หัวข้อ: ตามรอยเครื่องปั้นดินเผาทรงคุณค่า ณ บ้านเหมิองกุง #1 เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ กรกฎาคม 03, 2015, 11:02:01 AM การท่องเที่ยวคราวนี้ขอเปลี่ยนแนวกันบ้างครับ มาเป็นสายวัฒนธรรมกันซักหน่อย มาช่วยเล่าช่วยเขียนถึงเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา แห่งบ้านเหมืองกุง หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียใหม่ อันเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์และลวดลายกันเฉพาะตัว
การเดินทางไปยังหมู่บ้านเหมืองกุงนั้น จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก ท่านผู้อ่านสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกตามถนนสายเชียงใหม่-หางดง ระยะทางเพียง 6 กิโลเมตรจากสี่แยกสนามบิน และใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาที ,uสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของบ้านเหมืองกุงคือ น้ำต้น หรือ คนโท ขนาดใหญ่สูง 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.85 เมตร เป็นคนโทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งเด่นอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งท่านสามารถนำรถเข้าไปจอดได้ ตรงที่จอดรถข้างหลังจากซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งจะอยู่หลังคนโทยักษ์ และแนะนำให้จอดรถไว้กันตรงนั้น แล้วเดินเท้าชมบรรยากาศภายในหมู่บ้านเอา เพราะถนนในหมู่บ้านมีขนาดเล็กทำให้การสัญจรไปมาด้วยรถยนต์ค่อนข้างลำบาก สำหรับประวัติความเป็นมาของ หมู่บ้านเหมืองกุง เดิมมีชื่อว่า "บ้านสันดอกคำใต้" ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของเชียงใหม่ มีการปั้นน้ำต้นและหม้อน้ำมานานกว่า 200 ปี จากคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อกันมา ชาวบ้านเหมืองกุงส่วนหนึ่งเป็น ชาวไทที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาด รัฐเชียงตุง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของไทย แต่หลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐเชียงตุงที่มีอาณาเขตติดกับพม่าก็ถูกบุกยึดให้อยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ แต่พออังกฤษคืนเอกราชให้แก่พม่า พม่าก็นำเอารัฐเชียงตุงกลับไปเป็นดินแดนของตน ซึ่งปัจจุบันรัฐเชียงตุงอยู่ในเขตรัฐฉานของประเทศพม่า งานวิจัยของอาจารย์สมโชติ อ๋องสกุล เมื่อปี พ.ศ. 2526 2528 ได้กล่าวถึงประวัติของบ้านเหมืองกุงว่าเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา เชียงใหม่แบ่งเป็น 2 ยุค ยุคแรกคือ "ยุคสร้างบ้านแปงเมือง" เป็นยุคที่ริเริ่มฟื้นฟูอาณาจักรสร้างบ้านสร้างเมืองหลังจากตกอยู่ใต้อำนาจของพม่ามาเป็นเวลานาน หลังจากสร้างเมืองเสร็จ ยุคต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่คือ "ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ที่ต้องเกณฑ์กำลังคนจากพื้นที่อื่น โดยการยกทัพไปตีเมืองต่างๆ แล้วแบ่งคนออกไปให้ทั่วเมืองเชียงใหม่ สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงการเกณฑ์กำลังคนมาสู่อาณาจักรล้านช้าง ในช่วงปี พ.ศ. 2325 2356 ชาวบ้านเหมืองกุงอพยพมาตั้งหลักปักฐานอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เพียง 5 ครัวเรือน จากการจัดเรียงนามสกุล ได้แก่ ฟักทอง สืบคำเปียง ศรีจันทร์(สีจันทร์) สืบสุริยะ และกาวิโรจน์ บรรพบุรุษที่มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านเหมืองกุงนั้นต้องทำนา เพื่อนำข้าวเปลือกไปส่งให้เจ้ากาวิโรรส สุริยวงค์ (โอรสของพระเจ้ากาวิละ) พอเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งชาวบ้านจะขุดดินจากที่นาใกล้หมู่บ้านมาทำ น้ำหม้อ (ภาษาถิ่นหมายถึงหม้อน้ำดื่ม) และน้ำต้น (ภาษาถิ่นหมายถึงคนโท) ไว้สำหรับใส่น้ำดื่ม อีกทั้งยังใช้น้ำต้นในการรับแขกหรือใช้เป็นสังฆทานถวายวัดในพิธีทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่สืบต่อกันมาจนถึงลูกถึงหลาน หากมีเหลือจึงนำไปขายเป็นรายได้จุนเจือครอบครัว ทำให้การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นกิจกรรมที่สำคัญของหมู่บ้าน แล้วมาต่อกันอีกตอนกับเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้านเหมืองกุงกันครับ ตอน 2 http://www.tripchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php/topic,8608.0.html#.VZYJxvk0HLA |