสั่งให้คนงานทั้งหมดปรับพื้นที่ราบดอยสุเทพให้เรียบร้อย และขุดหลุมขนาดลึก 8 ศอก กว้าง 1 วา 3 ศอก และให้เอาแผ่นหินขนาด 7 ศอก มาทำเป็นหีบ เอาผอบพระบรมธาตุ พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชา จำนวนมากใส่ลงไปในหีบนั้น เมื่อปิดหีบและฝังไว้ตรงนั้นแล้ว พระองค์จึงสั่งให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งมีขนาดสูง 5 วา ครอบเหนือหีบพระบรมธาตุนั้น เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาแก่คนทั้งปวง และพอจะอนุมานสรุปได้ว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างโดยพระเจ้ากือนา เมื่อ พ.ศ.1916

ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่ เส้นทางการเดินทาง

http://maps.google.co.th/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=108731746739764096750.00046f0857bb15a8b0ece&ll=18.805129,98.920756&spn=0.003433,0.007381&t=h&z=18

















31  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / Re: หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ Chiang Mai Cty Art & Cultural Centre เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 12:11:46 PM
รูปสวยมากค่ะ ฝีมือขั้นมหาเทพเลยหล่ะ  :onio:
ข้อมูล แน่น มากเลยคะ

 :11: :11:
:10: :10: :10:



ขอบคุณสำหรับคำชมครับ ต้องฝึกอีกเยอะครับ ยังไม่ถึงขั้นนั้น  :26:
32  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / Re: หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ Chiang Mai Cty Art & Cultural Centre เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2009, 04:13:03 PM
    
ลิ้งสำหรับดูรูป รูป หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ Chiang Mai Cty Art & Cultural Centre  แบบพาโนราม่า


ขออณุญาติใส่ลิ้งใว้นะครับ ขนาดไฟล์ใหญ่ ทำให้หน้าเว้บเสีย  :26:
33  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ Chiang Mai Cty Art & Cultural Centre เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2009, 04:11:44 PM
พอดีได้โอกาสไปออกทริปถ่ายพอตเทรทครั้งแรกเลยถ่ารูป หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์  มาให้ชมกันนิดหน่อยครับ

สนน ราคาการเข้าชม ก็ท่านละ 20 บาท เด็กนักเรียนนักศึกษา 10 บาท ปิดวันจันทร์วันเดียวครับ เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 17.30 น.

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิมนี้ เป็นอาคารเก่าที่มีความงดงาม
และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม สร้างเมืองปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เคยเป็นศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ และเป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะย้ายไปตั้งที่ศูนย์ราชการริมถนนโชตนา

อาคารนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่ากลางเวียงในปัจจุบันหรือสะดือเมืองในอดีต ซึ่งมีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์เพราะเคยเป็นที่ตั้งเสาอินทขิลหรือเสาหลังเมือง ก่อนที่จะย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง ไม้หมายเมือง บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดสะดือเมือง วัดอินทขิลและส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของและที่ทำการเค้าสนามหลวง
ซึ่งเป็นศูนย์กลาง การปกครองอาณาจักรล้านนา

บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิมนี้เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๓๑) และเจ้าเทพไกรสรพระธิดาซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทนนท์ต่อมาเจ้าอินทนนท์ได้เป็น เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ ๗ ได้ย้ายมาอยู่ที่ หอคำในบริเวณคุ้มกลางเวียง และใช้เป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ ในขณะนั้นซึ่ง เจ้าจอมมารดาดารารัศมี ก็ได้เกิดที่คุ้มนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ เมื่อเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นมรดกของเจ้าจอมมารดาดารารัศมี ต่อมาเมื่อทางกรุงเทพฯส่งข้าหลวงมาจัดการปฏิรูปการปกครอง ตามระบบเทศาภิบาลและหาที่จัดตั้งศาลารัฐบาลเจ้าจอมมารดาดารารัศมี

จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณถนนโชตนา เป็นศูนย์ราชการจังหวัดตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๔ แต่ยังคงมีหน่วยงานบางหน่วย ใช้อาคารศาลากลางเดิมเป็นสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ เช่น สำนักงานสรรพากรจังหวัด เป็นต้น ซึ่งต่อมาได้มีการย้ายทุกหน่วยงานออกหมดในปี พ.ศ.๒๕๓๙ และทิ้งร้างไว้ โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปใช้ประโยชน์ จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐

ความเป็นมาของโครงการ
เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ตระหนักดีถึงคุณค่าความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม แต่ที่ผ่านมา เมืองเชียงใหม่ยังขาดแหล่งศูนย์กลาง ที่จะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ประวัติ ศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่อย่างครบถ้วน

ดัง นั้น จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกับ นักวิชาการ องค์กรภาคเอกชนและประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีความประสงค์ที่จะจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมขึ้น เพื่อให้เป็น สถานที่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ให้ผู้สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมประเพณี ของเมืองเชียงใหม่ ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคือ เพื่อให้คนในท้องถิ่น ได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิตของตนเอง รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมือง ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม อันอันจะสร้างความภาคภูมิใจและจิตสำนึก

เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ขอใช้อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม เพื่อปรับปรุงเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ การดำเนินการได้เริ่มตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔ โดยเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้พยายามรวบรวมแนวคิด เพื่อจัดทำ โครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และได้รับการสนับสนุน

นอก จากนั้นแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และพัฒนากลุ่มโบราณวัดสะดือเมือง ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากหลายหน่วยงานด้วยกัน ทั้งนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ล้านนา และผู้ทรงคุณวุฒิของเมืองเชียงใหม่ คณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้นำเสนอแนวความคิด เกี่ยวกับการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม เป็นหอศิลปวัฒนธรรมของเมือง และปรับปรุงทั้งบริเวณเป็นอนุสรณ์สถาน ปีของเมืองเรียกว่า ข่วงพญามังรายซึ่งทางเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานนี้ต่อมา

โครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางเดิมเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
ได้รับการออกแบบโดย บริษัทมรดกโลก จำกัด ออกแบบเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ และเทศบาลนครเชียงใหม่ได้รับการอนุมัติ ให้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ แต่การดำเนินการต้องล่าช้าไปมาก เนื่องจากการประกวดราคาประสบปัญหา และต้องยกเลิกการประกวดราคาครั้งที่ ๑-๓ รวมทั้งยังต้องรอการพิจารณาอนุมัติ ให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่จากกรธนารักษ์และกรมศิลปากรด้วย ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติจากทั้งสองหน่วยงานแล้ว เทศบาลนครเชียงใหม่จึงได้อนุญาตให้ ผู้รับจ้างเข้าดำเนินงานตั้งแต่วันที่๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๐

