จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:56:03 PM



หัวข้อ: "บ้านกวนวัวลาย" กับหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาอันขึ้นชื่อ : ครูช่างที่โดดเด่น
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:56:03 PM
กว่าจะออกมาเป็นผลงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามได้ขนาดนี้ ก็ต้องผ่านมือของครูช่างผู้ที่มีความชำนาญการในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กันครับ ซึ่งในบ้านกวนก็มีครูช่างที่โดดเด่นกันหลายคน จนในปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านกวนได้จัดทำโครงการ “อุ๊ยสอนหลาน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมให้ทางกลุ่มได้มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน โดยจะมีการจัดสอนการปั้นหม้อแบบต่าง ๆ ให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านกวน และโรงเรียนศรีล้อมในทุกสัปดาห์ โดยจะมีครูช่างที่มีความถนัดในด้านต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันไปให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ที่สนใจ โดยครูช่างที่โดเด่นก็จะมีกันดังต่อไปนี้
 
1. นางดารุณี นันโท ผู้มีความถนัดด้านการสร้างสรรค์ดัดแปลงให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับ คุณดารุณีแล้ว การปั้นหม้อนั้นไม่จำเป็นจะต้องยึดติดกับการปั้นหม้อแบบเดิม ๆ แต่ผู้ปั้นสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในชิ้นงานเพื่อให้ได้ผลงานใหม่ ๆ เขาจึงตั้งใจที่จะสอนคนยุคใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีแนวคิดแปลกใหม่ให้รู้จักกับการดัดแปลงหม้อโบราณ เพื่อจะได้สร้างหม้อดินเผาและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหม้อดินเผาแบบใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
 
2. นางปราณี จันทร์ตา ผู้มีความถนัดการปั้นหม้อแกง เขามีความรักและผูกพันกับการปั้นหม้อแกงมากเพราะเขาได้เห็นการปั้นหม้อมาตั้งแต่เด็ก และได้เรียนรู้วิธีการปั้นหม้อแบบต่าง ๆ มาจากคุณแม่ ดังนั้นเขาจึงได้สอนการปั้นหม้อดินเผานี้ให้แก่ผู้ที่มีใจรักและสนใจในการปั้นหม้อ เพื่อช่วยอนุรักษ์การปั้นหม้อให้คงอยู่สืบไปเพราะการปั้นหม้อนี้มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ และได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เขาจึงไม่อยากให้การปั้นหม้อต้องมาสูญหายไปในยุคสมัยนี้
 
3. นางอร กันหาลีลา ผู้มีความถนัดการปั้นหม้อน้ำ เขาเล่าว่าหม้อน้ำดินเผานั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนล้านนามาตั้งแต่อดีต โดยแต่ละบ้านจะวางหม้อน้ำดินเผาพร้อมกระบวยตักน้ำไว้ที่หน้าบ้านเพื่อให้ ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้ดื่มแก้กระหาย ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความมีน้ำใจของคนล้านนา แต่ในปัจจุบันนี้ความนิยมในการวางหม้อน้ำดินเผาไว้หน้าบ้านลดลงมากและมีแนวโน้มว่าจะหายไปในที่สุด เขาจึงตั้งใจจะสอนการปั้นหม้อน้ำดินผานี้ไว้เพื่อเป็นการสืบทอดไม่ให้สิ่งดีงามเหล่านี้ต้องหายไป

นอกจากครูช่างโดดเด่นที่เอ่ยมาแล้ว ก็ยังมีครูช่างอีกหลายคนครับที่มีความชำราญไม่ว่าจะเป็น คุณอุไร เสาร์โรชา คุณศรีวรรณ แก้วดี และคุณพันงาม บัวหาร