จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => วัดในจังหวัดเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ พฤษภาคม 14, 2015, 03:03:23 PM



หัวข้อ: ตะลอนเที่ยววัดเชียงใหม่ "วัดสบหาร"
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ พฤษภาคม 14, 2015, 03:03:23 PM
วัดสบหาร ตั้งอยู่ที่เลขที่ 96 บ้านสบหาร หมู่ที่3 ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ วัดนี้ถูกสร้างเมื่อ พ.ศ.2381 มีเจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระอธิการศลีมูล สุจิตโต

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดมีหลายอย่างครับ ซึ่งประกอบด้วยวิหารซึ่งมีประตูหน้าต่างทำด้วยไม้สัก ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธศาสนา และประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ทั้งนี้ ความเชื่อและคตินิยม พระปางนี้นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระประจำเดือนหก และเป็นพระประจำวันพระเกตุเสวยอายุแทนปางขัดสมาธิเพชรได้

ต่อมาเป็นพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงค์ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2338 โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล[2] นิยมเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ

ทั้งนี้ ตามตำนานเล่าสืบต่อกันถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ว่า "การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ 1) คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี 2) แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง 3) อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่"

นอกจานี้แล้วภายในวัดก็ยังมี หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ พระพุทธรูปทองเหลือง ธรรมโบราณ ทีมพระคัมภีร์ แท่นพระของโบราณแบบพระนาคปรก และองค์เจดีย์กันอีกด้วย