หัวข้อ: ตะลอนเที่ยววัดเชียงใหม่ "วัดควรนิมิตร" เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ มิถุนายน 05, 2015, 02:41:44 AM วัดควรนิมิตร ใน ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ คือวัดที่ผมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกันครับ
จากถนนเส้นเดียวกันที่จะมายังพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตา ก่อนที่จะถึงพิพิธภัณฑ์ซ้ายมือจะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัด ซึ่งถ้าขับเข้าไปอีกซักหน่อยก็จะเป็นอันว่าเจอ ประตูวัดควรนิมิตร จะมีอยู่ด้วยกัน สองทางครับ ทั้งสองทางตรงประตูจะมีรูปปั้นสิงห์ล้านนาอยู่สองตัว ซึ่งการนำสิงห์มาประดับเช่นนี้ ก็เพื่อแสดงว่า เป็นสัตว์ที่มีพลัง อำนาจสามารถขับไล่สิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าเขตวัดและอารามได้ (ตามความเชื่อของจีน) ซึ่งวัดที่มีรูปปั้นสิงห์เฝ้าหน้าประตูวัดนั้น ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นได้ตามวัดทั่วไป ในภาคเหนือของประเทศไทย อันได้รับอิทธิจากพม่า ซึ่งล้านนาเองแต่ก่อนเคยเป็นเมืองขึ้นของพม่า จากนั้นเข้ามาด้านในวัดสิ่งที่น่าสนใจก็จะมี วิหารวัดควรนิมิตร เป็นวิหารรูปแบบล้านนา ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีการสร้างผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน มีหน้าต่าง และช่องแสงโดยรอบทุก มีการยกเก็จของผัง ลักษณะโครงสร้างของอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา สร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด (หลังคาแผ่นไม้) บริเวณผนังภายในเขียนด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธศาสนา บันไดวิหารเป็นแบบมกรคายนาค ซึ่งบันไดนาคถูกสร้างตาม ตามคตินิยมที่บอกว่า นาคเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง เช่น นาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได ซึ่งในประติมากรรมไทย มักจะเห็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคได้เสมอ โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่างๆ หลังคาอาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานบันศาสนสถาน และด้านข้างวิหารวัด มีการสร้างรูปปั้นเหมือน ครูบาเจ้าอุ่นเรือน สุภัทโท ไว้ให้ชาวบ้านได้กราบไหว้ ศาลาการเปรียญ เป็นศาลา 2 ชั้น ครึ่งตึก ครึ่งไม้ เป็นอาคารอเนกประสงค์ในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งก่อสร้างในเขตสังฆาวาส ในบริเวณวัด เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา แต่เดิมนั้นใช้เป็นสถานที่เพื่อการเรียนของสงฆ์เท่านั้น (เปรียญ มาจากภาษาบาลีว่า บาเรียน หมายถึง พระที่ได้เรียน หรือ พระนักเรียน) สุดท้าย ศาลาบาตรของวัด สำหรับเป็นที่ตั้งบาตรของพระสงฆ์ที่วางเรียงรายเป็นแถวยาว เพื่อรับเครื่องไทยทานที่ พุทธศาสนิกชนนำมาถวายให้ ก่อนที่ศิษย์วัดจะนำไปประเคนถวายพระภายหลัง โยศาลาบาตรนี้มักพบในวัดที่อยู่ในเขตชุมชนมากกว่าในแถบชนบทหรือถิ่น กันดาร เพราะการที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นทำให้เกิดกิจกรรมอันเนื่องในการทำบุญเลี้ยง พระบ่อยครั้งขึ้น การสร้างศาลาบาตรหรือศาลาตั้งบาตรนี้ ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการตักบาตรถวายมิให้เกิดความชุลมุนแย่งกันใส่บาตร และเพื่อมิให้เป็นการเจาะจงเลือกถวายเฉพาะแด่ พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ |