หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : ที่มาของชุมชน เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 15, 2015, 09:41:04 AM ในวัดศรีสุพรรณ ถ้าใครซักคนอยากจะมาเที่ยวกัน คงพากันนึกถึงอุโบสถเงินที่สวยงามหลังแรกของโลกกันนะครับ ซึ่งนอกกจากอุโบสถเงินจะมีให้ชมแล้ว ภายในวัดก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือเรื่องราวของหัตถกรรมเครื่องเงินของชุมชมวัดศรีสุพรรณ ที่ว่ากันว่าขึ้นชื่อกันในเรื่องของลวดลายและเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก
ชุมชนวัดศรีสุพรรณนั้น เป็นชุมชนเก่าแก่ ดังปรากฏข้อความจากศิลาจารึกหินทรายแดงที่บันทึกประวัติวัดศรีสุพรรณด้วยอักษรฝักขามว่าวัดศรีสุพรรณสร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วหรือพญาแก้วกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (พ.ศ.2038 2068) ซึ่งเป็นยุคทองของล้านนาที่สืบต่อมาจากสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984 2030) และพญายอดเชียงราย (พ.ศ.2030 2038) โดยได้มีการยกที่นาแปลงใหญ่และผู้คนจำนวน 20 ครัวเรือนให้กับวัดศรีสุพรรณ จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนวัดศรีสุพรรณตั้งแต่นั้นมา บรรพบุรุษของชาวชุมชนวัดศรีสุพรรณเดิมตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงินอยู่ใน แขวงเมืองปั่น แถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน มีชื่อเรียกว่าบ้านงัวลาย (งัว เป็นภาษาถิ่น แปลว่า วัว) หลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และตำนานราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ กล่าวว่า ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้นได้รวบรวมผู้คนจากหัวเมืองต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองหลังการปลดแอกจากการยึดครองของพม่า เรียกว่า ยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง โดยพระเจ้ากาวิละได้ให้เจ้าสุวัณณะคำมูลผู้เป็นหลานชายคุมกำลังพลจำนวน 300 นายไปตีเมืองปุซึ่งมี เจ้าฟ้าคำเครื่องเป็นเจ้าเมืองอยู่ แล้วจึงกวาดต้อนผู้คนกลับมาเชียงใหม่ จากนั้นยังตีเอาบ้านสะต๋อย สอยไร่ ท่าช้าง บ้านนา บ้านทุ่งอ้อ และบ้านงัวลาย และกวาดต้อนผู้คนกลับมาเช่นกัน จากการกวาดต้อนทั้งสองครั้งดังกล่าวพระเจ้ากาวิละได้ให้ครอบครัวที่มาจากบ้านงัวลายให้มาตั้งบ้านเรือนในบริเวณวัดหมื่นสารและวัดศรีสุพรรณแล้วเรียกชื่อว่า บ้านงัวลาย ตามชื่อเรียกหมู่บ้านเดิม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อตามภาษาไทยกลางว่า วัวลาย อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า พระเจ้ากาวิละได้ให้ชาวบ้านงัวลายตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอหางดง ในบริเวณ ที่ติดกับหมู่บ้านกวน โดยบ้านงัวลายทำเครื่องเงินและหมู่บ้านกวนทำเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาจึงได้ย้ายชาวบ้านงัวลายเข้ามาในเมือง แต่ไม่ได้ย้ายชาวบ้านกวนเข้ามาด้วยเพราะว่าการทำเครื่องปั้นดินเผาก่อให้เกิดควันเป็นจำนวนมากจึงไม่เหมาะที่จะย้ายเข้ามาในเมือง ดังนั้นจึงมีแต่เฉพาะชาวบ้านงัวลายเท่านั้นที่ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่รอบคูเมือง แต่ก็ยังมีหมู่บ้านที่ชื่อว่างัวลายอยู่ในอำเภอหางดงปรากฏเป็นหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านงัวลายที่ย้ายเข้ามาในสมัยนั้นส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมือที่มีทักษะในการทำเครื่องเงิน และได้รับการสืบทอดวิชาชีพช่างเงินมาจากบรรพบุรุษ คนในชุมชนบ้านงัวลายส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำเครื่องเงินเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว โดยมีแบ่งการกันทำภายในครอบครัว ซึ่งฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายตีขึ้นรูปภาชนะ ในขณะที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายตกแต่งให้มีความประณีตสวยงาม ผู้เฒ่าและเด็ก ๆ มีหน้าที่ขัดเงาให้เครื่องเงินมีความงดงามน่าใช้ |