จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => เชียงใหม่ ท่องเที่ยว - ข่าวสารเกี่ยวกับเชียงใหม่และจังหวัดภาคเหนือ => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 06:14:39 AM



หัวข้อ: เสพศิลป์ในงานนิทรรศการ พุทธศิลปกรรม ครั้งที่ 3 #2 (ตอนจบ)
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 06:14:39 AM
จากเรื่องของงานจิตรกรรมสีอะครีลิคบนผ้าแคนวาส จิตกรรมที่น่าสนใจอีกอันคือการวาดหมึกจีนลงบนกระดาษสาครับ ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำใคร

หมึกจีนนั้น มีการผลิตมาจากการเผาถ่านหิน ในช่วงแรกมักจะใช้หมึกที่เกิดตามธรรมชาติเช่น หมึกจากหินสี  หมึกจากท้องทะเล เขม่าถ่านจากเตา 3 ขา จนกระทั่งได้มีการพัฒนาประดิษฐ์หมึกเพื่อใช้เอง โดยใช้เขม่าจากถ่านในการเผา ไม้สน ไม้ ถงเป็นต้น  แต่การพกพายังคงเป็นไปด้วยความยากลำบากชาวจีนจึงคิดค้นคิดวิธีที่จะผลิตเป็นแท่งหมึกโดยการนำมาผสมกับกาว นวดและปั้นออกมาเป็นแท่ง ทำให้การพกพาสะดวกยิ้งขึ้น  ในช่วงหลัง การผลิตหมึกมีวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้นทั้งการนำมาผสม กาว ปรับปรุงคุณภาพด้านต่างๆใส่สมุนไพรลงไปเพื่อให้เกิดกลิ่นหอมหมึกที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน คือหมึกหลี่โม่ ที่มีการผสมเขากวางลงไปด้วยทำให้เวลาเขียน ดูนุ่มเป็นมันวาว ส่วนพู่กันนั้น ประดิษฐ์จากขนสัตว์ ทำให้การ จดบันทึกของจีนแพร่หลาย อย่างมากในหมู่บัณฑิต 

จากงานวาด มาที่อาสนะไม้ พร้อมตาลปัตรลวดลายสวยงามที่จัดแสดงอยู่ตรงกลางกันครับ อย่างที่เห็นในภาพตัวตาลปัตรนั้นมีลวดลายต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนา อย่างการตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้ เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับตาลปัตรนั้น สาเหตุที่พระสงฆ์นำ “ ตาลปัตร ” มาใช้นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นต่างๆกันไป บางท่านก็ว่า การใช้ตาลปัตรครั้งแรกดั่งเดิมนั้น มิใช่เพื่อบังหน้าเวลาเทศน์ แต่ใช้เพื่อกันกลิ่นเหม็นของศพที่เน่าเปื่อย เนื่องจากพระสงฆ์ในสมัยโบราณจะต้องบังสุกุลผ้าห่อศพไปทำจีวร ดังนั้น ท่านจึงต้องใช้ใบตาลขนาดเล็กมาบังจมูกกันกลิ่น จากนั้นต่อมาก็เลยกลายเป็นประเพณีของสงฆ์ที่จะถือตาลปัตรไปทำพิธีต่างๆโดยเฉพาะในพิธีปลงศพ บางท่านก็ว่าการที่พระถือตาลปัตรในระหว่างการแสดงธรรมเทศนาหรือสวดพระปริตร ก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตรเมื่อเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนะ พระสงฆ์จึงได้ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ยังมีผู้สันนิษฐานว่า เกิดจากเนื่องจาก สภาพจิตใจของผู้ฟังธรรมมีหลายระดับ จึงต้องมีการป้องกันไว้ก่อน ดังเรื่องเล่าที่ว่า พระสังกัจจายน์ พระสาวกที่สำคัญรูปหนึ่ง ท่านมีรูปงามหรือพูดง่ายๆว่าหล่อมาก ขณะที่แสดงธรรมโปรดอุบาสก อุบาสิกาอยู่นั้น ทำให้สตรีบางคนหลงรักท่านอย่างมาก และด้วยภาวะจิตที่ไม่บริสุทธิ์ของสตรีเหล่านี้ จึงก่อให้เกิดบาปขึ้น เมื่อท่านรู้ด้วยญาณ จึงได้อธิษฐานจิตให้ตัวท่านมีรูปร่างอ้วนใหญ่พุงพลุ้ยกลายเป็นไม่งามอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน และเป็นเหตุให้พระสงฆ์ต้องหาเครื่องกำบังหน้าเวลาเทศน์ หรือประกอบพิธี เพราะ ต้องการให้ผู้ฟัง ได้ฟังแต่ธรรมจากท่านเท่านั้น มิใช่มัวแต่มองหน้าหลงรูป

จากผลงานที่ยกมาอ้างแค่บางส่วน ภายในนิทรรศการก็ยังมีภาพถ่าย เครื่องปั้นดินเผา เอาไว้จัดแสดงให้ชมกันนะครับ ซึ่งใครสนใจก็สามารถแวะไปชมกันได้ถึงสิ้นเดือนนี้ที่หอศิลป์ มช. กัน