หัวข้อ: วัดสิริมังคลาจารย์ : นามนี้มีที่มา เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:44:21 PM กว่าที่จะมาเป็นชื่อ "วัดสิริมังคลาจารย์" นั้น สาเหตุที่ทรงพระราชทานนามวัดในครั้งนี้ เนื่องจากคณะสงฆ์และคณะศรัทธาทั้งหลายเห็นว่าวัดนี้ยังไม่มีชื่อเป็นทางการ เดิมเรียกว่าวัดปากทางเจริญตามชื่อหมู่บ้านจึงได้ประชุมปรึกษาหารือโดยมีท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นประธานและพร้อมใจกันกราบบังคมทูลให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงเลือก 2 ชื่อ คือ
1. ศรีสังวรารามเพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างมากมายนับอเนกอนันต์ 2. สิริมังคลาจารย์เพื่อเป็นเกียรติแก่พระสิริมังคลาจารย์ พระมหาเถระนักปราชญ์แห่งล้านนาไทย ผู้แต่งคัมภีร์จักวาฬทีปนีซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวางด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบริมราชชนนี ที่ทรงตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนา จึงทรงเลือกพระราชทานนามวัดว่า "วัดสิริมังคลาจารย์" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระมหาเถระนักปราชญ์แห่งล้านนาไทยแสดงถึงพระราชหฤทัยอันงดงามที่พร้อมจะเสียสละเพื่อส่วนรวมตลอดเวลาโดยมิได้นึกถึงพระองค์แต่อย่างใด ทั้งนี้ ในการเสด็จพระราชดำเนินของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในครั้งนี้ก่อให้เกิดความปลื้มปิติซาบซึ่งใจแก่พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึงวัด ก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปที่ท่านพระปลัดทอง สิริมงคโล (ตำแหน่งในขณะนั้น) ปัจจุบัน คือ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ ดร.พระราชพรหมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารและได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับท่านคุณอาจารย์ "ขอฝากพระพุทธศาสนากับพระคุณเจ้าด้วย" เสมือนหนึ่งเป็นเป็นนิมิต หมายบอกว่า ขอให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นหลักชัยของพระพุทธศาสนาตลอดไป และเมื่อกาลเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันพระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีล้วนเป็นความทุกประการ ดังจะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจเพื่อทำนุบำรุงและ เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงในทุกๆด้านด้วยความเสียสละและอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อ ดังปรากฏผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการศึกษาทางพระพุทธศาสนาทั้งในด้านปริยัติและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมบาน การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาล้านนา ฉบับภาษาบาลีล้านนาและรวบรวมพระไตรปิฎกภาษาต่างๆทั่วโลก เก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎกวัดรำเปิง (ตโปทาราม) การก่อสร้างวัดวาอารามและสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มากกว่า 50 สำนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานในด้านการเผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาจิตของมวลมนุษย์ทั้งหลายนั้น ได้รับการยอมรับและยกย่องสรรเสริญอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญานของสมเด็จนครินทราบรมาราชชนนี ที่ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล จึงทรงเลือกที่จะฝากพระพุทธศาสนาไว้กับท่านเจ้าคุณอาจารย์ทั้งๆที่ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์มีตำแหน่งเป็นพระปลัดทอง สิริมงคโล เท่านั้น |