ขอบคุณข้อมูลจากเว้บ หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ เป็นเว้บแฟลช น่าสนใจมากครับ สวยงามทีเดียว สามารถหมุนชมห้องได้ 360 องศาเลยทีเดียว
โค๊ด:
http://www.chiangmaicitymuseum.org/

ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่ เส้นทางการเดินทาง

http://maps.google.co.th/maps/ms?oe=utf-8&client=firefox-a&ie=UTF8&hl=th&msa=0&ll=18.790943,98.988115&spn=0.005759,0.013078&t=h&z=17&msid=108731746739764096750.00046f83aee946c16a0a0































34  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / แนะนำ ร้านกาแฟ ชา เบเกอรี่ เค้ก ขนม ไอศกรีม อาหารว่าง ของทานเล่น ในเชียงใหม่ / ร้านไอเบอรี่ โน๊ตอุดม สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ในเชียงใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2009, 12:56:21 AM
ร้าน ไอสครีมพี่โน๊ต

 พอดีว่าไปถ่ายตอนเย็นครับจะมืดละ เอ้าเริ่มเดินทางไปกับผมเลยครับ

ถ้าเดินทาง มาจาก กรุงเทพ หรือต่างจังหวัด นะครับ จะมาตามทาง ซุปเปอร์ไฮเวย์มา ถนนเส้นที่จะไปดอยสุเทพนะครับ(รูปที่1)



ลอดผ่าน อุโมงค์ ทางลอด แยกข่วงสิงห์ (สี่แยกข่วงสิงห์) (รูปที่ 2)



เสร็จแล้วจะเจอ สามแยก นะครับ ด้านขวามมือจะเป็น วัดเจ็ดยอด(สาธุขอให้ไปถูกทางเถอะ) ด้านซ้ายมือจะมี ร้านข้าวต้มนะครับ (รูปที่ 3,4)




ตรงมาเรื่อยๆ จะเจอสี่แยกข่วงสิงห์ พยามชิดซ้ายนะครับ ถ้าตอนเย็นให้ดูแสงไฟป้ายโรงแรม อมารีรินคำ ตรงนี้รถจะติดนานหน่อยนะครับ(แอบบ่น)

ให้เลี้ยวซ้ายโล้ด (รูปที่5)



 เลี้ยวซ้ายมาแล้วซักสามร้อยเมตร จะเจอสามแยกครับเลี้ยวขวา (รูปที่ 6) ตรงมาเรื่อยๆครับไกลหน่อย ประมาณเกือบ



1กิโลเมตรครับ มองทางด้านขวามือครับจะเจอป้าย สถาบันภาษา NES จะมีสองป้าย ป้ายที่สองครับ จะมีป้ายร้านไอเบอรรี่อันน้อยน้อย กลมๆ

สีเหลืองๆ อยู่ข้างป้าย เกมส์ออนไลน์ อินเตอร์เนตเมื่อเช๊คความถูกต้องครบแล้ว (รูปที่7) ก็เลี้ยวเข้าไปเลยครับ ตรง เข้าไปเลย



จะเจอร้านพี่ โน๊ตอุดม อยู่ทางขวามือ มี น้องหมาตัวน้อยๆอยู่ครับ ข้างในร้านตกแต่ง สวยงาม กวนๆ ตามแนว พี่โน๊ตเค้าหละ

เหมือนจะมีร้าน ขาย ของ ที่ระลึกอยู่ รู้สึกกำลังเพิ่มมาใหม่นะครับ(ออพชั่นเสริม) เหมือนเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้วครับตอนนี้

เพราะใครมาเชียงใหม่ก็อยากจะมา ร้านพี่โน๊ต เค้า เอ๊ะไม่ใช่ร้าน iberry หรอ น่าจะเปลี่ยนเป็นร้านพี่โน๊ต ซะน่าจะดีกว่านะครับ

ถ่ายโดยกล้องมือถือโซนี่ครับ ครับ ทนดูไปก่อนนะครับ

แผนที่ ไป ร้าน  iberry
35  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / เชียงใหม่ ร้านอาหาร - แนะนำร้านอาหาร อร่อย ในเชียงใหม่ / ก๋วยเตี๋ยว เนื้อรสเยี่ยม เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2009, 05:44:17 PM
วันนี้จะพาไปชิมก๋วยเตี๋ยวเนื้อรสเยี่ยม

รส ชาติก็เยี่ยมเหมือนชื่อเลยครับ ก๋วเตี๋ยวเนื้อรสเยี่ยม ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงแรม Shangrila ร้านนี้เปิดมานานครับ ไม่ได้ถามเจ้าของร้านว่านานเท่าไหร่แล้ว
ก๋วยเตี๋ยว เค้าเป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นยาจีนรสชาติดีทีเดียว ราคาเริ่มต้นที่ 30 บาทครับ พิเศษ 40













ตำแหน่งที่ตั้งเส้นทางการเดินทาง

http://maps.google.co.th/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=108731746739764096750.00046f08054ad2ca35949&ll=18.778398,98.999825&spn=0.003433,0.007381&t=h&z=18
36  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / วัดในจังหวัดเชียงใหม่ / วัดศรีโสดา แวะทำบุญก่อนขึ้นดอยสุเทพ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2009, 11:02:55 AM
วัดศรีโสดา พึ่งไปมาครับ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ถ้าขาขึ้นดอยสุเทพวัดศรีโสดา จะอยู่ทางซ้ายมือ ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไม่ถึง 500 เมตร

ประวัติ วัดศรีโสดา
เมื่อประมาณ ๕๐ ๗๐ ปี บริเวณเทือกเขาเหล่านี้ เต็มไปด้วยไม้หนานานาชนิด และไม่ห่างไกลจากลำธารน้ำตกห้วยแก้วอันสวยงามตามธรรมชาติ ที่ไหลเข้าหล่อเลี้ยงตัวเมืองเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมีศรัทธาประชาชน นับถือมาก พระภิกษุรูปนั้นมีชื่อว่า ครูบาศรีวิชัย ได้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ทั่วภาคเหนือ และได้รับการขนานนามว่า นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้มาเป็นประธานชักชวนประชาชนทำถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ครูบาศรีวิชัยได้เป็นประธาน ทำถนนและสร้างวัดควบคู่กันไป วัดแรกที่สร้างจุดที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดโสดาบัน อันมีความหมายว่าผู้มีกระแสจิตเบื้องต้นแห่งการเข้าสู่นิพพาน จากนั้นได้ทำถนนขึ้นไปได้ระยะประมาณ ๔ กิโลเมตร ก็ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งเรียกว่า วัดสกิทาคามี และอีกระยะหนึ่งก็สร้างขึ้นอีกวัดหนึ่งเรียกว่า วัดอนาคามี ตามลำดับจนกระทั่งถึงยอดดอยเรียกว่า วัดพระอรหันต์ เป็นอันสิ้นสุดแ ห่ง การทำถนนและสร้างวัด ใช้ระยะเวลา ๕ เดือน ๒๒ วัน ประชาชนมีจิตศรัธทามาร่วมทำงานและช่วยงานวันละประมาณ ๔-๕ พันคน ต่อมาวัดสกิทาคามี-วัดอนาคามี ได้ร้างไปส่วนวัดโสดาบัน นั้นยังอยู่ และประชาชนเรียกเพี้ยนไปว่า วัดศรีโสดา จนถึงปัจจุบันแต่การเปลี่ยนชื่อจาก โสดา มาเป็น วัดศรีโสดา นั้นเปลี่ยนเมื่อใด และเปลี่ยนในท่านผู้ใดเป็นเจ้าอาวาส ยังไม่พบหลักฐาน






























37  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / Re: งาน สืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ( สืบจ๊ะต๋า เมืองเจียงใหม่) ที่ประตูท่าแพ เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2009, 04:28:02 PM
ข้อมูลมาเพิ่มเติมครับ

ประเพณีสืบชะตา เป็นประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกันของชาวไทยทางภาคเหนือ เพื่อความสวัสดิมงคลมาสู่บ้านเมือง ครอบครัว และตนเอง จึงมีการสืบชะตาเมือง สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาคน สืบชะตาเมือง  เป็นประเพณีสำคัญของทางเชียงใหม่ที่จะต้องถือปฏิบัติกันทุกปี การทำบุญเมืองนั้นเพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขในแก่ชาวบ้านชาวเมือง เป็นการสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนพลเมือง ตลอดจนพ่อค้าคหบดี ข้าราชการ เจ้าบ้านเมือง เนื่องจากในสมัยโบราณกล่าวกันว่า การสืบชะตาเมืองมักจะจัดขึ้นในสองกรณีคือ       
          กรณีแรก จัดในยามที่บ้านเมืองเดือดร้อน ข้าวยากหมากแพง หรือเกิดศึกสงครามมีทั้งการสืบชะตาเมือง สืบชะตาเจ้าเมือง ทำบุญบูชาเซ่นไหว้ พระวิญญาณของเจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ก่อนๆ ตลอดจน "พระเสื้อบ้าน พระเสื้อเมือง" เทพาอารักษ์ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
          กรณีที่สอง จัดในยามที่บ้านเมืองสงบสุข เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่บ้านเมือง   

     
กำหนดงาน
          จัดวันใดวันหนึ่งของเดือนเก้า(ภาคเหนือ) การจัดเดือนเก้าเพราะชื่อเดือนเป็นมงคล สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th


กิจกรรม / พิธี
          ในสมัยโบราณ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน นิมนต์พระสงฆ์มาทำมังกะละที่กลางเวียงเชียงใหม่ 1 แห่ง ประตูเวียงทั้ง 5 แต่ละประตูมีพระสงฆ์ 9 รูปสวดมนต์ตั้งลำ และฟังธรรมสารากริชานสุตรและให้ตั้งพระพุทธรูปทุกแห่ง ให้มีน้ำขมิ้มส้มป่อย ใส่บาตร ก่อเจดีย์ทรายประดับด้วยจ้อและตุง ไม้ค้ำ ไม้ขัว ฝ้ายล้าง คาเขียว ต๋าแหลง ปันจั๊น ผังผะติ๊บใส่น้ำมัน หน่วยไม้ ให้ข้าราชการชาวบ้านชาวเมืองได้มาทำบุญใส่บาตร บริจาคทานตามอายุเมือง พิธีการเหล่านี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน และต้องจัดทำทุกปี         
ส่วนในปัจจุบันได้จัดสถานที่ประกอบพิธีรวม 10 แห่ง คือ
          1. กลางเวียงเชียงใหม่
          2. ประตูเชียงใหม่
          3. ประตูช้างเผือก
          4. ประตูท่าแพ
          5. ประตูสวนดอก
          6. ประตูสวนปรุง
          7. แจ่งศรีภูมิ
          8. แจ่งขะต๊ำ
          9. แจ่งกู่เฮือง
          10. แจ่งหัวลิน
          สถานที่ทั้ง 10 แห่งก็จะมีพิธีขึ้น "ค้างตั้งสี่" นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ (ตั้งลำ) แสดงพระธรรมเทศนาสารากริชานสุตร เลี้ยงพระถวายไทยทาน และทุกแห่งมีสิ่งประกอบพิธีดังนี้  ตั้งโต๊ะหมู่บูชามีน้ำเข้าขมิ้นส้มป่อย (น้ำที่แช่ด้วย ฝักส้มป่อยแห้งเผาไฟพอหอม กับดอกไม้หอมตากแห้ง เช่น ดอกสารภี เมื่อแช่นานๆ น้ำจะมีสีเหลืองโดยที่ไม่ใส่ขมิ้นเลย)  ก่อเจดีย์ทราย ช่อตุง ไม้ค้ำ ไม้ขัว ฝ้ายล้าง (สายสิญจน์) การเจียว ต๋าแหลง และผังผะติ๊บ เริ่มพิธีตั้งแต่ประมาณ 9.00 น เสร็จพิธีแล้วเอาน้ำมนต์จากสถานที่ประกอบพิธีทุกแห่งมารวมที่สถานที่ประกอบ พิธีกลางเวียงเชียงใหม่ เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชน และในตอนเช้าเวลา 05.00 น.มีการนิมนต์พระสงฆ์ สามเณร จำนวนเท่ากับอายุเมืองมารับบิณฑบาตที่กลางเมือง
          นอกจากพิธีสืบชะตาเมืองของทางเมืองเชียงใหม่แล้ว ทางเหนือทั่วไปก็นิยมจัดประเพณีสืบชะตาบ้าน และสืบชะตาคนอีกด้วย รายละเอียดดังต่อไปนี้
          ประเพณีสืบชะตาบ้าน บ้านเรือนนั้นมีความสำคัญสำหรับครอบครัว เพราะมีบ้านมีเรือนจึงจะบันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้กับคนในครอบครัว เพราะฉะนั้นภายในหมู่บ้านจึงมี "หอ" เป็นเรือนไม้เล็กๆ ปลูกอยู่ระหว่างทางแยก สำหรับเป็นที่อยู่ของเสื้อบ้าน การสืบชะตาบ้านนั้นมักนิยมทำกันก่อนวันเข้าพรรษา คือ ก่อนจะถึงวันสืบชะตา จะมีการประดับประดา "หอ" ให้สวยงามด้วยต้นกล้วย ใช้เป็นซุ้มประตูมีช่อตุงปักอยู่รอบๆ หอและสายสิญจ์โยง และมีการสังเวยหอด้วยอาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ พิธีสืบชะตาบ้านจะเริ่มจากการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ และจะสวดชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ชาวบ้านที่ไปร่วมพิธีเอาความเป็นสิริมงคล ต่อจากนั้นมักมีการสวดขับไล่เสนียดจัญไรไปจากหมู่บ้าน เพื่อนำความร่มเย็นมาสู่
38  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ / งาน สืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ( สืบจ๊ะต๋า เมืองเจียงใหม่) ที่ประตูท่าแพ เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2009, 04:27:06 PM
วันนั้นพอดีว่า อากาศดีตื่นเช้า พอดีกับงานสืบชะตาเมืองเขียงใหม่พอดีก็เลยได้แวะถ่ายรูป ก่อนเค้าเริ่มพิธีกัน ที่ประตูท่าแพก็เอารูปมาให้ชมกัน

