จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => วัดในจังหวัดเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:31:50 PM



หัวข้อ: วัดพระธาตุดอยหล่อ : อีกหนึ่งวัดสวยของดอยหล่อ ที่ต้องขอไปเยือนซักครั้ง #2 (ตอนจบ)
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:31:50 PM
วัดพระธาตุดอยหล่อ ผมถือว่าเป็นวัดที่มีเสน่ห์ในแบบชนบทกันนะครับ บรรยากาศหลายๆ อย่างภายในนี้ เหมือนกับย้อนยุคไปซัก  50-60  ปีที่แล้ว เพราะสิ่งก่อสร้างหลายๆ อย่างมันดูโบราณได้ใจ เป็นใครเห็นก็คงจะชอบ

อย่างตัวอาคารที่เห็นในภาพ สร้างกันตั้งแต่ปี 2483 โดยพุทธศาสนิกสมาคม เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้เก่า มองดูแล้วให้อารมณ์ขลังๆ แต่สวยงาม ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างจะหาเจอได้ยาก ถ้าเป็นแถวบ้านผมหรือที่อื่นๆ ก็ถูกรื้อไปแล้วเรียบร้อย แล้วสร้างกันในแบบสมัยใหม่

ตัวองค์เจดีย์เล่าไปแล้ว ขอเล่าในส่วนพระวิหารกัน เป็นวิหารทรงล้านนา เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ ส่วนฐานของอาคารตลอดจนถึงผนังก่อด้วยอิฐฉาบปูน เทคนิคปูนก่อและฉาบแบบโบราณ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา มักสร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของวิหารล้านนา เรียกว่าโครงสร้างแบบม้าต่างไหม หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสามชั้น ด้านหลังสองชั้น สัมพันธ์กับการยกเก็จของผัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด บันไดทางเข้าวิหารเป็นบันไดแบบนาคคายมกร

ข้างวิหาร เป็นศาลาที่เอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ถัดออกไปด้านนอกจากตรงนี้ มีวิหารที่ตั้งประดิษฐานรูปเหมือน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ญาณวุฒิโฑ อดีตเจ้าอาวาสวัดดอยหล่อ โดยมีพระครูพิศิษฎ์ พิพิธการ เจ้าอาวาสวัดข่วงสิงห์ เป็นประธาน พร้อมคณะศรัทธาวัดข่วงสิงห์บริจาคสร้าง

ใกล้กับวิหารที่ตั้งประดิษฐานรูปเหมือน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ญาณวุฒิโฑ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระเจ้าทันใจ พระพุทธรูปที่สามารถสร้างเสร็จภายใน 1 วัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนจึงเชื่อว่ามีพระพุทธานุภาพ ที่จะสามารถบันดาลให้เกิดโชคลาภ และความสมปรารถนาได้ทันอกทันใจเมื่ออธิษฐานขอพร

หอสรงน้ำพระธาตุ ที่สร้างเอาไว้สรงพระธาตุ โดยเป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ ที่นิยมกระทำเป็นประจำทุกปี เปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยทั่วไปจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือ วันงานเทศกาลประจำปี เช่น สงกรานต์ เป็นต้น และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำ ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องที่นั้นๆ หรือ แล้วแต่บุคคล

สุดท้ายอุโบสถ ที่ตั้งอยู่ไกลออกไป อาคารที่พระสงฆ์ใช้ประชุมสังฆกรรมร่วมกัน ซึ่งการทำสังฆกรรมที่สำคัญที่สุดได้แก่การทำสังฆกรรม บวช ในวัฒนธรรมล้านนา แบบอย่างของวิหารรและโบสถ์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่โบสถ์จะมีใบสีมา เป็นเครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบ อาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีกชั้นหนึ่ง โดยจะกำหนดบริเวณทิศทั้ง 8 และฝังไว้ตรงกลาง รวมทั้งหมด 9 แห่ง