จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => วัดในจังหวัดเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:56:00 AM



หัวข้อ: ตะลอนเที่ยววัดเชียงใหม่ "วัดแสงสว่าง"
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ สิงหาคม 13, 2015, 08:56:00 AM
กว่าจะได้มาวัดนี้ เรียกว่าขับผ่านกันหลายที แบบมีเลยป้ายไม่ต่ำกว่า 5 รอบ สุดท้ายรอบที่เท่าไหนไม่รู้ ถึงได้มาอยู่ตรงนี้กัน

วัดแสงสว่าง เดิมชื่อวัดข่วงมื่น ตั้งอยู่เขต ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เหตุที่ย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ปัจจุบันนี้ คือ วัดข่วงมื่น สมัยนั้น ถนนหนทางถูกน้ำท่วมขังยากแก่การสัญจรไปมา เพราะวัดตั้งอยู่ในที่ลุ่ม ต่อมาในปี พ.ศ.2486 ท่านครูบาคำมา ปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดข่วงมื่นสมัยนั้นได้ประชุมปรึกษากันว่า วัดที่อยู่ทุกวันนี้มีน้ำท่วมขังอยู่ควรย้ายขึ้นไปอยู่สูงกว่านี้จึงลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าควรย้ายวัด ท่านครูบาคำมา ปญฺโญ พร้อมญาติโยมจึงพากันเสาะหาสถานที่เพื่อตั้งวัดใหม่ พ.ศ.2486  ปีเดียวกันนั้นเองจึงได้ย้ายวัดข่วงมื่นมาตั้งอยู่ในเขต ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งห่างจากวัดข่วงมื่นเดิมเพียง 1 กิโลเมตร และตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดแสงสว่าง เลขที่ 102 ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

สิ่งที่น่าสนใจในวัด มีสถูปของครูบาอยู่ด้านหลัง เยื้องๆ กับวิหาร โดยวัดแสงสว่างนั้น จะมีเหรียญหลวงพ่อบุญมา วัดแสงซึ่งเป็นเกจิล้านนาอีกท่านหนึ่งที่เรืองอาคม ที่เซียนพระมีไว้บูชากันครับ โดยหลวงพ่อท่านได้ละสังขารไปในช่วงปี 2530 กว่าๆ ซึ่งการสร้างเหรียญรุ่นแรกไม่ทราบปีที่สร้าง เหรียญมีลักษณะด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์มีรูปไก่ด้านล่างน่าจะเป็นปีเกิดท่าน

เมือเรื่องเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์เหรียญรุ่นนี้ว่า เคยมีคนถูกยิงแต่ไม่เข้ามาแล้ว และที่กล่าวขวัญกันมากก็คือช่วงโรงลำใยที่อยู่ทิศใต้ติดวัดระเบิดรัศมีรุนแรงถึง 5 กิโลเมตร กุฎิ ศาลา วิหารในวัดแสงสว่างถูกแรงระเบิดพังลงกระทั่งพระประธานในวิหารถึงกับคอขาด (แรงระเบิดไปไกลถึงโรงพยาบาลสันป่าตองกระจกแตกไปหลายบาน) แต่ก็เป็นที่น่าแปลกว่ารูปปั้นหลวงพ่อบุญมาที่อยู่ข้างวิหารไม่เป็นอะไรเลย และพระเณรที่อยู่ในวัดก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเลย ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงหลงเหลือร่องรอยให้เห็น

ศาสนสถานอื่นๆ ที่น่าสนใจยังมีเจดีย์ล้านนาทรงระฆังที่มีส่วนฐานทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น 2-3 ชั้น เรียกว่าฐานเขียง ทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนบนของอาคาร ถัดจากช่วงฐานจะเป็นส่วนองค์ระฆังหรือส่วนเรือนธาตุของเจดีย์ จะออกแบบเป็นรูปทรงกลมคล้ายรูประฆังคว่ำ ส่วนยอดนั้นจะเริ่มต้นด้วยบัลลังก์ ทำเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กวางเหนือองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปทำเป็นปล้องไฉน ปลียอด และเม็ดน้ำค้างในส่วนปลายสุด ส่วนศาสนสถานอื่นๆ มี วิหารทรงล้านนา พระเจ้าทันใจ หอระฆัง และศาลาบาตร