เห็นจัดทุกประตูเลยครับแต่ทางผ่านไปที่ทำงานพอดีเลยแวะซักหน่อย

แล้วก็ได้รับแจกพระมาองค์นึง พระครูบาครับ เชิญแวะชมได้เรยคร้าบ  8)





























เอามาโพสช้าไปหน่อยครับ งานเสร็จไปนานละ ถือว่าเอาใว้เป็นข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวนะครับ
39  ข้อมูล เที่ยวลำปาง และ ที่พักลำปาง / ทริปข้อมูล รูปภาพลำปาง / Re: ฮูปสาวลำปาง จาใดก่ะมีหนา (รูปสาวลำปาง เชิญโพสต์ได้ตามใจชอบเลยจ้า ) เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2009, 04:24:59 PM
ขอ คอมเฟอร์มว่าสาวลำปางน่าฮักแต้ๆครับ  ;D
40  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / เชียงใหม่ ร้านอาหาร - แนะนำร้านอาหาร อร่อย ในเชียงใหม่ / ราเม็ง ที่ร้าน ราเม็งบาร์ ช้างคลาน เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2009, 10:51:45 PM
สวัสดีครับวันนี้มาแนะนำร้านอาหารญี่ปุ่นครับ ชื่อร้าน ราเมงบาร์เจ้าของร้าน ชื่อ สุชาติ เชาว์ธุลี (อ้ายชาติ) กับ พี่กระปุก เจ้าของร้านใจดีมากครับ

เวลาเปิด ปิด ร้าน... 7.00 น. - 20.00 น.
 
เมนู แนะนำ............
 

   ราเม็ง เย็น ...
 
  ;D] ราเม็ง กระเพรากรอบ
 
  ;D] อูด้ง ต้มยำพริกญี่ปุ่น
 
  ;D] ข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น
 
  ;D] ข้าวหมูตุ๋น
 
  ;D] ข้าวหมูทอด ข้าวไก่ทอด
 
  ;D] ราคาเริ่มต้น ตั้งแต่ 25 บาท
 
ที่ร้านร้าน ราเมงบาร์ ราคาสูงสุดไม่เกิน 45 บาท




















ลิ้งแผนที่ ที่ตั้งร้านอาหารญี่ปุ่นร้าน ราเมงบาร์ ครับ

http://www.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=en&msa=0&msid=108731746739764096750.00046bafcd07bb343b495&ll=18.780796,98.998522&spn=0.005648,0.004495&z=17
41  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: รบกวนด้วยค่ะ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2009, 12:06:00 AM
ถ้าถึงเชียงใหม่บ่ายสองโมง

 ;D วันเสาร์ ผมแนะนำให้เข้าพักในย่านที่สามารถเดินเที่ยวได้จะดีกว่านะครับ สะดวกในการหาของกิน แถมยังประหยัดตังค์ค่ารถโดยสารอีกด้วย ที่พักในเชียงใหม่มีเยอะนะครับ ราคาก็มีหลากหลาย เท่าที่ผมเคยทั้งผ่านและพัก มาเนี้ยก็มีหลายที่ เช่น ที่ บ้านอ้ายหล้าเกสเฮาส์ น่ารักมากครับ ตกแต่งดี แต่อาจจะไม่ใกล้ใจกลางเมืองมากนักต้องนั่งรถสองแถวไปมา ราคาก็ประมาณ 300-500 www.banilah.com , หรืออีกที่นึง the elegant lanna ราคาประมาณ  690 www.elegantlanna.com 
 
:D ว่ากันเรื่องที่พักซะเยอะมาถึงเรื่องเที่ยว ผมแนะนำว่าวันไปนมัสการอนุเสารีย์สามกษัตริย์ จากนั้นใช้เวลายามเย็นเดินชมความงดงามของวัดพระสิงห์วรวิหาร วัดเจดีย์หลวง วัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคนเชียงใหม่ จากนั้นเดินทะลุไปตามถนนมุ่งไปท่าประตูท่าแพ แวะดูวิถีชีวิตคนเชียงใหม่ ที่มีความหลากหลายของคนแต่ละวัยที่มาพบประพูดคุย จับกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ บนลานท่าแพ หากหิวก็เดินไปอีกหน่อยไปหาของอะหร่อยที่ตลาดสมเพชร

:D วันอาทิตย์ ถ้าอยากไปดอยอินทนนท์อาจจะต้องตื่นเช้ากันหน่อยนะครับ เพราะว่าถ้าต้องโดยสารรถไปเที่ยวเนี้ย ต้องไปขึ้นรถที่จุดจอดรถเมล์สีฟ้า ประตูเชียงใหม่ ซึ่งจะออกทุกๆ 15 นาที แล้วไปลงที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทอง ต่อรถจากหน้าวัด ซึ่งจะมีรถบริการเป็นรถสองแถวสีเหลืองไปยังพระธาตุ โครงการหลวง แต่ไม่ไปถึงจุดสูงสุดนะครับ ใจจริงผมอยากแนะนำให้เช่าารถตู้ไปจะดีกว่าครับ เพราะขากลับโบกรถกลับค่อนข้างลำบาก แต่ถ้าจะใช้รถโดยสารก็พอได้นะครับ ก็แวะลงตามจุดต่างๆ เช่นตลาดชาวเขา น้ำตก แต่ตอนกลับเนี้ยบอกรถสีเหลืองที่เราโดยสารกลับว่าลง ตรงทางแยกถนนหลวง จากนั้นก็โดยสารรถเมล์สีฟ้ากลับครับ รถคันสุดท้าย หกโมงเย็นครับ จากนั้น เย็นๆ ก็มาเดินเที่ยวที่ถนนคนเดินเชียงใหม่ครับ

:D วันจันทร์ แนะนำให้ตื่นเช้าหน่อย นั่งรถสองแถวไปตลาดต้นพยอม ตักบาตรทำบุญตอนเช้า เป็นแหล่งที่คนนิยมมาตักบาตรและคุณก็จะได้เห็นวิถีชีวิตยามเช้าของคนเชียงใหม่ หาอะไรรองท้องที่ตลาดต้นพยอม จากนั้นนั่งรถสองแถวไปลงที่จุดจอดรถหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อต่อรถไปดอยสุเทพครับ นมัสการพระธาตุดอยสุเทพ จากนั้นเดินทางกลับ ไปยังสนามบิน


