หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา : เรียนรู้ภูมิปัญญาของงานหัตถกรรมดั้งเดิม เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 15, 2015, 09:21:11 AM เพิ่งมาสังเกตได้ไม่นานมานี้ว่ามี พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา อยู่ในวัดศรีสุพรรณ แถมถนนวัวลายให้ได้ชมกันครับ
ก่อนหน้านี้ผมมาเที่ยววัด ไม่ค่อยได้สนใจในตัวพิพิธภัณฑ์ เอาแต่สนใจในตัวพระอุโบสถ และล่าสุดก็อย่าที่บอกไป ข้างใน พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา เปิดให้ชาวบ้านตาดำๆ แบบผมเข้าไปชมกันได้ พูดถึงพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนาแล้ว ต้องบอกว่าเป็นที่จัดแสดงความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับภูมิปัญญาสล่าของล้านาครับ ซึ่งก็มีหลายอย่างด้วยกันที่น่าสนใจ ซึ่งผมจะขอหยิบยกเอามาเล่าให้อ่านพอเห็นภาพคร่าวๆ กัน อย่างของหมู่บ้านวัวลาย ก็จะมีนายเสนีย์ ไชยรังสี เป็นครูภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมเครื่องเงิน หมู่ช่างบุ ดุน(ต้องลาย ) ผลงาน ช่างหัตถกรรมเครื่องเงินสร้างอุโบสถเงินวัดศรีสุุพรรณ งานศิลปกรรมเชิงสร้างสรรค์ (ลายนูนต่ำ นูนสูง) และเป็นครูภูมิปัญญาชาวบ้านประจำศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณสล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณ เครื่องเขินเชียงใหม่ ของชุมชนนันทารามที่ขึ้นชื่อ เครื่องเขินชนิดนี้มีโครงสร้างเป็นโครงสานลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ที่มีการเหลาให้ได้ ขนาดเล็กเรียบบางคล้ายทางมะพร้าวสานขัดกับตอกเส้นบางแบนเป็นรูปแฉกรัศมีจาก ก้นของภาชนะจนได้รูปทรงตามความต้องการ โดยไม่ต้องมีการดามโครงให้แข็งเป็นที่ ที่เครื่องเขินชนิดนี้จะมีโครงที่แน่นแข็งแรงเรียบเสมอกันโดยตลอด เมื่อทารักสมุกแล้ว ขัดก็จะได้รูปภาชนะที่ค่อนข้างเรียบเกลี้ยงบาง และมีความเบาการตกแต่งของเครื่องเขิน ชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่นิยมการขูดลาย หรือภาษาพื้นถิ่นว่า ฮายดอก โดยเทคนิคการตกแต่งผิวภาชนะด้วยวิธีการขูดลายนี้ ภาชนะที่จะทำลวดลายได้จะต้อง มีผิวบางรักที่แห้งสนิทและเรียบ การฮายดอกต้องใช้เหล็กปลายแหลมคล้ายเหล็กจาร ใบลานกรีดลงไปบนผิวยางรักของภาชนะการฮายดอกต้อง อาศัยความชำนาญเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่ให้เกิดเส้นลึกมาก จนยางรักกระเทาะออก หรือแผ่วเบาเกินไปจนทำให้ลวดลาย มองเห็นได้ยากเมื่อฮายดอกเสร็จแล้วจึงนำยางรักที่ผสมกับ ชาดสีแดงถมลงไปในร่องที่กรีดไว้รอให้แห้งอีกหลายวันแล้ว จึงขัดส่วนนอกสุดออกจนมองเห็นเส้นลวดลายสีแดงฝังอยู่ในพื้นที่สีดำของยางรัก จากนั้นจะเคลือบด้วยยางรักใสหรือรักเงา เพื่อเป็นการปิดเคลือบลวดลายทั้งหมดให้ ติดแน่นกับภาชนะเทคนิคการฮายดอกของเครื่องเขินชนิดนี้เองที่เป็นเอกลักษณ์ของ เครื่องเขินเชียงใหม่มาแต่เดิมซึ่งต่อมาพม่าได้กวาดต้อนเอาช่างเครื่องเขินที่ทำด้วย เทคนิคชนิดนี้ว่า โยนเถ่ สำหรับเครื่องเขินที่ผลิตขึ้นจากแหล่งบ้านนันทารามใน ปัจจุบันนั้น มีเทคนิคการเขียนลวดลายที่ผิวภาชนะเป็นอย่างเดียวกันแต่เป็นผลิตผล ที่เกิดขึ้นจากคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาเป็นพลเมืองเชียงใหม่กลุ่มใหม่ ดังนั้นจึง อาจจะเรียกเครื่องเขินชนิดนี้ว่า เครื่องเขินเชียงใหม่รุ่นหลังก็ได้ หัตถกรรมไม้ไผ่ขด หมู่บ้านศรีปันครัว ที่ยึดอาชีพจักสาน ทำเครื่องรัก เครื่องเขิน ของจังหวัดเชียงใหม่ อันมีคุณยายขันแก้ว กันธิมา ที่ได้รับยกย่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี 2542 ว่า เป็นศิลปินดีเด่นด้านจักสานฝีมือ ซึ่งงานจักสานที่ว่า นี่ก็คือจักสานไม่ไผ่ ขึ้นรูปเป็นภาชนะ ที่เรียกว่าเครื่องเขิน ที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในงานบุญ งานประเพณี และวิถีชีวิตคนเมือง นอกจากเรื่องราวที่นำมาเล่าบางส่วนแล้ว ก็ยังมีหลายเรื่องที่น่าสนใจให้ได้ศึกษาในพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา กันครับ เอาเป็นว่าใครสนใจ ก็สามารถแวะไปเยี่ยมชมกันได้ |