ถ้ากลัวมีปัญหาเรื่องการเดินทาง ใข้บริการรถตู้ก็ได้นะครับ คุณ ชาตรีนะครับ ขับดี บริการดี แวะตามแต่ลูกค้าอยากจะแวะ เบอร์ของแกนะครับ 086 1912768 แนะนำไปหลายท่านละครับ
คิดว่า ทั้งทริปนี้คงจะเต็มไปด้วยความสุขที่ได้รับจากการมาสัมผัสเมืองเชียงใหม่นะครับ แต่เวลาอาจจะน้อยไปนิด ถ้ามีเวลาเยอะกว่านี้ ผมจะได้แนะนำแหล่งเที่ยวได้มากกว่านี้นะครับ  ขอให้เที่ยวให้สนุกนะครับ
42  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: ช่วยด้วยค่ะ สามีอยากเทียวเหนือ เมื่อ: มิถุนายน 30, 2009, 11:09:16 PM
ไปจัดทริปมาให้ครับ

ไม่แน่ใจว่า จะเริ่มเที่ยวจากจังหวัดไหนก่อนนะครับ งั้นผมขอเริ่มที่เชียงใหม่ก่อนนะครับ แนะนำให้นั่งเครื่องบินมาลงที่เชียงใหม่นะครับ แล้วเช่ารถตู้ ใช้สำหรับทริปนี้จะเวิร์กมากครับ เริ่มจาก
 

;) วันแรก ขอแนะนำให้ใช้เวลาทำความรู้จักเมืองเชียงใหม่อย่างแท้จริงก่อนโดยเริ่มจาก ไปนมัสการอนุเสาร๊ย์สามกษัตริย์ผุ้สร้างเมืองเชียงใหม่ แล้วใช้เวลาเดินเที่ยวพิพิธภํณฑ์หลังอนุเสารีย์สามกษัตริย เป็นที่แสดงงานศิลปะและ ของสำคัญที่หาดูยาก จากนั้น เดินทางไปนมัสการวัดพระธาตุดอยสุเทพ สถานที่สำคัญที่ใครก็ตามที่มาเยือนเมืองเชียงใหม่ต้องแวะมาเยือน ใช้เวลาดื่มเดิ่มกับความงามขององค์พระธาตุและทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ เดินทางต่อไปพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ ชมความงามของพระตำหนักและดอกไม้หลายหลากพันธู์จากต่างประเทศที่นำมาปลูกไว้บนเนื้อที่หลายไร่ในพระตำหนัก จากนั้นนะครับแนะนำว่า เมื่อขึ้นมาถึงที่นี้แล้วไม่ควรพลาดที่จะไปชมถิ่นฐานของชาวเขาบนดอยปุย ดูวิถีชีวิต ถึงแม้ว่าตอนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลก แต่ก็ยังคงมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมเดิมอยู่นะครับ 


;) วันที่สอง แนะนำเส้นทางสายเชียงใหม่ฮอด ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปดอยอินทนนท์ ประมาณ 2 ชั่วโมง ตามเส้นทางนี้ แนะนำให้แวะ จุดชมวิวจุดสูงสุดของดอยอินทนนท์ เดินชมกุหลาบพันปี ตามเส้นทางชมธรรมชาติที่ทางป่าไม้ได้จัดทำให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาศสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด แวะชมความงามของพระธาตุทั้งแห่ง รวมถึง โครงการหลวง น้ำตกแม่กลาง ท้ายสุดของทริปวันนี้น่าจะจบที่การไปนมัสการวัดพระธาตุศรีจอมทอง วัดที่มีสถาปัตยกรรมการสร้างแบบพม่า  สวยงามมากครับ อ้อ! ถ้ามีเวลา ขากลับอาจจะแวะเที่ยวชมงานหรือผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก ที่บ้านถวาย
 

;) วันที่สาม พักหน่อยดีกว่านะครับ อาจจะแน่นเกิน อาจจะใช้เวลาไปแถวชมตลาดวโรรส
 

;D วันที่สี่  ออกเดินทางแต่เช้าไปไปตามเส้นทาง เชียงใหม่ท่าตอน ระหว่างทาง แนะนำให้แวะ วัดท่าตอน วัดที่มีรูปปั้นองค์พระสีขาว องค์ใหญ่มากเลยนะครับ และเห็นสายน้ำแม่กก ที่ไหลย้อนขึ้นไปจากใต้ขึ้นเหนือครับ แปลกแต่จริง ตรงจุดนี้ ถ้าสนใจนั่งเรือจาก ท่าตอนไปเชียงราย ตามลำน้ำแม่กกก็ได้นะครับ เค้ามีจุดบริการ แต่ถ้ามีเด็กไปอาจไม่สะดวก จากนั้น แวะชม วัดร่องขุ่น  เข้าที่พัก
 

;D วันที่ห้า ไปดอยตุง เที่ยวชมความงามของสวนดอกไม้ พระราชวังที่ประทับของสมเด็จย่า และ พิพิธภัณฑ์ จากนั้น ไปแม่สายครับ ที่นี้คงไม่ต้องอธิบายกันมากนะครับ  ถ้าอยากข้ามไปฝั่งพม่าก็ง่ายๆเลยครับ จากนั้น ไปสามเหลี่ยมทองคำ จุดที่ประเทศไทย พม่าและลาว มาเจอกัน โดยมีแม่น้ำโขงมากั้นไว้ เท่านั้น น่าจะพักค้างคืนที่เชียงแสนนะครับ อากาศก็กำลังสบายเลย
 

;D วันที่หก ตื่นเช้ามาเที่ยวชมความงามของเชียงแสนกันครับ เมืองเก่าที่ชวนให้เรานึกถึงบรรยากาศล้านนาเก่าๆ แวะวัดป่่าสัก วัดสำคัญของเชียงแสน  ออกเดินทางกลับเชียงใหม่
 

;D วันที่เจ็ด ถ้าเป็นวันอาทิตย์ ตอนเช้าแนะนำให้ไปเที่ยวจังหวัดลำพูน เมืองเล็กๆที่ยังคงรักษาความเป็นล้านนาได้ดีทีเดียว โดยไปนมัสการวัดพระธาตุหริภูญชัย เจ้าแม่จามเทวี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน, ตอนเย็นใช้เวลาเดินเล่นบนถนนคนเดินเชียงใหม่
 

;D วันที่แปด ออกเดินทางจากเชียงใหม่ ไปยังจังหวัดลำปาง แวะตลาดทุ่งเกวียน แหล่งของป่าที่ชาวบ้านนำมาขาย ไปวัดพระธาตุลำปางหลวง ดูภาพตกกระทบที่กลับหัวขององค์เจดีย์ อันซีนของไทยครับ จากนั้นไปนั่งรถม้า รอบเมืองลำปางกันหน่อยก็เข้าทีนะครับ พักที่ลำปาง
 

;D วันที่เก้า ตื่นแต่เช้า แถงชมตลาดเช้าที่ลำปาง ไปบ้านเสานัก ออกเดินทางต่อไป จังหวัดแพร่ ครับ
 

;D วันที่สิบ ที่แรกที่ไม่ควรพลาด วัดพระธาตุช่อแฮครับ ที่ประดิษฐานของพระเกศาธาตุและพระพรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ชมความงดงามของปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวแพร่ครับ  จากนั้นครับไป วนอุทยานแพะเมืองผี สภาพภูมิประเทศอันเกิดจากการกัดเซาะตามธรรมชาติ จากนั้น ไปชมบ้านวงศ์บุรี บ้านไม้สักสองชั้นแบบยุโรป์ประยุกต์ที่มีสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450
 

;D วันที่สิบเอ็ด เมื่อมาถึงแพร่ ก็ไม่น่าที่จะพลาดไปเมืองน่าน ผมแนะนำให้ไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของจังหวัดน่านกันครับไปดูงาชางดำ ที่มีที่เดียวในประเทศนะครับ จากนั้นก็ไปหอศิลป์เมืองน่าน ตั้งอยู่ริมน้ำน่าน และอย่าลืมแวะไปกราบนมัสการวัดพระธาตุแช่แห้งนะครับ เพื่อเป็นมงคลกับตัวเองและครอบครัวครับ

 
;D วันที่สิบสอง ใช้เวลาที่น่านต่ออีกสักวันน่าจะดีนะครับ โดยผมแนะนำให้ไปบ้านบ่อเกลือครับ ที่นี้เค้าทำนาเกลือบนภูเขาครับ หาดูยาก แล้วออกเดินทางมาจังหวัดแพร่ เพื่อเดินทางต่อไปเที่ยวจังหวัดอื่น

ผมขออนุญาตแนะนำเท่านี้ก่อนนะครับ เพราะว่ายิ่งแนะนำทริป ผมก็ยิ่งมีที่ท่องเที่ยวเยอะ  :D
 ส่วนเรื่องรถตู้เนี้ยผมเคยใช้บริการของ คุณ ชาตรีนะครับ เค้าขับรถดีมากๆ บริการดี แวะไหนได้หมดครับ ตามแต่ลูกค้าอยากจะแวะ เบอร์ของแกนะครับ 086 1912768 เรื่องที่พัก ผมพักเกสเฮ้าส์นะครับ เล็กๆ น่ารัก สะอาด ราคาย่อมเยา มีหลายแห่งมากครับ เดี๋ยวไว้จะแวะเอามาโพสต์ให้นะครับ    O0
43  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: ช่วยด้วยค่ะ สามีอยากเทียวเหนือ เมื่อ: มิถุนายน 25, 2009, 10:20:30 AM
โหมานานอย่างงี้จัดทริปให้ไม่ถูกเลยนะครับ ลองเข้าไปดูตามที่คุณ toto  บอกแล้ว ก็มีให้เลือกเยอะเหมือนกันครับ แต่ถ้าให้แนะนำนะครับ ลองหา ที่เป็นทริปของบริษัท ทัวร์ที่เค้ามีรถไรให้จะดีกว่า หรือไม่ก็เช้ารถเองเลย ไล่มาทีละจังหวัดเลยครับ จากแพร่ ไปน่าน เข้าพะเยา ออกเชียงราย มาเชียงใหม่ ลงลำปาง ที่พูมาคือเส้นทางวนรอบเกือบจะทั้งภาคเหนือเลยนะครับ ไปถึงกันได้ สบายมาก
44  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: ช่วยจัดทริปให้หน่อยนะคะ วันที่ 4-7 กค.นี้ค่ะ เมื่อ: มิถุนายน 25, 2009, 12:22:28 AM
ถ้าเอารถมาเองอาจจะถึงเสาร์เย็น ก็ไป ถนนคนเดินที่วัวลายเลยครับ นอนหลับพักผ่อนซักคืน เดินทางออกไปนอน ที่อุทธยานแห่งชาติ ก็น่าจะดี แนะนำไปนอนที่แบบว่าอุ่นๆหน่อยก็น่าจะดีช่วงนี้ฝนตกเยอะที่เชียงใหม่ น้ำพุร้อน โป่งเดือด เชียงใหม่ ระหว่างทางไปก็มีที่เที่ยว เยอะเหมือนกันครับ ก็ขับเลยทางเข้าตลาดแม่มาลัยไปหน่อย ก็จะเป็นเขื่อนแม่งัดครับ ไปกินข้าวเที่ยง ที่แพด้านใน ก็ได้ ที่ด้านหน้าก็มีร้านอร่อยๆ ค่านั่งเรือเหมาลำเข้าไปเขื่อนแม่งัดก็ 500 บาท กับข้าวก็อร่อยนั่งแพฟรีครับ ถ้าจะนอนที่นี่ก็คนละร้อยครับ ต่อคืน ที่เขื่อนแม่งัด
แต่ไม่นอนที่นี่ครับผมแนะนำ ไปนอนที่ น้ำพุร้อน โป่งเดือด ครับไปนอนแช่น้ำร้อนกันตอนฝนตกนี่แหละ คึคึ ที่น้ำพุร้อน โป่งเดือด มีบ้านพักให้ครับ หรือจะกางเต้นท์ก็ได้ ข้อมูลโดยละเอียด น้ำพุร้อน โป่งเดือด เชียงใหม่ หลังจากกินข้าวที่ เขื่อนแม่งัด เสร็จ ก็ออกไป เที่ยวที่นี่เลยครับ     
น้ำตก บัวตอง ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ มีน้ำตกที่เป็นหินปูนสามารถเดินขึ้นลง ได้อย่างสบายไม่ลื่นครับ ตามลิ้งนี้เลยครับ  ก็ถ้าออกจาเขื่อนมาจะมีป้ายบอกครับ ตอนเข้าเขื่อนไปจะเห็นป้ายบอกอยู่ทางขวามือ

http://www.thaitravelcommunity.com/travelcommunity/index.php?topic=57.0

เล่นน้ำที่น้ำตก บัวตอง เสร็จก็ไป นอนที่ ไปนอนที่ น้ำพุร้อน โป่งเดือด เลยครับ ที่นี่มีบ้านพัก มีเต้นท์ให้เช่า มีอ่างน้ำวน มีสระว่ายน้ำจากบ่อน้ำแร่ แล้วก็กับตอนเข้า ระหว่างทางก็แวะเที่ยวน้ำตกได้ด้วยครับ น้ำตกหมอกฟ้า แล้วกกลับ เข้าเมืองกลับ กทม เลยครับ
45  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: ช่วยจัดทริปเที่ยวเชียงใหม่ให้หน่อยนะ เมื่อ: มิถุนายน 24, 2009, 11:54:05 PM
แนะนำเส้นที่จะไป ดอยอินครับที่เที่ยวเยอะครับ ครบเกือบทุกรส ถ้าวเรื่องวัฒนธรรมก็วัดนี้เลยครับ

วัดศรีนวรัฐ(วัดทุ่งเสี้ยว) ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

วัดศรีนวรัฐ ตั้งอยู่ บนถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ณ บ้านทุ่งเสี้ยว อ.สันป่าตอง มีศรัทธาประมาณ 500 หลังคาเรือน ในสมัยก่อนเคยเป็นวัดร้างเดิมมีที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัดศรีนวรัฐใน ปัจจุบัน จากบันทึกเก่าแก่บอกว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2145 ในช่วงระยะเวลาที่อาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ระหว่างปี พ.ศ. 2122-2150 และได้พบพระพุทธรูปไม้สัก คือ"พระเจ้าอกล้ง" หรือ พระเจ้าสักคงตัน  ถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณวัดเดิมอีกด้วย พระครูวินัยธรสุเทพฐานวโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวรัฐ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของประวัติวัดดังนี้ค่ะ

          “วัดที่นี่เดิมชื่อวัดหลวงทุ่งเสี้ยว สร้างมาได้ในพ.ศ. 2145 จากนั้นก็เกิดศึกพม่ามายึดครองเชียงใหม่ก็ทำให้วัดนี้ห่างร้างไป และในต้นของเจ้าหลวงองค์ที่ 1 คือเจ้ากาวิละ ก็ได้มาบูรณะวัดนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ชื่อวัดนี้ก็คือ เป็น วัดหลวงทุ่งเสี้ยว หลังจากเจ้ากาวิละได้มาบูรณะแล้ว เจ้านายฝ่ายเหนือก็ได้มาอุปถัมป์ ที่วัดนี้สืบทอดกันไปจนถึงเจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 9 ก็คือเจ้าแก้วนวรัฐ มารดาท่านเป็นชาวทุ่งเสี้ยว ”


                  พระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์แรกครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2324 – 2358 ได้ยกกองทัพขึ้นไปตีแคว้นสิบสองปันนา และกวาดต้อนอพยพชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน ไทยยอง มาไว้ในเขตล้านนา ชาวบ้านทุ่งเสี้ยวส่วนใหญ่เป็นจึงชาวไทยเขิน จากเชียงตุง วิหารหลังแรกของวัดศรีนวรัฐ สร้างขึ้นประมาณ หลังปีพุทธศักราช 2348 ตามหลักฐานคัมภีร์ธรรมโบราณ เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดหลวงทุ่งเสี้ยว"
“และ ก็ทำการสมโภชวิหารหลังนี้ ใน พ.ศ. 2464 มีงานฉลองปอยหลวง โดยเจ้าหลวงเชียงใหม่ คือเจ้าแก้วฯ  ได้นำคหบดีทั้งคณะทายาท มาสร้างสิ่งของถวายไว้กับวัดมาพักที่คุ้มประมาณ 15 คืน และ พอได้ทูลเชิญ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี มาร่วมงานหลังจาก พระราชชายาฯ มาร่วมงานพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ก็ยังอาราธนา พระธาตุเจ้าศรีจอมทองเอามาสรงน้ำร่วมกับงานฉลองวิหารร่วมกับเจ้าแก้วฯหลัง นี้ด้วย” 

            นอกจากนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเจ้าแก้วก็โปรดให้อัญเชิญพระเจ้าสักคงตัน มาไว้ในพระวิหารใหม่ เพื่อร่วมพิธีปอยหลวงด้วย ในงานฉลองพระวิหารหลังใหม่ เจ้าแก้วนวรัฐ พร้อมทั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าแม่จามรี หม่อมบัวเขียว และพระราชวงค์ ได้เสด็จมาประทับที่คุ้มหน้าวัด ส่วนขุนนางอำมาตย์ ข้าราชบริภารได้พักตามบ้านราษฎร เจ้าแก้วนวรัฐได้ทรงจัดขบวนช้างศึก ไปอัญเชิญพระบรมธาตุจอมทอง จากวัดต้นแหนหลวงมายังพระวิหารหลังใหม่ของวัดศรีนวรัฐในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5  
               โดยมีเจ้าน้อยพรหม เป็นผู้จัดขบวนแห่ ประกอบด้วยช้างร่วมขบวน และ ทหารแต่ชุดนักรบโบราณสีแดงงดงามมาก มีประชาชนคอยต้อนรับสองฝั่งทางจนถึงวัดศรีนวรัฐ ในเวลากลางคืนจัดให้มีการละเล่นต่าง ๆ และการแสดงของช้างปู่ชัยบาล ซึ่งเป็นช้างแสนรู้ มีความสามารถในการแสดงหลายอย่างด้วยกัน  
 

                “พอปอยหลวงวัดนี้ขึ้นมา เจ้าแก้วนวรัฐท่านก็ได้ตั้งชื่อ(วัด)ใหม่ เปลี่ยนจากวัดหลวงทุ่งเสี้ยว มาเป็นวัดศรีนวรัฐโดยใช้นามของเจ้าแก้วนวรัฐ”
            
                  เพื่อเป็นการสืบสานและแสดงให้เห็นถึงความงดงามแบบล้านนาแท้ ๆ ปัจจุบันทางวัดมีโครงการที่จะสร้างวิหารไม้สักเพื่อประดิษฐาน พระเจ้าสักคงตัน รวมถึง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของชาวล้านนาที่สมัยนี้หา ดูได้ยากยิ่ง และยังมีกิจกรรมที่อนุรักษ์ประเพณีเก่าแก่ อย่าง งานสรงน้ำพระเจ้าสักคงตัน ทานก๋วยสลาก งานเพ็ญเดือน 10 งานปอยหลวง แบบล้านนาเดิม ทำให้การที่วัดไม่ได้สอนเพียงแค่เรื่องพระธรรม การถือศีล ความดีแต่ยังสอนเรื่องวัฒนธรรม
 
ความเชื่อ ประเพณี ประวัติศาสตร์ ทำให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาเก่าๆ สามารถหาพบได้ที่วัดศรีนวรัฐ

 แล้วก็ เข้าเที่ยว น้ำตก แม่ยะใกล้ครับ แล้วก็ไปดอยอินทนนท์เลยครับ ที่ดอยอินทนนท์ ก็มีน้ำตก เยอะเหมือนกัน แล้วก็นอนที่ อุทธยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เลยก็ได้ครับ

ตื่นเช้ามาก็ไปเที่ยวออบหลวงเหมือนแกรนแคนย่อนเลยทีเดียว แล้วก็ แวะใหว้ พระธาตุจอมทองครับ สำหรับคนเกิดปีหนูครับ ปิดท้ายก็แวะบ้านถวาย แล้วก็ถนนคนเดิน

แล้วก็กลับเลยครับ

ถ้ามาเช่ารถก็ คงลำบากหน่อยตามทริปที่แนะนำ แต่ถ้าเป็นรถตู้เช่าจะดีกว่าครับ เหมือนที่ คุณ auto แนะนำครับ

46  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เก็บสตรอเบอรี่สดจากไร่ ที่ เชียงใหม่ / Re: เก็บสตรอเอรี่(Strawberry)... ที่ ไร่ นภ-ภูผา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เมื่อ: มิถุนายน 17, 2009, 02:11:23 PM
ไปไร่สตรอเบอรี่เดียวกันเลยครับไร่ นภ-ภูผา

47  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เก็บสตรอเบอรี่สดจากไร่ ที่ เชียงใหม่ / Re: เที่ยวไร่สตรอเบอรี่...ของดีอำเภอสะเมิง เมื่อ: มิถุนายน 17, 2009, 01:45:52 PM
เป็นรถที่ชาวเขาแข่งขี่ลงดอยอ่าครับคล้ายๆพวกเอกตรีมเกมส์มีแข่งทุกปีครับ
48  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / เก็บสตรอเบอรี่สดจากไร่ ที่ เชียงใหม่ / Re: เที่ยวไร่สตรอเบอรี่...ของดีอำเภอสะเมิง เมื่อ: มิถุนายน 14, 2009, 03:18:22 PM


ไปมาแล้วเหมือนกันครับ เส้นทางอันตรายเหมือนกันครับ ระมัดระวังในการขับขี่ด้วยครับ

เที่ยวไร่สตรอเบอรี่...ของดีอำเภอสะเมิง
49  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: คนต่างถิ่นจะไปดอยอินทนนท์จากตัวเมืองราคาแบบคนท้องถิ่น รบกวนผู้รู้ช่วยชี้ทาง เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2009, 01:33:19 PM
เยี่ยมไปเลยครับ ดีจัง ได้ความรู้เพิ่ม ขอคุณ  คุณ auto
50  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แผนที่เชียงใหม่, map chiangmai / Re: แผนที่ร้านอาหาร เมืองเชียงใหม่ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2009, 03:25:43 PM
ขอยืมเอาไปทำเป็น แผนที่สวยๆใส่เว้บบ้างนะครับ ถ้าทำเสร็จจะเอามาฝากมั่ง
51  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: ช่วยจัดทริปเที่ยวเชียงใหม่-ปายให้หน่อยค่ะ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2009, 03:23:55 PM
รูปสวยมาเลยครับ อยากไปอีกครั้งคราวก่อนยังไม่จุใจตอนนี้ได้กล้องใหม่ด้วย  ;D
52  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: สอบถามเกี่ยวกับวัดน่อยค่ะ เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 01:17:18 AM
แผนที่วัดอุโมงครับ
53  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: จัดทริปให้หน่อยคับ เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 01:06:20 AM
ไม่ได้เอารถมาเองอย่างงี้ก็แนะนำให้เที่ยวในตัวเมืองอย่างเดียวเลยครับคึคึ ก็หลัก ที่ฮิตๆก็มีร้านพี่โน๊ตครับ

ร้านพี่โน๊ต

ถ้าเป็นผับแนะก็เส้นนิมานเหมินเลยครับ เพียบ ไม่ว่าจะเป็น วอร์มอัพ มังกี้ มาเจนต้า เลือกได้เรยแต่ไม่ค่อยถนัด

ถ้า ยังไงก็ลองถามรถแดงได้ครับ เค้า รับเหมาพาเที่ยวเหมือนกัน เรื่องราคาต้องตกลงกันเอง

ที่เที่ยว แบบป่าๆ เขาๆ ใกล้ก็มี น้ำพุร้อนสันกำแพง ดอยสุเทพ ปางช้างแม่สา สวนพฤกษศาสตร์

พืชสวนโลก ไนท์ซาฟารี ก็ลองบอกมาละกันว่าชอบแบบไหน จะได้ช่วยกะเวลาให้ได้ถูก ถ้ายังไงอยากไปเอง

อาจจะหาเช่า มอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์ก็ได้ครับ

ก็สามารถไปดูแผนที่และเส้นทางได้ --->> เว้บบอร์ด แนะนำ เส้นทาง แหล่งท่องเที่ยว ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก
54  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / ร้านก๋วยเตี๋ยวเชียงใหม่ / Re: เย็นตาโฟ "สอาด" เชียงใหม่ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2009, 11:48:33 AM
อืม ถนน ศาลเก่านี่ในคูเมืองรึป่าวครับ  ::)
55  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง ร้านข้าวต้ม เชียงใหม่ / Re: ร้านข้าวราดแกงที่อร่อยและราคาถูก ในเชียงใหม่ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2009, 11:33:26 AM
ดีจังครับไม่นึกว่าจะยังมีร้านราคาถูกอย่างนี้อยู่ แต่มันไกลที่ทำงานจังเลย T_T
56  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / ร้านอาหารเช้า โจ๊ก กาแฟ เกาเหลาเลือดหมู เชียงใหม่ / Re: Boat ..ถนนห้วยแก้ว ทางไปดอยสุเทพ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2009, 11:30:21 AM
อร่อยแต้ๆ ครับ มีให้ทุกอย่างเลย ของกิน ไปนั่งกินเล่น หรือ กินจริงๆก็ได้  ;D
57  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / แนะนำ ร้านกาแฟ ชา เบเกอรี่ เค้ก ขนม ไอศกรีม อาหารว่าง ของทานเล่น ในเชียงใหม่ / Re: ซาลาเปา หนองหอย เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2009, 11:12:23 AM
มีร้านพี่น้องกันด้วยหรอครับ อืมๆ ดีจัง ซื้อได้หลายลูกหลายรสชาติ ดีจริงๆขอบคุณครับใว้ไปทางสถานี้รถไฟจะแว่บไปครับ
58  ข้อมูล ร้านอาหาร เชียงใหม่ / แนะนำ ร้านกาแฟ ชา เบเกอรี่ เค้ก ขนม ไอศกรีม อาหารว่าง ของทานเล่น ในเชียงใหม่ / Re: กาแฟ..หอมอร่อย....ในตรอกเล่าโจ้ว เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2009, 09:34:42 AM
ใว้ไปแถวกาดหลวงจะไปแวะครับ แต่ไม่ค่อยคุ้นเส้นทางเท่าไหร่ ตรอกเล่าโจ ขอบคุงคร้าบ
59  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / คุยเรื่องการเดินทาง / Re: สอบถามเกี่ยวกับวัดน่อยค่ะ เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2009, 11:04:25 PM
เว้บวัด อุโมงค์ครับ  http://www.watumong.org เรื่องแผนที่เด๋ว หาให้ครับ
60  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ / แนะนำ ติชมเรา โพสรูปประทับใจที่ไปเที่ยวมา ลูกค้าบอกต่อ / Re: อยากรู้จักคนเชียงใหม่ เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2009, 10:44:45 PM
อืมผมชื่อ เตอร์กครับมีไรพูดคุยกันได้ครับเกี่ยวกับเรื่องท่องเที่ยว ทางเหนือ ไม่เฉพาะเชียงใหม่ครับ
หน้า: 1 2 »




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 15 คำสั่ง